วันศุกร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2553

พภม



พกพา(อาวุธปืน) - การพาหรือเอาอาวุธปืนติดตัวไปโดยมีลักษณะพร้อมที่จะหยิบฉวยขึ้นมาใช้ในทันทีทันใดนั้นได้โดยง่าย  ที่ไม่เป็นพกพาเช่น ปืนอยู่ในกระเป๋าเอกสารซึ่งมีกุญแจล็อก 2 ด้านวางอยู่เบาะหลังรถ (ฎ.3945/2540)

พ้นโทษ – (พรบ.ลิขสิทธิ์  2537 ม.45) พ้นโทษที่ได้รับจริงๆ ในคดีก่อน  ไม่รวมถึงโทษที่รอไว้ในคดีก่อนด้วย (ฎ.1027/2538)

พ้นราชการทหารประเภทที่ 1  - (พรบ.รับราชการทหาร 2497 ม.4(6)) ทหารซึ่งถูกปลดโดยที่ได้รับราชการในชั้นต่างๆ จนครบกำหนดหรือโดยที่พิการทุพพลภาพ หรือมีโรคซึ่งไม่สามารถที่จะรับราชการทหารได้ในระหว่างรับราชการตามพรบ.นี้

พ้นราชการทหารประเภทที่ 2  - (พรบ.รับราชการทหาร 2497 ม.4(7)) ทหารกองหนุนประเภท 2 ที่มีอายุ 46 ปีบริบูรณ์แล้ว หรือทหารกองเกินหรือทหารกองหนุนประเภทที่ 2 ซึ่งพิการทุพพลภาพ หรือมีโรคซึ่งไม่สามารถที่จะรับราชการทหารได้ในระหว่างรับราชการทหารตามพรบ.นี้  หรือนายทหารสัญญาบัตรที่ถูกปลดโดยถูกถอดหรือออกจากยศ

พ้นวิสัย – (ปพพ.ม. 150) เหตุที่เป็นไปตามนิติกรรมไม่ได้เลยสำหรับทุกคนในขณะที่ทำนิติกรรมนั้น  ต่างจากเหตุสุดวิสัยตามปพพ.ม. 8

พนักงานคดีปกครอง – ข้าราชการฝ่ายศาลปกครองซึ่งมีหน้าที่ช่วยเหลือตุลาการเจ้าของสำนวนในการดำเนินคดีปกครองตามที่ได้รับมอบหมายและในการปฏิบัติหน้าที่นี้ถือว่า พนักงานคดีปกครองเป็นเจ้าพนักงานสอบสวนตามปอ.

พนักงานคุมประพฤติ -(พรบ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 ม. 4 ) ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้มีอำนาจหน้าที่พรบ.นี้ 

พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน – (พรบ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ 2543 ม.6) ผู้ซึ่งรัฐมนตรี(ว่าการกระทรวงแรงงาน) แต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพรบ.นี้

พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ  – เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ให้รวมทั้งพัศดี เจ้าพนักงานกรมสรรพสามิต  กรมศุลกากร  กรมเจ้าท่า พนักงานตรวจคนเข้าเมือง  และเจ้าพนักงานอื่นๆ ในเมื่อทำการอันเกี่ยวกับการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมาย ซึ่งตนมีหน้าที่ต้องจับกุมหรือปราบ ปราม (ปวิอ. ม. 2(16))

พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่  – (ปวิอ. ม. 2(17)) เจ้าพนักงานดังต่อไปนี้ (ก) ปลัดกระทรวงมหาดไทย  (ข) รองปลัดกระทรวงมหาดไทย (ค) ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย (ฆ) ผู้ช่วยปลัดกระทรวงมหาดไทย  (ง) อธิบดีกรมการปกครอง  (จ) รองอธิบดีกรมการปกครอง  (ฉ) ผู้อำนวยการกองการสอบสวนและนิติการกรมการปกครอง  (ช) หัวหน้าฝ่ายและหัวหน้างานในกองการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง (ซ) ผู้ตรวจราชการกรมการปกครอง (ฌ) ผู้ว่าราชการจังหวัด (ญ) รองผู้ว่าราชการจังหวัด   (ฎ) ปลัดจังหวัด (ฏ) นายอำเภอ (ฐ) ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้ากิ่งประจำอำเภอ (ฑ) อธิบดีกรมตำรวจ  (ฒ) รองอธิบดีกรมตำรวจ  (ฌ) ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ  (ด) ผู้บัญชาการตำรวจ (ต) รองผู้บัญชาการตำรวจ  (ถ) ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจ   (ท) ผู้บังคับการตำรวจ (ธ) รองผู้บังคับการตำรวจ  (น) หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัด  (บ) รองหัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัด  (ป) ผู้กำกับการตำรวจ  (ผ) ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดเขต (ฝ) รองผู้กำกับการตำรวจ (พ) รองผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดเขต  (ฟ) สารวัตรใหญ่ตำรวจ (ภ) สารวัตรตำรวจ (ม) ผู้บังคับกองตำรวจ  (ย) หัวหน้าสถานีตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป  (ร) หัวหน้ากิ่งสถานีตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป          ทั้งนี้หมายความรวมถึงผู้รักษาการแทนเจ้าพนักงานดังกล่าวแล้ว  แต่ผู้รักษาการแทนเจ้าพนักงานใน (ม) (ย) และ(ร) ต้องมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไปด้วย

พนักงานศุลกากรและพนักงาน – (พรบ.ศุลกากร  2469) หมายความและกินความรวมไปถึงบุคคลใดๆ ซึ่งรับราชการในกรมศุลกากรหรือนายทหารแห่งราชนาวี หรือนายอำเภอหรือผู้ช่วยนายอำเภอ ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นพิเศษให้กระทำการแทนกรมศุลกากร

พนักงานส่วนท้องถิ่น – ( พรบ.ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น 2542 ม.3)  ข้าราขการองค์การบริหารส่วนจังหวัด พนักงานเทศบาล พนักงานส่วนตำบลข้าราชการกรุงเทพมหานคร  พนักงานเมืองพัทยา และข้าราชการหรือพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกม.จัดตั้ง   ซึ่งได้รับบรรจุและแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการำดโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือจากเงินงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนของรัฐบาลที่ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำมาจัดเป็นเงินเดือนของข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น

พนักงานสอบสวน – (ปวิอ. ) เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน ( ม. 2(6)) แบ่งเป็น (1) พนักงานสอบสวนตามปวิอ. ได้แก่  (ก)  ในกทม. คือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่า ในกทม. (ข) ในจังหวัดอื่น คือ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ปลัดอำเภอ และข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่า  (ค) ความผิดที่เกิดขึ้นนอกราชอาณาจักร  คือ อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทน    (2) พนักงานสอบสวนตามกม.อื่น เช่น คระกรรมการปปช.ตามพรบ..ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 2542

พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ – (พรบ.การสอบสวนคดีพิเศษ 2547 ม.3) อธิบดี รองอธิบดี และผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้มีอำนาจและหน้าที่สืบสวนและสอบสวนคดีพิเศษตามที่กำหนดไว้ในพรบ.นี้

พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ – (ปวิอ.) พนักงานสอบสวนคนใดคนหนึ่งเพียงคนเดียวและในเขตใดเขตหนึ่งเพียงเขตเดียวที่รับผิดชอบการสอบสวนในคดีซึ่งอาจมีพนักงานสอบสวนได้หลายคนและหลายท้องที่  ซึ่งอาจแบ่งได้ดังนี้  (1) กรณีปกติ ได้แก่ พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ความผิดเกิด   (2) กรณีมีเหตุจำเป็นหรือเพื่อความสะดวก ได้แก่ พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ผู้ต้องหามีที่อยู่หรือถูกจับ 

พนักงานสังคมสงเคราะห์ - (พรบ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 ม. 4 ) ผู้มีอำนาจหน้าที่สืบเสาะข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน ควบคุมและสอดส่องความประพฤติเด็กและเยาวชน ให้คำแนะนำและสงเคราะห์เด็กและเยาวชน ตลอดจนครอบครัวของเด็กและเยาวชน รวมทั้งมีอำนาจสืบเสาะภาวะความเป็นอยู่ของครอบครัวและไกล่เกลี่ยประนีประนอมข้อพิพาทตามที่บัญญัติไว้ในพรบ.นี้ 

พนักงานอัยการ1  –      (พรบ. พนักงานอัยการ  2498 ) ข้าราชการสังกัดกรมอัยการผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการดำเนินคดี (ม.4) ซึ่งได้แก่ ผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ อธิบดี  รองอธิบดี อัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา อัยการพิเศษฝ่ายคดี อัยการพิเศษฝ่ายวิชาการ อัยการพิเศษประจำเขต  อัยการประจำกรม อัยการจังหวัด อัยการประจำกอง อัยการจังหวัดผู้ช่วย อัยการผู้ช่วย และผู้ดำรงตำแหน่งอย่างอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (ม.5) พนักงานอัยการเป็นทนายแผ่นดิน มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินคดีตามพรบ.พนักงานอัยการฯ ม.11 คือ (1) ในคดีอาญา มีอำนาจหน้าที่ตามปวิอ.และตามกม.อื่นซึ่งบัญญัติว่า เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ (2) ในคดีแพ่ง  มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาล  (3) แก้ต่างคดีแพ่งหรือคดีอาญา ซึ่งเจ้าพนักงานถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่หรือราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องที่ได้กระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงานซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกม. หรือเข้าร่วมกับเจ้าพนักงานกระทำในหน้าที่ราชการ (4) แก้ต่างหรือว่าต่างคดีแพ่งให้เทศบาลหรือสุขาภิบาล  แต่ต้องมิใช่เป็นคดีที่พิพาทกับรัฐบาล (5) แก้ต่างหรือว่าต่างคดีแพ่งให้นิติบุคคลซึ่งได้มีพรบ.หรือพรฎ.ได้จัดตั้งขึ้น แต่ต้องมิใช่เป็นคดีที่พิพาทกับรัฐบาล (6) เป็นโจทก์ในคดีที่ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดฟ้องเองไม่ได้โดยกม.ห้าม (7) ในคดีที่บุคคลใดถูกลงโทษโดยละเมิดอำนาจศาล ถ้าศาลอุทธรณ์ปล่อยตัวผู้นั้น พนักงานอัยการเห็นสมควรจะฎีกาก็ได้  (8) ในกรณีมีการผิดสัญญาประกัน มีอำนาจหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญา 

พนักงานอัยการ2 – 1..(ปวิอ. ม. 2(5)) เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล   ทั้งนี้จะเป็นข้าราชการในกรมอัยการหรือเจ้าพนักงานอื่นผู้มีอำนาจเช่นนั้นก็ได้    2. (พรบ. ค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา 2544 ม. 3 ) พนักงานอัยการตามกม.ว่าด้วยพนักงานอัยการหรืออัยการทหารตามกม.ว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร  3. (พรบ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ 2526 ม.4)  พนักงานอัยการตามกม.ว่าด้วยพนักงานอัยการหรืออัยการทหารตามกม.ว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร แล้วแต่กรณี 

พยาน – 1.(พรบ.คุ้มครองพยานในคดีอาญา 2546 ม.3) พยานบุคคลซึ่งจะมาให้ หรือได้ให้ข้อเท็จจริงต่อพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา พนักงานผู้มีอำนาจสอบสวนคดีอาญา พนักงานผู้มีอำนาจฟ้องคดีอาญาหรือศาลในการดำเนินคดีอาญา รวมทั้งผู้ชำนาญการพิเศษ  แต่มิให้หมายความรวมถึงจำเลยที่อ้างตนเองเป็นพยาน    2.(พินัยกรรม ปพพ.ม.1671) ผู้เป็นพยานต้องลงลายมือชื่อพร้อมระบุว่า เป็นพยานท้ายลายมือชื่อด้วย (ฎ.1466/2537)

พยานคู่ – ประจักษ์พยานตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปเบิกความยืนยันข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์เดียวกัน  ดูพยานเดี่ยว

พยานชั้นหนึ่ง – พยานหลักฐานที่ดีที่สุดที่มีอยู่ในคดีนั้นและคู่ความจะต้องนำมาสืบ เช่น ประจักษ์พยาน

พยานชั้นสอง - พยานหลักฐานที่ไม่ใช่พยานหลักฐานที่ดีที่สุดที่มีอยู่ในคดีนั้น  แต่เป็นพยานหลักฐานรองลงมา เช่น พยานบอกเล่า

พยานซัดทอด – การที่จำเลยคนหนึ่งเบิกความซัดทอดจำเลยคนอื่นว่า เป็นผู้กระทำความผิดในคดีนั้นๆ  กม. ให้รับฟังพยานประเภทนี้ด้วยความระมัดระวังและไม่ควรเชื่อพยานประเภทนี้โดยลำพังเพื่อลงโทษจำเลย เว้นแต่จะมีเหตุผลหนักแน่น มีพฤติการณ์พิเศษแห่งคดี หรือมีพยานหลักฐานประกอบอื่นสนับสนุน

พยานนำ – พยานบุคคลที่คู่ความฝ่ายที่อ้างนำหรือพาพยานนั้นมาเบิกความที่ศาลเอง  ดู พยานหมาย

พยานบอกเล่า – 1. พยานบุคคล ที่นำคำเล่าของผู้อื่นมาเบิกความต่อศาล โดยไม่ได้เป็นผู้ที่รู้เห็นข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์มาโดยตรง หรือข้อความซึ่งเป็นการบอกเล่าที่บันทึกไว้ในพยานเอกสารหรือพยานวัตถุ   ดูประจักษ์พยาน 2.(ปวพ.ม.95/1, ปวอ.ม.226/3) ข้อความซึ่งเป็นการบอกเล่าที่พยานบุคคลใดนำมาเบิกความต่อศาลก็ดี หรือที่บันทึกไว้ในพยานเอกสารหรือพยานวัตถุอื่นใดซึ่งได้อ้างเป็นพยานหลักฐานต่อศาลก็ดี  หากนำเสนอพิสูจน์ความจริงแห่งข้อความนั้น ให้ถือเป็นพยานบอกเล่า
    หลักของกม.ลักษณะพยานถือว่า พยานบอกเล่ารับฟังไม่ได้เว้นแต่ (1) เมื่อพิจารณา สภาพ ลักษณะแหล่งที่มา และข้อเท็จจริงแวดล้อมแล้วน่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้  หรือ (2) (ก) มีเหตุจำเป็นที่ไม่อาจนำพยานโดยตรงมาสืบพยานได้ และ(ข) มีเหตุผลสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในการรับฟังพยานนั้น
กม. ให้รับฟังพยานประเภทนี้ด้วยความระมัดระวังและไม่ควรเชื่อพยานประเภทนี้โดยลำพังเพื่อลงโทษจำเลย เว้นแต่จะมีเหตุผลหนักแน่น มีพฤติการณ์พิเศษแห่งคดี หรือมีพยานหลักฐานประกอบอื่นสนับสนุน


พยานบุคคล – บุคคลที่มาเบิกความให้ข้อเท็จจริงในคดีต่อศาล

พยานปรปักษ์ –  (ปวิพ.ม. 117 ) พยานบุคคลที่มาเบิกความต่อศาลโดยไม่ตรงความจริงและไม่เป็นประโยชน์แก่คู่ความฝ่ายที่อ้างตนมา และมีเจตนาจะเข้าข้างคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง  คู่ความฝ่ายที่อ้างอาจถามค้านพยานเพื่อหักล้างคำเบิกความพยานนี้ได้   ดูพยานไม่เอื้อเฟื้อ

พยานผู้เชี่ยวชาญ1 – พยานความเห็นที่มาเบิกความต่อศาล มี 3 ประเภทคือ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีความรู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการพิเศษ

พยานผู้เชี่ยวชาญ2 – (ปวอ.) พยานที่โดยอาชีพหรือไม่ก็ตามมีความเชี่ยวชาญในการใด ๆ เช่น ในทางวิทยาศาสตร์ ศิลปะ ฝีมือ พาณิชยการ การแพทย์ หรือกฎหมายต่างประเทศ และซึ่งความเห็นของพยานดังกล่าวมีประโยชน์ในการวินิจฉัยคดี ในการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณา

พยานวัตถุ – วัตถุหรือสถานที่ที่อาจพิสูจน์ความจริงต่อศาลโดยให้ศาลตรวจดูถึงสภาพของวัตถุหรือสถานที่นั้น เช่น มีดหรือปืนของกลาง  บาดแผลของผู้เสียหาย สถานที่เกิดเหตุ  ที่ดินพิพาท

พยานศาล – พยานที่ศาลเรียกมาสืบ หรือการที่ศาลไปตรวจสถานที่  ดู เดินเผชิญสืบ

พยานหมาย – พยานบุคคลที่ศาลได้ออกหมายเรียกให้มาเบิกความที่ศาล และศาลจะต้องจ่ายค่าพาหนะ ค่าป่วยการและค่าเช่าที่พักที่จำเป็นและสมควรแก่พยานประเภทนี้  ดู พยานนำ

พยานหลักฐาน – 1. สิ่งที่แสดงข้อเท็จจริงให้ปรากฏต่อศาล ซึ่งอาจจะเป็นพยานบุคคล พยานเอกสารหรือพยานวัตถุก็ได้  ซึ่งอาจแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ได้คือ (1) แบ่งเป็นพยานบุคคล พยานเอกสาร และพยานวัตถุ (2) แบ่งเป็นพยานชั้นหนึ่งและพยานชั้นสอง (3) แบ่งเป็นประจักษ์พยานและพยานบอกเล่า    ส่วนใหญ่จะเรียกสั้นๆ ว่า พยาน  2. ชื่อของกม.ลักษณะพยานที่บัญญัติไว้ในปวิพ.ภาค 1 ลักษณะ 5  ตั้งแต่ม. 84 -130      3. ชื่อของกม.ลักษณะพยานที่บัญญัติไว้ในปวิอ.ภาค 5  ตั้งแต่ม. 226 - 244

พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ – พยานหลักฐานที่ได้จากการตรวจพิสูจน์บุคคล วัตถุ หรือเอกสารใดๆ โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เช่น อาจจะตรวจพิสูจน์เลือด เนื้อเยื่อ ผิวหนัง เส้นผมหรือขน น้ำลาย ปัสสาวะ อุจจาระ สารคัดหลั่ง สารพันธุกรรมหรือส่วนประกอบของร่างกายมนุษย์ เป็นต้น

พยานหลักฐานประกอบ – (ปวอ.227/1) พยานหลักฐานอื่นที่รับฟังได้ และมีแหล่งที่มาเป็นอิสระต่างหากจากพยานหลักฐานที่ต้องการพยานหลักฐานประกอบนั้น ทั้งจะต้องมีคุณค่าเชิงพิสูจน์ที่สามารถสนับสนุนให้พยานหลักฐานอื่นที่ไปประกอบมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นด้วย

พยานเอกสาร – สิ่งที่แสดงข้อความหรือความหมายโดยตัวอักษร ตัวเลข รูปรอยหรือเครื่องหมาย และศาลจะตรวจดูโดยการอ่านหรือพิจารณาข้อความหรือความหมาย  เช่นสัญญากู้   จดหมายบอกกล่าว

พยานเดี่ยว – ประจักษ์พยานเพียงปากเดียวเบิกความต่อศาล  ดู พยานคู่

พยานโดยตรง – พยานหลักฐานที่แสดงให้เห็นข้อเท็จจริงในคดี โดยตรง   ดู พยานแวดล้อมกรณี

พยานแวดล้อมกรณี - พยานหลักฐานที่ไม่ได้แสดงให้เห็นข้อเท็จจริงในคดีโดยตรง   แต่มีพฤติการณ์หรือเหตุการณ์แวดล้อมที่สนับสนุนหรืออนุมานได้ว่า มีข้อเท็จจริงดังกล่าวเกิดขึ้น  ดู พยานโดยตรง

พยานไม่เอื้อเฟื้อ – พยานบุคคลที่เบิกความไม่เป็นไปตามความประสงค์ของคู่ความฝ่ายที่อ้างมา แต่ไม่ถึงขั้นเบิกความไม่ตรงความจริงและไม่มีเจตนาที่จะเข้าข้างอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่ได้เบิกความเป็นปรปักษ์  เช่น เบิกความว่า ไม่เคยรู้จักโจทก์  จะเคยไปพบหรือไม่จำไม่ได้ (ฎ. 2549/2517) คู่ความฝ่ายที่อ้างจะใช้สิทธิถามค้านหรือสืบพยานอย่างพยานปรปักษ์ไม่ได้  คงต้องนำพยานมาสืบเพิ่มเติมเท่านั้น  ดูพยานปรปักษ์

พยายาม – ดูพยายามกระทำความผิด

พยายามกระทำความผิด –  การลงมือกระทำความผิดแต่กระทำไปไม่ตลอด  หรือกระทำไปตลอดแล้ว  แต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล  (ปอ.ม.80) ผู้กระทำต้องระวางโทษ 2ใน 3 ส่วนของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น

พยายามกระทำความผิดที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้ – การกระทำโดยมุ่งต่อผลซึ่งกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด  แต่การกระทำนั้นไม่สามารถจะบรรลุผลได้อย่างแน่แท้เพราะเหตุปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำหรือเหตุแห่งวัตถุที่มุ่งหมายกระทำต่อ (ปอ.ม.81) ผู้กระทำต้องระวางโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่กม.กำหนด  แต่ถ้าทำไปโดยความเชื่องมงาย ศาลจะไม่ลงโทษก็ได้

พ.ร.ก.   -                  (ย.) พระราชกำหนด

พ.ร.ฎ.   -                  (ย.) พระราชกฤษฎีกา

พ.ร.บ.    -                 (ย.) พระราชบัญญัติ

พรรคการเมือง – (พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง  2541 ม. 4) พรรคการเมืองที่คณะบุคคลรวมกันจัดตั้งโดยได้รับการจดแจ้งการจัดตั้งตามพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญนี้

พระเจ้าลูกยาเธอ - (กฎมณเฑียรบาลฯ ม.4 (7)) พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระสนมเอก โท ตรี

พระธรรมนูญศาลยุติธรรม – กม.ว่าด้วยการจัดตั้งศาลและอำนาจของศาลในการพิจารณาพิพากษาคดี มีการแบ่งแยกศาลยุติธรรมออกเป็น 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา

พระธรรมศาสตร์ – 1. หรือคัมภีร์พระธรรมศาสตร์  กม.ที่ไทยใช้อยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาโดยมีที่มาจากคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ของฮินดูแต่ไทยรับผ่านมาทางมอญ กม.นี้เป็นสิ่งที่พระเจ้าสร้างขึ้นจึงมีความศักดิ์สิทธิ์ ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ และคงอยู่ชั่วนิรันดร์ มีเนื้อหาที่ระบุความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้าแผ่นดินกับพลเมือง ในฐานะที่พระเจ้าแผ่นดินทรงเป็นสมมุติเทพที่จะต้องปกครองและอำนวยความยุติธรรมให้แก่พลเมืองโดยยึดถือแนวของพระธรรมศาสตร์   2.ส่วนของกม.ตราสามดวงที่ว่าด้วยมูลคดีต่าง ๆรวม 39 มูลคดี เช่น ลักษณะกู้หนี้  แบ่งมรดก จ้างวาน ซื้อขาย ยืม อุทธรณ์ เป็นต้น พระมหากษัตริย์ไม่อาจกำหนดมูลคดีขึ้นใหม่ได้  ซึ่งเป็นไปตามแนวคิดของลัทธิพราหมณ์ที่ว่า คัมภีร์พระธรรมศาสตร์เป็นคัมภีร์ที่เกิดจากพระเจ้าจึงเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ มีหลักคำสอนที่เป็นสากลและ มนุษย์ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้  ดู กม.ตราสามดวง    พระราชนิติศาสตร์ พระราชศาสตร์

พระบิดาแห่งกม.ไทย – ดู กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์  ,พระเจ้าบรมวงศ์เธอ

พระมเหสีรอง - (กฎมณเฑียรบาลฯ ม.4 (6)) พระชายาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ที่ดำรงพระเกียรติยศรองลงมาจากสมเด็จพระอัครมเหสี มีเกียรติยศสูงต่ำเป็นลำดับกันคือ สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชเทวี พระนางเจ้า พระราชเทวี พระนางเธอ พระอัครชายาเธอ ดังนี้เป็นต้น

พระรัชทายาท – (กฎมณเฑียรบาลฯ ม.4 (1)) เจ้านายเชื้อพระบรมราชวงศ์พระองค์ที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สมมุติขึ้นเพื่อเป็นผู้ทรงสืบราชสันตติวงศ์สนองประองค์ต่อไป

พระราชกฤษฎีกา–1.กม.ลายลักษณ์อักษรที่พระมหา กษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้จัดทำและทูลเกล้าฯ เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย โดยไม่ต้องผ่านการพิจารณาของรัฐสภา เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วมีผลใช้บังคับได้   กม.นี้มีลำดับศักดิ์ต่ำกว่าพรบ. แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ พรฎ.ที่ออกโดยอาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญ เช่น พรฎ. เรียกประชุมรัฐสภา พรฎ. ขยายระยะเวลาการประชุมรัฐสภา พรฎ.ปิดสมัยประชุมรัฐสภา และพรฎ.ที่ออกโดยอาศัยอำนาจพรบ. ซึ่งมีเนื้อหาที่กำหนดรายละเอียดหลักเกณฑ์การปฏิบัติตามพรบ. นั้นๆ      2.(ก) พรบ.

