วันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ข่าว๑๐-๓๐


จำนวนคนอ่านล่าสุด 65 คน

วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7275 ข่าวสดรายวัน


ยื่นปปช.สอบ 4เปารธน.แต่งตั้งลูก


เป็นเลขาฯแต่ชื่อ-ตัวไม่อยู่ ยกฟ้องอจ.ฉีกบัตรเลือกตั้ง อธิบดีศาลเห็นแย้ง-ชี้ทำผิด


ศาลยกฟ้อง "ไชยันต์ ไชยพร" อาจารย์รัฐศาสตร์ จุฬาฯฉีกบัตรเลือกตั้ง 2 เม.ย. 49 ศาลระบุจำเลยฉีกบัตรเพื่อสื่อถึงการไม่ยอมรับเลือกตั้งที่ไม่เป็นธรรมตามระบอบประชาธิปไตย ไม่ได้ก่อเหตุวุ่นวายและทำให้เสียหาย ชมรมกฎหมายภิวัตน์ ยื่นป.ป.ช.และผู้ตรวจการแผ่นดิน สอบ 4 ตุลาการศาลรธน. ตั้งลูกและหลานเป็นเลขา นุการ 'เทอดพงษ์'สอบ'วิรัช'โผล่ ในคลิปฉาวเสร็จ เตรียมสรุปส่ง'มาร์ค' 1 พ.ย. 'สุวัจน์' เชื่อมีเลือกตั้งเร็วๆ นี้หลังนายกฯปูดเลือกตั้งปีหน้า

ยื่นป.ป.ช.สอบ4เปารธน.

เมื่อวันที่ 29 ต.ค.นายพิชา วิจิตรศิลป์ ประธานชมรมกฎหมายภิวัฒน์แห่งประเทศไทย ให้สัมภาษณ์ภายหลังยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการป.ป.ช. ให้ไต่สวนและดำเนินคดี 4 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แต่งตั้งบุคคลใกล้ชิดดำรงตำแหน่งเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ ว่า สืบเนื่องจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 4 คน ประกอบด้วย นายบุญส่ง กุลบุปผา นายสุพจน์ ไข่มุกด์ นายเฉลิมพล เอกอุรุ และนายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี มีพฤติการณ์ส่อว่าน่าจะกระทำการอันเป็นการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมตามมาตรา 100 (1) ประกอบมาตรา 122 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และส่อว่าน่าจะกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามมาตรา 152 และมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

ตั้งลูก-หลานเป็นเลขาฯ

นายพิชา กล่าวว่า นายบุญส่ง และนายสุพจน์ แต่งตั้งบุตรตัวเองเป็นเลขานุการ ขณะที่นายเฉลิมพล แต่งตั้งหลานเป็นผู้ช่วยเลขานุการของตนเอง และยังผลักดันให้เป็นข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ส่วนนายอุดมศักดิ์แต่งตั้งหลาน 2 คนมาเป็นเลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการ ซึ่งบุคคลที่เป็นญาติของตุลาการทั้ง 4 คนต่างได้รับเงินเดือนและผลตอบแทนอัตราสูง นอกจากนี้บุตรของนายบุญส่ง คือนายทนายรัฐ กุลบุป ผา หลังได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการแล้วไปเรียนต่อต่างประเทศ ไม่ได้มาปฏิบัติงานประจำที่ศาลรัฐธรรมนูญ แต่ระหว่างศึกษาในต่างประเทศกลับได้รับเงินเดือนและผลตอบแทนตามปกติทุกเดือน เรื่องนี้ตนยื่นคำร้องต่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญเพื่อให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว

"การที่ตุลาการทั้ง 4 คนแต่งตั้งญาติตนเองเท่ากับตุลาการทั้ง 4 คนไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 279 วรรค 4 ซึ่งน่าจะถือว่าเป็นการฝ่าฝืนจริยธรรมของตุลาการรัฐธรรมนูญอย่างร้ายแรง ตามประกาศศาลรัฐธรรมนูญเรื่องจริยธรรมตุลาการ ข้อ 1 และข้อ 2 ซึ่งน่าจะอยู่ในข่ายต้องถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญด้วย" นายพิชากล่าว

ยื่นผู้ตรวจแผ่นดินสอบด้วย

ต่อมาเวลา 11.00 น.ที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน นายพิชาเข้ายื่นหนังสือขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน ตรวจสอบกรณี 4 ตุลา การศาลรัฐธรรมนูญ ตั้งบุตรและหลานทำหน้าที่เลขานุ การและผู้ช่วยเลขานุการ ว่าเป็นการกระทำการขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 279 วรรคสี่ ประกอบมาตรา 280 ซึ่งเกี่ยว ข้องกับการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมในการพิจารณาสรรหา กลั่นกรอง หรือแต่งตั้งบุคคลเข้าสู่ตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจรัฐ ที่กำหนดให้ต้องเป็นไปตามระบบคุณธรรมและคำนึงถึงจริยธรรมของบุคคลดังกล่าว หากผู้ตรวจการแผ่นดินตรวจสอบและเห็นว่าพฤติการณ์ของ 4 ตุลาการเข้าข่ายความผิด ตามขั้นตอนจะยื่นต่อวุฒิสภาเพื่อถอดถอน

ท่านเปาตามสบายไม่มีปัญหา

ด้านนายบุญส่ง กุลบุปผา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ไม่เป็นไร ใครมีอำนาจฟ้องก็ทำไป ป.ป.ช.จะได้ตัดสิน แต่ ถ้ามองว่าตั้งคนใกล้ชิดเป็นเลขานุการไม่ได้ อย่างนี้พวก ส.ส.ก็ผิดกันบานเลย ตนไม่อยากพูดอะไรมากเพราะขณะนี้ตกลงเป็นมติของตุลาการฯแล้วว่า ตุลาการฯไม่ควรออกมาพูดอะไรมาก เพราะจะกลายเป็นการ ตอบโต้รายวัน ซึ่งไม่เหมาะสม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานศาลรัฐธรรม นูญออกเอกสารข่าว มีข้อความระบุว่าตามที่ที่ประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้ดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด กรณีมีผู้ให้ข่าวทางหนังสือ พิมพ์ข่มขู่ตุลาการฯ และเปิดเผยคลิปวิดีโอที่เกี่ยวข้องกับการประชุมพิจารณาคดี รวมถึงการให้กระทรวงการต่างประเทศเพิกถอนหนังสือ เดินทางราชการของนายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ อดีตเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญนั้น ขณะนี้สำนัก งานศาลรัฐธรรมนูญดำเนินการดังกล่าวแล้ว

ตร.เก็บหลักฐานถ่ายคลิปในศาล

ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า ช่วงเช้าที่ผ่านมามีตำรวจกองปราบปราม 4 นาย เดินทางมาสำนัก งานศาลรัฐธรรมนูญ โดยมีรายงานว่ามาประสานขอข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ที่ปรากฏภาพในคลิป ซึ่งเป็นห้องประชุมคณะตุลา การฯ และเข้าตรวจสอบบริเวณที่คาดว่าจะเป็นจุดแอบถ่ายภาพภายในห้องประชุม โดยสอบถามเจ้าหน้าที่ศาลว่าบริเวณที่ปรากฏ ในคลิปเป็นที่นั่งของบุคคลใด ซึ่งได้รับคำตอบว่าเป็นที่นั่งของนายพสิษฐ์ อย่างไรก็ตามตำรวจกองปราบฯตรวจสอบตำแหน่งการถ่ายคลิป และดูคลิปแล้ว วิเคราะห์ว่ากล้องที่ใช้บันทึกภาพเป็นกล้องสำหรับแอบถ่ายโดยเฉพาะ คาดว่าอาจเป็นกล้องปากกา

กก.แก้รธน.แจงยุบศาลรธน.