พระราชกำหนด – กม.ลายลักษณ์อักษรในลำดับศักดิ์เดียวกับพรบ.ที่ออกโดยฝ่ายบริหารโดยพระมหากษัตริย์ทรงตราตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี  และจะมีผลเป็นกม.ชั่วคราวในทันทีที่ออกโดยไม่ต้องผ่านการพิจารณาของรัฐสภา แต่เมื่อมีการเปิดประชุมรัฐสภาต้องนำเสนอเพื่อให้รัฐสภาอนุมัติ หากรัฐสภาไม่อนุมัติพระราชกำหนดนั้นจะตกไปและสิ้นผลบังคับเป็นกม.
    มี 2  ประเภทคือ พระราชกำหนดที่เกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตรา ซึ่งจะต้องเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรภายใน 3 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา และพระราชกำหนดที่ว่าด้วยเรื่องทั่วๆไป   ซึ่งจะต้องเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรในการประชุมรัฐสภาคราวต่อไป
เหตุในการออกพระราชกำหนดคือในสถานการณ์ฉุกเฉินเร่งด่วนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ

พระราชกำหนดกฎหมาย – ดู พระราชกำหนดบทพระอัยการ

พระราชกำหนดบทพระอัยการ – 1. กม.ที่พระมหากษัตริย์สมัยอยุธยาทรงตราขึ้น เช่น กม.ลักษณะพยาน กม.ลักษณะอาญาหลวง กม.ลักษณะผัวเมีย เป็นต้น บางครั้งใช้คำว่า พระราชกำหนดกฎหมาย หรือ พระราชนิติศาสตร์  2. ส่วนของกม.ตราสามดวงที่เป็นกม.เกี่ยวกับการบริหารและการปกครองที่พระมหากษัตริย์ได้ทรงบัญญัติขึ้น  ดู กม.ตราสามดวง  พระธรรมศาสตร์  พระราชศาสตร์

พระราชนิติศาสตร์ – ดู พระราชกำหนดบทพระอัยการ

พระราชบัญญัติ – กม.ลายลักษณ์อักษรที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ซึ่งอาจจะเสนอจากคณะรัฐมนตรีหรือจากประชาชนที่เข้าชื่อกันเสนอกม.ก็ได้โดยรัฐสภาจะเป็นผู้พิจารณาร่างพรบ.ใน 3 วาระคือรับหลักการ พิจารณาเรียงมาตราและให้ความเห็นชอบ เมื่อร่างพรบ.ผ่านรัฐสภาแล้ว จะถูกนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศในราชกิจจานุเบกษา จึงจะมีผลบังคับใช้  กม.นี้มีลำดับศักดิ์รองลงมาจากรัฐธรรมนูญ  มีเนื้อหากำหนดเกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ความผิดและโทษของบุคคล ซึ่งกม.ในลำดับศักดิ์ที่ต่ำกว่าพรบ.จะมีเนื้อหาเช่นนั้นไม่ได้  ดู  ร่างพรบ. รัฐสภา  วาระ

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ – กม. ลายลักษณ์อักษรในลำดับชั้นพรบ.ประเภทใหม่ เกิดจากรัฐธรรมนูญ ฯ 2540 ซึ่งจะต้องใช้ชื่อว่า “พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ” เสมอ โดยมีเนื้อหากำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญฯในเรื่องสำคัญ ๆ กระบวนการตรากม.นี้ไม่ต่างจากการตราพรบ.ทั่วๆไป มีจำนวนเพียง 8 ฉบับได้แก่  (1) พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน 2542 (2) พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ  2541 (3) พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง  2541         (4) พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบ ปรามการทุจริต 2542 (5) พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง 2541 (6) พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา 2542  (7) พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา  2541     และ(8) พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง  2542 

พระราชศาสตร์ – 1. กม.ที่สร้างจากพระบรมราชวินิจฉัยคดีของพระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีเนื้อหาเกี่ยวกับกฎมณเฑียรบาล กฎเกณฑ์การปฏิบัติราชการ ที่ดินและสถานภาพของบุคคลในสังคม   2. ส่วนของกม.ตราสามดวงที่เป็นสาขาคดีมาจากมูลคดี 39 ประการเป็นเรื่องของการวางหลักและวิธีพิจารณาความ  เช่น สาขาคดีที่สืบเนื่องจากมูลคดีแห่งผู้พิพากษาและตุลาการ  ดู กม.ตราสามดวง  พระธรรมศาสตร์  พระราชนิติศาสตร์

พระราชาคณะ – (พรบ.คณะสงฆ์ 2505 ม.5 ทวิ) พระภิกษุที่ได้รับแต่งตั้งและสถาปนาให้มีสมณศักดิ์ตั้งแต่ชั้นสามัญจนถึงชั้นสมเด็จพระราชาคณะ

พระองค์ใหญ่ - (กฎมณเฑียรบาลฯ ม.4 (8))พระองค์ที่มีชนมายุมากกว่าพระองค์อื่น ๆที่ร่วมพระมารดากัน

พระอัยการลักษณะพยาน มหาศักราช 1894 – กม.ลักษณะพยานที่ได้ตราขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาโดยสมเด็จพระรามาธิบดี กำหนดประเภทพยานที่ควรรับฟังและไม่ควรรับฟังโดยกำหนดข้อห้ามรับฟังพยานบุคคล 33 จำพวกเช่น คนไม่มีศีล คนกู้หนี้ยืมสิน คนขอทาน เพื่อน ญาติโสเภณี นักเลงการพนัน คนบ้าฯลฯ กม.นี้ถูกยกเลิกโดยพรบ.ลักษณะพยาน ร.ศ. 113 

พระอาทิตย์ขึ้น – พระอาทิตย์ขึ้นพ้นขอบฟ้าแล้ว (ฎ.530/2487)

พราก –    (ปอ.ม.317) พาไปหรือแยกตัวเด็กออกจากความปกครองดูแล แม้จะชักชวนแนะนำเด็กให้ไปกับผู้กระทำโดยมิได้หลอกลวงและเด็กเต็มใจไปด้วย (ฎ. 2858/2540)

พรากผู้เยาว์ –    ความผิดตามปอ.ม.318 ซึ่งเป็นการกระทำที่ทำลายคุณธรรมทางกม.ในเรื่องอำนาจปกครองของบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล  โดยมีการกระทำที่เป็นการพรากผู้เยาว์อายุเกิน 15 ปีแต่ไม่เกิน 18 ปีไปจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลโดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วย

พรากเด็ก –    ความผิดตามปอ.ม.317  ซึ่งเป็นการกระทำที่ทำลายคุณธรรมทางกม.ในเรื่องอำนาจปกครองของบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล  โดยมีการกระทำที่เป็นการพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปีไปจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลโดยไม่มีเหตุอันสมควร

พฤติการณ์ -(ปพพ.ม.433) มีสภาพที่ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างใด

พฤติการณ์พิเศษ  - (ปวิพ.23) โจทก์ยังไม่ได้รับสำเนาคำพิพากษาเป็นเหตุให้ไม่อาจทำอุทธรณ์ยื่นได้ภายในกำหนด (ฎ.1335/2544) เทียบเหตุสุดวิสัย

พลาด – ดู การกระทำโดยพลาด

พลาดิสัย – (ก) เหตุสุดวิสัย

พ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้น – (ปพพ.ม.1332) ผู้ที่ประกอบอาชีพในทางซื้อขายของชนิดหรือประเภทนั้นๆ เป็นปกติธุระ

พอสมควรแก่เหตุ – (ป้องกันโดยชอบด้วยกม.) การกระทำโดยป้องกันที่ (1) ได้สัดส่วนกับอันตรายที่จะเกิดขึ้น หากไม่ป้องกัน หรือ (2)ได้ใช้วิถีทางที่น้อยที่สุดที่จะก่อเกิดอันตราย

พาไปเพื่อสำเร็จความใคร่ของผู้อื่น -ความผิดตาม ปอ. ม.283

พาหญิงไปเพื่อการอนาจาร -  ความผิดตาม ปอ. ม.284

พาหนะ – (พรบ.คนเข้าเมือง  2522 ม.4) ยานพาหนะหรือสัตว์พาหนะ หรือสิ่งอื่นใดที่อาจนำบุคคลจากที่แห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง

พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530,พรก.- กม.ว่าด้วยการจัดเก็บภาษีศุลกากร ซึ่งได้แก่อากรขาเข้าและขาออก อัตราและวิธีการจัดเก็บ

พิทักษ์ทรัพย์ – (พรบ.ล้มละลาย 2483 ม.6) พิทักษ์ทรัพย์สินไม่ว่าเด็ดขาดหรือชั่วคราว

พิธีสาร – ตราสารซึ่งบรรจุข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างรัฐในกม.ระหว่างประเทศ มีความสำคัญรองลงมาจากสนธิสัญญา และอนุสัญญา โดยส่วนใหญ่เป็นตราสารต่อท้ายกำหนดรายละเอียด หรือเพื่อแก้ไขสนธิสัญญาหรืออนุสัญญา หรือให้โอกาสแก่ภาคีในการเลือกระดับความผูกพันในสนธิสัญญาหรืออนุสัญญา (แปลมาจาก “Protocol”)  ดู สนธิสัญญ อนุสัญญา

พินัยกรรม – คำสั่งสุดท้ายแสดงเจตนาตามแบบที่กม.กำหนดเพื่อกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง หรือในการต่างๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกม.เมื่อตนตาย

พิพากษา - (พรบ.ล้มละลาย  2483 ม.6) หมายความตลอดถึงการที่ศาลวินิจฉัยคดีโดยทำเป็นคำสั่ง

พิมพ์ – (พรบ.จดแจ้งการพิมพ์ 2550 ม.4) ทำให้ปรากฏด้วยตัวอักษร รูปรอย ตัวเลข แผนผังหรือภาพโดยวิธีการอย่างใดๆ

พิษจากสัตว์  – (พรบ.เชื้อโรคและพิษจากสัตว์ 2525 ม. 4) พิษที่เกิดจากสัตว์ที่ทำให้เกิดโรคในคน ปศุสัตว์ สัตว์พาหนะหรือสัตว์อื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง  เช่น พิษจากงู พิษจากแมลง และพิษจากปลาปักเป้า

พิสูจน์ต่อพยาน –  (ปวิพ.ม. 120) การนำสืบแสดงพยานหลักฐานต่อศาลเพื่อแสดงว่า คำเบิกความของพยานบุคคลของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือของศาลที่นำสืบไปแล้วไม่น่าเชื่อหรือไม่เป็นความจริง  จะพิสูจน์ต่อพยานของตนเองไม่ได้    คำนี้เป็นคำที่ใช้กันมาตั้งแต่กม.เดิมคือ กม.ตราสามดวงในพระอัยการลักษณะพยาน ม. 50 และพรบ.ลักษณะพยาน ร.ศ. 123 ม. 42

พืชของกสิกร  – (ปอ.ม. 359(4)) พืชที่ผู้มีอาชีพกสิกรนั้นๆ เป็นผู้ปลูก เช่น ต้นข้าวที่ผู้ทำนาปลูก(ฎ1155/2520)  ต้นกล้วย 100 ต้นปลูกไว้เพื่อขาย (ฎ.504/2524) ที่ไม่เป็นเช่น ต้นมะพร้าวปลูกเป็นแนวเขตสวนโดยไม่ทราบว่าเจ้าของทำสวนอะไร(ฎ.2560/2527)

พืชไร่  – (พรบ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม  2524 ม.21) พืชที่ต้องการน้ำน้อยและอายุสั้น หรือสามารถเก็บเกี่ยวครั้งแรกได้ภายใน 12 เดือน   ที่ไม่เป็นพืชไร่ เช่น ฝรั่งพันธุ์เวียดนามเนื่องจากต้องการน้ำมาก  มะม่วงและมะพร้าวซึ่งเป็นไม้ยืนต้น (ฎ.818/2537)

พืชหลัก  – (พรบ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม  2524 ม.21) ข้าวหรือพืชไร่ชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิด ซึ่งตามปกติของสภาพแห่งท้องที่ควรเพาะปลูกกันในรอบปีหนึ่งๆ และให้ผลเป็นรายได้สำคัญแก่เกษตรกรในรอบปีนั้น ทั้งนี้ตามที่คชก.ตำบลจะได้กำหนดขึ้นเป็นคราวๆ แต่ไม่รวมถึงพืชที่เพาะปลูกขึ้นเพื่อเป็นรายได้ประกอบตามสภาพของท้องที่หรือเพื่อการบริโภคในครัวเรือน

เพาะพันธ์ –   (พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า  2535 ม.4) ขยายพันธ์สัตว์ป่าที่นำมาเลี้ยงไว้โดยวิธีผสมพันธุ์สัตว์ป่า และหมายความรวมถึงขยายพันธ์สัตว์ป่าโดยวิธีผสมเทียมหรือการย้ายฝากตัวอ่อนด้วย

เพิกถอนการฉ้อฉล – 1. (ปพพ.) การที่เจ้าหนี้ร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมที่ลูกหนี้ได้จำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินของลูกหนี้ให้แก่บุคคลอื่น โดยที่รู้อยู่ว่า จะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ แต่ถ้าเป็นนิติกรรมที่มีค่าตอบแทน  จะเพิกถอนได้ต่อเมื่อผู้ได้ลาภงอกจากนิติกรรมจะต้องรู้ถึงข้อเท็จจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบนั้นด้วย การฟ้องเพิกถอนจะต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่วันที่เจ้าหนี้ได้รู้มูลเหตุเพิกถอนหรือ 10 ปีนับแต่วันที่ทำนิติกรรม 2.(พรบ.ล้มละลาย  2483 ม. 113)  การเพิกถอนนิติกรรม

เพิกถอนการให้เปรียบ – (พรบ.ล้มละลาย  2483 ม. 115 )  การเพิกถอนนิติกรรม

แพ – 1. (ปพพ.ม.456, 1302) แพที่คนใช้อยู่อาศัย ไม่ใช่แพสินค้า เช่น แพซุง    2. (พรบ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย 2456 ม.3) หมายความรวมตลอดถึง โป๊ะ อู่ลอย และสิ่งลอยน้ำอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน

แพคนอยู่ -   (พรบ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย 2456 ม.3) เรือนที่ปลูกอยู่บนแพ และลอยอยู่ในลำแม่น้ำหรือลำคลอง

แพทย์ตรวจคนเข้าเมือง – (พรบ.คนเข้าเมือง  2522 ม.4) แพทย์ซึ่งอธิบดี(กรมตำรวจ)แต่งตั้งเพื่อปฏิบัติการตามพรบ.นี้

โพสต์ กลอสซาเตอร์ – (Glossators’ school) ผู้ที่ศึกษากม.โรมันในยุโรปยุคกลางต่อจากพวกกลอสซาเตอร์ โดยจะนำ กม.โรมันในส่วนที่เป็น Digest มาศึกษา มีการตั้งทฤษฎีและจัดระบบการอธิบาย  ทั้งมีการนำกม.นั้นมาใช้ในระหว่าง คศ. 14 -15 ร่วมกับกม.พระ




ฟ้องเคลือบคลุม(คดีอาญา) – คำฟ้องที่ไม่บรรยายให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี กล่าวคือ คำฟ้องที่บรรยายข้อเท็จจริงหรือองค์ประกอบความผิดไม่ครบถ้วนหรือไม่ชัดแจ้งตาม ปวิอ.ม. 158 เช่น ไม่ระบุสถานที่เกิดเหตุ (ฎ. 1526 / 2522) ไม่บรรยายว่าทรัพย์ที่ถูกประทุษร้ายในความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย(ฎ. 2240 / 2530)ฟ้องฐานโกงเจ้าหนี้  แต่ไม่บรรยายว่า จำเลยได้กระทำไปโดยรู้อยู่ว่า โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ของตนได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้จำเลยชำระหนี้ (ฎ. 2976 / 2524)   ฟ้องแจ้งความเท็จ แต่ไม่บรรยายว่าความจริงเป็นอย่างไร (ฎ. 245 / 2525)

ฟ้องซ้อน  - การที่โจทก์คนเดียวกันฟ้องคดีขึ้นใหม่อีกคดีหนึ่งโดยคดีเก่าที่โจทก์ฟ้องและเป็นเรื่องเดียวกันยังค้างพิจารณาอยู่ในศาล  กม.ห้ามมิให้ฟ้องคดีใหม่นั้น ซึ่งเป็นไปตามหลักที่ว่า ผู้ที่ถูกโต้แย้งสิทธินั้นย่อมมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้เพียงคดีเดียวเท่านั้น  ดู ปวิพ.ม.173 วรรคหนึ่ง

ฟ้องซ้ำ - การที่คู่ความเดียวกันไม่ว่าจะเป็นโจทก์หรือจำเลยได้ฟ้องคดีขึ้นใหม่อีกคดีหนึ่งโดยมีประเด็นเดียวกับคดีเก่าและคดีเก่าที่ฟ้องร้องกันนั้นคดีได้ถึงที่สุดไปแล้ว กม.ห้ามมิให้ฟ้องคดีใหม่นั้นซึ่งเป็นไปตามหลักที่ว่า ผู้ที่ถูกโต้แย้งสิทธินั้นย่อมมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้เพียงคดีเดียวเท่านั้น  ดู ปวิพ.ม. 148

ฟ้องคดีอย่างคนอนาถา -     การขออนุญาตศาลฟ้องคดีโดยขอที่จะยกเว้นไม่ต้องชำระค่าขึ้นศาลในการฟ้องโดยอ้างเหตุว่า  คดีของโจทก์มีมูลที่จะฟ้องร้อง และโจทก์เป็นคนยากจน  ผู้ฟ้องจะต้องสาบานตนว่า ยากจน

ฟ้องแย้ง - การที่จำเลยฟ้องโจทก์เป็นจำเลย จำเลยจึงมีฐานะเป็นโจทก์ ส่วนโจทก์เดิมจะมีฐานะเป็นจำเลย




ภริยา – หญิงที่ได้จดทะเบียนสมรสกับชายตามกม.

ภัยทางอากาศ –( พรบ. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 2550 ม.4)  ภัยอันเกิดจากการโจมตีทางอากาศ

ภาคยานุวัติ – (กม.รปท.) การเข้าร่วมเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาของรัฐที่ไม่ได้เป็นภาคีมาแต่แรก โดยยอมรับสิทธิและหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญา มี 3 รูปแบบคือ โดยการทำสนธิสัญญาพิเศษ โดยการแลกเปลี่ยนแถลงการณ์หรือโดยการแถลงการณ์ฝ่ายเดียว

ภาชนะขนส่ง – (พรบ.การรับขนของทางทะเล  2534 ม.3 ) ตู้สินค้า ไม้รองสินค้า หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน ซึ่งใช้บรรจุหรือรองรับของ หรือใช้รวมหน่วยการขนส่งของหลายหน่วยเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการขนส่งทางทะเล เช่น ตู้คอนเทนเนอร์ (ฎ.7622/2540)

ภาพยนตร์ – ( พรบ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ 2551 ม.4) วัสดุที่มีการบันทึกภาพ หรือภาพและเสียงซึ่งสามารถนำมาฉายให้เห็นเป็นภาพที่เคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่อง แต่ไม่รวมถึงวีดิทัศน์

ภาพยนตร์ไทย – ( พรบ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ 2551 ม.4) ภาพยนตร์ที่ใช้ภาษาไทยหรือภาษาท้องถิ่นของประเทศไทยทั้งหมด หรือเป็นส่วนใหญ่ในบทภาพยนตร์ต้นฉบับสำหรับการแสดงภาพยนตร์และเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นผู้มีสัญชาติไทย

ภารจำยอม –  (ปพพ.ม. 1387) ทรัพยสิทธิประเภทหนึ่งที่ให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่เรียกว่า ภารยทรัพย์ ต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบกระเทือนทรัพย์สินของตนหรือทำให้ต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ของทรัพย์สินนั้นเพื่อประโยชน์ของอสังหาริมทรัพย์อื่นที่เรียกว่า สามยทรัพย์    ภารจำยอมจึงเป็นทรัพยสิทธิประเภทที่จำกัดตัดกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินและอาจได้มาโดยทางนิติกรรม โดยอายุความ หรือโดยกม.เช่น  ปพพ.ม.1312,1352  ก็ได้  
หลักเกณฑ์การเกิดภาระจำยอมมีดังนี้ (1) ต้องมีอสังหาริมทรัพย์ 2 แปลงที่ต่างเจ้าของกัน (2) ในการได้มาโดยอายุความ จะต้องมีการใช้ทางในทางที่เป็นปรปักษ์กับเจ้าของที่ดินเดิม โดยมีการใช้โดยสงบ เปิดเผย 10 ปี (3) การใช้ทางต้องเป็นประโยชน์แก่เจ้าของที่ดิน  ผู้เช่าที่ดินของผู้อื่นจึงไม่อาจได้ภาระจำยอมได้
ภารจำยอมจะตกติดไปกับภารยทรัพย์และสามยทรัพย์เสมอแม้มีการแบ่งแยกทรัพย์ทั้งสองก็ตาม

ภาระติดพัน – (ปพพ.ม.34 (7)) หน้าที่ที่จะต้องยอมรับปฏิบัติเป็นระยะเวลาต่อเนื่องกัน

ภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ - ทรัพยสิทธิประเภทหนึ่งที่ให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์มีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้จากอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นคราวๆ ให้แก่บุคคลอื่นเรียกว่าผู้รับประโยชน์หรือต้องยอมให้ผู้อื่นได้ใช้หรือถือเอาประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์นั้น

ภารยทรัพย์ –   ทรัพย์ที่รับภาระ  ทรัพย์ที่ต้องตกอยู่ใต้ภาระจำยอม  ดูสามยทรัพย์

ภาระการพิสูจน์ – หน้าที่ที่คู่ความจะต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบให้ได้น้ำหนักตรงตามมาตรฐานที่กม.กำหนดเพื่อพิสูจน์ความจริงในประเด็นข้อพิพาทและเพื่อที่ จะชนะคดี

ภาระเพิ่มขึ้น -  (ปพพ.ม.1388) เช่น ภารจำยอมเป็นทางคนเดิน  แต่มาปักเสาและวางสายไฟฟ้า  วางท่อประปา (ฎ.3378/2511) ภารจำยอมเป็นทางรถเดินได้แต่ต้องไม่ใช้ทางเป็นการรบกวนปกติสุข  การใช้รถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่จำนวนมากเข้าออกสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อยู่ในหมู่บ้าน (ฎ. 5613/2540)

ภาษีเงินได้ – ภาษีที่จัดเก็บจากรายได้ แบ่งเป็น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา – ภาษีทางตรงที่จัดเก็บเป็นรายปีจากผู้มีเงินได้พึงประเมินทุกประเภท และคำนวณโดยนำเงินได้มาหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว ที่เหลือเป็นเงินได้สุทธิจะนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราก้าวหน้า 

ภาษีเงินได้นิติบุคคล – ภาษีทางตรงที่จัดเก็บจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล  และคำนวณโดยนำรายได้มาหักรายจ่ายที่เหลือเป็นกำไร  จะนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีตามอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราคงที่

ภาษีทางตรง – ภาษีที่ผู้เสียภาษีต้องรับภาระภาษีนี้เอง จะผลักภาระไปให้ผู้อื่นไม่ได้ เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีทรัพย์สินและภาษีมรดก 

ภาษีทางอ้อม – ภาษีที่ผู้เสียภาษีไม่ต้องรับภาระภาษีนี้เอง แต่อาจจะผลักภาระภาษีไปให้ผู้อื่นได้ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีศุลกากร ภาษีสรรสามิต

ภาษีธุรกิจเฉพาะ – ภาษีที่จัดเก็บจากการประกอบกิจการบางอย่างในราชอาณาจักร เช่น การธนาคารหรือการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ การรับประกันชีวิตหรือวินาศภัย การรับจำนำ และการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรตามที่กำหนดในพรฎ.  โดยจะเสียภาษีในลักษณะพิเศษเช่นเดียวกับภาษีการค้า

ภาษีมูลค่าเพิ่ม – ภาษีที่จัดเก็บจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนของการผลิตและการจำหน่ายสินค้าหรือบริการชนิดต่างๆ   เป็นภาษีที่จัดเก็บจากฐานการบริโภคและผู้ซื้อหรือผู้รับบริการคนสุดท้ายเป็นผู้รับภาระ  ก่อนหน้านี้ใช้ภาษีการค้า.ในการจัดเก็บแต่มีความซ้ำซ้อนกัน จึงได้มาเปลี่ยนใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อวันที่ 1 มค.2535

ภาษีสรรพสามิต  – (ป.รัษฎากร ม. 77/1(19)) ภาษีสุรา ภาษีแสตมป์ ยาสูบ ค่าธรรมเนียมประทับตราไพ่ และภาษีหรือค่าธรรมเนียมอื่นในลักษณะทำนองเดียวกัน ตามที่กำหนดโดยพรฎ.

ภาษีอากร – 1.เงินที่รัฐบาลบังคับจัดเก็บจากประชาชนเพื่อนำมาใช้ในการจัดหรือให้บริการสาธารณะ โดยผู้ที่เสียภาษีไม่ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนโดยตรง  2.(พรบ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร  2528 ม.3 ) ภาษี อากร และค่าภาคหลวงทุกชนิด และหมายความรวมถึง (1) แสตมป์ยาสูบตามกม.ว่าด้วยยาสูบ  (2)ค่าธรรมเนียมสำหรับการประทับตราไพ่ ตามกม.ว่าด้วยไพ่  (3) ค่าธรรมเนียมพิเศษสำหรับการนำเข้าตามกม.ว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน  (4)  ค่าธรรมเนียมพิเศษตามกม.ว่าด้วยการส่งออกไปนอก และการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า (5) ค่าธรรมเนียมการส่งออกตามกม.ว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร (6) เงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่งออกต้องเสียตามกม.ว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง  (7) ค่าธรรมเนียมหรือเงินอื่นที่มีพรฎ.กำหนดให้เป็นภาษีอากรตามพรบ.นี้

ภูมิลำเนา –  1.สถานที่ที่บุคคลมีถิ่นที่อยู่และมีเจตนาที่จะยึดถือที่นั้นเป็นภูมิลำเนา  ภูมิลำเนามี 2 ประเภทคือ ภูมิลำ เนาตามเจตนาและภูมิลำเนาตามกม. ซึ่งหากเป็นภูมิลำเนาตามกม.จะไม่คำนึงเจตนา  2. (ปพพ.ม. 37) ถิ่นอันบุคคลนั้นมีสถานที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญ

เภสัชเคมีภัณฑ์ -  (พรบ.ยา 2510 ม.4) สารอินทรีย์เคมี หรืออนินทรีย์เคมีซึ่งเป็นสารเดี่ยวที่ใช้ปรุง แต่ง เตรียม หรือผสมเป็นยา

เภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป -  (พรบ.ยา 2510 ม.4) สารอินทรีย์เคมี หรืออนินทรีย์เคมีทั้งที่เป็นสารเดี่ยวหรือสารผสมที่อยู่ในลักษณะพร้อมที่จะนำมาใช้ประกอบในการผลิตเป็นยาสำเร็จรูป

เภสัชกรชั้นสอง -  (พรบ.ยา 2510 ม.4) ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้นสองในสาขาเภสัชกรรม

เภสัชกรชั้นหนึ่ง -  (พรบ.ยา 2510 ม.4) ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้นหนึ่งในสาขาเภสัชกรรม




มติ – 1. การวินิจฉัยให้ดำเนินการใดโดยอาศัยการออกเสียงลงคะแนน  2.(พรบ.ล้มละลาย  2483 ม.6) มติของเจ้าหนี้ฝ่ายที่มีจำนวนหนี้ข้างมาก ซึ่งได้เข้าประชุมด้วยตนเองหรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นเข้าประชุมแทนในที่ประชุมเจ้าหนี้  และได้ออกเสียงลงคะแนนในมตินั้น

มติคณะรัฐมนตรี- คำสั่ง ประกาศหรือระเบียบที่คณะรัฐมนตรีวินิจฉัยให้กระทำการใด การตัดสินใจหรือกำหนดนโยบายตามอำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหารและในฐานะผู้ปกครองบังคับบัญชา  แต่ไม่มีสถานะเป็นกฎหมาย(ฎ.1882/2518,950/2541) 

มติพิเศษ -  1. มติที่ที่ประชุมใหญ่ของผู้ถือหุ้นบริษัทซึ่งได้มีการลงมติยืนยันกัน 2 ครั้งโดยข้อความที่จะนำเสนอให้ลงมติได้แจ้งในคำบอกกล่าวนัดประชุมทั้ง 2 ครั้ง การนัดประชุมครั้งที่ 2 ต้องเรียกและประชุมกันในเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน - 6 สัปดาห์ภายหลังการประชุมครั้งแรก และคะแนนเสียงทั้ง 2ครั้ง เป็นเสียงข้างมากโดยครั้งแรกไม่ต่ำกว่า 3 ใน 4 ส่วนและครั้งที่สองไม่ต่ำกว่า 2 ใน 3 ส่วนของจำนวนเสียงทั้งหมด  2. (พรบ.ล้มละลาย  2483 ม.6) มติของเจ้าหนี้ฝ่ายข้างมากและมีจำนวนหนี้เท่ากับสามในสี่แห่งจำนวนหนี้ทั้งหมดของเจ้าหนี้ซึ่งได้เข้าประชุมด้วยตนเองหรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นเข้าประชุมแทนในที่ประชุมเจ้าหนี้ และได้ออกเสียงลงคะแนนในมตินั้น

มรดก –   1. ทรัพย์สินของผู้ตาย  ดู กองมรดก  2. ชื่อของบรรพ 6 แห่ง ปพพ.

มหาบัตร – ( Magna Carta) รัฐธรรมนูญฉบับแรกของโลก โดยพระเจ้าจอห์นแห่งอังกฤษที่ได้พระราชทานแก่บรรดาขุนนางที่ทุ่งรันนีมีด เมื่อวันที่ 15 มิย. ค.ศ.1215 และรับรองโดยรัฐสภาในสมัยพระเจ้าเฮนรีที่ 3 และพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1  มีเนื้อหาว่าด้วยการบริหารงานยุติธรรม เขตอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดี การประกันสิทิเสรีภาพของบุคคล สิทธิที่มีต่อทรัพย์สิน รักษาเสรีภาพและเอกสิทธิทางศาสนา 

มองเตสกิเออ  – (Montesquieu) (ค.ศ.1689 – 1755) นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศส  เกิดในครอบครัวขุนนางในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14   เมื่อปี ค.ศ. 1744 เขียนหนังสือชื่อ เจตนารมณ์แห่งกฎหมาย (The Spirit of Law) ศึกษาระบบการเมืองการปกครองทั่วโลกตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงสมัยมองเตสกิเออ มีการแบ่งรัฐบาลออกเป็น 3 รูปแบบคือ สาธารณรัฐ สมบูรณาญาสิทธิราช และทรราชย์ และเสนอให้มีการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยเป็น 3 ประเภทคือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจปฏิบัติการสิ่งซึ่งอยู่ภายใต้กม.มหาชน และอำนาจปฏิบัติการสิ่งซึ่งอยู่ภายใต้กม.แพ่ง มองเตสกิเออยังเสนอให้มีการควบคุมหรือจำกัดอำนาจแต่ละอำนาจ โดยให้มีการคานและดุลกันในแต่ละอำนาจอย่างพอเหมาะพอควร

มัดจำ –  1. สิ่งที่ให้ไว้เป็นหลักฐานในการทำสัญญาและเพื่อประกันการชำระหนี้   2. เงินหรือทรัพย์ที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งมอบให้ไว้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งตั้งแต่ก่อนหรือขณะทำสัญญา(ในวันทำสัญญา)เพื่อเป็นหลักฐานว่า  ได้มีการทำสัญญาขึ้นและเพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญาต่อไป  หากมีการผิดสัญญาคู่สัญญาฝ่ายที่ยึดมัดจำไว้ย่อมริบมัดจำนั้นได้ มัดจำต่างจากเบี้ยปรับ (ที่กำหนดไว้เพื่อทดแทนความเสียหายในการไม่ชำระหนี้) ศาลจึงไม่มีอำนาจลดมัดจำ (ฎ. 656/2538) ไม่ใช่มัดจำเช่น ตกลงให้กันวันอื่น (ฎ.513/2538)  ดู เบี้ยปรับ

มาตรา – บทบัญญัติกม.เป็นข้อๆ ของพรบ. พรก. หรือ พรฎ.

มาตราบท – (กม.รปท.) ตราสารตกลงก่อตั้งองค์กรระหว่างประเทศ เช่น ตราสารก่อตั้งไอ เอ็ม เอฟ  ( แปลมาจาก Articles of Agreement )  ดู กฎบัตร

มาตรแท็กซี่ – (พรบ.จราจรทางบก 2522 ม. 4 (27)) เครื่องแสดงอัตราและค่าโดยสารของรถแท็กซี่โดยอาศัยเกณฑ์ระยะทางหรือเวลาการใช้รถแท็กซี่หรือโดยอาศัยทั้งระยะทางและเวลาการใช้รถแท็กซี่

มิชอบด้วยกม.- (ปพพ.ม.421) ผิดกม.

มีฐานะเสมอด้วยคู่ความที่ตนเข้าแทน – (ปวิพ.ม.58) มีสิทธิ หรืออยู่ในฐานะเท่ากับคู่ความที่เข้าแทนที่ กล่าวคือคู่ความเดิมมีสิทธิอย่างไร ผู้ร้องสอดมีสิทธิเพียงนั้น  ไม่มีสิทธิน้อยหรือเกินไปกว่านั้น

มีแร่ไว้ในครอบครอง - (พรบ.แร่ 2510 ม.4) การซื้อแร่ การมีไว้ การยึดถือ หรือการรับไว้ด้วยประการใดซึ่งแร่ ทั้งนี้ไม่ว่าเพื่อตนเองหรือผู้อื่น

มีสิทธิดีกว่า(ในที่ดินสาธารณประโยชน์) – มีสิทธิใช้สอย(ที่ดินสาธารณประโยชน์)   ใครใช้สอยที่ดินสาธารณประโยชน์ก่อนย่อมมีสิทธิดีกว่า

มูลคดี -           (ปวิพ. ม. ๔ (๑)) ต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้โจทก์เกิดอำนาจฟ้องร้องตามสิทธิ (ฎ. 2437/2540,9858/2544)

มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ – (ปวิพ.ม.59, 245) ความผูกพันตามกม.ระหว่างคู่ความร่วมที่แต่ละคนมีสิทธิได้รับชำระหนี้หรือจะต้องรับผิดโดยเต็มจำนวน จะแบ่งแยกออกเป็นส่วนๆ แยกต่างหากจากกันไม่ได้   เช่น เจ้าหนี้ร่วม ลูกหนี้ร่วม ลูกหนี้ชั้นต้นกับผู้ค้ำประกัน   นายจ้างที่ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ลูกจ้วงทำไปในทางการที่จ้าง (ฎ.477/2514)

มูลค่า -(ป.รัษฎากร ม.91/1) ราคาตลาดของทรัพย์สินของกิจการ ของค่าตอบแทนหรือของประโยชน์ใดๆ

มูลดินทราย -  (พรบ.แร่ 2510 ม.4) หมายความรวมถึง เปลือกดิน ทราย กรวด หรือหินที่เกิดจากการทำเหมือง

มูลนิติธรรมประเพณี – (ก) คำตามพรบ.สัญชาติ 2456 หมายถึง กม.จารีตประเพณีว่าด้วยสัญชาติ

มูลนิธิ – (ปพพ.ม.110) ทรัพย์สินที่จัดสรรไว้โดยเฉพาะสำหรับวัตถุ ประสงค์เพื่อการกุศลสาธารณะ  การศาสนา  ศิลปะ วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา หรือเพื่อสาธารณ ประโยชน์อย่างอื่น โดยมิได้มุ่งหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกัน และได้จดทะเบียนตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้(ปพพ.)  การจัดการทรัพย์สินของมูลนิธิ ต้องมิใช่เป็นการหาผลประโยชน์เพื่อบุคคลใดนอกจากเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธินั้นเอง

มูลฝอย – (พรบ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง 2535 ม. 4) เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ หรือซากสัตว์รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น

มูลหนี้ – ดูบ่อเกิดแห่งหนี้

โมฆะ –  เสียเปล่า การกระทำที่สูญเสียเปล่าหรือไม่เคยมีการกระทำนั้นเลยมาแต่ต้น จึงไม่มีผลตามกม. ใดๆ และไม่ทำให้คู่กรณีเกิดสิทธิหรือหน้าที่หรือเปลี่ยนแปลงฐานะแต่อย่างใด เป็นความเสียเปล่าอย่างเด็ดขาดไม่อาจทำให้ดีขึ้นมาได้จึงไม่อาจให้สัตยาบันได้ มี 2 ประเภทคือ โมฆะทั้งหมดและโมฆะบางส่วน ผู้มีส่วนได้เสียสามารถจะยกกล่าวอ้างความเป็นโมฆะขึ้นต่อสู้ได้เสมอ การเยียวยาแก้ไขความเสียหายที่เกิดจากโมฆะกรรมใช้หลักกม.ในเรื่องลาภมิควรได้ คำนี้มีรากศัพท์ที่มาจากกม.โรมันเอกชนหรือในกม.แพ่ง ( Nullum est negotitum, nulla oblgates ; nihil agitur, nihil actum est ) ส่วนใหญ่ใช้กับกม.ลักษณะนิติกรรม สัญญา และครอบครัว  ดู โมฆียะ ,ไม่บริบูรณ์ , ตกไป
    เหตุที่ทำให้นิติกรรมเป็นโมฆะตามปพพ.มี 8 เหตุคือ (1) มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามตามกม. หรือเป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน (ม.150)  (2)ไม่ทำตามแบบ (ม.152) (3) มีเจตนาซ่อนเร้นในการทำนิติกรรม  แต่คู่กรณีรู้เจตนานั้น (ม.154) (4) การแสดงเจตนาลวง (ม.155) (5) นิติกรรมอำพราง (ม.155) (6) สำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญของนิติกรรม (ม.156)  (7) เมื่อมีการบอกล้างโมฆียกรรม (ม.176) และ(8) การกำหนดเงื่อนไขในนิติกรรม

โมฆียะ –  เสมือนสมบูรณ์ กล่าวคือ ยังมีผลใช้บังคับใช้ได้ในระหว่างคู่กรณีเสมือนนิติกรรมสมบูรณ์ทั่วไป แต่ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่เนื่องจากอาจจะมีการบอกล้าง ซึ่งจะทำให้ตกเป็นโมฆะสูญเปล่า หรืออาจจะมีการให้สัตยาบันซึ่งจะทำให้เป็นนิติกรรมที่สมบูรณ์ ส่วนใหญ่ใช้กับกม.ลักษณะนิติกรรม สัญญา และครอบครัว  ดู โมฆะ ,ไม่บริบูรณ์ , ตกไป

มั่วสุมก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง – ความผิดตามปอ.ม. 215 ซึ่งเป็นการกระทำโดยมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง

เมือง – (ปพพ.ม. 990) จังหวัด

เมืองท่า - (พรบ.เรือไทย 2481 ม.5) ทำเล หรือถิ่นที่ทอดจอดเรือเพื่อขนถ่ายคนโดยสารหรือของ

เมืองพัทยา – องค์กรปกครองท้องถิ่นที่อยู่ที่เมืองพัทยา จัดตั้งขึ้นตามพรบ.ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา  2542  มีฐานะเป็นนิติบุคคล   มีอาณาเขตอยู่ตามเขตเมืองพัทยา  เริ่มจัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2521

ไม่บริบูรณ์ – (ปพพ.ม.1299) ไม่อาจบังคับได้อย่างทรัพยสิทธิ แต่บังคับระหว่างคู่สัญญาอย่างบุคคลสิทธิได้ ส่วนใหญ่ใช้กับกม.ลักษณะทรัพย์สิน  ดูโมฆะ , โมฆียะ , ตกไป

ไม้ – 1. (พรบ.ป่าไม้  2484 ม.4 (2)) ไม้สักและไม้อื่นทุกชนิด ที่เป็นต้น เป็นกอ เป็นเถา รวมตลอดถึงไม้ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ไม้ไผ่ทุกชนิด ปาล์ม หวาย ตลอดจนราก ปุ่ม ตอ เศษ ปลาย และกิ่งของสิ่งนั้นๆ ไม่ว่าจะได้ถูกตัด ทอน เลื่อย ผ่า ถาก ขุด หรือกระทำโดยประการอื่นใด    2. (พรบ.ป่าสงวนแห่งชาติ  2507 ม.4) ไม้ทุกชนิดทั้งที่เป็นต้น เป็นกอ หรือเถา ไม่ว่ายังยืนต้นหรือล้มลงแล้ว และหมายความรวมตลอดถึงราก ปุ่ม ตอ หน่อ กิ่ง ตา หัว เหง้า เศษ ปลาย หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของไม้ ไม่ว่าจะถูกตัด ฟัน เลื่อย ผ่า ถาก ทอน ขุด หรือกระทำโดยวิธีการอื่นใด   3. (พรบ.อุทยานแห่งชาติ  2504 ม.4) หมายความรวมถึงพันธุ์ไม้ทุกชนิดทั้งที่เป็นต้น เป็นกอ เป็นเถา ตลอดจนส่วนต่างๆ ของไม้

ไม้ประจำที่ – (ก) ไม้ยืนต้น

ไม้แปรรูป – (พรบ.ป่าไม้ 2484 ม.4 (4)) ไม้ที่ได้แปรรูปแล้ว และหมายความรวมถึงไม้ที่อยู่ในสภาพพรางว่าเป็นสิ่งปลูกสร้าง หรืออยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้าง อันไม่ชอบด้วยลักษณะสิ่งปลูกสร้างทั่วๆไป หรือที่ผิดปกติวิสัยหรืออยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้ไม่ชอบด้วยลักษณะของเครื่องใช้เป็นปกติในท้องที่นั้นหรือที่ผิดปกติวิสัย   ไม้ที่อยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรืออยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้ทั้งนี้ตลอดเวลาที่อยู่ในสภาพเช่นนั้น  รวมทั้งไม้ที่เคยอยู่ในสภาพดังกล่าวและผู้ครอบครองพิสูจน์ได้ว่าเคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี สำหรับไม้อื่นที่มิใช่ไม้สักและ 5 ปีสำหรับไม้สัก มิให้ถือว่าเป็นไม้แปรรูป ดู แปรรูป
กรณีที่ถือว่า เป็นไม้แปรรูป เช่น ไม้ตีไว้เป็นฝาเรือน มีช่องว่างระหว่างแผ่นกระดาน  ตีตะปูไว้ครึ่งๆ กลางๆ ถอนได้โดยง่าย (ฎ.471/2505) หรือไม้หรือโครงเรือนที่มีสภาพพรางว่า เป็นสิ่งปลูกสร้างโดยไม่มีเจตนาใช้อยู่อาศัยจริง (ฎ.531/2507) หรือไม้กระดานวางกองอยู่ยังไม่ได้ตอกตะปู ยังคงเป็นไม้ใหม่อยู่ ยังไม่ได้ไสกบและไม่ได้ตัดหัวกระดานให้เรียบ (ฎ.699/2505) หรือไม้ต่อเป็นรูปเรือแต่ยังไม่เสร็จส่วนบนลำเรือยังไม่ได้ปูกระดาน ไม่ได้ยาชัน ยังไม่สามารถลงน้ำเพื่อใช้สอยได้ (ฎ.257/2506) หรือเขียงไม้สักเซาะร่องลึก ขัดและทาน้ำมัน(ฎ.1424/2520) หรือไม้เคี่ยมสับเป็นชิ้นเล็กๆ ใช้ใส่ในน้ำตาลกันบูด (ฎ.1058/2522) เป็นต้น 
กรณีไม่ถือว่าเป็นไม้แปรรูป เช่น เป็นสิ่งปลูกสร้าง หรือเป็นเครื่องใช้ หรือการถากไม้ให้เป็นเหลี่ยมเพื่อสะดวกในการชักลาก (ฎ.83/2503) หรือไม้สักที่ทำเป็นโครงหรือบานหน้าต่างแล้ว  (ฎ.270/2503)หรือไม้บานประตูและบานหน้าต่างสำเร็จรูป (ฎ.1212/2516 , 405/2520 ) โครงเรือนที่กำลังปลูกสร้าง (ฎ.448/2505)หรือเรือที่ต่อสำเร็จเป็นตัวเรือและตอกหมันยาชัน ใช้ล่องตามลำคลองได้ (ฎ.437/2511) หรือถ่าน (ฎ.798/2511)หรือไม้ดุมเกวียน กำเกวียนและถีบเกวียนสำเร็จรูป(ฎ.409/2518)หรือถาดไม้สักรูปฝักถั่วที่ทำขึ้นสำเร็จรูปแล้ว แม้จะยังไม่ได้ขัดน้ำมัน (ฎ.1490/2520) เป็นต้น 

ไม้ฟืน – (พรบ.ป่าไม้  2484 ม.4 (8)) บรรดาไม้ที่มีลักษณะและคุณภาพเหมาะสมที่จะใช้เป็นเชื้อเพลิงยิ่งกว่าจะใช้ประโยชน์อย่างอื่น

ไม่ยอม – (ปวิพ.ม. 149) จงใจฝ่าฝืน (ฎ. 6992/2537)หลงลืมไม่ใช่จงใจฝ่าฝืน(ฎ. 6992/2537)

ไม้ยาง – (พรบ.ป่าไม้ 2484 ม.7) ไม้ยางทั่วไปไม่ว่าจะขึ้นที่ใด ไม้ยางนก ไม้ยางนาและไม้ยางแดงที่ขึ้นในป่าแต่ไม่รวมถึง ไม้ยางพารา

ไม้ยืนต้น – (ประกาศใช้เป็นข้อบังคับชั่วคราวสำหรับการเพาะปลูกสวนใหญ่ สมพักศร ที่ไร่แลนา รัตนโกสินทรศก 127, ปพพ.ม. 145) ต้นไม้ที่มีอายุเกินกว่า 3 ปี เช่น ต้นพลู (ฎ.372/2498) ต้นไผ่ (ฎ. 6303/2539) ต้นมะม่วง ต้นฝรั่ง (ฎ. 4803/2539) ไม้ยืนต้นเป็นอสังหาริมทรัพย์ประเภทหนึ่ง  เดิมเรียกไม้ชนิดนี้ว่า ไม้ประจำที่

ไม้ล้มลุก – (ประกาศใช้เป็นข้อบังคับชั่วคราวสำหรับการเพาะปลูกสวนใหญ่ สมพักศร ที่ไร่แลนา รัตนโกสินทรศก 127, ปพพ.ม. 145) ต้นไม้ที่มีอายุไม่เกิน 3 ปี

ไม้หวงห้าม – (พรบ.ป่าไม้  2484 ม.6) ไม้ 2 ประเภทดังนี้  ประเภท ก. ไม้หวงห้ามธรรมดา  และประเภท ข. ไม้หวงห้ามพิเศษ  การแบ่งแยกประเภทนี้ก็เพื่อประโยชน์เกี่ยวกับการทำไม้ การเก็บค่าภาคหลวงและการกำหนดความผิดและโทษ โดยไม้หวงห้ามประเภท ข. จะมีความสำคัญมากกว่าไม้ประเภท ก.

ไม้หวงห้ามธรรมดา – (พรบ.ป่าไม้ 2484 ม.6) ไม้หวงห้ามประเภท ก. ได้แก่  ไม้ซึ่งการทำไม้จะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรือได้รับสัมปทานตามความในพรบ.นี้ (ป่าไม้)  เช่น ไม้สัก ไม้ยางทั่วไป ไม่ว่าจะขึ้นที่ใด

ไม้หวงห้ามพิเศษ – (พรบ.ป่าไม้ 2484 ม.6) ไม้หวงห้ามประเภท ข. ได้แก่  ไม้หายากหรือไม้ที่ควรสงวนซึ่งไม่อนุญาตให้ทำไม้  เว้นแต่รัฐมนตรี(ว่าการกระทรวงเกษตรฯ)จะได้อนุญาตในกรณีพิเศษ

ไม้ไหลลอย – (พรบ.ป่าไม้  2484 ม.4 (6)) ไม้ต้น ไม้ซุง ไม้ท่อน ไม้เสา ไม้เข็ม ไม้หลัก ไม้เหลี่ยม ไม้กระดาน ซึ่งเป็นไม้หวงห้ามที่ได้ไหลลอยโดยปราศจากการควบคุม

วันอังคารที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2553

ขำขันทนาย ๒

ทนายความคนหนึ่งแห่งมหานคร ลอส แอนเจลิส ได้ถึงแก่ความตาย และวิญญาณของเขา ได้มาโผล่ที่ประตูสวรรค์ เซนต์ ปีเตอร์ก็ถามว่า : "ไหนลองบอกมาซิ ว่าเจ้าเคยทำคุณงามความดีอะไรมาบ้าง เพื่อที่จะได้ผ่านเข้าประตูสวรรค์แห่งนี้?"
ทนายหนุ่มคิดย้อนถึง เรื่องราวในอดีตอยู่ครู่หนึ่ง แล้วจึงตอบ : "เมื่อสัปดาห์ก่อนนี้ ข้าได้ให้เงินสลึงหนึ่งแก่พวกคนจรจัดบนท้องถนน ครับท่าน"
เซนต์ ปีเตอร์ก็หันไปบอกเทพกาบริเอล ให้ตรวจดูบันทึกดูซิ เทพกาบริเอลก็เปิดบันทึกดู แล้วกล่าวยืนยันว่าเป็นเรื่องจริง
เซนต์ ปีเตอร์ : "อืม..นั่นนับว่าเป็นเรื่องที่ดี..แต่ก็ไม่นับว่าดีพอ ที่จะให้เจ้าผ่านเข้าประตูสวรรค์แห่งนี้"
ทนายหนุ่ม : "เดี๋ยวๆ ครับท่าน !" "คือว่า ยังมีอีกนะครับ! ขอบอก คือว่า เมื่อสามปีก่อน ก็ครั้งหนึ่ง ที่ข้านั้น ก็เคยได้ให้เงินสลึงหนึ่งแก่พวกคนจรจัดบนท้องถนนนะท่าน"
เซนต์ ปีเตอร์ก็หันไปพยักหน้าให้เทพกาบริเอลตรวจเช็คดูบันทึกอีกครั้งหนึ่ง  ซึ่งเทพกาบริเอลก็ได้ทำการตรวจดูแป๊บนึง แล้วก็พยักหน้าตอบกลับมาว่า ที่บอกมานั้นเป็นความจริง
เซนต์ ปีเตอร์จึงกระซิบถามเทพกาบริเอล : "อืม..ไหนท่านช่วยบอกมาซิว่า เราจะเอายังไงกับเจ้าหมอนี่ดี?"
เทพกาบริเอลเหลือบตาชำเลืองมองทนายหนุ่มแว๊บหนึ่ง แล้วตอบว่า : "คืนสองสลึงนั่นให้มันไป แล้วบอกให้มันลงนรกไปเลย"

คำสั่งก่อนตาย 

ชาย คนหนึ่งขอร้องเพื่อนสนิททั้งสาม ได้แก่ หมอ นักสังคมสงเคราะห์ และทนายความ ว่าเมื่อใดที่เขาตายไป ให้นำเงินหนึ่งล้านบาท ในซองที่เขากำลัง จะมอบให้เพื่อนแต่ละคนนี้ ใส่ลงไปในโลงศพด้วย ก่อนที่จะเผา เพราะเขาอยากจะมีเงิน ไว้ใช้ในชาติหน้า สัปดาห์ต่อมา ชายคนนี้ได้ตายลง ด้วยอุบัติเหตุ ในงานเผาศพ เพื่อนทั้งสามก็ได้ใส่ซอง ที่ชายคนนี้มอบให้ ลงไปในโลงทั้ง 3 ซอง อย่างที่ได้ตกลงกันไว้

เมื่องานเผาศพ ผ่านไปได้สัปดาห์หนึ่ง คนทั้งสามบังเอิญมาเจอกันในบาร์ จึงชวนกันกินเหล้า นั่งไปได้สักครู่ นัก สังคมสงเคราะห์เริ่มรู้สึกละอายใจ จึงสารภาพออกมา "พวกนายจำเรื่องซองเงิน หนึ่งล้านนั่นได้ไหม พวกนายจะด่า จะว่าเราก็ได้นะ เราขอสารภาพว่า เราใส่ลงไปแค่ 10,000 บาท เท่านั้นเอง แม้เงินที่เหลือนั้น ส่วนหนึ่งเราเอาไปบริจาค ให้พวกเด็กกำพร้าเมื่อวานนี้ แต่เรายังรู้สึกไม่ค่อยสบายใจเลย" ฝ่ายหมอ ได้ยินเข้า จึงรีบพูดขึ้นว่า "ก็ดีแล้วที่นายพูดขึ้นมา เราก็ขอสารภาพเหมือนกัน ว่าเราเหลือเงินไว้ในซองแค่ 8,000 บาท เท่านั้นเอง เราเอาเงินไปใช้ส่วนหนึ่ง แล้วก็บริจาคให้มูลนิธิโรคไต"