ขณะที่นายเจษฎ์ โทณะวณิก คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม หนึ่งในคณะกรรมการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ชุดที่มีนายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ เป็นประธาน กล่าวถึงกรณีนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ระบุฝ่ายการเมืองพยายามแก้รัฐธรรมนูญในส่วนของศาลรัฐธรรมนูญ โดยให้ยุบองค์กรนี้ไปอยู่ในแผนกงานคดีที่เกี่ยวกับการวินิจฉัยคดีรัฐธรรมนูญของศาลฎีกา ว่า การที่ศาลรัฐธรรมนูญแยกออกมาเป็นอิสระเพียงหน่วยงานเดียวอย่างปัจจุบันนี้ คิดว่ายังไม่ค่อยจำเป็นเท่าที่ควร แต่ก็ยังจำเป็นต้องมีหน่วยงานหรือองค์กรพิจารณาคดีเกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายในรัฐธรรมนูญ 

"ผมคิดว่าประเทศไทยไม่จำเป็นต้องมีศาลคู่มากมายถึง 2-3 ศาล เช่น ศาลรัฐ ธรรมนูญ ศาลปกครอง แต่ควรมีศาลเดี่ยวที่แยกแผนกการทำงานของคดีต่างๆ อาทิ ศาลฎีกาในแผนกคดีทางการปกครอง ศาลฎีกาในแผนกคดีกฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นต้น โดยตั้งองค์คณะตุลาการขึ้นมาดูแลแต่ละแผนก ซึ่งอาจใช้ระบบการสรรหาคณะตุลาการหรือผู้พิพากษาที่มาจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมายหรือผู้ทรงคุณวุฒิด้านอื่นๆ ทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษาสมทบ จะทำให้ระบบการทำงาน มีกลไกโปร่งใสตรวจสอบได้ รวมถึงควรใช้ระบบการพิจารณาเพียงระบบเดียว ซึ่งจะใช้ระบบไต่สวนก็ใช้ทั้งระบบ หรือจะใช้ระบบกล่าวหาก็ใช้ทั้งระบบ เพื่อป้องกันปัญหา 2 มาตรฐาน" นายเจษฎ์ กล่าว

ปชป.โต้กลับพท.ทุกเม็ด

ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายวิรัตน์ กัลยาศิริ คณะทำงานฝ่ายกฎหมายต่อสู้คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ แถลงตอบโต้กรณีนายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้า พรรคไทยรักไทย ระบุศาลรัฐธรรมนูญมักอนุญาตทีมทนายพรรคประชาธิปัตย์ถามยาวเป็นพิเศษว่า ถือเป็นการโกหก ใส่ร้ายศาล จงใจทำให้ศาลเสียหาย เพราะการสืบพยานฝ่ายโจทก์นั้นถามได้เต็มที่ ศาลอนุญาตให้ถามโดยไม่ได้กำหนดว่ากี่คำถาม ส่วนที่นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตรองประธานสภาผู้แทนฯ ระบุกรณียุบพรรคพลังประชา ชน ศาลรัฐธรรมนูญใช้เวลาสั้นกว่าคดียุบพรรคประชาธิปัตย์นั้น ขอชี้แจงว่าการยุบพรรคพลังประชาชน ได้ผ่านขั้นตอนพิจารณาคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมาแล้ว แต่ศาลฎีกาฯไม่มีอำนาจสั่งยุบพรรค เพราะกฎหมายให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญ จึงต้องนำเรื่องเข้าศาลรัฐธรรมนูญ และยุบพรรคพลังประชาชนในที่สุด ต่างกับกรณีพรรคประชาธิปัตย์ นายสมศักดิ์บิดเบือนพูดความจริงเพียงครึ่งเดียว หวังโจมตี ทำลายความน่าเชื่อถือศาลรัฐ ธรรมนูญ

ส่วนที่ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ประธาน ส.ส. พรรคเพื่อไทย ระบุพรรคประชาธิปัตย์เฉไฉกรณีคลิปฉาว นายวิรัตน์ กล่าวว่า เป็นที่รู้กันในข้อเท็จจริงว่าที่ประชุมตุลาการจะเชิญประธานกกต.มาเป็นพยาน จึงนำกรณีนี้มาหลอกนายวิรัช ร่มเย็น ส.ส.ระนอง คณะทำงานฝ่ายกฎหมายฯ ให้ไปติดกับ ยืนยันว่าทั้งหมดเป็นข้อเท็จจริง ไม่ใช่เรื่องเฉไฉตามที่ร.ต.อ.เฉลิมกล่าวหา ซึ่งสอดรับกับกลุ่มบุคคลที่ต้องการทำลายสถาบันยุติธรรมและสถาบันองคมนตรีตามคลิปที่ถูกเผยแพร่ในเว็บไซต์ยูทุบตั้งแต่ตอนที่ 1-5

พลิกกฎหมายหาช่องยุบพท.

นายวิรัตน์ กล่าวว่า ส่วนที่นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวหาพรรคประชาธิปัตย์มีอาการเหมือนคนธาตุไฟแตกหลังจากถูกแฉเรื่องคลิปฉาวจึงจะฟ้องกกต.เพื่อยุบพรรคเพื่อไทยนั้น เรื่องนี้พรรคเพื่อไทยปฏิเสธไม่ได้ว่าไม่มีส่วนรู้เห็นเพราะเป็นผู้นำเรื่องดังกล่าวมาขยายผล ทั้งหมดมีกฎหมายอาญารองรับว่าเข้าข่ายความผิดมาตรา 139 โทษจำคุกไม่เกิน 4 ปี และมาตรา 198 โทษจำคุก 1-7 ปี และมาตรา 164 โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ทั้งนี้กลุ่มคนเหล่านี้ทำหน้าที่เกี่ยวโยงกันเพียงแต่แบ่งหน้าที่กันทำ

นายวิรัตน์ กล่าวอีกว่า ดังนั้นกรณีที่คนพรรคเพื่อไทยนำคลิปออกมาข่มขู่ตุลาการถือว่าเข้าข่ายผิดกฎหมาย ทีมกฎหมายของพรรคจะหารือถึงข้อเท็จจริงตามข้อกฎหมายที่มีอยู่ หากเข้าข่ายความผิดจะเสนอยุบพรรคเพื่อไทยทันที ยืนยันว่าไม่ใช่พรรคธาตุไฟแตก แต่ทำหน้าที่เพื่อให้ความจริงปรากฏต่อสังคม ไม่ให้นำเรื่องนี้ไปขยายความ บิด เบือนหรือขยายผลทางการเมืองอีกต่อไป

นายวิรัตน์ กล่าวต่อว่า ส่วนที่นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย และแกนนำนปช. พาดพิงนายบุญส่ง กุลบุปผา ตุลา การศาลรัฐธรรมนูญ ที่ออกมาเปิดเผยว่าตุลาการถูกข่มขู่เอาชีวิตนั้น เรื่องนี้จะเห็นพฤติกรรมได้ชัดเจนตั้งแต่ช่วงเหตุการณ์ความไม่สงบที่มีกลุ่มคนชุดดำใช้อาวุธสงครามยิงพล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม อดีตรองเสธ.พล.ร. 2 รอ. เสียชีวิตในการชุมนุมแต่ไม่เคยยอมรับความจริง กลับท้าให้เจ้าหน้าที่ไปสืบเอาเอง และยังเอาเรื่องโกหกรายวันออกมาบิดเบือนต่อสังคมทำให้คนสับสน ทั้งที่ถูกจับได้ ยืนยันว่าหากพฤติกรรมของกลุ่มคนเหล่านี้มีความผิดตรงตามข้อกฎหมายที่กำหนด จำเป็นต้องยื่นเรื่องยุบพรรคเพื่อไทย

ยันไม่เคยวิ่งเต้น-ซื้อตัวศาล

นายวิรัตน์ กล่าวว่า ส่วนที่นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ระบุถึงคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีที่มีภาพนายวิรัชปรากฏอยู่ในคลิปฉาว ต้องการฟอกขาวให้นายวิรัชนั้น เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องภายในของพรรค นายพร้อมพงศ์อย่ามาจุ้นจ้านจัดการงานนอกสั่งเพราะไม่ใช่หน้าที่ของนายพร้อมพงศ์ พรรคยืนยันว่าจะไม่ปกป้องผู้ใด หากผิดว่าตามผิด หากถูกก็คือถูก ดังนั้นขอเรียกร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญดำเนินการอย่างเฉียบขาดต่อกระบวนการหรือกลุ่มบุคคลใดๆ ที่ต้องการล้มล้างศาลรัฐธรรมนูญ ทำลายกระบวนการยุติธรรมและสถาบันองคมนตรีด้วย ยืนยันว่าพรรคเคารพในสถาบันตุลาการและกระบวนการยุติธรรมมาตลอด ไม่เคยวิ่งเต้นหรือซื้อตัวตุลาการอย่างบางยุคบางสมัยที่เมื่อซื้อไม่ได้ก็ต้องทำลาย

ขณะที่นายถาวร เสนเนียม รมช.มหาด ไทย ทีมกฎหมายคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เรื่องกดดันตุลาการฯมีมาต่อเนื่อง นามสกุลเดียวกับส.ส.ก็ถูกกดดัน เรียนรุ่นเดียวกันก็ถูกกดดัน เป็นวิธีการเพื่อให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ เช่น เคลื่อนไหวกดดันกกต.จนพูดว่าต้องยุบพรรคประชาธิปัตย์แล้ว กกต.จะไม่ถูกกระทำ เป็นกระบวน การบีบคั้นองค์กรอิสระและเอาคืนจากการยุบไทยรักไทยและพลังประชาชน คนที่เคลื่อนไหวสังกัด 2 พรรคนี้ อยากขอตุลาการฯว่า อย่าหวั่นไหว ถ้าเราผิดจริง เราพร้อมน้อมรับผลการตัดสิน

กก.สอบ'วิรัช'ชงสรุปส่งมาร์ค

นายเทอดพงษ์ ไชยนันทน์ ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ ประธานตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีนายวิรัช ร่มเย็น ส.ส.ระนอง ทีมกฎหมายของพรรคไปปรากฏอยู่ในคลิปฉาวซึ่งโยงถึงคดียุบพรรคว่า คณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งหมดแล้ว ทั้งรายละเอียดของคลิปและพฤติกรรมความเหมาะสมของนายวิรัชในการไปพบนายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ อดีตเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญ และจะนัดประชุมอีกครั้งวันที่ 31 ต.ค. เพื่อร่างรายงานและนำเสนอนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ ในฐานะหัว หน้าพรรค วันที่ 1 พ.ย.นี้ ยังไม่สามารถเปิดเผยข้อสรุปได้ ส่วนจะลงโทษนายวิรัชหรือไม่ เป็นอำนาจหัวหน้าพรรค มีตั้งแต่ตักเตือน ภาคทัณฑ์ และอื่นๆ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การทำงานของคณะทำงานชุดดังกล่าว ได้ให้ผู้ชำนาญการตรวจสอบคลิปพบว่าบางช่วงมีการตัดต่อ แต่การตัดต่อไม่ได้มีผลต่อเนื้อหาในการพูดคุยกัน รวมถึงคณะทำงานยังเชิญเพื่อนร่วมรุ่นหลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 13 (ปปร.13) ทั้งหมด ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกับนายพสิษฐ์ร่วมให้ข้อมูลด้วย

ห่วงเสื้อแดงชุมนุมกดดันศาล

ส่วนน.พ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงแถลงการปิดคดียุบพรรคกรณีถูกกล่าวหาว่าใช้เงินสนับสนุนพรรค การเมืองของกกต. 29 ล้านบาท ผิดวัตถุประสงค์ว่า พรรคพร้อมแถลงปิดคดีด้วยวาจา วันที่ 29 พ.ย. ซึ่งตลอด 64 ปีพรรคได้ยึดถือกฎหมาย ความถูกต้อง ซื่อสัตย์สุจริตในการทำงาน และยืนยันว่าขณะนี้พรรคมั่นใจในการดำเนินการของพรรค อย่างไรก็ตาม ก่อนศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัย ไม่อยากให้ฝ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องแทรกแซงศาลและกระบวนการยุติธรรม ส่วนที่ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เรียกร้องให้ดูเนื้อหาของคลิป ไม่ใช่ดูว่าใครถ่าย นั้น ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจ้องทำลายตุลาการและกระบวนการยุติธรรม เพราะขณะนี้สังคมตั้งข้อสังสัยว่า พรรคเพื่อไทยมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่กับคลิปดังกล่าว เพราะเพื่อไทยเผยแพร่เรื่องดังกล่าวก่อนเว็บไซต์

น.พ.บุรณัชย์ กล่าวถึงกรณีกลุ่มนปช. เตรียมชุมนุมวันที่ 19 พ.ย.ว่า พรรคกังวลว่าจะใช้เวลาช่วงนี้กดดันสู่การแถลงการปิดคดีของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งทำให้ประเทศประสบปัญหา ดังนั้นจึงอยากให้ทุกฝ่ายช่วยประคับประคองประเทศ เพื่อไม่ให้ได้รับความเสียหาย

น.พ.บุรณัชย์ กล่าวถึงกรณีนายกรัฐมนตรีจะนำ 6 ประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาหารือว่า พรรคถือว่าเรื่องดังกล่าวเป็นความคืบหน้าในกรอบการปรองดอง 5 ข้อ หลัง จากตั้งคณะกรรมการศึกษาติดตามตั้งแต่เดือนพ.ค. เชื่อว่า นายกฯจะนำ 6 ข้อเสนอ เข้าสู่ครม.วันที่ 2 พ.ย.นี้ คาดว่าประมาณ 2 สัปดาห์น่าจะเสร็จ ในส่วนของพรรคแม้ที่ผ่านมาจะมีมติไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ครั้งนี้เมื่อมีข้อเสนอของคณะกรรมการปฏิรูปเข้ามาใหม่ ต้องนำเข้าที่ประชุมครั้งต่อไป คิดว่าน่าเป็นหลังจากรัฐบาลได้ข้อสรุปแล้ว

เปล่าตี2หน้าเกมแก้รธน.

ส่วนนายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีพรรคชาติไทยพัฒนาไม่ได้คาดหวังกับพรรคประชาธิปัตย์ในการแก้รัฐธรรมนูญว่า เรื่องยังไม่มีข้อสรุป ไม่ควรออกมาทำนายหรือฟันธง แม้ก่อนหน้านี้พรรคเคยมีมติไม่เห็นด้วยกับการแก้ก็ตาม แต่เมื่อนายกฯแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายขึ้น ต้องยอมรับผลการศึกษาของคณะกรรมการชุดนี้ พรรคต้องพิจารณาเหตุผลและความจำเป็นในทุกแง่มุม ทั้งหมดขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนั้น รวมทั้งเหตุผลและความจำเป็นจากการศึกษาของคณะกรรมการชุดดังกล่าวด้วย ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงมติของพรรคก็ได้ ทุกพรรคต้องพร้อมทุกสถานการณ์ เข้าสู่สนามเลือกตั้งภายใต้กติกาที่รัฐธรรมนูญกำหนดโดยไม่มีเงื่อนไข

นายเทพไท กล่าวด้วยว่า นายกฯเสร็จภารกิจการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่เวียดนามและแก้ปัญหาน้ำท่วมได้แล้ว คงมีเวลาเชิญพรรคร่วมรัฐบาลมาพูดคุยและทำความเข้าใจเรื่องนี้ต่อไป ยืนยันว่านายกฯไม่ได้ซื้อเวลาเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ เมื่อมีปัญหาเฉพาะหน้าคือความเดือดร้อนของประชาชน หากละทิ้งปัญหาดังกล่าว แล้วมาสนใจปัญหาผลประโยชน์ของนักการเมืองกันเอง อาจทำให้สังคมนินทาหรือประณามนักการเมืองได้ ส่วนบางฝ่ายพยายามยัดเยียดและกล่าวหาว่าประชาธิปัตย์กำลังตี 2 หน้าเรื่องแก้รัฐธรรมนูญนั้น ยืนยันว่าไม่จริง ประชาธิปัตย์มีหน้าเดียวมาตลอด

'สุวัจน์'แย้มมีเลือกตั้งเร็วๆ นี้

ทางด้านนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ แกนนำพรรครวมชาติพัฒนา ให้สัมภาษณ์กรณีนายกฯส่งสัญญาณเลือกตั้งปีหน้าว่า ก็ดี เพราะสัญญาณการเลือกตั้งที่ชัดเจน เป็นสัญญาณที่ดีต่อประเทศ ทุกคนจะได้เตรียมตัว และแสดงความจริงใจของรัฐบาลว่าทำทุกอย่างโปร่งใส เชื่อว่าเมื่อมีเลือกตั้งเมื่อไหร่ปัญหาความขัดแย้งต่างๆ จะเบาบางลง อย่าลืมว่าการเลือกตั้งเป็นปัจจัยหนึ่งของการเรียกร้องที่นำไปสู่ความขัดแย้ง ฉะนั้นถ้าวันนี้ภาพการเลือกตั้งเกิดขึ้น แน่นอนที่สุดความขัดแย้งลดลง ถ้าเราจัดเลือกตั้งได้ดี ทุกฝ่ายยอมรับผล ปัญหาความขัดแย้งภายหลังเลือกตั้งจะน้อยลง ทุกอย่างจะเข้าสู่กลไกปกติของระบอบประชาธิปไตย ตนมองว่าการเลือกตั้งจะมีส่วนสำคัญในการลดความขัดแย้ง การที่นายกฯออกมาพูดจุดยืนเรื่องนี้ชัดเจนเป็นเรื่องที่ดีกับประเทศ