ฝ่าย ทนายนั่งฟังอยู่นาน ทนไม่ไหวจึงโวยวายขึ้น "อะไรกันเนี่ย พวกนายเป็นเพื่อนประเภทไหนกัน ไอ้จ้อยมันอุตส่าห์ไว้ใจพวกเรา แต่แกกลับโกงคนตายอย่างงี้เรอะ ให้ตายเถอะ ฉันจะบอกพวกแกไว้เอาบุญนะ ว่าในซองนั่นน่ะฉันใส่เงินครบ ทุกบาททุกสตางค์ตามที่จ้อยมันสั่ง แถมยังเพิ่มเงินของฉันให้อีก 300,000 บาท"

"อะไรนะ นายหมายความว่า ทั้งหมดหนึ่งล้านสามแสนบาทถ้วนๆ เลยเรอะ" เพื่อนทั้งคู่ถาม อย่างไม่เชื่อหูตนเอง

ทนายนิ่งไปพักหนึ่ง ก่อนตอบเบาๆ "อืม! ใช่ ถ้วนๆ เลย แต่ฉันเปลี่ยนเป็น เช็คเงินสดว่ะ เพื่อให้สะดวก ขณะเดินทางสำหรับไอ้จ้อย"

ใจไม่ถึง
 เจ้าพ่อผู้ทรงอิทธิพล จับได้ว่า สมุห์บัญชี ซึ่งเป็นคนใบ้ หูหนวก แอบยักยอกเงินไปกว่า 10 ล้านบาท
เจ้าพ่อจึงจ้างทนายความที่เชี่ยวชาญ ภาษามือเป็นพิเศษเพื่อทำการสอบสวนสมุห์บัญชี
เจ้าพ่อ: ถามมันซิ ว่ามันเอาเงินไปซ่อนไว้ที่ไหน

ทนายความหันไปส่งภาษามือกับสมุห์บัญชี ซักพักก็หันมารายงานเจ้าพ่อว่า"มันบอกว่า พวกท่านพูดเรื่องอะไรกัน"

เจ้าพ่อโกรธจัด ชักปืนออกมาจ่อที่ขมับของสมุห์บัญชี แล้วบอกทนายความว่า"ถามมันอีกครั้ง ว่ามันเอาเงินไปซ่อนไว้ไหน"

ทนายความหันไปส่งภาษามืออีกครั้ง แปลได้ความหมายว่า "ถ้าแกไม่บอก เค้าจะระเบิกสมองแกแน่"


สมุห์ บัญชีกลัว จึงบอกกับทนายความมาเป็นภาษามือว่า " อย่าฆ่าชั้นเลย ชั้นบอกแล้ว เงินทั้งหมดอยู่ในกระเป๋าสีดำใบใหญ่ ฝังอยู่ที่โคนต้นไม้ไกล้กับสุสาน ห่างจากบ้านของ มาคัส ลูกพี่ลูกน้องของชั้น 300 เมตร"

เจ้าพ่อ : มันบอกว่างัย


ทนายความ: มันบอก ว่า ปืนของท่านมันโบราณ ขึ้นสนิม ยิงยังไงก็ไม่ออก ถึงออกก็ไม่ทำให้ถึงตาย ที่สำคัญมันบอกว่าท่านใจไม่ถึง

วิธีปราบยาบ้า
  เด็ก 2 คนติดคุกด้วยข้อหาเสพยาบ้าในโรงเรียน
ในวันพิจารณาโทษศาลวินิจฉัยว่าเด็กทั้งสองนั้นยังเด็กอยู่มาก
 และเพิ่งกระทำผิดป็นครั้งแรก แถมยังหน้าตาดี

“ศาลขอสั่งให้เธอทั้ง สองไปทำความดีในวันหยุดนี้เป็นการไถ่โทษ
เนื่องจากศาลเห็นว่าเธอทั้ง 2 น่าจะมีอนาคตที่ดี
ศาลขอสั่งให้เธอไปชักชวนคนที่ติดยาบ้าจงเลิกเสพเลิกขายไปตลอดชีวิต
ได้ความว่าอย่างไร ให้กลับมารายงานตัวในวันจันทร์นี้ด้วย”

…..ในวันจันทร์
“ตกลงว่าเธอทั้งสองได้ไปทำอะไรบ้างตามคำสั่งศาล
เอ้า จำเลยคนแรกมารายงานต่อศาล”
“เอ่อ..กระผมได้ไปเกลี้ยกล่อมคนติดยาบ้า 15 คน
ไห้เลิกเสพตลอดชีวิตเลยครับใต้เท้า”

“โอ้..amazing มาก แล้วเธอทำอย่างไรล่ะ เล่าให้ศาลฟังซิ”

” กระผมใช้แผนภาพครับผม” แล้วก็วาดวงกลมสองวง ใหญ่วง
 และวงเล็กๆอีก 1 วง (ชี้ไปที่วงกลมใหญ่ก่อน)
“กระผมบอกว่า นี่เป็นขนาดสมองของพวกคุณก่อนเสพยาบ้า
และนี่เป็นขนาดสมองของคุณหลังจากที่เสพยาบ้าแล้ว”

(ศาลตบมือด้วยความชื่นชม)
“ดีมาก เอ้าแล้วจำเลยคนที่สองล่ะ เธอไปทำอะไรมาบ้างล่ะ”

“เอ่อ กระผมได้ไปชักชวนคนที่เสพยาบ้า 150 คน
ให้เลิกเสพไปตลอดชีวิตเลยครับผม”

(เสียงฮือฮาในศาล)….”โอ้ว…ศาลแปลกใจมาก
 เธอไปทำวิธีไหนล่ะ ถึงเกลี้ยกล่อมคนได้ตั้ง 150 คน”

” เอ่อ กระผมใช้วิธีคล้ายกันนี่แหละครับ”
(ชี้ไปที่วงกลมเล็กๆ) “ผมพูดว่า
นี่คือขนาดของรูตูดของคุณก่อนที่จะโดนจับเข้าคุก
 และนี่ขนาดของรูตูดเมื่อเข้าคุกไปแค่วันเดียว”

ยกฟ้อง!!!

ในการตัดสินคดีข่มขืน จำเลยเป็นชายอายุ 23 ปี ถูกกล่าวหาว่าข่มขืนหญิงสาววัย 20 ปี
ศาล : เหตุการณ์เป็นอย่างไร
โจทก์ : เขาพยายามจะข่มขืนดิฉัน ดิฉันจึงวิ่งหนีเข้าไปในห้อง แต่ก็ถูกเขาผลักอัดเข้ากำแพง แล้วก็... ฮือๆ
ศาล : จำเลยสูงเท่าไหร่
จำเลย : 185 เซ็นติเมตร ครับ
ศาล : แล้วจำเลยข่มขืนโจทก์ด้วยวิธีใด
จำเลย : ผมอัดเขาเข้ากำแพง แล้วผมก็... แต่ผม.. ผมไม่ผิดนะครับ!!
ศาล : เอาล่ะ แล้วโจทก์ล่ะสูงเท่าไหร่
โจทก์ : 153 เซ็นติเมตรค่ะ
ศาล : ศาลขอยกฟ้อง เพราะข้อหาไม่มีเหตุผลเพียงพอ
โจทก์ : ได้ยังไงกัน!!! ดิฉันไม่ยอมๆ
ศาล : นี่คุณ!! คนที่สูง 185 ซม. กับ 153 ซม. ข่มขืนกระทำชำเราทางเพศขณะยืนไม่ได้หรอก
โจทก์ : ทำไมจะไม่ได้!! ก็ฉันเขย่ง
ทุกคน : ...........
ศาล : ยกฟ้อง!!!

มือไหน

หญิงสาวผู้หนึ่งถูกข่มขืนจึงไปเเจ้งความ
ตำรวจ : ไหนเล่าสิมันเป็นยังไง
หญิงสาว : ก็มือหนึ่งมันจับล็อกคออีฉัน อีก
มือหนึ่งมันล็อกมืออีฉัน เเล้วมันก็ถกกระโปรงอีฉัน
ตำรวจ : เล่ารายละเอียดสิ
หญิงสาว : มือซ้ายล็อกคอ มือขวาล็อกมือ
ตำรวจ : เเล้วมือไหนถกกระโปรง
หญิงสาว : มืออีฉันเองค่ะ
ตำรวจ : ?????

      คำพูดเหล่านี้เกิดขึ้นจริงในศาลที่มีคดีความผุดขึ้นไม่เว้นแต่ละวัน อ่านไปขำไป ไม่รู้พูดออกมาได้อย่างไร

    ถาม: คุณเกิดวันไหน
    ตอบ: 15 กรกฎาคม
    ถาม: ปีไหน
    ตอบ: ทุกปีน่ะแหละ

    ถาม: ลูกชายคุณอายุเท่าไร คนที่ยังอยู่กับคุณที่บ้านน่ะ
    ตอบ: 38 หรือ 35 นี่แหละ ฉันไม่แน่ใจ
    ถาม: แล้วเขาอยู่ที่บ้านกับคุณมานานแค่ไหนแล้ว
    ตอบ: 45 ปีแล้ว

    ถาม: สามีคุณพูดอะไรเป็นอย่างแรก เมื่อเขาตื่นขึ้นมาตอนเช้า
    ตอบ: เขาพูดว่า “ผมอยู่ที่ไหนเนี่ย แคธี่”
    ถาม: แล้วทำไมคุณถึงเสียใจ
    ตอบ: ก็ฉันชื่อซูซานนี่นา

    ถาม: อุบัติเหตุเกิดขึ้นที่ไหนครับ
    ตอบ: ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 499
    ถาม: แล้วไอ้หลักกิโลเมตรที่ว่าอยู่ตรงไหนครับ
    ตอบ: คงจะระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 498 กับ 500 มั้ง

    ถาม: พลทหาร ตอนที่คุณหยุดรถจำเลย คุณเปิดไฟกะพริบสีแดง สีน้ำเงินไว้ด้วยหรือเปล่า
    ตอบ: เปิดครับ
    ถาม: แล้วจำเลยพูดอะไรหรือเปล่าตอนที่ลงจากรถ
    ตอบ: พูดครับ
    ถาม: เธอพูดว่าอะไร
    ตอบ: ฉันอยู่ที่ดิสโก้ไหนเนี่ย

ไกด์อุบล ยินดีต้อนรับสู่ศูนย์รวมข้อมูลข่าวสาร การท่องเที่ยว เหตุการณ์สำคัญ

ไกด์อุบล ยินดีต้อนรับสู่ศูนย์รวมข้อมูลข่าวสาร การท่องเที่ยว เหตุการณ์สำคัญ

ยรลว



ยก (พิพากษา) - การที่ศาลสูงมีคำพิพากษาวินิจฉัยยกคำพิพากษาของศาลล่างโดยมิได้วินิจฉัยประเด็นแห่งคดีและให้ศาลล่างสืบพยานและมีคำพิพากษาหรือดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ อาจจะเนื่องจากข้อเท็จจริงไม่เพียงพอที่จะวินิจฉัยหรือศาลล่างไม่ได้ปฏิบัติตามตัวบทกม.  ดู กลับ, แก้ , ยืน

ยกเลิกการล้มละลาย – (พรบ.ล้มละลาย  2483 ม.135-136) การทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้สินทั้งหมด รวมทั้งหนี้ภาษีอากร (ฎ.136/2540)

ยกเสีย – (ปวิพ.ม.172) ยกฟ้อง (ฎ.424/2544)

ย้อนสำนวน – (ปวิพ.ม.243) การที่ศาลสูงพิพากษายกคำพิพากษาของศาลล่างโดยกำหนดให้ศาลล่างพิจารณาสืบพยานแล้วพิพากษาใหม่

ยอมให้ดอกเบี้ยตามกฎหมายอย่างสูง – อัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี ตามปพพ.ม.7   (ฎ.3708/2528)

ยักยอก - ความผิดอาญาตามปอ.ม.352 ซึ่งเป็นการกระทำที่ผู้ครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่นหรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต

ยักยอกทรัพย์สินที่ส่งมอบโดยสำคัญผิด - ความผิดอาญาตามปอ.ม.352 ว.2ซึ่งเป็นการที่ผู้กระทำได้รับมอบทรัพย์โดยการส่งมอบที่สำคัญผิด และผู้กระทำเอาทรัพย์สินนั้นไว้แก่ตนเองหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต

ยักยอกทรัพย์สินหาย - ความผิดอาญาตามปอ.ม.352 ว.2ซึ่งเป็นการที่ผู้กระทำเก็บทรัพย์สินได้ และเอาไว้แก่ตนเองหรือบุคคลที่สามโดยทุจริตและโดยไม่รู้หรือไม่มีเหตุควรรู้ว่าเจ้าของทรัพย์กำลังติดตามหรือจะติดตามเพื่อเอาคืน (ถ้ารู้ จะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์)

ยักยอกลายมือชื่อ – (ก) ความผิดตามกม.ลักษณะอาญา ม.315 (ยกเลิกไปแล้ว) เช่น  เซ็นชื่อมอบฉันทะโดยไม่กรอกข้อความแล้วผู้รับมอบฉันทะไปกรอกข้อความโอนขายที่ดินของผู้มอบผิดไปจากที่มอบหมายโดยเจตนาทุจริต (ฎ.491/2492)

ยักย้าย – 1.นำไปไว้ยังสถานที่อื่น เปลี่ยนที่จากที่เดิมไปยังที่แห่งอื่น 2.(ปพพ.ม.1605) การนำทรัพย์มรดกไปไว้ยังที่แห่งอื่น กรณีที่เป็นการปิดบังหรือยักย้ายทรัพย์มรดกเช่น ร้องขอครอบครองปรปักษ์ในที่ดินมรดกจนศาลมีคำสั่ง (ฎ.478/2539) ไปรับโอนมรดกที่ดินแต่เพียงผู้เดียวและโอนที่ดินนั้นให้แก่บุคคลภายนอก (ฎ.5382-5383/2539)  กรณีที่ไม่ใช่ยักย้ายเช่น รับโอนมรดกที่ดินมาโดยสุจริต (ฎ.1160/2497) ขอประกาศรับมรดกโดยไม่ระบุไปในบัญชีเครือญาติว่า ยังมีบุคคลอื่นเป็นทายาทอีก (ฎ.1239 / 2506,433/2528) เบิกความในคดีตั้งผู้จัดการมรดกว่า เจ้ามรดกมีทรัพย์มรดกเพียงเท่าที่เบิกความ แต่ความจริงมีมากกว่านั้น (ฎ.1357/2534) การขอออกโฉนดที่ดินมรดกตามระเบียบของทางราชการแล้วโอนให้บุตรหรือการประกาศขายที่นาและที่สวนมรดกโดยเข้าใจว่าตนเป็นเจ้าของที่ดิน (ฎ.7203/2544) ส่วนใหญ่ศาลจะใช้คู่กับคำว่า ปิดบัง  ดู ปิดบัง

ยักย้ายศพ –  ความผิดตามปอ. ม. 199  ซึ่งเป็นการลอบฝัง  ซ่อนเร้น  ย้ายหรือทำลายศพหรือส่วนของศพเพื่อปิดบังการเกิด การตายหรือเหตุแห่งการตาย    ความผิดนี้เป็นความผิดเกี่ยวกับการทำลายพยานหลักฐาน เป็นความผิดเกี่ยวกับรัฐโดยตรง (ฎ. 6202/2538)

ยา – (พรบ.ยา  2510 ม.4) (1) วัตถุที่รับรองไว้ในคำรายา (2) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษาหรือป้องกันโรค หรือความเจ็บป่วยของมนุษย์หรือสัตว์  (3) วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์ หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป  (4) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้าง หรือการกระทำหน้าที่ใดๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์   วัตถุตาม (1) (2) หรือ (4) ไม่หมายความรวมถึง(ก) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการเกษตรหรืออุตสาหกรรมตามที่รัฐมนตรีประกาศ (ข) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้เป็นอาหารสำหรับมนุษย์ เครื่องกีฬา เครื่องมือ เครื่องใช้ ในการส่งเสริมสุขภาพ เครื่องสำอาง หรือเครื่องมือและส่วนประกอบของเครื่องมือที่ใช้ในการประกอบโรคศิลปะหรือวิชาชีพเวชกรรม (ค) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในห้องวิทยาศาสตร์สำหรับการวิจัยวิเคราะห์หรือการชันสูตรโรคซึ่งมิได้กระทำโดยตรงต่อร่างกายของมนุษย์

ยาควบคุมพิเศษ – (พรบ.ยา  2510 ม.4) ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่รัฐมนตรี(ว่าการกระทรวงสาธารณสุข)ประกาศเป็นยาควบคุมพิเศษ

ยาใช้เฉพาะที่ – (พรบ.ยา  2510 ม.4) ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่มุ่งหมายใช้เฉพาะที่ กับหู ตา จมูก ปาก ทวารหนัก ช่องคลอด หรือท่อปัสสาวะ

ยาใช้ภายนอก – (พรบ.ยา  2510 ม.4) ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่มุ่งหมายสำหรับใช้ภายนอก ทั้งนี้ไม่รวมถึงยาใช้เฉพาะที่

ยานพาหนะอันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกล – ยานพาหนะทุกชนิดที่เคลื่อนที่ไปได้ด้วยกำลังเครื่องจักรกล เครื่องยนต์ ไฟฟ้า พลังงานปรมาณู  เช่น รถยนต์ (ฎ. 2213/2537)  เรือรบ   เรือกลไฟ

ยาบรรจุเสร็จ – (พรบ.ยา  2510 ม.4) ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่ได้ผลิตขึ้นแล้วเสร็จในรูปต่างๆทางเภสัชกรรม ซึ่งบรรจุในภาชนะหรือหีบห่อที่ปิดหรือผนึกไว้ และมีฉลากครบถ้วนตามพรบ.นี้

ยาแผนโบราณ – (พรบ.ยา  2510 ม.4) ยาที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ หรือการบำบัดโรคสัตว์  ซึ่งอยู่ในตำรายาแผนโบราณที่รมต.ประกาศหรือยาที่รมต.ประกาศเป็นยาแผนโบราณ หรือยาที่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนตำรับยาเป็นยาแผนโบราณ

ยาแผนปัจจุบัน – (พรบ.ยา  2510 ม.4) ยาที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม การประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน หรือการบำบัดโรคสัตว์

ย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้ง ณ สถานที่อื่น - (พรบ.คุ้มครองแรงงาน  2541 ม.120) ย้ายสถานประกอบกิจการไปสถานที่อื่นหรือสถานที่แห่งใหม่ มิได้หมายความรวมถึงสถานประกอบกิจการที่อื่นซึ่งนายจ้างมีอยู่ก่อนแล้ว (ฎ. 2228/2545)

ยาสมุนไพร – (พรบ.ยา  2510 ม.4) ยาที่ได้จากพฤกษชาติ สัตว์หรือแร่ ซึ่งมิได้ผสม ปรุง หรือแปรสภาพ

ยาสามัญประจำบ้าน – (พรบ.ยา  2510 ม.4) ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่รัฐมนตรี(ว่าการกระทรวงสาธารณสุข)ประกาศเป็นยาสามัญประจำบ้าน

ยาเสพติดให้โทษ -  ( พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ   2522 มาตรา 4 ) สารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพขึ้นเป็นลำดับ มีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจรุนแรงตลอดเวลา และสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลง กับให้รวมตลอดถึงพืชหรือส่วนของพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษหรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษและสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรี(ว่าการกระทรวงสาธารณสุข)ประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่หมายความถึงยาสามัญประจำบ้านบางตำรับตามกม.ว่าด้วยยาที่มียาเสพติดให้โทษผสมอยู่ (ม.4)  แบ่งเป็น 5 ประเภทคือ (1) ประเภท 1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง เช่น เฮโรอีน (Heroin)  (2) ประเภท 2 ยาเสพติดให้โทษทั่วไป เช่น มอร์ฟีน (Morphine) โคคาอีน (Cocaine) โคเดอีน (Codeine) ฝิ่นยา (Medicianal Opium)  (3) ประเภท 3 ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นตำรับยา และมียาเสพติดให้โทษประเภท 2 ผสมอยู่ด้วย  ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา  (4) ประเภท 4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท 1 หรือประเภท 2 เช่น อาเซติคแอนไฮไดรต์ (Acetic Anhydride) อาเซติลคลอไรต์ (Acetyl Chloride)  (5) ประเภท 5 ยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าอยู่ในประเภท 1 ถึงประเภท 4 เช่น กัญชา พืชกระท่อม  ทั้งนี้ตามที่รัฐมนตรีประกาศระบุชื่อยาเสพติดให้โทษตามม.8(1)   (ม.7)

ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522, พรบ. – กม.อาญาที่กำหนดให้ การเสพ ครอบครอง จำหน่าย ผลิต นำเข้าหรือส่งออกยาเสพติดให้โทษที่ไม่ได้รับอนุญาต มีความผิดและมีโทษ

ยาอันตราย – (พรบ.ยา  2510 ม.4) ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่รัฐมนตรี(ว่าการกระทรวงสาธารณสุข)ประกาศเป็นยาอันตราย

ยี่ต๊อก – (พ.)บัญชีระดับอัตราโทษในคดีอาญาที่ศาลแต่ละศาลกำหนดขึ้นเพื่อให้การกำหนดโทษที่จะลงในความผิดฐานเดียวกันและในศาลเดียวกันไม่แตกต่างกัน

ยึดทรัพย์สิน - การเอาทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษามาดำเนินการบังคับคดีเพื่อให้เป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง

ยึดถือทรัพย์สิน  – (ปพพ.ม. 1367)  ได้เข้าครอบครองหรือทำประโยชน์ในทรัพย์สินเหมาะสมกับสภาพของทรัพย์สินและตามอัตภาพของตน (ฎ.1005/2481) ไม่ว่าจะกระทำโดยตนเองหรือผู้อื่น เช่น ถางที่ดิน 12 ไร่จนเตียนแล้วปลูกถั่วทำนาเพียง 4 ไร่ (ฎ.607/2506) ใช้สิทธิจับปลาในหนองน้ำในฤดูจับปลาเพียงปีละ 3 เดือน (ฎ. 2038/2499) กู้เงินแล้วมอบให้เจ้าหนี้ทำกินต่างดอกเบี้ยและตกลงให้ยึดเอาที่ดินไว้หากผิดนัดชำระหนี้ เมื่อผิดนัดเจ้าหนี้ย่อมครอบครองที่ดินเพื่อตนแล้ว (ฎ. 859, 870/2486, 1208/2491, 1969/2494) ที่ไม่เป็นการยึดถือทรัพย์สิน เช่น  เพียงเข้าไปตัดฟืนเผาถ่านเล็กน้อยเป็นครั้งคราวและเอาโคเข้าไปเลี้ยงในที่ดิน 60-70 ไร่ (ฎ. 266/2533) แจ้ง ส.ค. 1  ต่อนายอำเภอ(ฎ.1719/2514)  แม้ต่อมาจะได้ น.ส. 3 ก็ตาม  (ฎ. 1076-1079/2510) เพียงแต่ปลูกต้นสาคูลงในลำห้วย (ฎ. 836-837/2497) ครอบครองที่พิพาทระหว่างเป็นคดีกัน (ฎ. 1015/2507, 268/2508)

ยืน (พิพากษา) - การที่ศาลสูงมีคำพิพากษาวินิจฉัยตรงกันกับคำพิพากษาของศาลล่างโดยไม่มีการแก้ไข  ดู กลับ , แก้ ,  ยก

ยื่น – (ปวิพ.ม. 85,86) การเสนอเอกสารต่อศาลเพื่อดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง

ยืม –  1. ชื่อของกม.ลักษณะที่ 9 ในบรรพ 3 ปพพ. มีด้วยกัน 2 ประเภทคือ  ยืมใช้คงรูปและยืมใช้สิ้นเปลือง  2. ชื่อที่ใช้เรียกรวมๆ ของสัญญายืมใช้คงรูป ยืมใช้สิ้นเปลือง  และกู้ยืม

ยืมใช้คงรูป - 1.สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ให้ยืม ให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ยืม ใช้สอยทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่า และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินนั้น เมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว  (ปพพ.ม. 640) สัญญานี้จะบริบูรณ์เมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ยืม   2. สัญญาประเภทหนึ่ง 

ยืมใช้สิ้นเปลือง - 1.สัญญาซึ่งผู้ให้ยืม โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไปนั้นมีปริมาณมีกำหนดให้ไปแก่ผู้ยืม และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินเป็นประเภท ชนิดและปริมาณเช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืมนั้น  (ปพพ.ม. 640) สัญญานี้จะบริบูรณ์เมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ยืม   2. สัญญาประเภทหนึ่ง 

ยุติธรรม – ความเที่ยงธรรม ความชอบธรรม ความชอบด้วยเหตุผล

ยุบสภา – การที่ฝ่ายบริหารได้ออกพรฎ..ให้สภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงก่อนถึงคราวออกตามอายุ เนื่องจากรัฐสภามีความวุ่นวาย หรือมีข้อขัดแย้งกันระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร หรือเนื่องจากนโยบายของฝ่ายบริหารที่ต้องการช่วงชิงความได้เปรียบทางการเมือง การยุบสภาต้องกระทำโดย พรฎ. และเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ มีข้อน่าสังเกตว่า  มีแต่การยุบสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น  ไม่มีการยุบวุฒิสภา
ผลของการยุบสภาคือ (1) ทำให้สภาผู้แทนราษฏรสิ้นสุดลงและสมาชิกภาพของสส.ทุกคนสิ้นสุดลงพร้อมกันก่อนครบวาระสภา (2) คณะรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ (3) ต้องจัดมีการเลือกตั้งใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป ภายใน 60 วัน  และ(4) วุฒิสภาจะมีการประชุมไม่ได้ เว้นแต่กม.จะให้อำนาจไว้ และ (5) ร่างพรบ.ที่ค้างอยู่ในการพิจารณาของรัฐสภาจะตกไป

ยุยง – (ปอ.ม. 114,115) ชักชวน ชักจูง หรือจูงใจให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง

เยาวชน  – (พรบ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 ม. 4 )บุคคลอายุเกิน 14 ปีบริบูรณ์แต่ยังไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์