ผู้สื่อข่าวถามว่าแกนนำพรรคชาติไทยพัฒนาและพรรคเพื่อไทยมีมุมมองตรงกันว่านายกฯแค่พูดเอาหล่อ เพราะรู้อยู่แล้วว่าวาระของรัฐบาลสิ้นสุดแค่วันที่ 22 ธ.ค. 2554 นายสุวัจน์ กล่าวว่า นายกฯพูดชัดว่าไม่อยู่ครบเทอม นายกฯพูดมาหลายครั้งแล้วคงแน่นอน ท่านต้องเป็นผู้ที่ตัดสินใจหลักของพรรคร่วมในการยุบสภา ถ้านายกฯมีอะไรถึงจุดนั้น คงปรึกษาหารือกับผู้ร่วมรัฐ บาล เพียงแต่ต้องเป็นเวลาที่เหมาะสม ตนว่าเป็นสัญญาณชัดเจนแล้วว่าเร็วๆ นี้คงมีเลือกตั้ง แต่จะเป็นช่วงหลังน้ำลดเมื่อไหร่ อีกนานแค่ไหน

เมื่อถามว่านายกฯควรประกาศเรื่องวันเลือกตั้งให้ชัดเจนเลยหรือไม่ นายสุวัจน์ กล่าวว่า อย่างน้อยวันนี้ก็เห็นกรอบรวมที่ชัดเจนว่าปีหน้ารัฐบาลอยู่ไม่ครบเทอมแน่ ต่อไปจะเป็นรายละเอียด หลังจากปัญหาน้ำท่วมคลี่คลายลง นายกฯคงมีภาพรวมที่ชัดเจนอีกครั้ง

ต่อข้อถามว่าปัญหาความขัดแย้งยังไม่หมด ถ้าเลือกตั้งอีกจะเพิ่มดีกรีความขัดแย้งหรือไม่ นายสุวัจน์ กล่าวว่า "น้ำเดือดเราก็ลดอุณหภูมิให้เป็นน้ำร้อนก่อน แล้วน้ำร้อนลดอุณหภูมิให้เป็นน้ำอุ่น จากน้ำอุ่นแล้วสักวันหนึ่งมันจะร่มเย็นสงบ น้ำจะเย็น มันเป็นไปทีละลำดับ เหตุการณ์ความขัดแย้งรุนแรงของเรามันหนักหนาสากรรจ์ การที่ทุกฝ่ายช่วยกันประคองสถานการณ์ไว้ ขณะนี้ถือว่าเป็นเรื่องดีมากแล้ว เศรษฐกิจยังเดินไปได้ ตัวเลขจีดีพีโตถึง 7% โดยที่เศรษฐกิจโตท่ามกลางความขัดแย้ง ถ้าสักวันไม่มีความขัดแย้ง จีดีพีไม่เป็น 10 หรือ ถ้าเราเห็นตรงนี้กันและเรามีความจริงใจ มุ่งมั่นช่วยกันแก้ปัญหาน่าจะเป็นเรื่องที่ดี

ทุกพรรคล้วนมุ่งสนามโคราช

ผู้สื่อข่าวถามว่าความคืบหน้าการแก้รัฐธรรมนูญจะช่วยเสริมความปรองดองหรือเพิ่มความขัดแย้ง เพราะกลุ่มพันธมิตรตั้งเป้าคัดค้าน นายสุวัจน์ กล่าวว่า แล้วแต่ประ เด็นที่จะแก้ไข และขึ้นกับวิธีการว่าจะทำอย่างไรให้ยอมรับ ซึ่งจะทำให้ไม่มีความขัดแย้ง แต่ถ้าวิธีการไม่ได้รับการยอมรับมันจะขัดแย้งกัน เมื่อถามว่าหากการแก้รัฐธรรม นูญไม่สำเร็จ ต้องเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญปี 2550 ยังรับได้หรือไม่ นายสุวัจน์ กล่าวว่า นักการเมืองคือผู้เล่น ไม่ใช่ผู้กำหนดกติกา ดังนั้นกติกามีอย่างไรก็เป็นเรื่องความสมัครใจจะเล่นหรือไม่เล่น

เมื่อถามว่านายกฯจะนำร่างแก้ไขรัฐธรรม นูญของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ เข้าหารือครม.วันที่ 2 พ.ย. พรรครวมชาติพัฒนารับข้อเสนอดังกล่าวได้หรือไม่ นายสุวัจน์ กล่าวว่า ตนไม่ตอบในนามพรรค เรื่องนี้มาจากคณะกรรมการสมานฉันท์ฯของสภาที่เคยศึกษาไว้ และทุกฝ่ายยอมรับระดับหนึ่ง และคณะกรรมการชุดที่รัฐบาลตั้งขึ้นมีแนวทางใกล้เคียงกับแนวทางเก่าที่ทำมา ต้องยอมรับว่ามีพื้นฐานที่มาที่ไปในระดับพอสมควร เชื่อว่าความขัดแย้งไม่น่าจะมาก ซึ่งต้องแล้วแต่ที่ประชุมหรือทุกฝ่ายจะเห็นอย่างไร แต่ตนอยากให้ความสำคัญกับเรื่องวิธีการและขั้นตอนให้เกิดการยอมรับเพื่อลดความขัดแย้ง

เมื่อถามว่าพรรคเพื่อไทยประกาศรุกหนักในพื้นที่นครราชสีมา นายสุวัจน์ กล่าวว่า โคราชเป็นจังหวัดใหญ่รองจากกรุงเทพฯ มีส.ส.เขตและสัดส่วนรวมถึง 20 ที่นั่ง ต้องเป็นเป้าหมายของทุกพรรคอยู่แล้ว ถ้าใครชนะที่โคราชก็ใหญ่กว่าพรรคหนึ่งด้วยซ้ำไป จึงเป็นพื้นที่เป้าหมาย แต่จะแพ้หรือชนะอยู่ที่ชาวโคราชจะรักใครชอบใคร เมื่อถามว่าจับมือกับว่าที่ร.ต.ไพโรจน์ สุวรรณฉวี แกนนำพรรคเพื่อแผ่นดินในการเลือกตั้งนครราชสีมาหรือไม่ นายสุวัจน์ ยิ้ม แล้วกล่าวว่า "มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เคารพนับถือกันในฐานะรุ่นพี่รุ่นน้อง ว่าที่ร.ต.ไพโรจน์เป็นรุ่นพี่ผม"

พรรคเติ้งคึกไม่กลัวใคร

ที่พรรคชาติไทยพัฒนา นายวัชระ กรรณิ การ์ โฆษกพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวถึงวอร์รูมห้องกรกฎของพรรคเพื่อไทย วิเคราะห์สถานการณ์การเลือกตั้ง อ้างผลสำรวจระบุภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง ส.ส.เพื่อไทยอาจถูกดูด โดยจับตาความเคลื่อนไหวของพรรคชาติไทยพัฒนามากเป็นพิเศษเพราะมีทั้งกระแสและทุน ว่า ในส่วนภาคเหนือตอนล่างเป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง แต่เราไม่กลัวคู่แข่งหรือพรรคอื่น รวมถึงพื้นที่อื่นที่มีส.ส.ของชาติไทยพัฒนา

นายวัชระ กล่าวว่า การดำรงอยู่ของส.ส. ชาติไทยพัฒนาเป็นดาวฤกษ์ ไม่ได้เป็นดาวเคราะห์ ส.ส.ทุกคนมีคะแนนเสียงส่วนตัว มีความนิยม ชมชอบในหมู่ประชาชนมาก ไม่ ใช่ดาวเคราะห์ที่ต้องอาศัยกระแส หรือความนิยมชมชอบของพรรคเป็นตัวผลักดัน ส.ส. พรรคไม่เคยทิ้งพื้นที่ ไม่มีความเกรงกลัวคู่แข่ง

นายวัชระ กล่าวถึงกรณีนายกฯเตรียมนำการแก้รัฐธรรมนูญของคณะกรรมการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เข้าครม. ว่า พรรคชาติไทยพัฒนาเห็นด้วยที่นายกฯจะนำเข้าครม. แม้เรื่องการแก้ไขรัฐ ธรรมนูญจะเป็นเรื่องของสภา และ ส.ส. แต่หากนำเข้าครม.ก็จะมีน้ำหนักมากขึ้น เพราะโดยข้อเท็จจริงครม.ถือเป็นตัวแทนพรรคการเมืองเสียงข้างมาก ซึ่งข้อเสนอของนายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ใน 6 ประเด็น พรรคไม่ได้คาดหวังว่าจะได้รับการตอบรับทั้ง 6 ประเด็น แต่คาดหวังว่าอย่างน้อยสุดในมาตรา 93 ว่าด้วยที่มาของกติกาเลือกตั้ง และมาตรา 190 ว่าด้วยการทำสัญญาระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นประเด็นที่พรรคชาติไทยพัฒนาผลักดันมาโดยตลอด

พท.ท้า'มาร์ค'บอกวันเลือกตั้ง

ที่พรรคเพื่อไทย นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ ชัยกุล รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวภายหลังประชุมคณะกรรมการตรวจสอบการบริหารงานของรัฐบาล และศูนย์ปราบโกงของพรรคเพื่อไทย ร่วมกับประธานคณะกรรมาธิการชุดต่างๆ ของสภาผู้แทนฯ ว่า ที่ประชุมมอบหมายศูนย์ปราบโกง รวบรวมการทุจริตในรัฐบาล จากนั้นจัดทำเป็นสมุดปกดำแจกประชาชนได้ทราบข้อเท็จจริง รวมทั้งจัดนิทรรศการเปิดโปงโกงเต็มรูปแบบ โดยกำชับประธานกรรมาธิการเก็บข้อมูลทุจริต และการบริหารงานผิดพลาดของรัฐบาล เพื่อเตรียมเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล และรวบรวมเพื่อทำปฏิทินโกงแจกประชาชนทั่วประเทศช่วงเทศกาลปีใหม่ 2554 โดยระบุชัดเจนว่ารัฐบาลโกงโครงการอะไรบ้าง แล้วโกงเมื่อไร เท่าไหร่ ประชาชนจะได้จำได้ ส่วนที่นายกฯระบุจะยุบสภาปี 2554 ส.ส.เพื่อไทยหารือกันเห็นว่านายกฯไม่จริงใจเรื่องยุบสภา เพราะถึงอย่างไรก็ต้องยุบสภาอยู่แล้วในปี 2554 หรืออาจใช้ช่วงเวลาก่อนครบวาระ 7 วัน ยุบสภาเพื่อชิงความได้เปรียบทางการเมือง เหมือนสมัยนายชวน หลีกภัย เป็นนายกฯ

พ.ต.ท.สมชาย เพศประเสริฐ รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า นายกฯประกาศแม้แพ้เลือกตั้งก็ยอมหากบ้านเมืองสงบนั้น ความจริงเดือนธ.ค.2554 จะมีเลือกตั้งใหญ่อยู่แล้ว เพราะรัฐบาลอยู่ครบวาระการทำงาน หากนายกฯจริงใจต้องกำหนดชัดเจนว่าจะเลือกตั้งวันที่เท่าไหร่ เดือนอะไร เวลาที่เหลืออยู่รัฐบาลจะทำอะไรให้มีผลงานปรากฏ สำหรับเพื่อไทยขณะนี้พร้อมเลือกตั้งทุกเวลา ตัวผู้สมัครส.ส.ก็พร้อม ขาดบางเขตเท่านั้น ไม่มีปัญหาอะไร

ศาลไกล่เกลี่ยคดีเขาแพง

นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร เลขานุการคณะทำงานพรรคเพื่อไทย ติดตามตรวจสอบกรณีถือครองที่ดินเขาแพง อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ ธานี กล่าวถึงกรณีนายแทน เทือกสุบรรณ บุตรชายนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯ เป็นโจทก์ฟ้องศาลจังหวัดสุราษฎร์ ธานี เรียกค่าเสียหาย 500 ล้านบาท ซึ่งศาลนัดคู่กรณีไกล่เกลี่ยในวันนี้ว่า กรณีเขาแพง ขณะนี้ยังอยู่ในกระบวนการตรวจสอบของคณะกรรมการป.ป.ช. เมื่อผลสอบออกมาจะทราบว่าใครถูกใครผิด มั่นใจมากว่าสิ่งที่ฝ่ายค้านตรวจสอบเป็นเรื่องที่ถูกต้อง โดยเฉพาะความชัดเจนในพยานหลักฐานที่เป็นเอกสารราชการ เชื่อว่าป.ป.ช.จะสรุปผลสอบเร็วๆนี้ ทั้งนี้มอบหมายนายวีรภัทร ศรีไชยา เป็นทนายความไปรับฟังผลไกล่เกลี่ย

ด้านนายวีรภัทรให้สัมภาษณ์ว่า ศาลอยากให้คู่ความเจรจากันเพื่อหาข้อยุติ แต่เนื่อง จากฝ่ายจำเลยมาไม่ครบเลยไม่สามารถหาแนวทางระงับข้อพิพาทได้ ศาลจึงนัดไกล่เกลี่ยพร้อมสืบพยานอีกครั้งวันที่ 29 พ.ย. เพื่อให้ทั้ง 2 ฝ่ายหา แนวทางไกล่เกลี่ย ทั้งนี้ตามขั้นตอนหากนัดไกล่เกลี่ยครั้งต่อไป ถ้าต่างฝ่ายต่างยืนยันเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาลโดยสืบพยานโจทก์ และพยานจำเลย คาดว่าจะใช้เวลานานพอสมควร ส่วนจำเลยยืนยันว่ามีความพร้อมต่อสู้คดีเต็มที่

ยกฟ้อง'อจ.ไชยันต์'ฉีกบัตรเลือกตั้ง

เมื่อวันที่ 29 ต.ค.ที่ศาลจังหวัดพระโขนง ศาลพิพากษายกฟ้องคดีที่อัยการเป็นโจทก์ฟ้องนายไชยันต์ ไชยพร อาจารย์คณะรัฐ ศาสตร์ จุฬาฯ เป็นจำเลยฐานกระทำผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.และส.ว. พ.ศ. 2541 มาตรา 108 ที่ห้ามมิให้ทำบัตรเลือกตั้งดีเป็นบัตรเสีย และป.อาญา มาตรา 358 ฐานทำให้เสียทรัพย์ คดีนี้สรุปฟ้องว่าเมื่อวันที่ 2 เม.ย.2549 เวลากลางวัน จำเลยฉีกบัตรเลือกตั้งส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 1 ใบ และแบบบัญชีรายชื่อ 1 ใบ ของสำนักงานกกต.ขาดออกเป็นหลายชิ้นจนเสียหายใช้ลงคะแนนไม่ได้ อันเป็นการจงใจกระทำด้วยประการใดๆ ให้บัตรเลือกตั้งชำรุดเสียหาย เหตุเกิดที่หน่วยเลือกตั้ง โรงเรียนเตรียมอุดมพัฒนาการ แขวงและเขตสวนหลวง กทม.