รถ – 1. (พรบ.รถยนต์  2522 ม. 4)  รถยนต์และรถอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงที่เป็นรถ เช่น รถไถนาเดินตามมีกระบะพ่วงมีล้อ 4 ล้อ (ฎ.6889/2546)    2. (พรบ.จราจรทางบก 2522 ม. 4 (15)) ยานพาหนะทางบกทุกชนิด เว้นแต่รถไฟและรถราง  3.(พรบ. การขนส่งทางบก   2522 ม. 4 (9))  ยานพาหนะทุกชนิดที่ใช้ในการขนส่งทางบกซึ่งเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่นและหมายความรวมตลอดถึง รถพ่วงของรถนั้นด้วย ทั้งนี้เว้นแต่รถไฟ  4.(พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ  2535 ม.4) รถตามกม.ว่าด้วยรถยนต์ รถตามกม.ว่าด้วยการขนส่งทางบก  และรถยนต์ทหารตามกมว่าด้วยรถยนต์ทหาร และหมายความรวมถึงรถอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

รถจักรยาน – (พรบ.จราจรทางบก  2522 ม. 4 (18)) รถที่เดินด้วยกำลังของผู้ขับขี่ที่มิใช่เป็นการลากเข็น

รถจักรยานยนต์ – (พรบ.จราจรทางบก  2522 ม. 4 (17)) รถที่เดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่นและมีล้อไม่เกินสองล้อ ถ้ามีพ่วงข้างมีล้อเพิ่มอีกไม่เกินหนึ่งล้อ 

รถฉุกเฉิน – (พรบ.จราจรทางบก  2522 ม. 4 (19)) รถดับเพลิง และรถพยาบาลของราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค และราชการบริหารส่วนท้องถิ่นหรือรถอื่นที่ได้รับอนุญาตจากอธิบดี(กรมตำรวจ)ให้ใช้สัญญาณแสงวับวาบ หรือให้ใช้เสียงสัญญาณไซเรนหรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นตามที่จะกำหนดให้

รถโดยสารประจำทาง – (พรบ.จราจรทางบก  2522 ม. 4 (23)) รถบรรทุกคนโดยสารที่เดินตามทางที่กำหนดไว้ และเรียกเก็บค่าโดยสารเป็นรายคน ตามอัตราที่วางไว้เป็นระยะทางหรือตลอดทาง

รถแท็กซี่ – (พรบ.จราจรทางบก  2522 ม. 4 (24)) รถยนต์ที่ใช้รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน

รถบรรทุก – (พรบ.จราจรทางบก  2522 ม. 4 (20)) รถยนต์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้บรรทุกสิ่งของหรือสัตว์

รถบรรทุกคนโดยสาร – (พรบ.จราจรทางบก  2522 ม. 4 (21)) รถยนต์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้บรรทุกคนโดยสารเกิน 7 คน

รถพ่วง – (พรบ.จราจรทางบก 2522 ม. 4 (26)) รถที่เคลื่อนที่ไปโดยใช้รถอื่นลากจูง

รถยนต์ – (พรบ.จราจรทางบก  2522 ม. 4 (16)) รถที่มีล้อตั้งแต่สามล้อและเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น ยกเว้นรถที่เดินบนราง

รถยนตร์ทหาร – (พรบ.รถยนตร์ทหาร 2476) รถที่เดินด้วยกำลังเครื่องจักรกล (เว้นแต่ที่เดินบนราง) และรถพ่วงซึ่งเป็นของกระทรวงกลาโหมหรือของบุคคลอื่นซึ่งมอบให้ใช้รถนั้นประจำในราชการทหาร

รถยนต์นั่ง – (พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ตอนที่ 5 )การที่จำเลยได้ดัดแปลงสภาพรถยนต์กระบะโดยติดตั้งหลังคาติดต่อเป็นเนื้อเดียวกันในลักษณะถาวร ด้านข้างคนขับมีประตูและด้านหลังคนขับมีที่นั่ง 2 ที่ แม้ที่นั่งดังกล่าวยังไม่มีการร้อยนอต เพียงแต่ใช้ไม้รองและใช้ลวดมัดแทน ก็ตาม สภาพของรถยนต์ภายหลังดัดแปลงตรงตามนิยามคำว่า "รถยนต์นั่ง" ทั้งได้ความว่าจำเลยนำรถยนต์ไปใช้ขับบนท้องถนนแล้วเช่นนี้ จึงถือว่าการดัดแปลงสิ้นสุดลงตามความในมาตรา 144 จัตวา (1) แห่ง พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต 2527  (ฎ. 2753/2547 ป. )

รถโรงเรียน – (พรบ.จราจรทางบก  2522 ม. 4 (22)) รถบรรทุกคนโดยสารที่โรงเรียนใช้รับส่งนักเรียน

รถลากจูง – (พรบ.จราจรทางบก  2522 ม. 4 (25)) รถยนต์ที่สร้างขึ้น เพื่อใช้สำหรับลากจูงรถหรือเครื่องมือการเกษตรหรือเครื่องมือก่อสร้างโดยตัวรถนั้นเองมิได้ใช้สำหรับบรรทุกคนหรือสิ่งของ

รธน. – (ย) รัฐธรรมนูญ

รพีพัฒนศักดิ์,พระองค์เจ้า -  พระนามเดิมของพระบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระบิดาแห่งกม.ไทย

รมต. – (ย) รัฐมนตรี

รวมศูนย์อำนาจ - หลักการจัดระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินโดยรวบอำนาจในการตัดสินใจไปอยู่ในส่วนกลางที่เดียวโดยผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจคือผู้บังคับบัญชาสูงสุด ดูกระจายรวมศูนย์อำนาจ

รวมอำนาจปกครอง - หลักการจัดระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินโดยรวมอำนาจการปกครองประเทศ กำลังบังคับ การวินิจฉัยสั่งการ และการตัดสินใจทุกเรื่องไว้ที่รัฐบาลหรือหน่วยงานราชการส่วนกลางซึ่งได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม มีการบังคับบัญชาตามลำดับชั้นและมีเจ้าหน้าที่ของรัฐในส่วนกลางเป็นผู้ปฏิบัติงาน   แบ่งเป็นการรวมศูนย์อำนาจและการกระจายรวมศูนย์อำนาจหรือแบ่งอำนาจ

รอการลงโทษ – การที่ศาลพิพากษาคดีอาญาโดยกำหนดโทษจำคุกจำเลยไว้ แต่ยังไม่ให้จำเลยต้องรับโทษจำคุกจริงและให้รอการลงโทษจำคุกจำเลยไว้โดยอาจจะคุมประพฤติจำเลยไว้หรือไม่ก็ได้  ทั้งนี้เนื่องจากศาลเห็นว่า การรอการลงโทษน่าจะเป็นผลดีต่อจำเลยมากกว่า  เหตุที่ศาลจะรอการลงโทษ เช่น พฤติการณ์แห่งคดีไม่ร้ายแรง เช่น มีปืนแก๊ป ปืนยาวอัดลมหลายกระบอก แต่มีอานุภาพไม่ร้ายแรง (ฎ.4084/2543) ปลอมสำเนารายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัท (ฎ.394/2544) เป็นลูกจ้างขนถ่ายน้ำมันในเขตต่อเนื่องโดยไม่ได้รับอนุญาต (ฎ.1440/2544)
    เหตุที่ศาลไม่รอการลงโทษ เช่น มีเครื่องชั่งสปริงผิดอัตราไว้ในครอบครอง (ฎ.4165/2543) เป็นนักศึกษาขายเมทแอมเฟตามีน (ฎ.4541/2543) รุมทำร้ายร่างกายผู้เสียหายโดยใช้ไม้ตีหลายครั้งจนได้รับอันตรายสาหัส (ฎ.4585/2543) ปลอมปนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายน้ำมันดังกล่าว (ฎ.5077/2543) ละเมิดอำนาจศาลโดยพกพาอาวุธปืนเข้าในบริเวณศาล หรือแสดงตัวเป็นนายประกันจำเลยและปลอมลายมือชื่อในคำร้องขอประกันตัว (ฎ.5100/2543 , 1286 / 2544 ) ขับรถยนต์บรรทุกมีน้ำหนักเกินกว่าที่ กม. กำหนด (ฎ.6469-6470/2543) มีและใช้เอกสารปลอม (ฎ.8293/2543) เป็นเจ้าของหรือเป็นผู้จัดการค้าประเวณี (ฎ.8690/2543) ขายสารระเหย (ฎ.9041/2543) เบิกความเท็จในคดีอาญา (ฎ.274/2544) ปลอมแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์และนำไปติด (ฎ.314/2544) ทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นยินยอม (ฎ.874/2544)

รอนสิทธิ – การที่มีผู้อื่นมารบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อในอันที่จะครองทรัพย์สินของตนโดยปกติสุข เพราะผู้อื่นนั้นมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันนั้นอยู่ในเวลาซื้อขายหรือเพราะความผิดของผู้ขาย (ปพพ.ม. 475)

ร้องขัดทรัพย์ –   1. (แพ่ง) การที่บุคคลที่ถูกโต้แย้งสิทธิจากการที่ทรัพย์สินถูกยึดในชั้นบังคับคดีได้ร้องต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีเพื่อขอให้ปล่อยทรัพย์ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาและไม่ให้บังคับคดีกับทรัพย์สินนั้นต่อเนื่องจากจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้  ( ปวิพ.ม. 288) บุคคลที่ถูกโต้แย้งสิทธิไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ถูกยึด อาจจะเป็นผู้มีส่วนได้เสีย เช่น ผู้เช่าซื้อแม้จะยังชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบ(ฎ. 399/ 2544 ป.) ผู้ที่ได้กรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์โดยการครอบครองปรปักษ์ (ฎ. 263/ 2520) ผู้ที่อยู่ในฐานะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อน (ฎ. 2686 / 2538) เจ้าหนี้ผู้ครอบครองที่ดินประกันหนี้  หน่วยงานของรัฐมีส่วนได้เสียกับทรัพย์ที่ตนดูแลรักษา (ฎ. 1823 / 2493)  การยื่นคำร้องขัดทรัพย์จะต้องยื่นก่อนการขายทอดตลาดทรัพย์ และศาลจะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีเหมือนอย่างคดีธรรมดา  2. (พรบ.ล้มละลาย 2483 ม.158)  การที่ผู้มีส่วนได้เสียได้คัดค้านการยึดทรัพย์ของ จพท.   การร้องขัดทรัพย์นี้จะต้องคัดค้านต่อ จพท.ก่อน  เมื่อ จพท.สอบสวนแล้วสั่งไม่ให้ถอนการยึด  จึงจะคัดค้านต่อศาลได้  (ฎ.750/2537) ต่างจากการร้องขัดทรัพย์ในคดีแพ่ง

รองประธานรัฐสภา – 1. รองหัวหน้าของสส.และ สว. 2.(รัฐธรรมนูญฯ) ประธานวุฒิสภา    3. (พรบ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา 2523 ม.4)   รองประธานรัฐสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้มีสภานิติบัญญัติสภาเดียว ให้หมายความถึงรองประธานแห่งสภานั้น

ร้องสอด – (ปวิพ.ม. 57-58) การที่บุคคลภายนอกคดีเข้ามามีส่วนร่วมในคดีกับโจทก์จำเลยเดิมในฐานะคู่ความในศาลชั้นต้น แบ่งเป็น 3 กรณีคือ ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามด้วยความสมัครใจ  ร้องสอดเข้าเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วม หรือเข้าแทนที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียทีเดียวและร้องสอดเพราะถูกศาลหมายเรียกให้เข้ามาในคดี การร้องสอดมีวัตถุประสงค์จะให้ข้อพิพาทต่างๆ ในคดีได้รับการพิจารณาพิพากษาให้เสร็จสิ้นไปในคราวเดียวกัน เพื่อให้การพิจารณาคดีเป็นไปโดยรวดเร็ว ดู ร้องสอด

ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามด้วยความสมัครใจ  - การร้องสอดเข้ามาเพื่อขอรับความคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของผู้ร้องสอดเอง  ไม่ได้อาศัยสิทธิของผู้อื่นเพื่อเข้าร่วมหรือแทนที่คู่ความฝ่ายใด ซึ่งอาจโต้แย้งกับโจทก์จำเลยในคดีเดิมทั้งหมดหรือโต้แย้งพิพาทเพียงกับคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ได้    การร้องสอดนี้ทำได้ 2 ระยะคือในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นกับในชั้นบังคับคดี

ร่อนแร่ -  (พรบ.แร่ 2510 ม.4) การกระทำแก่พื้นที่ไม่ว่าจะเป็นที่บกหรือที่น้ำเพื่อให้ได้มาซึ่งแร่โดยใช้แรงคนแต่ละคนตามชนิดของแร่ ภายในท้องที่และวิธีการร่อนแร่ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

ระบบกฎหมาย  – ดู ตระกูลกม.

ระบบกฎหมายของประเทศที่ใช้ประมวล  – ดู ตระกูลกม.โรมาโน -เยอรมานิค

ระบบกฎหมายซิวิลลอว์. – ดู ตระกูลกม.โรมาโน -เยอรมานิค

ระบบกล่าวหา – ระบบการพิจารณาคดีที่ (1)ศาลทำหน้าที่เพียงแต่เป็นคนกลางในการตัดสินคดีอย่างเคร่งครัดจึงไม่มีบทบาทในการค้นหาความจริงหรือมีน้อยมาก แต่หน้าที่ค้นหาความจริงเป็นหน้าที่ของโจทก์และจำเลย (2) โจทก์ จำเลยต่างมีฐานะเท่าเทียมกันในคดี (3)มีการสันนิษฐานไว้ก่อนว่า จำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริงโดยปราศจากข้อสงสัย โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายฟ้องคดีกล่าวหาจำเลยจึงจะต้องนำสืบพยานเพื่อแสดงให้เห็นว่า จำเลยได้กระทำความผิดจริง ส่วนจำเลยมีหน้าที่นำสืบพยานเพื่อหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์  (4) มีการคุ้มครองสิทธิจำเลยเป็นอย่างมาก เช่น การพิจารณาคดีต้องกระทำต่อหน้าจำเลย หรือการให้สิทธิจำเลยที่จะมีทนายความ ระบบนี้ใช้กันมากในประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ แคนาดาและประเทศที่ใช้ระบบกม.คอมมอนลอว์อื่น

ระบบข้อมูล   -   (พรบ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 2544 ม.4)  กระบวนการประมวลผลด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับสร้าง ส่ง รับ เก็บรักษาหรือประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ 

ระบบคอมพิวเตอร์- (พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 ม.3 ) อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ

ระบบไต่สวน – ระบบการพิจารณาคดีที่ (1)เน้นการค้นหาความจริงเป็นหลัก วิธีพิจารณาคดีจึงมีหลักเกณฑ์ที่ยืดหยุ่นกว่าระบบกล่าวหา  (2) ศาลไม่ได้ทำหน้าที่เป็นกลางอย่างเคร่งครัด แต่จะมีบทบาทอย่างมากในการค้นหาความจริงด้วยตนเองตลอดกระบวนการพิจารณา โดยศาลจะสอบถามหรือให้พยานเล่าเรื่องจากนั้นจึงจะให้คู่ความขออนุญาตถามพยานได้  (3) การพิจารณาคดีกระทำลับหลังจำเลยได้  ระบบนี้ใช้กันมากในประเทศภาคพื้นยุโรป

ระบบสุขภาพ – (พรบ.สุขภาพแห่งชาติ 2550 ม.3) ระบบความสัมพันธ์ทั้งมวลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ

ระบายน้ำลงบ่อน้ำบาดาล – (พรบ.น้ำบาดาล  2520 ม.3) การกระทำใดๆ เพื่อถ่ายเทน้ำหรือของเหลวอื่นใดลงบ่อน้ำบาดาล

ระเบียบ – ชื่อของกม.ลำดับรอง ซึ่งมีลำดับต่ำกว่า พรฎ.และกฎกระทรวง  ส่วนใหญ่จะเป็นกฎข้อบังคับที่ใช้ในหน่วยราชการหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง

ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง - การจัดระเบียบบริหารราชการที่ใช้หลักการรวมอำนาจ มีองค์กรสูงสุดคือ คณะรัฐมนตรี กระทรวง และข้าราชการประจำในกระทรวง กรม

ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น – การจัดระเบียบบริหารราชการที่ใช้หลักการกระจายอำนาจการปกครอง โดยมีการจัดองค์การที่เป็นนิติบุคคล มีการบริหารโดยคนในพื้นที่ มีงบประมาณและบุคลากรของตนเอง  ภายใต้การควบคุมกำกับของรัฐ มี 5 รูปแบบคือ เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา

ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค – การจัดระเบียบบริหารราชการที่ใช้หลักการแบ่งอำนาจการปกครองโดยราชการส่วนกลางจะจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปปฏิบัติงานในส่วนภูมิภาค มีอำนาจตัดสินใจบางเรื่องแต่ยังอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของส่วนกลาง ได้แก่ จังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน

ระเบียบวาระการประชุม -     การจัดลำดับเรื่องที่จะเข้าสู่ที่ประชุมของสภาผู้แทนราษฎร  วุฒิสภาหรือรัฐสภาตามลำ ดับก่อนหลัง

ระยะเวลา – (ปพพ.) ช่วงเวลา ที่กำหนดนับกันเป็นชั่วโมง วัน สัปดาห์ เดือน หรือปี

รัฐ – 1. ประเทศ  ซึ่งประกอบด้วยการรวมองค์ประกอบของประชาชน ดินแดน  รัฐบาลและอำนาจอธิปไตยเข้าด้วยกัน   ดู รูปของรัฐ  2.(อริสโตเติ้ล) สังคมสูงสุดโดยรวมเอาสังคมทั้งหลายเข้าด้วยกันทั้งหมด 3. (A.Esmein) สภาพบุคคลทางกม.ของชาติ เป็นรูปแบบสูงสุดของความสัมพันธ์ทั้งหลายในสังคม  

รัฐชาติ - รัฐที่มีการรวมกันเป็นปึกแผ่นบนพื้นฐานแห่งความเป็นชาติโดยมีเจตน์จำนงที่จะอยู่ร่วมผูกพันและปกป้องกัน

รัฐเดี่ยว –  รัฐที่มีองค์กรใช้อำนาจอธิปไตยไม่ว่า ภายนอกหรือภายในเพียงองค์กรเดียว เช่น มีรัฐสภา รัฐบาลหรือองค์กรตุลาการเพียงองค์กรเดียว ไม่มีการแบ่งแยกองค์กรการใช้อำนาจอธิปไตยภายนอกหรือภายในออกจากกัน  

รัฐธรรมนูญ1 –  กม.มหาชนภายในมีฐานะเป็นกม.สูงสุดกม.อื่นไม่อาจขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญได้ การจัดทำแตกต่างจากกม.อื่นและการแก้ไขจะทำได้ยากกว่ากม.ทั่วไป  มีเนื้อหากล่าวถึง การจัดวางโครงสร้างการปกครองประเทศในระดับสูงสุดของรัฐ ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจ การคานและดุลอำนาจ การตรวจสอบควบคุมการใช้อำนาจและสิทธิ เสรีภาพของประชาชน  แบ่งได้หลายประเภทคือ (1) รัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรและที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร  (2) รัฐธรรมนูญในรูปแบบของรัฐบาลแบบรัฐสภาและแบบประธานาธิบดี   (3) รัฐธรรมนูญของรัฐเดี่ยวและรัฐธรรมนูญของรัฐรวม  (4) รัฐธรรมนูญที่แก้ไขง่ายและที่แก้ไขยาก
    คำนี้แปลมาจากคำว่า Constitution โดยพลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ที่ได้ทักท้วงชื่อพรบ.ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินชั่วคราว 2475 ว่าใช้ชื่อไม่เหมาะสมกับที่จะเป็นกม.สำคัญของประเทศ
    คำนี้ถูกใช้สลับกับคำว่า ธรรมนูญ โดยคำว่ารัฐธรรมนูญใช้เมื่อผู้ร่างประสงค์จะให้มีผลบังคับใช้เป็นการถาวร   และใช้คำว่า ธรรมนูญ เมื่อจะให้มีผลใช้บังคับเป็นการชั่วคราว

รัฐธรรมนูญ2 - 1. (ศ.หยุด แสงอุทัย) กม.ที่กำหนดระเบียบแห่งอำนาจสูงสุดในรัฐและความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจเหล่านี้ต่อกัน   2. (ศ.สมภพ โหตระกิตย์)  มีความหมาย 2 นัยคือความหมายอย่างกว้างหมายถึง ระบบกม.จารีตประเพณีและธรรมเนียมปฏิบัติซึ่งกล่าวถึง บรรดาองคาพยพหรือสถาบันการเมืองของรัฐ  หน้าที่และความสัมพันธ์ขององคาพยพหรือสถาบันการเมืองของรัฐและที่เกี่ยวกับเอกชน  ความหมายอย่างแคบหมายถึง กม.ฉบับหนึ่งหรือหลายฉบับซึ่งรวบรวมกฎเกณฑ์การปกครองประเทศขึ้นไว้  เช่น การดำรงตำแหน่งประมุขของรัฐ การทำหน้าที่นิติบัญญัติ หน้าที่บริหาร หน้าที่ตุลาการ ฯลฯ และกม.นั้นได้จัดทำตามวิธีการที่กำหนดเป็นพิเศษ แตกต่างจากกม.ธรรมดา และได้รับยกย่องให้เป็นกม.สูงสุดของประเทศ    3. (ศ.ไพโรจน์ ชัยนาม)กม.ที่กล่าวกำหนดหรือวางระเบียบสถาบันการเมือง 4.(ศ.จิตติ ติงศภัทิย์) เอกสารที่มีความศักดิ์สิทธิ์พิเศษทาง กม. กำหนดกรอบแห่งองค์การปกครองแห่งรัฐ และหลักการสำคัญของการปฏิบัติหน้าที่ปกครองรัฐ  และหลักการสำคัญของการปฏิบัติหน้าที่ปกครองรัฐ  มีความมุ่งหมายให้ถาวรยั่งยืน  โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติมได้  แต่ไม่ใช่ทำลาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (ไทย) พุทธศักราช 2475 – รธน. ถาวรฉบับแรกของไทย ร่างโดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญซึ่งสภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งขึ้นจำนวน 9 คนประกาศใช้เมื่อวันที่ 10 ธค. 2475 ยกเลิกเมื่อวันที่ 9 พค. 2489 มีจำนวน 68 มาตรา มีสภาเดียว คือ สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วย สส. 156 คน มาจากการเลือกตั้งของราษฎร แต่มีบทเฉพาะกาลว่า ให้มีสส. 2  ประเภทในระหว่างที่ผู้เลือกตั้งยังจบประถมศึกษาไม่ถึงกึ่งของจำนวนทั้งหมดและอย่างช้าไม่เกิน 10 ปี (ต่อมาในปี 2487 ได้ขยายเป็น 20 ปี)   โดยสส.ประเภทแรกมาจากการเลือกตั้ง  ประเภทที่ 2 มาจากการแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ถวายรายชื่อให้พระมหากษัตริย์แต่งตั้ง มีจำนวนเท่ากับสส.ประเภทแรกและแต่งตั้งจากราชการประจำได้    ฝ่ายบริหารเป็นคณะรัฐมนตรีประกอบด้วย รมต. 15-24 คนโดยต้องมาจาก สส.ไม่น้อยกว่า 14 คน  มีความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารในรูปของรัฐสภา  มีการคานและดุลย์อำนาจกันโดยรัฐสภามีอำนาจลงมติไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีมีอำนาจยุบสภาได้

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 – รธน. ฉบับที่ 16  ใช้บังคับเมื่อวันที่ 11 ตค. 2540 มี 12 หมวด รวม  336 มาตรา กำหนดให้มี 2 สภาคือ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา  รธน.นี้สิ้นสุดลงโดยการทำรัฐประหารของ คปค.เมื่อ 19 กย. 2546

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 – รธน. ฉบับที่ 17 ซึ่งเป็นฉบับปัจจุบันของไทย ใช้บังคับเมื่อวันที่ 24 สค. 2550 มี 15 หมวดคือ 1.บททั่วไป 2. พระมหากษัตริย์ 3.สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย 4. หน้าที่ของชนชาวไทย 5.แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ 6. รัฐสภา 7.การมีส่วนร่วมทางการเมือง รวม  309 มาตรา กำหนดให้มี 2 สภาคือ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา 

รัฐบาล – 1. คณะรัฐมนตรี คณะบุคคลที่ทำการบริหารประเทศ   2.(กม.มหาชน) สถาบันการเมืองการปกครองที่สำคัญที่สุดของรัฐรวมทั้งผู้แทนที่มีอำนาจดำเนินงานของรัฐ มีหน้าที่สาธารณะ ตอบสนองเจตนารมณ์ของประชาชน สร้างและรักษากม.  ดู คณะรัฐมนตรี

รัฐบาลผสม – รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นโดยประกอบด้วยพรรคการเมืองหลายพรรค

รัฐบาลพลัดถิ่น – รัฐบาลที่ไม่ได้จัดตั้งในประเทศซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ แต่จัดตั้งขึ้นในรัฐต่างประเทศเนื่องจากสาเหตุทางการเมือง

รัฐประหาร – (coup d’etat) การใช้กำลังยึดอำนาจปกครองประเทศอย่างฉับพลันเพื่อเปลี่ยนแปลงคณะรัฐบาล  ดู ปฏิวัติ

รัฐมนตรี -  1.ผู้บังคับบัญชาสูงสุดในกระทรวงที่รับผิดชอบในนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินในกระทรวงนั้นๆ และร่วมรับผิดชอบในนโยบายส่วนรวมของคณะรัฐมนตรี มีที่มาจากนายกรัฐมนตรีเสนอและพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง  อาจแบ่งเป็น รัฐมนตรีว่าการ(รมว.)และรัฐมนตรีช่วยว่าการ(รมช.)   หรือรัฐมนตรีประจำกระทรวงและรัฐมนตรีลอย     2.ตาม รธน.ปัจจุบัน มี รมต. ได้ไม่เกิน 35 คน (ไม่รวม นรม.) รมต.จะเป็นสส.หรือไม่ก็ได้ แต่จะเป็น สว.ในขณะเดียวกันหรือเคยเป็น สว.ไม่เกิน 2 ปีไม่ได้   และจะเป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำนอกจากข้าราชการการเมืองมิได้  ดู คณะรัฐมนตรี  , รัฐมนตรี     3. (พรบ.การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี 2543 ม.3) นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีแต่ละคนในคณะรัฐมนตรี

รัฐมนตรีเจ้าสังกัด – (พรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน 2535 ม.4) รัฐมนตรีว่าการกระทรวง รัฐมนตรีว่าการทบวงและหมายความรวมถึงนายกรัฐมนตรีในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาสำนักนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม และไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงด้วย