จำเลยให้การปฏิเสธและนำสืบว่าการยุบสภาผู้แทนฯของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกฯขณะนั้นไม่ได้มีสาเหตุมาจากปัญหาความขัดแย้งระหว่างฝ่ายบริหารกับนิติบัญญัติ แต่เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบในสภาเรื่องถือครองหุ้นชินคอร์ปฯของครอบครัวชินวัตร การยุบสภาจึงมิได้เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย และจะใช้ผลเลือกตั้งซักฟอกความผิดของตน และกำหนดวันเลือกตั้งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยฉีกบัตรเลือกตั้งโดยเจตนาที่จะต่อต้านการเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มิได้มีเจตนาทำลายบัตรเลือกตั้ง

ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2549 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ 9/2549 ว่า เป็นการเลือกตั้งที่ไม่เที่ยงธรรม ไม่เป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ไม่ชอบตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 บัตรเลือกตั้งที่มอบให้แก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจึงไม่ใช่บัตรเลือกตั้งเป็นเพียงแบบพิมพ์บัตรเลือกตั้ง การกระทำของจำเลยจึงไม่อาจเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และสว. มาตรา 108 และการที่จำเลยมาใช้สิทธิเลือกตั้งแล้วฉีกบัตรเฉพาะในส่วนที่ได้รับมาทั้งสองใบอย่างเปิดเผยเพื่อสื่อให้ประชาชนตระหนักถึงการเลือกตั้งที่ไม่ชอบธรรม โดยไม่ได้ก่อให้เกิดความวุ่นวายหรือความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด จึงเป็นการใช้สิทธิต่อต้านการเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยสันติวิธี ทั้งบัตรเลือกตั้งดังกล่าวก็เป็นทรัพย์ที่กกต.ใช้ในการทำความผิดในการเลือกตั้ง และมีราคาเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองของประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้อง พิพากษายกฟ้อง

อธิบดีศาลเห็นแย้ง

วันเดียวกันมติชนออนไลน์รายงานว่า นายฉัตรไชย จันทร์พรายศรี อธิบดีผู้พิพากษา ภาค 3 ทำความเห็นแย้งระบุว่า สำหรับปัญหาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานทำให้เสียหายทรัพย์หรือไม่นั้น เห็นว่าความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์นั้น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 บัญญัติว่า "ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์..." เห็นได้ว่าองค์ประกอบภายนอกของความผิดฐานนี้ คือการทำให้ทรัพย์เสียหาย ถูกทำลาย เสื่อมค่า หรือไร้ประโยชน์ และทรัพย์นั้นเป็นของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ส่วนองค์ประกอบภายในคือเจตนากระทำเพื่อให้ทรัพย์นั้นเสียหาย ถูกทำ ลาย เสื่อมค่าหรือไร้ประโยชน์ ซึ่งเป็นเจตนาธรรมดา

จำเลยเบิกความว่าจำเลยฉีกบัตรเลือกตั้งเพื่อสื่อแก่ประชาชนให้ตระหนักถึงการเลือกตั้งที่ไม่ชอบและไม่เป็นธรรม เพื่อสื่อให้เห็นว่าจำเลยรักษาสิทธิของตนเองมิให้เป็นส่วนหนึ่งของการเลือกตั้งที่ไม่ชอบธรรมและไม่เป็นธรรม เพื่อสื่อให้เห็นว่าจำเลยรักษาสิทธิของตนเองมิให้เป็นส่วนหนึ่งของการเลือกตั้งที่ไม่เป็นธรรม แสดงว่าจำเลยเจตนาทำลายหรือทำให้บัตรเลือกตั้งนั้นไร้ประโยชน์แล้ว จำเลยจะอ้างว่าเป็นการกระทำเพื่อรักษาสิทธิของตนเองมิให้เป็นส่วนหนึ่งของการเลือกตั้งที่จำเลยเห็นว่าเป็นการเลือกตั้งที่ไม่เป็นธรรมหาได้ไม่ เมื่อบัตรเลือกตั้งที่จำเลยฉีกเป็นเอกสารหรือกระดาษอันเป็นทรัพย์สินของผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 แล้ว จึงขอถือเป็นความเห็นแย้งของนายฉัตรไชย พร้อมกับลงความเห็นว่ามีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358

'ไชยันต์'เชื่อในสิ่งที่ทำ

ทางด้านนายไชยันต์ ไชยพร ให้สัมภาษณ์มติชนออนไลน์ ว่า คดีเกิดขึ้นในการเลือกตั้งวันที่ 2 เม.ย. 2549 ซึ่งศาลจังหวัดตรังยกฟ้องไปแล้วเช่นกัน เพราะเหตุมาจากการเลือกตั้งครั้งนั้นไม่ถูกต้อง ส่วนตัวคิดว่าหากวิจารณ์ว่าเป็นคำตัดสิน 2 มาตรฐานก็ไม่น่าจะถูกต้อง เราต้องพิจารณาว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเพราะอะไร ทั้งการยุบสภาและเลือกตั้งครั้งนั้นชอบธรรมหรือไม่ ขอให้พิจารณาตรงนี้ด้วย

"อย่างไรก็ตาม ผมเห็นว่าใครจะทำอะไรที่คิดว่าเป็นการต่อต้าน อย่างที่เขาชอบพูดๆกันว่าอารยะขัดขืน ที่ชอบเรียก ชอบใช้กันนั้น ผมเห็นว่าจะทำอะไร หากสิ่งที่คุณทำมันต่อต้านหรือละเมิดกฎหมาย แต่หากมีเหตุผลและคิดว่าถูกต้องชอบธรรมก็ทำไป แต่ต้องพร้อมยอมรับในการเข้าสู่กระบวน การยุติธรรมด้วย พร้อมต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรม อันนี้ผมขอยืนยันว่าทุกสี ไม่ว่าสีอะไร แต่ขอว่าอย่ามาอ้างอารยะขัดขืน แล้วคุณหมายถึงการหลบหนีไม่ยอมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม อย่างนี้ไม่ถูกต้อง" อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าว

เมื่อถามว่าอาจเรียกได้ว่าเป็นนักวิชาการคนแรกที่ใช้วิธีฉีกบัตรเพื่อแสดงการต่อต้าน นายไชยันต์ กล่าวว่า ตนเชื่อในสิ่งที่ทำ และเชื่อในกระบวนการยุติธรรมด้วย อย่างไรก็ตามในทางตรงข้ามถ้าศาลตัดสินว่าผิดก็พร้อมน้อมรับคำตัดสินเช่นกัน

ใช้เป็นบรรทัดฐานคดีอื่นไม่ได้

"ถ้าศาลตัดสินว่าผิด ผมก็ยอมรับ ไม่เช่นนั้นก็ไปอยู่ในป่าดีกว่า ไปอยู่ตามตะเข็บชายแดนดีกว่า" อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าว

ต่อข้อถามว่าจะใช้เป็นบรรทัดฐานในคดีอื่นๆ ต่อไปได้หรือไม่ นายไชยันต์ กล่าวว่า คิดว่าน่าจะเป็นกรณีๆ ไปมากกว่า คงไม่ใช่ในทุกครั้งที่มีการกระทำฉีกบัตรเลือกตั้งแบบอารยะขัดขืน คงต้องพิจารณาที่เหตุและผลด้วย เพราะความที่เราเป็นนักรัฐ ศาสตร์ ได้ศึกษาและเรียนรู้มา เห็นว่าทั้งการยุบสภาและการเลือกตั้งไม่ถูกต้อง ไม่ชอบธรรม จึงต้องแสดงออกด้วยการต่อต้านมีเหตุและผลในตัวมันเอง

'แก้วสรร'ชี้ช่องต่อสู้คดี

ก่อนหน้านี้ นายแก้วสรร อติโพธิ อดีต อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์ และอดีตส.ว. เปิดเผยว่า "ผมไม่ได้เป็นพยานในคดีดังกล่าว แต่ได้ให้คำปรึกษานายไชยันต์ต่อสู้คดี สำหรับแนวทางการต่อสู้คดีมี 2 ประเด็น ประกอบด้วย 1.สู้ตามกฎหมายเลือกตั้งว่าไม่มีความผิด เพราะมีแนวฎีกาว่า บัตรเลือกตั้งที่ห้ามทำให้เสียหาย หมายถึงบัตรที่กาลงคะแนนและอยู่ในหีบบัตรเลือกตั้งแล้ว แต่หากยังไม่ลงคะแนน ก็เป็นบัตรของเรา ซึ่งในประเด็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ มีแนวฎีกาเคยมีคำวินิจฉัยเอาไว้ 2.สู้ว่าเป็นสิทธิที่ทำได้ ตามรัฐธรรมนูญ เพราะการยุบสภาไม่ถูกต้อง การเลือกตั้งครั้งนั้นไม่ถูกต้อง จึงอยู่ในการต่อสู้แบบอารยธขัดขืน ไม่ได้ทำให้ใครเสียหาย"

Check out ASTV ผู้จัดการออนไลน์:Daily News

Check out ASTV ผู้จัดการออนไลน์:Daily News

Check out ASTV ผู้จัดการออนไลน์:Crime

Check out ASTV ผู้จัดการออนไลน์:Crime

วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2553

คำให้การ

แนวข้อสอบตั๋วภาคปฏิบัติ  
คำให้การ  
หลักฎหมาย

  การจะตั้งประเด็นข้อพิพาทในคดีนั้น จำเลยจะต้องปฏิเสธข้อเท็จจริง หรือข้อกฎหมายที่ปรากฏในคำฟ้อง หากข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่โจทก์อ้างไว้ในฟ้อง จำเลยให้การรับก็ดี หรือมิได้ให้การปฏิเสธก็ดี ย่อมไม่มีประเด็นที่จะให้ศาลต้องวินิจฉัยชี้ขาด ทั้งนี้จะเห็นได้จากที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 ว่า “…….ให้ศาลมีการชี้สองสถานโดยตรวจคำคู่ความที่คู่ความยื่นต่อศาล แล้วฟังคำแถลงที่คู่ความทั้งปวงแถลงเอง หรือแถลงโดยตอบคำถามของศาล แล้วให้ศาลจด ข้ออ้าง ข้อเถียง และคำรับของคู่ความเหล่านั้นเทียบกันดู ถ้ามีปัญหาข้อใด ไม่ว่าปัญหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้าง และคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่รับ ให้ศาลจดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาท แล้วให้ศาลจดไว้ในรายงานพิจารณาซึ่งประเด็นข้อพิพาททั้งปวง…….”
        ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การเขียนคำให้การในคดีแพ่งนั้นมีความสำคัญมิใช่น้อย และเป็นเหตุหนึ่งในการที่จะทำให้ชนะหรือแพ้คดีได้ เช่น โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นนายจ้างของนายคำ และขณะที่นายคำขับรถยนต์ไปในทางการที่จ้างของจำเลย นายคำได้ขับรถยนต์ชนโจทก์บาดเจ็บ ทั้งนี้เนื่องจากความประมาทเลินเล่อของนายคำที่ขับรถยนต์เร็ว เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด และขับแซงรถคันอื่นมาโดยมิได้ใช้ความระมัดระวังว่า มีคนเดินข้ามถนนอยู่ในทางข้ามที่ทางราชการกำหนดไว้ เป็นเหตุให้ชนโจทก์ และโจทก์ต้องเสียค่ารักษาพยาบาลเพราะขาหัก เป็นเงิน 20,000 บาท จึงขอให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างชำระเงินจำนวนนี้ จำเลยให้การเพียงว่า เหตุที่นายคำขับรถยนต์ชนโจทก์ เกิดจากความประมาทเลินเล่อของโจทก์เอง ที่เดินตัดหน้ารถยนต์ในระยะกระชั้นชิด และค่ารักษาพยาบาลมีไม่มากดังฟ้อง ดังนี้ปัญหาที่ว่านายคำเป็นลูกจ้างของจำเลย และขับรถยนต์ในทางการที่จ้างของจำเลยจริงหรือไม่ จึงไม่เป็นประเด็นในคดี และศาลฟังตามฟ้องของโจทก์ในปัญหานี้ เรื่องนี้คงมีประเด็นว่า นายคำหรือโจทก์เป็นผู้ประมาทเลินเล่อ และค่าเสียหายมีเพียงใดเท่านั้น
        การให้การปฏิเสธฟ้องของโจทก์นั้น จำเลยจะต้องให้การโดยชัดแจ้ง และอ้างเหตุผลแห่งการปฏิเสธไว้ด้วย ทั้งนี้ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองว่า “ให้จำเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้น หรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น” การที่บทบัญญัติมาตรานี้กำหนดให้จำเลยให้การโดยแจ้งชัดว่า จะรับหรือปฏิเสธฟ้องของโจทก์นั้น ก็เพื่อที่ศาลจะได้กำหนดประเด็นพิพาทได้ถูกต้องว่า คดีนั้นมีประเด็นอย่างใดบ้าง ส่วนที่กฎหมายบัญญัติให้จำเลยให้เหตุผลแห่งการปฏิเสธด้วยนั้น ก็เพื่อที่จำเลยจะได้นำพยานหลักฐานเข้าสืบตามเหตุผลนั้นได้ ถ้าจำเลยให้การปฏิเสธเฉย ๆ โดยไม่ให้เหตุผลแห่งการปฏิเสธ แม้จะมีประเด็นในเรื่องที่ปฏิเสธนั้น แต่จำเลยก็ไม่มีสิทธินำพยานหลักฐานเข้าสืบในประเด็นนั้น เช่น โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์แล้วไม่ชำระ จำเลยให้การว่า จำเลยมิได้กู้เงินโจทก์ ดังนี้ แม้จะมีประเด็นว่าจำเลยกู้เงินโจทก์หรือไม่ ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบก็ตาม แต่เมื่อโจทก์นำสืบเสร็จแล้ว จำเลยก็หามีสิทธินำสืบตามข้อต่อสู้นั้นไม่
        การปฏิเสธฟ้องนั้น จำเลยจะต้องให้การไว้โดยชัดแจ้ง จะให้การคลุมเคลือเพียงว่า “ที่โจทก์ฟ้องว่า…….นั้น จำเลยไม่ทราบ” หรือว่า “นอกจากที่จำเลยให้การรับแล้ว ถือว่า จำเลยให้การปฏิเสธทั้งสิ้น” ดังนี้ ถือมิได้ว่าเป็นคำให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้ง จึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นพิพาทแต่อย่างใด ในบางกรณีกฎหมายบังคับว่า จำเลยจะต้องให้การต่อสู้ไว้ มิฉะนั้นศาลจะไม่รับฟังเลยทีเดียว เช่น เรื่องอายุความประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193 บัญญัติว่า “เมื่อไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ท่านว่าศาลจะอ้างเอาอายุความมาเป็นมูลยกฟ้องมิได้” แต่อย่างไรก็ตามการยกอายุความขึ้นต่อสู้นั้น ก็จะต้องอ้างเหตุด้วยว่าขาดอายุความในเรื่องอะไร ถ้าอ้างว่าขาดอายุความในเรื่องหนึ่ง แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่า ขาดอายุความอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งจำเลยมิได้ยกอายุความในเรื่องนั้นขึ้นต่อสู้เลย ดังนี้ ศาลก็จะหยิบยกอายุความที่ได้ความนั้นขึ้นมาเป็นเหตุยกฟ้องมิได้
        ในเรื่องฟ้องเคลือบคลุมก็เช่นเดียวกัน จำเลยก็จะต้องให้การต่อสู้ไว้ว่า ฟ้องเคลือบคุลมเพราะเหตุใด จะอ้างลอย ๆ เพียงว่าฟ้องเคลือบคลุมเท่านั้นไม่พอ เพราะถ้าอ้างเพียงเท่านี้ ศาลจะไม่รับวินิจฉัยให้ว่า ฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ ถ้าจำเลยไม่ให้การว่าฟ้องเคลือบคลุม รวมทั้งเหตุแห่งการเคลือบคลุมไว้แล้ว แม้ความจริงฟ้องจะเคลือบคลุม ศาลก็หยิบยกขึ้นพิจารณามิได้
        ในเรื่องคำให้การชัดแจ้งหรือไม่ชัดแจ้ง และได้อ้างเหตุแห่งการนั้น ตามมาตรา 177 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหรือไม่ จะเห็นได้จากคำพิพากษาฎีกาต่อไปนี้
        คำพิพากษาฎีกาที่ 812/2486 ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ได้ขับรถเป็นปกติธุระของจำเลยที่ 1 ชนรถยนต์ของโจทก์เสียหายโดยประมาทเลินเล่อ จำเลยให้การว่า การชนเกิดจากความผิดของโจทก์ ไม่ได้ปฏิเสธว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้ทำการในทางที่จ้าง จำเลยจึงไม่มีประเด็นที่จะโต้เถียงในข้อนี้ โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องนำสืบข้อที่มิได้มีประเด็นโต้เถียงนี้
        คำพิพากษาฎีกาที่ 218/2488 ในคดีฟ้องหย่า จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่ได้เป็นสามีภริยากับจำเลย ไม่ได้ปฏิเสธในเหตุหย่า โจทก์ไม่ต้องนำสืบในเหตุหย่า ศาลรับฟังตามฟ้องได้
        คำพิพากษาฎีกาที่ 1556/2497 จำเลยให้การว่าที่โจทก์บรรยายว่า ซื้อห้องพิพาทมานั้น จำเลยไม่ทราบ ถือว่าจำเลยไม่ปฏิเสธ ไม่มีข้อต่อสู้ในข้อนี้ โจทก์ไม่ต้องนำสืบ แต่มีคำพิพากษาฎีกาที่ 1011/2498 ซึ่งวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ว่า จำเลยให้การว่าที่พิพาทเป็นสินเดิมของโจทก์หรือไม่ จำเลยไม่ทราบ เท่ากับจำเลยปฏิเสธ โจทก์ต้องสืบให้สมอ้าง
        สำหรับ คำพิพากษาฎีกาที่ 1556/2497 และ 1011/2498 นี้ผลขัดกัน น่าจะต้องถือคำพิพากษาฎีกาฉบับสุดท้ายว่าทับคำพิพากษาฎีกาฉบับเดิมแล้ว แต่ผู้เขียนมีความเห็นส่วนตัว การให้การว่า “ไม่ทราบ” นั้น ไม่น่าจะถือว่าได้ปฏิเสธฟ้องโดยชัดแจ้ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177
        คำพิพากษาฎีกาที่ 349/2500 จำเลยยกอายุความได้ทรัพย์ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ขึ้นต่อสู้ ศาลจะยกอายุความเรื่องฝากทรัพย์มาใช้ไม่ได้
        คำพิพากษาฎีกาที่ 955/2508 ให้การว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมไม่สามารถเข้าใจสภาพแห่งข้อหาได้ มิได้ให้การว่าไม่สามารถเข้าใจสภาพแห่งข้อหา ข้อไหน คำไหน อย่างไร ดังนี้ถือว่าเป็นคำให้การที่ไม่มีประเด็น
        คำพิพากษาฎีกาที่ 231 – 232 / 2509 ให้การว่าหนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายนั้น จำเลยไม่มีประเด็นสืบ เพราะมิได้ให้การว่าไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายด้วยเหตุอย่างไร
        คำพิพากษาฎีกาที่ 1141 – 1157 / 2509 ให้การว่านอกจากจำเลยให้การรับโดยชัดแจ้งแล้ว จำเลยขอปฏิเสธฟ้องโจทก์ทั้งสิ้น เป็นคำปฏิเสธไม่ชัดแจ้งว่าปฏิเสธในเรื่องใด อย่างใด
        คำพิพากษาฎีกาที่ 1196/2511 ให้การว่า “นอกจากที่ให้การต่อไปนี้ ขอให้ถือว่าปฏิเสธฟ้อง” เป็นคำให้การที่ไม่ชอบ ฉะนั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การถึงฟ้องข้อใดไว้จึงถือว่าไม่ปฏิเสธ โจทก์ไม่ต้องนำสืบฟ้องข้อนั้น
        คำพิพากษาฎีกาที่ 1310/2520 โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง ศาลอนุญาตแล้ว เมื่อจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธฟ้องเพิ่มเติม ถือว่าจำเลยรับข้อเท็จจริงนั้นแล้ว