รัฐมนตรีลอย – รมต.ที่มิได้เป็น รมว.หรือ รมช. กระทรวงใดกระทรวงหนึ่งโดยเฉพาะ แต่ได้รับการแต่งตั้งเป็น รมต.และร่วมรับผิดชอบในนโยบายของคณะรัฐมนตรี

รัฐรวมสองรัฐ – รัฐสองรัฐที่รวมกันโดยมีประมุขของรัฐร่วมกัน หรือที่มีองค์กรใช้อำนาจอธิปไตยภายนอกร่วมกัน

รัฐรวมหลายรัฐ – รัฐหลายรัฐที่รวมกันโดยมีการจำกัดอำนาจอธิปไตยที่จะใช้ในรัฐแต่ละรัฐลง แบ่งเป็น  2 ประเภทคือ สมาพันธรัฐและสหรัฐ

รัฐวิสาหกิจ   – 1. องค์การที่จัดตั้งโดยรัฐหรือรัฐมีส่วนร่วมในการลงทุนและนำรายได้เข้ารัฐ 2.(พรบ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์  2543 ม.6) (1) องค์การของรัฐบาลตามกม.ว่าด้วยการจัดตั้งองค์การรัฐบาลหรือกิจการของรัฐตามกม.ที่จัดตั้งกิจการนั้นและให้หมายความรวมถึงหน่วยงานธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของ (2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่กระทรวง ทบวง กรมหรือทบวงการเมืองที่มีฐานะเทียบเท่า หรือรัฐวิสาหกิจตาม (1) มีทุนรวมอยู่ด้วยเกินร้อยละ 50

รัฐสภา1 – องค์กรของฝ่ายนิติบัญญัติประกอบด้วย 2 สภาคือ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา  มีประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา และมีประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภา มีอำนาจหน้าที่ 3 ประการคือ (1) ในด้านนิติบัญญัติ คือ การให้คำแนะนำและยินยอมในการตรากม.  (2)  ในด้านควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน   และ (3) ในด้านการให้ความเห็นชอบตามที่ รธน.กำหนด

รัฐสภา2 – (พรบ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา 2523 ม.4)   สภาซึ่งทำหน้าที่นิติบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้มีสภานิติบัญญัติสภาเดียว ให้หมายถึงสภานั้น

รัฏฐาธิปัตย์ – ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินได้แก่ พระมหากษัตริย์หรือผู้มีอำนาจอธิปไตย

รับของโจร – ความผิดอาญาตามปอ.ม.357ซึ่งเป็นการกระทำที่เป็นการช่วยซ่อนเร้น  ช่วยจำหน่าย  ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใดซึ่งทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิด   ถ้าความผิดนั้นเข้าลักษณะลักทรัพย์  วิ่งราวทรัพย์  กรรโชก  รีดเอาทรัพย์  ชิงทรัพย์  ปล้นทรัพย์  ฉ้อโกง ยักยอก หรือเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์

รับช่วงทรัพย์ –  การเอาทรัพย์อันหนึ่งแทนที่ทรัพย์อีกอันหนึ่งในฐานะนิตินัยอย่างเดียวกับทรัพย์สินอันก่อน   การนำทรัพย์อันใหม่เข้าแทนที่ทรัพย์เดิมโดยทรัพย์ใหม่จะมีฐานะหรือภาระผูกพันตามกม.เช่นเดียวกับทรัพย์เดิม

รับช่วงสิทธิ -                (ปพพ.) การที่บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่เจ้าหนี้เดิม ได้เข้ามาสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้คนใหม่แทนเจ้าหนี้เดิมโดยผลของ ก.ม.  (ไม่ใช่โดยผลของนิติกรรม) เป็นผลให้เจ้าหนี้เดิมหมดสิทธิในหนี้นั้น  และผู้รับช่วงสิทธิใช้สิทธิเรียกร้องเท่าที่เจ้าหนี้เดิมมีอยู่ในหนี้ รวมทั้งประกันแห่งหนี้นั้นได้ในนามตนเอง  การรับช่วงสิทธิเกิดโดยผลของกม.เท่านั้น และจะต้องมีกม.บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้มีการรับช่วงสิทธิได้  มี 2 วิธีคือ (1) โดยการใช้ค่าสินไหมทดแทน (ม.227) กล่าวคือ เมื่อลูกหนี้ได้เข้าใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายแก่เจ้าหนี้ ลูกหนี้จะได้รับช่วงสิทธิจากเจ้าหนี้ เช่น ผู้รับประกันวินาศภัยเมื่อได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยแล้ว จะรับช่วงสิทธิไปเรียกค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิด  และ(2) โดยการเข้าชำระหนี้แทน (ม.229)ซึ่งแบ่งเป็น 4 กรณีคือ (ก) เมื่อเจ้าหนี้ชำระหนี้ให้เจ้าหนี้บุริมสิทธิหรือเจ้าหนี้จำนองหรือจำนำ (ข) ผู้ซื้อหรือได้อสังหาริมทรัพย์ไป ชำระราคาที่ซื้อแก่ผู้รับจำนอง หรือ (ค) ผู้ที่มีความผูกพันในหนี้ร่วมกับผู้อื่น เช่น ลูกหนี้ร่วม หรือมีความผูกพันในหนี้เพื่อผู้อื่นเช่น ผู้ค้ำประกัน ได้ชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ (ง) ผู้จะต้องเสี่ยงภัยเสียสิทธิในทรัพย์หรือสิทธิครองทรัพย์ชำระหนี้เพื่อไม่ให้ทรัพย์ถูกบังคับยึดทรัพย์   ดูโอนสิทธิเรียกร้อง

รับมรดกความ(คดีอาญา) – การที่ผู้เสียหายในคดีอาญายื่นฟ้องคดีแล้วตายลง ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยามีสิทธิที่จะดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไป (ปวิอ.ม. 29) โดยบุคคลดังกล่าวจะต้องยื่นคำร้องต่อศาลและจะยื่นมาเมื่อไรก้ได้ ไม่จำเป็น ต้องยื่นภายใน 1 ปี (คส.ฎ. 1595 / 2528)

รับมรดกแทนที่  – การที่ผู้ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629(1)(3)(4) หรือ(6) ถึงแก่ความตายหรือศาลมีคำสั่งให้เป็นบุคคลสาบสูญหรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย  ผู้สืบสันดานโดยตรงของผู้นั้นมีสิทธิรับมรดกแทนผู้นั้น

รับรอง (ตั๋วเงิน) – การที่ผู้จ่ายได้ลงลายมือชื่อและเขียนข้อความลงในด้านหน้าตั๋วเงินว่า รับรองแล้วหรือจะจ่ายเงินตามคำสั่งของผู้สั่งจ่ายหรือข้อความอย่างอื่นทำนองเดียวกันเพื่อแสดงเจตนาว่าเมื่อตั๋วเงินถึงกำหนดตนจะจ่ายเงินให้ตามคำสั่งของผู้สั่งจ่ายที่ปรากฏในตั๋วหรือตามคำรับรองของตน  (ฎ.399/2511) ผลของการรับรองจึงเป็นสัญญาเด็ดขาดของผู้รับรองว่า จะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับเงินหรือตามคำสั่งของผู้รับเงินหรือแก่ผู้ถือตามข้อความในตั๋วที่ได้รับรองนั้น บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้จ่ายจะมารับรองตั๋วเงินไม่ได้ (ฎ.399/2511) มีตั๋วแลกเงินที่ต้องยื่นให้ผู้จ่ายรับรอง 3 ประเภทคือ ตั๋วแลกเงินที่ผู้สั่งจ่ายกำหนดให้มีการรับรอง     ตั๋วแลกเงินที่ผู้สลักหลังกำหนดให้มีการรับรอง     และตั๋วที่สั่งจ่ายเงินเมื่อสิ้นระยะเวลาหนึ่งนับแต่ได้เห็น การรับรองมี 2 ชนิดคือ รับรองตลอดไปและรับรองเบี่ยงบ่าย 

รับรองตลอดไป - การรับรองตั๋วเงินที่ผู้จ่ายยอมรับรองอย่างเต็มที่ตามคำสั่งของผู้สั่งจ่ายและตามเนื้อความของตั๋วเงินโดยไม่มีการแก้ไขหรือโต้แย้งคำสั่ง

รับรองเบี่ยงบ่าย - การรับรองตั๋วเงินที่ผู้จ่ายรับรองแต่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงจากคำสั่งของผู้สั่งจ่ายในตั๋วเงิน เช่น รับรองมีเงื่อนไขหรือรับรองเพียงบางส่วน

รับสภาพความผิด – (ปพพ.ม. 193/35) การที่ลูกหนี้ทำหลักฐานเป็นหนังสือภายหลังที่หนี้ขาดอายุความไปแล้วโดยรับว่าตนเองเป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่ก่อนที่หนี้จะขาดอายุความ แต่ถ้าหากจำเลยไม่เคยเป็นหนี้มาเลย แต่มาทำหนังสือรับสภาพหนี้ไม่เป็นการรับสภาพความผิด (ฎ. 9121/2538)

รับสภาพหนี้ – การที่ลูกหนี้รับต่อเจ้าหนี้ว่า จะชำระหนี้ให้ (ฎ. 595/2537) ไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ (ฎ. 1156/2537)

รับว่าจะให้ – (ปอ.ม. 144, 167)   เจ้าพนักงานเรียกร้องสินบนและฝ่ายที่ถูกเรียกร้องรับว่าจะให้สินบน

ราคา – 1. (ปพพ.ม. 138) คุณค่าหรือประโยชน์ของวัตถุในทางเศรษฐกิจหรือในทางจิตใจก็ได้     2. (ป.รัษฎากร ม. 77/1(16)) เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ อันอาจคิดคำนวณได้เป็นเงินซึ่งได้มีการชำระหรือตกลงจะชำระเพื่อการขายสินค้าหรือการให้บริการ

ราคาตลาด – (ป.รัษฎากร ม.91/1) ราคาที่ซื้อขายกัน หรือที่คิดค่าบริการกันตามความเป็นจริงทั่วไปในขณะใดขณะหนึ่ง ในกรณีที่ราคาตลาดมีหลายราคาหรือไม่อาจทราบราคาได้แน่นอน ให้อธิบดี(กรมสรรพากร)โดยอนุมัติรัฐมนตรี(ว่าการกระทรวงการคลัง)มีอำนาจประกาศใช้เกณฑ์คำนวณเพื่อให้ได้ราคาตลาดเป็นมูลค่าของสินค้าหรือบริการได้

ร่างพระราชบัญญัติ – กม.ที่ยังอยู่ในขั้นตอนการยกร่างและยังไม่มีผลบังคับใช้เป็นกม.

ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน  – (รธน. ม.143) ร่างพรบ.ว่าด้วยเรื่องใดเรื่องหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) การตั้งขี้น ยกเลิก ลด เปลี่ยนแปลง แก้ไข ผ่อน หรือวางระเบียบการบังคับอันเกี่ยวกับภาษีอากร (2) การจัดสรร รับ รักษา หรือจ่ายเงินแผ่นดิน หรือการโอนงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน (3) การกู้เงิน การค้ำประกัน การใช้เงินกู้หรือการดำเนินการที่ผูกพันทรัพย์สินของรัฐ (4) เงินตรา  
 ในกรณีที่มีข้อสงสัยว่าเป็นร่างพรบ.เกี่ยวด้วยการเงินหรือไม่ ให้มีการประชุมร่วมกันวินิจฉัยระหว่างประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานคณะกรรมาธิการสามัญของสภาผู้แทนราษฎรทุกคณะภายใน 15 วันนับแต่วันที่มีข้อสงสัย  การลงมติใช้เสียงข้างมาก
    กระบวนการตรากม.นี้แตกต่างจากพรบ.ธรรมดาตรงที่ (1) การเสนอร่างพรบ.นี้โดยสส.จะต้องมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรี (2) การเสนอร่างไปยังวุฒิสภา ประธาน สภาผู้แทนราษฎรต้องแจ้งไปด้วยว่า  เป็นร่างพรบ.เกี่ยวด้วยการเงิน  ถ้าไม่แจ้ง ถือว่า ไม่ใช่  (3) วุฒิสภาต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 30 วัน (ร่างพรบ.ธรรมดา 60 วัน)
   
ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ – (รธน.) ร่างกม.ที่อนุญาตให้ฝ่ายบริหารใช้จ่ายเงินแผ่นดินได้ในแต่ละปี ซึ่งร่างพรบ.งบประมาณจะหมายความรวมถึง ร่างพรบ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมและร่างพรบ.โอนงบประมาณรายจ่ายด้วย ร่างกม.นี้มีกระบวนการตราที่แตกต่างจากพรบ.ธรรมดาคือ (1) สภาผู้แทนราษฎรต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 105 วันนับตั้งแต่วันที่ร่างพรบ.มาถึง  ถ้าพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา ถือว่าสภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบร่างกม.นี้  (2)  วุฒิสภาต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 20 วันเท่านั้น   ถ้าพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา ถือว่าวุฒิสภาให้ความเห็นชอบร่างกม.นี้  (3) สภาผู้แทนราษฎรจะแปรญัตติเพื่อขอเพิ่มงบประมาณรายจ่ายไม่ได้ และจะแปรญัตติเพื่อมีส่วนในการใช้งบประมาณรายจ่ายไม่ได้  (4) วุฒิสภาจะแปรญัตติไม่ได้เลย คงทำได้แต่ให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบเท่านั้น

ราชการส่วนท้องถิ่น  – 1. .(พรบ.ควบคุมอาคาร 2522 ม. 4) เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่ รมต.ประกาศกำหนดให้เป็นราชการส่วนท้องถิ่น  2.(พรบ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง 2535 ม. 4) เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่กม.กำหนดให้เป็นราชการส่วนท้องถิ่น

ราชกิจจานุเบกษา-  หนังสือของทางราชการที่ตีพิมพ์ตัวบทกม.คำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศต่างๆและข้อเท็จจริงที่สำคัญของทางราชการเพื่อให้ประชาชนได้ทราบ  จัดพิมพ์โดยงานราชกิจจานุเบกษา กองประกาศิต สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี  มี ๔ แผนก ที่สำคัญ คือ แผนกกฤษฎีกาซึ่งตีพิมพ์ตัวบทกม.และประกาศของทางราชการ  และแผนกสามัญซึ่งลงพิมพ์เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม มูลนิธิ   ซึ่งผลของการประกาศคือถือว่าทุกคนได้ทราบแล้วนอกจากนี้ยังมีกม.กำหนดให้ต้องมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาก่อน จึงจะถือว่า ประชาชนทุกคนได้ทราบข้อเท็จจริงแล้ว

ราชบัณฑิตยสถาน – (พรบ.ราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๔๔ )ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และมีฐานะเป็นกรมซึ่งไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง ตามกม.ว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน  มีการแบ่งส่วนราชการออกเป็น 3 สำนักคือ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง สำนักวิทยาศาสตร์ และสำนักศิลปกรรม

ราชศัตรู -  (ปอ.ทหาร ม.๔ ) หมายความตลอดถึงบรรดาคนมีอาวุธที่แสดงความขัดแย้งต่ออำนาจผู้ใหญ่ หรือที่เป็นกบฏหรือเป็นโจรสลัดหรือที่ก่อจลาจล

ราชอาณาจักร – ๑. รัฐที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข  ดู สาธารณรัฐ      ๒. ดินแดนที่ประเทศมีอธิปไตยได้แก่ พื้นแผ่นดิน ทะเลอาณาเขต ฉนวนอากาศที่อยู่เหนือพื้นดิน และเรือรบ  เรือบางประเภทและอากาศยานไทย

ร้านวีดิทัศน์ – (พรบ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ๒๕๕๑ ม.๔)สถานที่ที่จัดให้มีเครื่องมือหรืออุปกรณ์ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกในการฉาย เล่น หรือดูวีดิทัศน์

รายการคำนวณ – (พรบ.ควบคุมอาคาร ๒๕๒๒ ม.๔) รายการแสดงวิธีการคำนวณ กำลังของวัสดุ การรับน้ำหนัก และกำลังต้านทานของส่วนต่างๆ ของอาคาร

รายการประกอบแบบแปลน – (พรบ.ควบคุมอาคาร ๒๕๒๒ ม.๔) ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับคุณภาพและชนิดของวัสดุ ตลอดจนวิธีปฏิบัติหรือวิธีการสำหรับการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารเพื่อให้เป็นไปตามแบบแปลน 

รายงานกระบวนพิจารณา – (ปวิพ.ม.๔๘) เอกสารที่ศาลจดบันทึกข้อความเกี่ยวกับเรื่องที่ได้กระทำในการนั่งพิจารณาหรือดำเนินกระบวนพิจารณาอื่นของศาล (ฎ. ๙๑๑ / ๒๕๔๘) มีข้อความโดยย่อว่า ในวันนั้นศาลหรือคู่ความได้ดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างใดบ้างและลงลายมือชื่อคู่ความและศาล

รายงานของศาล - (ปวิพ.ม. ๔๙) เอกสารทั้งหลายที่ศาลบันทึกในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดี

รายรับ – ๑.(ป.รัษฎากร ม. ๗๙) เงิน  ทรัพย์สิน  ค่าตอบแทนหรือประโยชน์ใดๆ อันมีมูลค่าที่ได้รับหรือพึงได้รับไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรเนื่องจากการประกอบการค้า ๒.. (ป.รัษฎากร ม. ๙๑ / ๑ ) เงิน  ทรัพย์สิน  ค่าตอบแทนหรือประโยชน์ใดๆ อันมีมูลค่าที่ได้รับหรือพึงได้รับไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรเนื่องจากการประกอบกิจการ

ราษฎร – (ปอ.ม. 114 ) พลเมืองทั้งประเทศ

ร่ำรวยผิดปกติ  – (พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 2542 ม.4) การมีทรัพย์สินมากผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมากผิดปกติหรือการมีหนี้สินลดลงมากผิดปกติ หรือได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควร สืบเนื่องมาจากการปฏิบัติตามหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่

ริบทรัพย์สิน – โทษทางอาญาอย่างหนึ่ง

รีดเอาทรัพย์ – 1. การข่มขืนใจผู้อื่น ให้ยอมให้ หรือยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน  โดยขู่เข็ญว่าจะเปิดเผยความลับ  ซึ่งการเปิดเผยนั้นจะทำให้ผู้ถูกขู่เข็ญหรือบุคคลที่สามเสียหาย จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น  2. ความผิดฐานหนึ่งตาม ปอ.ม. 338

รื้อถอน – (พรบ.ควบคุมอาคาร 2522 ม.4) รื้อส่วนที่เป็นโครงสร้างของอาคารออกไป เช่น เสา คาน ตง หรือส่วนอื่นของโครงสร้างตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

รุกล้ำ – (ปพพ.ม.1312) ทำให้บางส่วนเข้าไปในที่ดินของผู้อื่น เช่น ชายคาเรือน (ฎ.741/2505)

รูปของรัฐ – รูปแบบของรัฐที่จัดแบ่งเป็นรัฐเดี่ยว รัฐรวมสองรัฐ  หรือรัฐรวมหลายรัฐ   การกำหนดรูปของรัฐจะมีผลต่อการวางโครงสร้างทางการเมืองและองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐ

รูปของรัฐบาล - รูปแบบของฝ่ายบริหารหรือรัฐบาล

รู้สำนึก – (ปอ.ม. 59) อยู่ใต้บังคับจิตใจ ของผู้กระทำ

เรียก – (ปอ.ม. 143) เรียกร้องให้ผู้อื่นให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์

เรียกประกันทัณฑ์บน -    คำสั่งของศาลที่สั่งให้(1) ผู้ที่จะก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น(ตามข้อเสนอของพนักงานอัยการ) หรือ (2) ผู้ถูกฟ้องคดีในความผิดใด ที่ศาลจะไม่ลงโทษแต่มีเหตุอันควรเชื่อว่า ผู้นั้นน่าจะก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น ต้องทำทัณฑ์บนว่า ผู้นั้นจะไม่ก่อเหตุดังกล่าวตลอดเวลาที่ศาลกำหนดแต่ไม่เกิน 2 ปี โดยกำหนดจำนวนเงินทัณฑ์บนไว้ไม่เกินกว่า 5,000 บาทและศาลจะสั่งให้มีประกันด้วยหรือไม่ก็ได้  เป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยอย่างหนึ่ง  แต่จะใช้วิธีการนี้กับผู้กระทำความผิดที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 17 ปี ไม่ได้

เรียง  (ฟ้อง) – แต่งหรือร่าง

เรือ –  1. (พรบ.เรือไทย  2481 ม.5 ,พรบ.การประมง  2490 ม.4 (4) ,พรบ.ความรับผิดทางแพ่งและค่าเสียหายจากเรือโดนกัน  2548 ม.4, พรบ.การช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล 2550 ม.4 )  ยานพาหนะทางน้ำทุกชนิด    2.(พรบ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย ๒๔๕๖ ม.๓) ยานพาหนะทางน้ำทุกชนิด ไม่ว่าจะใช้เพื่อบรรทุก ลำเลียง โดยสาร ลาก จูง ดัน ยก  ขุด หรือลอก รวมทั้งยานพาหนะอย่างอื่นที่สามารถใช้ในน้ำได้ทำนองเดียวกัน          3. (พรบ.กักเรือ  2534 ม.3) เรือเดินทะเลที่ใช้ในการขนส่งของหรือคนโดยสารทางทะเลระหว่างประเทศ   4.(พรบ.การจำนองเรือและบุริมสิทธิทางทะเล  2537 ม.4 ) เรือขนาดตั้งแต่ 60 ตันกรอสขึ้นไปที่เดินด้วยเครื่องจักรกลไม่ว่าจะใช้กำลังอื่นด้วยหรือไม่ก็ตามและเป็นเรือที่มีลักษณะสำรับใช้ในทะเลตามกฎข้อบังคับการตรวจเรือที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกม.ว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย

เรือกล  –    (พรบ.เรือไทย 2481 ม.5, พรบ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย 2456 ม.3) เรือที่เดินด้วยเครื่องจักรกล จะใช้กำลังอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม 

เรือกลไฟ –   (พรบ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย ๒๔๕๖ ม.๓) เรือที่เดินด้วยเครื่องจักรกลจะใช้ใบด้วยหรือไม่ก็ตาม และให้หมายความรวมตลอดถึงเรือกำปั่นยนต์ด้วย  เรือนี้บางครั้งเรียกเรือกำปั่นไฟ

เรือกลไฟเล็ก  –   (พรบ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย ๒๔๕๖ ม.๓) เรือที่มีขนาดต่ำกว่า ๓๐ ตันกรอสส์ที่เดินด้วยเครื่องจักร

เรือกำปั่น -   (พรบ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย ๒๔๕๖ ม.๓) เรือที่เดินด้วยเครื่องจักรกล หรือด้วยใบและไม่ใช้กรรเชียง แจวหรือพาย

เรือกำปั่นใบ -  (พรบ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย๒๔๕๖ ม.๓)  ดู เรือใบ

เรือกำปั่นไฟ -  (พรบ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย ๒๔๕๖ ม.๓)  ดู เรือกลไฟ

เรือกำปั่นยนต์ -  (พรบ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย๒๔๕๖ ม.๓)  ดู เรือยนต์

เรือขุดหาแร่ -  (พรบ.แร่ 2510 ม.4) เรือหรือแพซึ่งมีอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำเหมืองหรือการแต่งแร่สำหรับใช้ในเรือหรือแพนั้น

เรือเดินทะเล –   ๑.(พรบ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย ๒๔๕๖ ม.๓) เรือที่มีลักษณะสำหรับใช้ในทะเลตามกฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ บางครั้งเรียกเรือทะเล  ๒.(พรบ.ความรับผิดทางแพ่งและค่าเสียหายจากเรือโดนกัน  ๒๕๔๘ ม.๔,พรบ.การช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล ๒๕๕๐ ม.๔) เรือที่มีลักษณะสำหรับใช้ในทะเลตามกฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ ตามกม.ว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย

เรือโดนกัน –   (พรบ.ความรับผิดทางแพ่งและค่าเสียหายจากเรือโดนกัน 2548 ม.4) การปะทะกันระหว่างเรือเดินทะเลหรือการที่เรือเดินทะเลปะทะกับเรือลำอื่น ทำให้เกิดความเสียหายแก่เรือ ทรัพย์สินหรือบุคคลบนเรือที่ปะทะกันลำหนึ่งลำใดหรือทุกลำและให้หมายความรวมถึง การที่เรือเดินทะเลได้ก่อหรือได้รับความเสียหายดังกล่าว โดยมีสาเหตุจากการปฏิบัติการหรืองดเว้นปฏิบัติการเกี่ยวกับการบังคับหรือการควบคุมเรือหรือการฝ่าฝืนกฎข้อบังคับเกี่ยวกับการเดินเรือ แม้ว่าเรือจะมิได้มีการปะทะกัน ทั้งนี้ไม่ว่าเหตุจะเกิดขึ้นในน่านน้ำใดก็ตาม

เรือโดยสาร -   (พรบ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย ๒๔๕๖ ม.๓) เรือที่บรรทุกคนโดยสารเกิน ๑๒ คน

เรือได้สูญเสียโดยสิ้นเชิงแล้ว – (ประกันภัยทางทะเล)เรือเดินทะเลรั่วและจมลง แม้จะมีเรือลากไปเกยตื้นไว้ แต่น้ำท่วมเต็มล้นปากระวางเรือ  ไม่จำต้องแตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย(ฎ.999/2496)

เรือทะเล -  1. (พรบ.เรือไทย 2481 ม.5) เรือที่มีลักษณะสำหรับใช้ในทะเล  2.(พรบ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย ๒๔๕๖ ม.๓)  ดู เรือเดินทะเล

เรือนจำ – 1.(พรบ.ราชทัณฑ์ 2479 ม.4(1)) ที่ซึ่งใช้ควบคุมกักขัง ผู้ต้องขัง กับทั้งสิ่งที่ใช้ต่อเนื่องกัน และให้หมายความรวมตลอดถึงที่อื่นใดซึ่งรมว.(มหาดไทย) ได้กำหนดและประกาศในราชกิจจานุเบกษาวางอาณาเขตไว้โดยชัดเจน  2. (พรบ.เรือนจำทหาร 2479  ม.4(1))  ที่ซึ่งรมว.(กลาโหม) หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากรมต.กำหนดให้เป็นเรือนจำทหาร

เรือบรรทุกสินค้า -   (พรบ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย ๒๔๕๖ ม.๓) เรือที่ไม่มีดาดฟ้าหรือมีไม่ตลอดลำ เดินด้วยกรรเชียง แจวหรือพาย หรือบางทีใช้ใบ และใช้บรรทุกสินค้า

เรือใบ –   (พรบ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย ๒๔๕๖ ม.๓) เรือที่เดินด้วยใบและไม่ใช้เครื่องจักรกล บางครั้งเรียกเรือกำปั่นใบ

เรือประมง -   (พรบ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย ๒๔๕๖ ม.๓) เรือที่ใช้สำหรับการจับสัตว์น้ำหรือทรัพยากรที่มีชีวิตอื่นๆ ที่อยู่ในทะเล

เรือเป็ดทะเลและอื่นๆ หรือเรือเป็ดทะเลและเรืออื่นๆ  -   (พรบ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย ๒๔๕๖ ม.๓) เรือที่ใช้ในเวลาเดินทะเล และใช้ใบหรือกรรเชียงหรือแจวในเวลาเดินในลำแม่น้ำ  และให้หมายความรวมตลอดถึงเรือฉลอมทะเลหรือเรือเท้งฉลอมท้ายญวนหรือเรือสามก้าวด้วย ดู เรือยนต์

เรือโป๊ะ -   (พรบ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย ๒๔๕๖ ม.๓) เรือทะเลที่มีรูปร่างแบบยุโรปและเครื่องเสาเพลาใบอย่างแบบจีนหรือแบบประเทศใด ๆ ในเอเชีย บางครั้งเรียก เรือโป๊ะจ้าย

เรือโป๊ะจ้าย -   (พรบ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย ๒๔๕๖ ม.๓)  ดู เรือโป๊ะ

เรือไม้ที่ต่อแบบโบราณ -   (พรบ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย ๒๔๕๖ ม.๓) เรือใบเสาเดียว  เรือสำเภาหรือเรือไม้ที่ต่อตามแบบเรือที่ใช้อยู่ในสมัยโบราณ

เรือยนต์ –   (พรบ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย ๒๔๕๖ ม.๓) เรือที่เดินด้วยเครื่องยนต์จะใช้กำลังอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม  บางครั้งเรียกเรือกำปั่นยนต์

เรือเล็ก -   (พรบ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย ๒๔๕๖ ม.๓) เรือที่เดินด้วยกรรเชียง แจวหรือพาย

เรือลำน้ำ -   (พรบ.เรือไทย 2481 ม.5) เรืออื่นที่มิใช่เรือทะเล

เรือลำเลียง -   (พรบ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย ๒๔๕๖ ม.๓) เรือที่มิใช่เรือกล และใช้สำหรับลำเลียงหรือขนถ่ายสินค้าจากเรือกำปั่นหรือบรรทุกสินค้าส่งเรือกำปั่น

เรือลำเลียงทหาร -   (พรบ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย ๒๔๕๖ ม.๓) เรือที่ใช้ในการลำเลียงทหาร ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นเรือของทางราชการทหารหรือไม่ก็ตาม

เรือสินค้า -   (พรบ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย ๒๔๕๖ ม.๓) เรือที่มิใช่เรือโดยสาร

เรือสำราญและกีฬา -   (พรบ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย ๒๔๕๖ ม.๓) เรือที่ใช้สำหรับหาความสำราญหรือเรือที่ใช้เพื่อการเล่นกีฬาโดยเฉพาะ  และไม่ได้ใช้เพื่อการค้า การทหารหรือการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์

เรือสำเภา -   (พรบ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย  ๒๔๕๖ ม.๓) เรือเดินทะเลต่อแบบอย่างจีนหรือแบบประเทศใดๆ ในเอเซีย

แร่ – (พรบ.แร่ 2510 ม.4) ทรัพยากรธรณีที่เป็นอนินทรียวัตถุ มีส่วนประกอบทางเคมีกับลักษณะทางฟิสิกส์แน่นอนหรือเปลี่ยนแปลงได้เล็กน้อย ไม่ว่าจะต้องถลุงหรือหลอมก่อนใช้หรือไม่ และหมายความรวมตลอดถึงถ่านหิน หินน้ำมัน หินอ่อน โลหะและตะกรันที่ได้จากโลหกรรม น้ำเกลือใต้ดิน หินซึ่งกฎกระทรวงกำหนดเป็นหินประดับหรือหินอุตสาหกรรม และหินหรือทรายซึ่งกฎกระทรวงกำหนดเป็นดินอุตสาหกรรมหรือทรายอุตสาหกรรม แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงน้ำเกลือสินเธาว์ ลูกรัง หิน ดิน หรือทราย 

โรคจิต – สภาพที่จิตบกพร่องเนื่องจากเกิดจากโรค  หรือภาวะที่มีการสูญเสียหน้าที่การทำงานของจิตใจถึงระดับที่ทำให้เสียความสามารถในการหยั่งรู้ตนเอง ความสามารถที่จะสนองความต้องการที่จำเป็นในการดำรงชีพ หรือความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมต่างๆที่อยู่ในกรอบของความเป็นจริง  เช่น คลอดบุตรแล้วมีอาการ”บ้าเลือด” คุ้มดีคุ้มร้าย ผู้มีอาการคลุ้มคลั่ง จิตเภท  ทำให้ไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้   หรือ เป็นโรคจิตเภท (schizophrenia) (ฎ.733/2521) ผู้ที่กระทำความผิดโดยมีจิตบกพร่องจะไม่ต้องรับโทษตามปอ.ม.65

โรงค้าไม้แปรรูป – (พรบ.ป่าไม้  2484 ม.4 (14)) สถานที่ที่ค้าไม้แปรรูปหรือที่มีไม้แปรรูปไว้เพื่อการค้า รวมถึงบริเวณสถานที่นั้น ๆด้วย

โรงงาน1 – (พรบ.โรงงาน 2535 ม.5 ) อาคาร สถานที่ หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมตั้งแต่ 5 แรงม้า หรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่ 5 แรงม้าขึ้นไป หรือใช้คนงานตั้งแต่ 7 คนขึ้นไปโดยใช้เครื่องจักรหรือไม่ก็ตาม สำหรับทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง ทดสอบ ปรับปรุง แปรสภาพ ลำเลียง เก็บรักษา หรือทำลายสิ่งใดๆ ทั้งนี้ตามประเภทหรือชนิดของโรงงานที่กำหนดในกฎกระทรวง

โรงงาน2- (พรบ.โรงงานผลิตอาวุธของเอกชน 2550ม.4) โรงงานตามกม.ว่าด้วยโรงงานซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานผลิตอาวุธตามพรบ.นี้

โรงงานแปรรูปไม้ – (พรบ.ป่าไม้  2484 ม.4 (13)) โรงงานหรือสถานที่ใดซึ่งจัดขึ้นไว้เป็นที่ทำการแปรรูปไม้ รวมถึงบริเวณโรงงานหรือสถานที่นั้น ๆด้วย

โรงพักสินค้า – (ศุลกากร) สถานที่ซึ่งใช้เป็นที่พักหรือที่เก็บสินค้าหรือสิ่งของเมื่อได้ขนถ่ายจากเรือแล้ว และใช้เป็นที่ตรวจปล่อยสินค้าหรือของเหล่านั้น โดยได้รับอนุมัติจากกรมศุลกากร

โรงภาพยนตร์ – ( พรบ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ๒๕๕๑ ม.๔) สถานที่ฉายภาพยนตร์ดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ เท่าที่มิได้อยู่ภายใต้บังคับตาม กม.ว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (๑) อาคารหรือส่วนใดของอาคารที่ใช้เป็นสถานที่สำหรับฉายภาพยนตร์ (๒) สถานที่กลางแจ้งสำหรับฉายภาพยนตร์  (๓) สถานที่อื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

โรงมหรสพ – (พรบ.ควบคุมอาคาร ๒๕๒๒ ม.๔) อาคารหรือส่วนใดของอาคารที่ใช้เป็นสถานที่สำหรับฉายภาพยนตร์ แสดงละคร แสดงดนตรี หรือการแสดงรื่นเริงอื่นใด และมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดให้สาธารณชนเข้าชมการแสดงนั้นเป็นปกติธุระ โดยจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม

โรงรับจำนำ – (พรบ.โรงรับจำนำ ๒๕๐๕ ม.๔) สถานที่รับจำนำซึ่งประกอบการรับจำนำสิ่งของเป็นประกันหนี้เงินกู้เป็นปกติธุระแต่ละรายมีจำนวนเงินไม่เกินหนึ่งแสนบาท และหมายความรวมตลอดถึง การรับหรือซื้อสิ่งของโดยจ่ายเงินให้สำหรับสิ่งของนั้นเป็นปกติธุระแต่ละรายมีจำนวนเงินไม่เกินหนึ่งแสนบาท  โดยมีข้อตกลงหรือเข้าใจกันโดยตรงหรือโดยปริยายว่า จะได้ไถ่คืนในภายหลังด้วย

โรงเรียนกฎหมาย – (ก) โรงเรียนที่กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ได้ทรงตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐ เพื่อเปิดให้มีการสอนวิชากม.ให้แก่บุคคลทั่วไป  ต่อมาเมื่อวันที่ ๖ มิ.ย. ๒๔๕๕ ได้โปรดเกล้าฯยกเป็นโรงเรียนหลวงอยู่ในกระทรวงยุติธรรมและอยู่ในความควบคุมของสภานิติศึกษาเมื่อวันที่ ๗ ส.ค. ๒๔๖๗ สิงหาคม ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖ โรงเรียนนี้ได้โอนไปรวมอยู่กับแผนกรัฐศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียกว่า แผนกนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ และเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗ จึงได้โอนแผนกนี้ไปดำเนินการสอนอยู่ในมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปัจจุบัน)

โรงเรือน –  ๑. (ปพพ.ม.๔๓๔) อาคาร (ฎ.๙๘๕ / ๒๔๙๗, ๒๑๔๐ / ๒๕๒๐) โรงแรม (ฎ.๑๔๓๘ / ๒๕๒๖ ) บ้านเรือน ตึกและรวมถึงส่วนประกอบของอาคาร เช่น ท่อระบายน้ำจากดาดฟ้าโรงแรม (ฎ.๑๔๓๘ / ๒๕๒๖)  ๒.(ปพพ.ม.๑๓๑๒) ตัวอาคารรวมทั้งส่วนอื่นของอาคาร เช่น ชายคาเรือน (ฎ.๗๔๑ / ๒๕๐๕) ที่ไม่ใช่โรงเรือน เช่น  ท่อน้ำทิ้งและเครื่องปรับอากาศ (ฎ. ๗๗๘ / ๒๕๒๓) ถังส้วมซีเมนต์ (ฎ. ๒๓๑๖ / ๒๕๒๒) เสากำแพงที่แยกต่างหากจากเสาโรงเรือน (ฎ. ๒๐๓๖ / ๒๕๕๓๙)

โรงแรม  –  ๑.(พรบ.โรงแรม  ๒๔๗๘ ม.๓) บรรดาสถานที่ทุกชนิดที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรับสินจ้างสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลที่ประสงค์จะหาที่อยู่หรือที่พักชั่วคราว ๒.(พรบ.คนเข้าเมือง  ๒๕๒๒ ม.๔) บรรดาสถานที่ทุกชนิดที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรับสินจ้างสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลที่ประสงค์จะหาที่อยู่หรือที่พักชั่วคราว ตามกม.ว่าด้วยโรงแรม



ลงคะแนน – (รธน.) มีวิธีการลงคะแนน ๒ วิธีคือ การลงคะแนนโดยเปิดเผย และการลงคะแนนโดยลับ  มติให้ถือเอาเสียงข้างมาก  สมาชิกคนหนึ่งมีเพียง ๑ เสียง หากมีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานสภาเป็นผู้ชี้ขาด

ลงคะแนนโดยเปิดเผย – การลงคะแนนที่ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือประธานวุฒิสภา ต้องจัดให้มีการบันทึกการออกเสียงลงคะแนนของสมาชิกแต่ละคนไว้ และเปิดเผยบันทึกดังกล่าวไว้ในที่ที่ประชาชนเข้าไปตรวจ สอบได้

ลงคะแนนโดยลับ – การลงคะแนนที่ไม่มีการเปิดเผยบันทึกการลงคะแนนไว้ให้ประชาชนตรวจสอบได้ ส่วนใหญ่ใช้กับการออกเสียงลงคะแนนเลือกหรือให้ความเห็นชอบในการที่บุคคลจะเข้าดำรงตำแหน่งใด

ลงมือ – (ปอ.ม.83) การกระทำที่ผ่านพ้นขั้นตอนตระเตรียมการกระทำความผิดแล้ว

ลงลายมือชื่อ – 1.(ปพพ.ม.9) การลงลายมือชื่อในเอกสาร หรือการลงลายพิมพ์นิ้วมือ แกงได หรือเครื่องหมายอื่นในเอกสารโดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรอง 2 คน  2. (ปพพ.ม.900, ตั๋วเงิน) การลงลายมือชื่อเพียงอย่างเดียวไม่รวมการลงเครื่องหมายอื่นเช่นแกงไดหรือลายพิมพ์นิ้วมือ

ลดมาตราส่วนโทษ – การลดโทษที่จะลงแก่จำเลยโดยลดโทษจากอัตราโทษที่กม.กำหนดไว้  ดู ลดโทษที่จะลง

ลดโทษ – การบรรเทาโทษที่จะลงแก่จำเลย ตามกม.อาญามี 2 อย่างคือ ลดมาตราส่วนโทษและลดโทษที่จะลง

ลดโทษที่จะลง – การบรรเทาโทษที่จะลงแก่จำเลยโดยศาลต้องกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยจริงๆ ก่อนแล้ว จึงลดโทษที่จะลงนั้น    ดู ลดมาตราส่วนโทษ

ลบล้าง – (ปพพ.ม. 996) ทำให้หมดไปหรือสิ้นไป  เพิ่มเติม  แก้ไข

ล่วงสิทธิ – การกระทำอันเป็นเหตุให้ให้ผู้อื่นเสียหายในสิทธิ ใช้ในกม.ละเมิดคู่กับคำว่า ผิดหน้าที่   เป็น ล่วงสิทธิผิดหน้าที่

ลหุโทษ -     โทษที่ลงโทษไม่หนัก  โทษเบา   โทษไม่ร้ายแรง   ดู ความผิดลหุโทษ

ละเมิด – 1. การฝ่าฝืน การกระทำความผิดกม.หรือต่อสิทธิของผู้อื่น 2. (ปพพ.) การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกม.ให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิต แก่ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด  เดิมใช้คำว่า ประทุษร้ายทางแพ่ง

ละเมิดลิขสิทธิ์ขั้นต้น –  (พรบ.ลิขสิทธิ์ 2537 ม. 27) การทำซ้ำหรือดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต

ละเมิดลิขสิทธิ์ขั้นรอง – (พรบ.ลิขสิทธิ์ 2537 ม. 31) การกระทำที่สืบเนื่องจากการละเมิดลิขสิทธิ์ขั้นต้นโดยมีลักษณะที่ส่งเสริมให้งานที่ละเมิดลิขสิทธิ์แพร่หลายออกไป ได้แก่การกระทำดังต่อไปนี้ ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อหรือเสนอให้เช่าซื้อ เผยแพร่ต่อสาธารณชน แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ หรือนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งงานที่ตนรู้ว่าหรือมีเหตุควรรู้ว่า ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไร

ละเมิดอำนาจศาล –  ความผิดพิเศษที่กำหนดไว้ในปวิพ. ม.30-32 ซึ่งศาลอาจจะลงโทษผู้กระทำความผิดได้ไม่ต้องมีการฟ้องร้องลงโทษ เหตุที่ถือว่า เป็นการละเมิดอำนาจศาล เช่น การฝ่าฝืนข้อกำหนดของศาลในระหว่างการพิจารณาคดี หรือการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล หรือฟ้องหรือต่อสู้คดีอย่างคนอนาถาเป็นเท็จ  หรือจงใจหลีกเลี่ยงไม่รับคำคู่ความหรือเอกสาร หรือเพราะตรวจหรือคัดลอกเอกสารโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือขัดขืนไม่มาศาลตามคำสั่งศาล ฯลฯ หรือพาอาวุธปืนติดตัวมาบริเวณศาล (ฎ.2083/2543)

ลักทรัพย์ – ความผิดตามปอ.ม.334 ซึ่งเป็นการกระทำความผิดที่ทำลายคุณธรรมทางกม.ในเรื่องกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครอง เป็นการกระทำที่ผู้กระทำเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต

ลักทรัพย์โดยใช้อุบาย - การกระทำความผิดอาญาฐานลักทรัพย์โดยผู้กระทำได้หลอกลวงผู้เสียหายเพื่อให้มีโอกาสเอาทรัพย์นั้นไป (ต่างจากความผิดฐานฉ้อโกง ที่เป็นการหลอกลวงเพื่อให้ส่งมอบทรัพย์สิน)

ลักษณะบ่งเฉพาะ(เครื่องหมายการค้า) - ลักษณะเด่น พิเศษ หรือแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าอื่น  ซึ่งอาจจะเป็นลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเองทำให้ผู้ใช้สินค้าจดจำลักษณะนั้นได้ง่ายหรือโดยทันทีหรือลักษณะบ่งเฉพาะที่เกิดจากการใช้เครื่องหมายการค้าก็ได้

ลักษณะพยาน ร.ศ. 113  , พรบ. –  กม.ว่าด้วยพยานโดยกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ได้ยกเลิกพรบ.เรื่องพยาน จุลศักราช 1232 พรบ.ลักษณะพยาน จุลศักราช 1239  กม.นี้ถูกยกเลิกไปโดยปริยายโดยปวิพ.

ลาภมิควรได้ –  (ปพพ.) การที่บุคคลได้มาซึ่งทรัพย์สินเพราะการที่บุคคลอีกบุคคลหนึ่งกระทำเพื่อชำระหนี้หรือโดยประการอื่นโดยปราศจากมูลอันอาจจะอ้างกม.ได้ และเป็นทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเสียเปรียบ

ลายมือชื่อ –  1. ชื่อของบุคคลที่เขียนด้วยตนเอง (ลายมือชื่อไม่มีกม.ให้ลงชื่อแทนกันได้ แม้จะมอบอำนาจก็จะลงลายมือชื่อแทนกันไม่ได้ (ฎ.1020/2517))   2. การเขียนลายมือชื่อลงไว้ในเอกสาร หรือลงลายพิมพ์นิ้วมือ แกงได ตราประทับหรือเครื่องหมายอื่นทำนองเช่นว่านั้นในเอกสารแทนการลงลายมือชื่อโดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรอง 2 คน หรือลงต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่

ลายมือชื่อที่ลงปราศจากอำนาจ  – (ปพพ.ม.1008) การที่บุคคลเขียนลายมือชื่อผู้อื่นลงในตั๋วเงินโดยมีเจตนาจะลงแทนเจ้าของลายมือชื่อที่แท้จริง  แต่มิได้มีการมอบอำนาจให้ลงลายมือแทน

ลายมือชื่อปลอม – (ปพพ.ม.1006) การที่บุคคลเขียนปลอมลายมือชื่อผู้อื่นลงในตั๋วเงินโดยมีเจตนาให้บุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าใจว่า เป็นลายมือชื่อที่แท้จริงของผู้อื่นนั้น
ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์   -   (พรบ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 2544 ม.4)  อักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใด ที่สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งนำมาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น และเพื่อแสดงว่า บุคคลดังกล่าวยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น

ล่า – (พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า  2535 ม.4)เก็บ ดัก จับ ยิง ฆ่า หรือทำอันตรายด้วยประการอื่นใดแก่สัตว์ป่าที่ไม่มีเจ้าของและอยู่เป็นอิสระ  และหมายความรวมถึง การไล่ การต้อน การเรียกหรือการล่อเพื่อกระทำการดังกล่าวด้วย

ล่าม – บุคคลผู้แปลคำให้การหรือคำเบิกความของคู่ความหรือพยาน

ล้างมลทิน – คำที่ใช้ใน พรบ.ล้างมลทิน ซึ่งจะออกมาในวาระสำคัญๆ ของประเทศหมายถึง การที่ให้ถือว่า ผู้ต้องโทษและผู้ถูกลงโทษทางวินัยที่ได้พ้นโทษไปแล้ว มิได้เคยถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์ทางวินัยเลย  เทียบ อภัยโทษ

ลิขสิทธิ์ – สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆ ตามพรบ.ลิขสิทธิ์เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้กระทำขึ้น   ได้แก่สิทธิดังนี้  ทำซ้ำหรือดัดแปลง  เผยแพร่ต่อสาธารณชน  ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์  โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์และสิ่งบันทึกเสียง   ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิ

ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537, พรบ. – กม.ที่ว่าด้วยลิขสิทธิ์ เจ้าของ สิทธิในการใช้และสิทธิอื่นๆ โดยกำหนดความผิดและโทษไว้

ลุแก่โทษ –  มอบตัวและบอกความผิดของตนเพื่อขอความกรุณาต่อเจ้าพนักงาน เป็นเหตุบรรเทาโทษอย่างหนึ่ง  ที่เป็นลหุโทษ เช่น  ให้การรับสารภาพต่อตำรวจในชั้นสอบสวน อันเป็นประโยชน์ในการพิจารณาคดีของศาล (ฎ.825 / 2530) ยอมให้จับแต่โดยดี พร้อมนำมีดของกลางมามอบให้ (ฎ.479/2520)   นำปืนที่ใช้ในการกระทำความผิดเข้ามอบตัวกับตำรวจ (ฎ. 1499/2513)   ฉุดคร่าหญิงมาแล้ว  ขอขมาเลี้ยงเป็นภริยา (ฎ.1665/2520) ดู เหตุบรรเทาโทษ 

ลูกขุน – (ก) เจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ตัดสินคดีตามกม.ตราสามดวงว่า ฝ่ายไหนจะชนะหรือแพ้คดี

ลูกจ้าง – 1.     (พรบ.คุ้มครองแรงงาน  2541 ม.5) ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่นายจ้างเพื่อรับค่าจ้าง ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร                2. (พรบ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์  2543 ม.6, พรบ.แรงงานสัมพันธ์  2518 ม.5) ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่นายจ้างเพื่อรับค่าจ้าง    3. (พรบ. ประกันสังคม  2533 ม.5) ผู้ซึ่งทำงานให้แก่นายจ้างโดยรับค่าจ้าง ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร  แต่ไม่รวมถึงลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย            4. (พรบ. เงินทดแทน  2541 ม.5) ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่นายจ้างเพื่อรับค่าจ้าง ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร  แต่ไม่รวมถึงลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย             

ลูกจ้างของรัฐบาล – (ปวิพ.ม.286(2) ) ที่ไม่ใช่ลูกจ้างของรัฐบาล เช่น ลูกจ้างการรถไฟแห่งประเทศไทย (ฎ.2541/2545)

ลูกเรือ - (พรบ.การจำนองเรือและบุริมสิทธิทางทะเล  2537 ม.4 ) คนประจำเรือนอกจากนายเรือ

ลูกหนี้ตามคำพิพากษา – 1. คู่ความหรือบุคคลที่เป็นฝ่ายแพ้คดี  ดู เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา 2.(ปวิพ.ม. 290) ลูกหนี้ตามคำพิพากษาผู้ถูกยึดทรัพย์สิน หาได้หมายความถึงลูกหนี้ตามคำพิพากษาอื่นในคดีที่ผู้ขอเฉลี่ยชนะคดีหรือบุคคลอื่นอีกไม่ (ฎ. 2252/2536)

ลูกหนี้ร่วม  -       (ปพพ.ม. 291) ลูกหนี้หลายคนในหนี้รายเดียวกันโดยลูกหนี้แต่ละคนมีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้ดังกล่าวโดยสิ้นเชิงเพียงครั้งเดียว  และเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ร่วมคนใดคนหนึ่งชำระหนี้อย่างสิ้นเชิงหรือโดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่ลูกหนี้ทุกคนก็ยังต้องผูกพันที่จะชำระหนี้ดังกล่าวจนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จโดยสิ้นเชิง

เลตเตอร์ออฟเครดิต – สัญญาประเภทหนึ่งที่กำหนดวิธีการชำระสินค้าในการซื้อขายระหว่างประเทศ โดยผู้ซื้อจะขอให้ธนาคารแห่งหนึ่งตกลงจะมีหนังสือไปถึงธนาคารอีกแห่งหนึ่งเพื่อให้จ่ายเงินให้แก่ผู้ขายสินค้าเมื่อผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าแก่ผู้ขนส่งและนำเอกสารการส่งมอบมายื่นต่อธนาคารแห่งนั้น (ฎ.775 / 2535)

เล่นแชร์ - สัญญาประเภทหนึ่งที่สมาชิกผู้เล่นตกลงระหว่างกันจะประมูลผลประโยชน์ที่จะให้แก่สมาชิกลูกวงแชร์ด้วยกันซึ่งมีจำนวนมากหรือน้อยตามความต้องการของผู้ประมูล เป็นสัญญาที่บังคับกันได้ตามกม.(ฎ.803/2545)

เลียนเครื่องหมายการค้า –  1. ใช้เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะท่าทางเกือบเหมือนของคนอื่น คนทั่วๆไปอาจหลงผิดข้อแตกต่าง จะสังเกตได้ก็ต่อเมื่อเทียบกันโดยใกล้ชิด (ฎ.645/2507,1127/2504)หรือออกเสียงคล้ายกัน ทำให้ผู้ใช้หลง (ฎ.2636/2529) เช่น ใช้เครื่องหมายการค้าคนขี่กระบือกับลิงขี่กระบือ ซึ่งมีท่าทางเกือบเหมือนกัน  (ฎ.645 /2507 ,1127/2504) 2.ความผิดตามปอ.ม. 274 ซึ่งเป็นการกระทำโดยเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นซึ่งได้จดทะเบียนแล้ว ไม่ว่าจะได้จดทะเบียนภายในหรือนอกราชอาณาจักรเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่า เป็นเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น

เลิกจ้าง – (พรบ.คุ้มครองแรงงาน  2541 ม.118) การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด  และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป

เลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม - (พรบ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน  2522 ม.)  การเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะเลิกจ้างลูกจ้างได้ (ฎ.6252-6282/2540) เช่น ปิดกิจการโดยไม่ได้ประสบภาวะขาดทุน (ฎ.6252-6282/2540)

เลือกตั้ง –    การออกเสียงลงคะแนนเพื่อเลือกบุคคลใดบุคคลหนึ่งเพื่อทำหน้าที่ตามที่กม.กำหนด

เลือกตั้ง (สส.) 1 –  การออกเสียงลงคะแนนเพื่อเลือกสส.เข้าไปทำหน้าที่ในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งในโลกมีวิธีการเลือกตั้งอยู่ 3 รูปแบบคือ การเลือกตั้งโดยเสียงข้างมาก การเลือกตั้งแบบอัตราส่วนและการเลือกตั้งแบบผสม

เลือกตั้ง (สส.) 2 –  1. (รัฐธรรมนูญฯ) การออกเสียงลงคะแนนเพื่อเลือกสส.เข้าไปทำหน้าที่ในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งแบ่งเป็น (1.) การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อและการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต และ (2.) การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา   วิธีการเลือกตั้งต้องออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ     2. (พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง 2541 ม.4) เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นแล้วแต่กรณี

เลือกตั้งซ่อม - (รธน.)  การเลือกตั้งสส. หรือ เนื่องจากตำแหน่งสส.ที่มาจากการแบ่งเขตเลือกตั้ง หรือตำแหน่งสว. ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งหรือหลายตำแหน่งว่างลง   ไม่ใช่เนื่องจากถึงคราวออกตามอายุของสภาผู้แทนราษฎรหรือเมื่อมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร      ซึ่งจะเป็นการเลือกตั้งใหญ่   สส.แบบบัญชีรายชื่อไม่มีการเลือกตั้งซ่อมแต่จะใช้วิธีเลื่อนลำดับบัญชีรายชื่อถัดไปขึ้นเป็นสส.แทน

เลือกตั้งทั่วไป - (รธน.)  การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและ การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเนื่องจากถึงคราวออกตามอายุของสภาผู้แทนราษฎรหรือเมื่อมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร      เป็นการเลือกตั้งใหญ่เพื่อเลือก ส.ส.และส.ว.เข้ารัฐสภาใหม่ทั้งชุด   ไม่ใช่การเลือกตั้งซ่อม

เลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ – (รธน.)  การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งที่พรรคการเมืองจัดทำขึ้นเพียงบัญชีเดียวและถือเขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง

เลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง – (รธน.)  การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกได้เขตละ 1 คน

เลือกตั้งแบบผสม – วิธีการเลือกตั้งสส.ที่ใช้ระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากผสมกับระบบอัตราส่วน โดยในการเลือกตั้งสส. ผู้ลงคะแนนจะมีบัตรเลือกตั้ง 2  ใบ ใบหนึ่งลงคะแนนให้กับผู้สมัครในเขตเลือกตั้งและอีกใบหนึ่งลงคะแนนตามบัญชีรายชื่อโดยคิดตามอัตราส่วนของผู้มาใช้สิทธิลงคะแนน ประเทศที่ใช้ระบบการเลือกตั้งนี้คือ  เยอรมนี ญี่ปุ่น และประเทศไทยในปัจจุบัน

เลือกตั้งแบบเสียงข้างมาก – การเลือกตั้งสส.ที่ถือเอาผู้ที่ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดเป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง มี 2 รูปแบบคือ (1) เลือกตั้งแบบเสียงข้างมากรอบเดียว โดยถือเอาผู้ที่ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดเป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง  แม้จะได้คะแนนเสียงมากกว่าคนในลำดับถัดไปเพียงคะแนนเดียวก็ตาม  ซึ่งอังกฤษ อินเดียและประเทศไทยเดิมใช้วิธีการเลือกตั้งนี้ (2) การเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากสองรอบ ซึ่งใช้กับการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต ในแต่ละเขตจะมีผู้แทนได้ 1 คน ผู้ที่จะได้รับการเลือกตั้งจะต้องได้คะแนนเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งในการเลือกตั้งรอบแรก ถ้าหากได้คะแนนน้อยกว่า จะต้องมีการเลือกตั้งเป็นครั้งที่สองโดยให้ผู้ที่ได้รับคะแนนมากในสองอันดับต้นมาแข่งกัน การลงคะแนนในรอบนี้ใครได้คะแนนสูงสุดเป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง  ประเทศที่ใช้วิธีนี้คือ ฝรั่งเศส

เลือกตั้งแบบอัตราส่วน – วิธีการเลือกตั้งสส.ที่ผู้ที่จะได้รับการเลือกตั้งคิดคะแนนจากอัตราส่วนของผู้มาใช้สิทธิลงคะแนน เป็นวิธีที่ใช้กันอยู่ในประเทศยุโรป เช่น เดนมาร์ค นอรเวย์ สวีเดน อิตาลี สวิสเซอร์แลนด์

เลือกตั้งใหญ่ – (พ) เลือกตั้งทั่วไป

เลื่อยโซ่ยนต์ – (พรบ.เลื่อยโซ่ยนต์ 2545 ม.3) เครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้ หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกล และให้หมายความรวมถึงส่วนหนึ่งส่วนใดที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องมือดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ตามที่ รมว.(เกษตรและสหกรณ์) กำหนดในกฎกระทรวง

แลกเปลี่ยน -          1. สัญญาซึ่งคู่กรณีต่างโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้กันและกัน (ปพพ.ม. 518) 2. ชื่อของกม.ลักษณะที่ 2 ในบรรพ 3 ปพพ.  3. ชื่อของสัญญาประเภทหนึ่ง 

โลหกรรม  - (พรบ.แร่ 2510 ม.4) การถลุงแร่หรือการทำแร่ให้เป็นโลหะด้วยวิธีอื่นใดและหมายความรวมตลอดถึงการทำโลหะให้บริสุทธิ์ การผสมโลหะ การผลิตโลหะสำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูปชนิดต่างๆ โดยวิธีหลอม หล่อ รีดหรือวิธีอื่นใด 



วงศ์ญาติ – (ปวพ ม.248 ) ผู้เกี่ยวข้องในฐานะเป็นญาติกับจำเลย  ไม่ว่าจะชั้นใด รวมทั้งญาติทางฝ่ายภริยาของจำเลยด้วย

วงเวียน – (พรบ.จราจรทางบก  2522 ม. 4 (10)) ทางเดินรถที่กำหนดให้รถเดินรอบเครื่องหมายจราจรหรือสิ่งที่สร้างขึ้นในทางร่วมทางแยก

วัฒนธรรม – (พรบ.วัฒนธรรมแห่งชาติ 2485) ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชน

วัดในพระพุทธศาสนา – วัดตามพรบ.สงฆ์  2505 มี 2 ประเภทคือ วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา และสำนักสงฆ์

วัตถุตำรับ – (พรบ.วัตถุที่ออกฤทธ์ต่อจิตและประสาท  2518 ม.4) สิ่งปรุงไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใด ที่มีวัตถุออกฤทธิ์รวมอยู่ด้วย ทั้งนี้รวมทั้งวัตถุออกฤทธิ์ที่มีลักษณะเป็นวัตถุสำเร็จรูปทางเภสัชกรรม ซึ่งพร้อมที่จะนำไปใช้แก่คนหรือสัตว์ได้

วัตถุตำรับยกเว้น – (พรบ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท 2518 ม.4) วัตถุตำรับที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ได้รับการยกเว้นจากมาตรการควบคุมบางประการสำหรับวัตถุออกฤทธิ์ที่มีอยู่ในวัตถุตำรับนั้น

วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518, พรบ. – กม.อาญาที่กำหนดให้ การเสพ ครอบครอง จำหน่าย ผลิต นำเข้าหรือส่งออกวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่ไม่ได้รับอนุญาต มีความผิดและโทษ

วัตถุในทางศาสนา  –  (ปอ.ม. 335 ทวิ) ไม่เป็น เช่นวัตถุในทางศาสนา  รูปพระฤาษีที่เก็บบนกุฏิพระ (ฎ.2382/2519)  ผงดินซึ่งเป็นของขลังเก็บมาจากแหล่งสำคัญทางพุทธศาสนา  บรรจุในฐานองค์พระพุทธรูปเพื่อให้เป็นที่เลื่อมใสยิ่งขึ้น (ฎ. 745/2520)  พระพุทธรูปกับสิงห์สัมฤทธิ์ที่ขุดได้ และเก็บรักษาเองไว้ที่บ้าน (ฎ. 1024/2518)  พระพุทธรูปหน้าตักกว้าง 5 นิ้วตั้งอยู่บนโต๊ะหมู่ในหอสวดมนต์ในวัด  (ฎ. 1024/2518)

วัตถุประสงค์ –  (นิติกรรม ปพพ.ม. 150) วัตถุประสงค์ของนิติกรรมได้แก่ (1) ความมุ่งหมายหรือประโยชน์สุดท้ายที่ผู้ทำนิติกรรมคาดหวังจากการทำนิติกรรมนั้น (2)มูลเหตุชักจูงใจที่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้ด้วย(ฎ.282/2525) 

วัตถุประสงค์แห่งหนี้  -  ประโยชน์สุดท้ายที่เจ้าหนี้จะได้รับจากการชำระหนี้ของลูกหนี้

วัตถุระเบิด – (พรบ.อาวุธปืนฯ ม. 4(3))  วัตถุที่สามารถส่งกำลังดันอย่างแรงต่อสิ่งห้อมล้อมโดยฉับพลัน ในเมื่อระเบิดขึ้น  โดยมีสิ่งเหมาะมากทำให้เกิดกำลังดัน  หรือโดยการสลายตัวของวัตถุระเบิดนั้นทำให้มีแรงทำลาย หรือแรงประหาร  กับหมายความรวมตลอดถึงเชื้อประทุต่างๆ หรือวัตถุอื่นใดอันมีสภาพคล้ายคลึงกันซึ่งใช้หรือทำขึ้นเพื่อทำให้เกิดการระเบิด ซึ่งรัฐมนตรีจะได้ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา

วัตถุแห่งหนี้ – สิ่งที่ต้องกระทำในการชำระหนี้ มี 3 ประเภทคือ กระทำการ งดเว้นกระทำการ และส่งมอบทรัพย์สิน  ดู วัตถุประสงค์แห่งหนี้

วัตถุออกฤทธิ์ – (พรบ.วัตถุที่ออกฤทธ์ต่อจิตและประสาท  2518 ม.4) วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่เป็นสิ่งธรรมชาติหรือที่ได้จากสิ่งธรรมชาติ หรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่เป็นวัตถุสังเคราะห์ ทั้งนี้ตามที่รัฐมนตรี(ว่าการกระทรวงสาธารณสุข)ประกาศในราชกิจจานุเบกษา  แบ่งเป็น 4 ประเภท

วัตถุอันตราย – (พรบ.วัตถุอันตราย 2535 ม.4) วัตถุดังต่อไปนี้ (1)วัตถุระเบิดได้ (2) วัตถุไวไฟ   (3) วัตถุออกซิไดซ์และวัตถุเปอร์ออกซิไดต์  (4) วัตถุมีพิษ  (5) วัตถุที่ทำให้เกิดโรค (6) วัตถุกัมมันตรังสี (7) วัตถุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม  (8) วัตถุกัดกร่อน (9) วัตถุที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง  (10) วัตถุอย่างอื่น ไม่ว่าจะเป็นเคมีภัณฑ์หรือสิ่งอื่นใดที่อาจทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช หรือสิ่งแวดล้อม

วัน – 1. (ปพพ.ม. 193/4)เวลาทำการตามที่ได้กำหนดขึ้นโดยกฎหมาย คำสั่งศาลหรือระเบียบข้อบังคับ หรือเวลาทำการตามปกติของกิจการนั้น แล้วแต่กรณี      2.(ปพพ.ม.909) วัน เดือนและปี

วันขายทอดตลาดทรัพย์สิน – (ปวิพ. ม. 290 วรรค 3) วันสิ้นสุดการขายทรัพย์สินที่ยึดมาในคราวนั้นทั้งหมด (ฎ.464 /2524ป)

วันโฆษณา – (พรบ.ล้มละลาย 2483 ม.91) วันที่ได้มีการเผยแพร่หนังสือออกไปยังสาธารณชน (ฎ.882/2535) ถ้าหากมีการประกาศโฆษณาทั้งในราชกิจจานุเบกษาและในหนังสือพิมพ์รายวัน ให้นับจากวันที่โฆษณาหลังสุด (ฎ. 690/2509)

วันต้องขัง – วันที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยถูกคุมขังระหว่างสอบสวนหรือการพิจารณาคดีก่อนศาลพิพากษาคดี

วันทำงาน –    (พรบ.คุ้มครองแรงงาน  2541 ม.5 , พรบ. ประกันสังคม  2533 ม.5) วันที่กำหนดให้ลูกจ้างทำงานตามปกติ

วันผ่อน – (ปพพ. 903) ขยายระยะเวลาการใช้เงินหรือชำระหนี้  ดู ผ่อนเวลา

วันลา –    (พรบ.คุ้มครองแรงงาน  2541 ม.5) วันที่ลูกจ้างลาป่วย ลาเพื่อทำหมัน ลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็น ลาเพื่อรับราชการทหาร ลาเพื่อการฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ความสามารถ หรือลาเพื่อคลอดบุตร

วันเลือกตั้ง - (พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา 2541 ม. 4) วันที่กำหนดให้เป็นวันเลือกตั้งตามพรฎ.ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา แล้วแต่กรณี

วันศาลยุติธรรม – วันที่ 21 เมษายน ของทุกปี โดยถือเอาจากวันที่ ร.5 ได้ทรงวางศิลาก่อพระฤกษ์อาคารศาลสถิตยุติธรรม(อาคารศาลฎีกาปัจจุบัน) เมื่อปี พ.ศ. 2425

วันหยุด –      (พรบ.คุ้มครองแรงงาน 2541 ม.5) วันที่กำหนดให้ลูกจ้างหยุดประจำสัปดาห์ หยุดตามประเพณี หรือหยุดพักผ่อนประจำปี 

วันออก (เช็ค , ตั๋วเงิน) – 1. (ปพพ.) วันที่ลงในตั๋วไม่ใช่วันที่ผู้สั่งจ่ายเขียนตั๋วเงิน (ฎ. 415/2502 , 254/2503, 1017/2507)  2. (พรบ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค  2534)  วันที่ลงในเช็ค  ไม่ใช่วันที่เขียนเช็ค (ฎ. 5829/2540)

ว่าความ – (ปวิพ. ม.60) การซักถามพยานบุคคลในศาล  การแถลงการณ์ด้วยวาจาในศาลหรือเป็นหนังสือ  แต่ไม่รวมการเรียงหรือแต่งคำฟ้อง (2947/2516)  การยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี การแถลงข้อเท็จจริงต่อศาลในกรณีที่มีการชี้สองสถาน   การยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำคู่ความ

วางทรัพย์ –  การที่ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกได้นำทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งหนี้ไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์ตามที่กม.กำหนด เนื่องจากเจ้าหนี้ได้บอกปัดไม่ยอมรับชำระหนี้หรือไม่สามารถรับชำระหนี้ได้ หรือลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกไม่รู้ตัวเจ้าหนี้หรือไม่อาจหยั่งรู้สิทธิของเจ้าหนี้ได้โดยไม่ใช่ความผิดของตน  การวางทรัพย์ไม่ทำให้หนี้ระงับแต่ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้นั้น อาจทำได้ตามปพพ.ม. 232, 302, 631, 679, 754, 772, 947, 1246  หรือตามกม.อื่น เช่น ปวิพ.ม. 236  พรบ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ 2530

วางหมาย – (ปวิพ.)  การส่งหมายโดยวิธีอื่นนอกจากวิธีปกติธรรมดา

วาระ – ระเบียบขั้นตอนที่กำหนดในการประชุม เช่น วาระการพิจารณาร่างพรบ.ประกอบด้วย วาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ วาระที่ 2 ขั้นพิจารณาเรียงมาตรา วาระที่ 3 ขั้นให้ความเห็นชอบ

ว่าด้วยสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542, พรบ. – กม.ที่ว่าด้วยการกำหนดราคาสินค้าและบริการ และป้องกันการผูกขาด โดยกำหนดความผิดและโทษไว้

วิกลจริต – (อาญา)(ก) คำที่ใช้ในกม.ลักษณะอาญา ร.ศ. 127 แต่ปอ.ม.65 ไม่ได้ใช้คำนี้แล้ว  ดู จิตบกพร่องจิตฟั่นเฟือน โรคจิต

วิ่งความ – (ก.) การอวดอ้างว่า เป็นสมัครพรรคพวกกับอัยการหรือผู้พิพากษาและสามารถวิ่งเต้นคดีให้ชนะคดีหรือช่วยเหลือทางคดีได้

วิ่งราวทรัพย์ – การลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า เป็นความผิดอาญา ตามปอ. ม. 336  

วิจักขณพยาน – (ก) พยานผู้เชี่ยวชาญ พยานบุคคลที่เบิกความให้ความเห็นต่อศาล  พยานความเห็น  ดู สามัญพยาน  พยานผู้เชี่ยวชาญ

วิญญูชน – บุคคลตามปกติธรรมดาทั่วๆไปที่มีเหตุผลและมีระดับความระมัดระวัง  เป็นบุคคลที่กม.สมมุติขึ้นเพื่อใช้ในการวัดระดับมาตรฐานความระมัดระวังของคู่สัญญา  ส่วนในการทำละเมิดหรือทางอาญาไม่ใช้มาตรฐานวิญญูชนแต่ใช้ระดับมาตรฐานของบุคคลที่อยู่ในภาวะและพฤติการณ์อย่างเดียวกับผู้กระทำ แปลมาจากคำว่า  reasonable man

วิทยานิพนธ์ – ผลงานทางวิชาการของผู้ศึกษาในระดับอุดมศึกษา ที่ศึกษา ค้นคว้า หรือวิจัยองค์ความรู้ใหม่และถือเป็นเงื่อนไขสำคัญในการสำเร็จการศึกษาในชั้นนั้นๆ

วิธีการชั่วคราวก่อนศาลพิพากษา (ปวิพ.) – มี 3 วิธีการคือ การที่จำเลยขอให้โจทก์วางเงินประกันค่าธรรมเนียม  การที่โจทก์ขอให้คุ้มครองชั่วคราว และการที่คู่ความขอคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณา

วิธีการเพื่อความปลอดภัย – วิธีการตามปอ.ที่กำหนดไว้เพื่อรักษาความปลอดภัยของสังคม แต่ไม่ใช่โทษ   มี  5  อย่างคือ  กักกัน  ห้ามเข้าเขตกำหนด  เรียกประกันทัณฑ์บน  คุมตัวไว้ในสถานพยาบาล  และห้ามการประกอบอาชีพบางอย่าง

วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง – (พรบ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง 2539 ม.5)  การเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครองหรือกฎ  และการรวมถึงการดำเนินการใด ๆ ในทางปกครองตามพรบ.นี้

วินาศภัย – 1. (ปพพ.ม.869)หมายความรวมเอาความเสียหายอย่างใดๆ บรรดาซึ่งจะพึงประมาณเป็นเงินได้   2. (พรบ.ประกันวินาศภัย  2535 ม.4) ความเสียหายอย่างใดๆ บรรดาที่จะพึงประมาณเป็นเงินได้ และหมายความรวมถึงความสูญเสียในสิทธิ ผลประโยชน์หรือรายได้ด้วย

วิสัยของสัตว์ - (ปพพ.ม.433) นิสัยของสัตว์ว่า เป็นสัตว์ดุหรือเชื่อง

วิสามัญฆาตกรรม – 1.การที่ผู้ตายถูกฆ่าโดยเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติงานตามหน้าที่หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานดังกล่าว 2. (ก) (พรบ.ชันสูตรพลิกศพ  2457) คดีฆาตกรรมที่ผู้ตายได้ตายด้วยการถูกเจ้าพนักงานฆ่าตายในเวลากระทำการตามหน้าที่

วิสาสะ – คุ้นเคยสนิทสนม การถือว่าเป็นกันเอง (ฎ.217/2501) หรือขออนุญาตใช้ (ฎ.74/2540) ใช้ในการวินิจฉัยในเรื่องภาระจำยอม โดยถ้าเป็นการใช้ทางโดยวิสาสะแล้ว จึงไม่ใช่การใช้ทางในทางอันเป็นปรปักษ์แก่เจ้าของที่ดินและไม่อาจอ้างภาระจำยอมได้

วีดิทัศน์ – ( พรบ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ 2551 ม.4) วัสดุที่มีการบันทึกภาพ หรือภาพและเสียงซึ่งสามารถนำมาฉายให้เห็นเป็นภาพที่เคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่องในลักษณะที่เป็นเกมการเล่น คาราโอเกะที่มีภาพประกอบหรือลักษณะอื่นใดตามที่กำหนดในกฎกระทรวง 

วุฒิสภา – องค์กรนิติบัญญัติซึ่งทำหน้าที่พิจารณาร่างกม. ที่ผ่านการพิจารณามาจากสภาผู้แทนราษฎรมีประธานวุฒิสภา 1 คนและรองประธานฯ  1- 2คน มีสมาชิกรวม 150 คน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด จังหวัดละ 1 คน และสมาชิกที่เหลือมาจากการสรรหา มีกำหนดอายุคราวละ 6 ปีนับแต่วันที่มีเลือกตั้งหรือวันที่ กกต.ประกาศผลการสรรหา
    อำนาจหน้าที่ของวุฒิสภามีดังนี้ (1) อำนาจหน้าที่ที่มีมากกว่าสภาผู้แทนราษฎร คือ (1.1) เลือก แต่งตั้ง แนะนำ หรือให้ความเห็นชอบในการที่บุคคลจะเข้าดำรงตำแหน่งในองค์กรตามรัฐธรรมนูญคือ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ  ตุลาการศาลปกครอง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการศาลปกครอง  กรรมการตุลาการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรม การตุลาการศาลยุติธรรม  คณะกรรมการปปช. คณะกรรม การกกต.  ผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน  (1.2) ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่มีพฤติกรรมทุจริต  (2) อำนาจหน้าที่ที่มีเท่ากับหรือต้องใช้ร่วมกับสภาผู้แทนราษฎร คือ  (2.1) การให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์   (2.2) การปฏิญาณตนของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่อรัฐสภา   (2.3) การรับทราบการแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์  (2.4) การรับทราบหรือให้ความเห็นชอบในการสืบราชสมบัติ  (2.5) การปรึกษาร่างพรบ.หรือร่างพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญ (2.6)  การมีมติให้รัฐสภาพิจารณาเรื่องอื่นนอกจากร่างพรบ.ได้ในสมัยประชุมสภาสามัญนิติบัญญัติ (2.7) การให้ความเห็นชอบในการปิดสมัยประชุมสภา  (2.8) การเปิดสมัยประชุมสภา  (2.9) การให้ความเห็นชอบในการพิจารณาร่างพรบ. หรือร่างพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญ (2.10) การให้ความเห็นชอบให้พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม  (2.11) การตราข้อบังคับการประชุมรัฐสภา (2.12) การแถลงนโยบาย  (2.13) การเปิดอภิปรายทั่วไป  (2.14) การให้ความเห็นชอบในการประกาศสงคราม (2.15) การให้ความเห็นชอบหนังสือสัญญา หรือสนธิสัญญา (2.16) การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ   (3) อำนาจหน้าที่ที่วุฒิสภาไม่มีเลย ได้แก่  (3.1) การเสนอร่างกม. (3.2) การเสนอหรือแปรญัตติร่างพรบ.งบประมาณ  (3.3) การเสนอและลงมติในญัตติไม่ไว้วางใจของรัฐบาล

เวนคืน(อสังหาริมทรัพย์) – การที่รัฐบังคับเวนคืนกรรมสิทธิ์ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นของเอกชน คืนมาเป็นของรัฐตามเงื่อนไขที่กม.บัญญัติ

เว้นแต่จะปรากฏจากข้อกำหนดว่า ผู้สั่งจ่ายหมายเพียงแต่จะปลดตนเองให้พ้นจากการประกันรับรอง - (ปพพ.ม.973) การที่ผู้สั่งจ่ายไม่ได้กำหนดเวลายื่นตั๋วให้รับรองเป็นเงื่อนไขในการใช้สิทธิไล่เบี้ย  แต่กำหนดโดยมีเจตนาแต่เพียงว่า  ถ้ายื่นช้ากว่ากำหนด ผู้สั่งจ่ายไม่รับรองว่าผู้จ่ายจะรับรอง   ดังนี้การไม่ยื่นตั๋วให้รับรองจึงไม่ทำให้เสียสิทธิไล่เบี้ย

เวลา – (ปวิอ.ม.158(5))   วัน เดือน ปี และเวลากระทำความผิดด้วย(เวลากลางวันหรือ  กลางคืน) (ฎ. 512/ 2493 )ฟ้องระบุวันที่ทำผิดแต่ไม่กล่าวถึงเวลา ถือว่าฟ้องไม่สมบูรณ์ (ฎ. 508/2490)

เวลากลางคืนก่อนเที่ยง – คำว่า เที่ยง ในที่นี้หมายถึง เที่ยงวัน จึงหมายถึง เวลาภายหลังเที่ยงคืน( 00.01) ของวันนั้นจนถึงเวลาพระอาทิตย์ขึ้นซึ่งเป็นเวลาก่อนเที่ยงวัน(12.00) ของวันนั้น มักใช้ในคำฟ้องคดีอาญาเพื่อบรรยายเวลากระทำความผิด

เวลากลางคืนหลังเที่ยง – คำว่า เที่ยง ในที่นี้หมายถึง เที่ยงวัน จึงหมายถึง เวลากลางคืนภายหลังพระอาทิตย์ตกดินของวันนั้นจนถึงเที่ยงคืนของวันนั้น ซึ่งเป็นเวลาหลังเที่ยง(12.00)ของวันนั้น มักใช้ในคำฟ้องคดีอาญาเพื่อบรรยายเวลากระทำความผิด

โวหารกรมสวัสดิ์ (หนังสือ) - หนังสือรวบรวมคำตัดสินของสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์  อธิบดีศาลฎีกา โดยหลวงราชบัญชาเป็นผู้รวบรวม จัดพิมพ์ในปีพ.ศ. 2454