1.คำให้การในคดีแพ่ง ( ข้อสอบภาคปฏิบัติรุ่น27)

                           ข้อ ๑ ... จำเลยขอให้การปฏิเสธตามคำฟ้องของโจทก์ซึ่งจะได้กราบเรียนต่อศาลดังนี้
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
.............(.คำให้การต้องอ้างเหตุผลเสมอ เช่นอายุความจะอ้างว่าคดีโจทก์ขาดอายุความโดดๆไม่ได้ต้อง
อ้างว่าขาดอายุความอย่างไรต้องให้ละเอียดถึงวัน เดือน ปี )...................................................................
                                    ...........................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................
          ( วรรคต่อมาย่อหน้า ) ด้วยเหตุผลที่จำเลยได้ประทานกราบเรียนศาลมาข้างต้น ขอศาลได้โปรด
พิจารณาและพิพากษายกฟ้องโจทก์และให้โจทก์ชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนจำเลยด้วย
                                                                                                           


                                                                 ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
                                                ลงชื่อ...........................................................จำเลย
              คำให้การฉบับนี้ข้าพเจ้านาย/นางสาว....................................ทนายความจำเลยเป็นผู้เรียง/เขียน
                                               ลงชื่อ...........................................................ผู้เรียง /เขียน

2.ตัวอย่างคำให้การ

คำให้การ

            ข้อ ๑. จำเลยขอให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ตลอดข้อหา ดังนี้

            ๑.๑ จำเลยขอปฏิเสธว่า จำเลยไมได้สั่งจ่ายเช็ค เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข ๑ ให้แก่โจทก์ตามข้อกล่าวอ้างของโจทก์แต่อย่างใด กล่าวคือ เมื่อประมาณต้นเดือน เมษายน ๒๕๒๘ จำเลยได้กู้ยืมเงินไปจากนาย ฉ..............น้องชายโจทก์เป็นเงินจำนวน ๕,๐๐๐ บาท (ห้าพันบาทถ้วน) โดย นาย....ฉ.........ได้ขอให้จำเลยสั่งจ่ายเช็คเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข ๑ ไว้เพื่อเป็นประหันเงินกู้จำนวน   ๕,๐๐๐ บาท และเป็นประกันค่าดอกเบี้ยร้อยละ ๑๐ ต่อเดือน จำนวน ๙ เดือน ค่าเสียหาย ค่าทนายความและค่าป่วยการอื่นๆ หากจำเลยไม่ชำระเงินต้นและดอกเบี้ยตามที่ตกลง จำเลยจึงได้สั่งจ่ายเช็ค เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข ๑ มาฟ้องโจทก์โดยอ้างว่า เป็นผู้ทรงเช็คนั้น ไม่เป็นความจริง ความจริงแล้วโจทก์จำเลย ไม่เคยมีนิติสัมพันธ์ใดๆ ต่อกัน ฉะนั้น โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้อง

            ๑.๒ จำเลยขอให้การต่อสู้ว่า เช็คเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข ๑ เป็นเช็คมีมูลหนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย กล่าวคือ โจทก์ได้สั่งจ่ายเช็คไว้ให้แก่ นาย ฉ..น้องชายโจทก์เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้จำนวน ๕,๐๐๐ บาท (ห้าพันบาท) ดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราร้อยละ ๑๐ ต่อเดือน เป็นเวลา ๙ เดือน เป็นเงิน ๔,๕๐๐๐ บาท ค่าดอกเบี้ยค่าเสียหาย ค่าทนายความ และค่าป่วยการอื่นๆ กรณีที่จำเลยไม่ชำระต้นเงินคืนอีกเป็นเงินจำนวน ๒๕,๕๐๐ บาท (สองหมื่นห้าพันห้าร้อยบาทถ้วน) ดังนั้น เช็คเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข ๑ ที่โจทก์สั่งจ่ายให้แก่นาย ฉ...........จึงเป็นเช็คที่มีมูลหนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฏหมาย ฉะนั้น การที่โจทก์นำเช็คเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข ๑ มากล่าวอ้างฟ้องจำเลยในคดีนี้ จึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต

            ๑.๓ จำเลยขอให้การปฏิเสธว่าโจทก์ไม่เคยติดต่อทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็ค เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข ๑ ให้แก่โจทก์ ดังที่โจทก์กล่าวอ้าง ความจริงแล้วจำเลยไม่เคยรู้จักและไม่เคยมีนิติสัมพันธ์ใดๆ กับโจทก์

            ข้อ ๒. จำเลยขอให้การต่อสู้ว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ กล่าวคือ โจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยได้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็ค  เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข ๑ ลงวันที่  ๒๗ มกราคม ๒๕๒๙ และธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงินเมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๓๐ ฉะนั้น โจทก์จึงไม่ได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเสียภายในระยะเวลาอันกฎหมายกำหนดไว้ ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ขาดอายุความ

            อาศัย เหตุดังที่ได้ประทานกราบเรียนมาต่อศาลแล้วข้างต้น จึงขอศาลได้โปรดพิพากษายกฟ้องโจทก์เสีย และให้โจทก์ชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนจำเลยด้วย

การดำเนินคดีแพ่ง

ความหมายของคดีแพ่ง
คดีแพ่ง คือ คดีที่มีการโต้แย้งสิทธิ หรือหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมายแพ่ง เช่น การฟ้องให้ผู้กู้ชำระเงินตามสัญญากู้ หรือการฟ้องเรียกให้ผู้ละเมิดชดใช้ค่าเสียหาย เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่า วัตถุประสงค์ของการฟ้องมุ่งให้จำเลยชำระเงิน มิใช่มุ่งที่จะให้จำเลยต้องถูกลงโทษ เช่น จำคุกดังเช่นคดีอาญา
  คดี แพ่ง นอกจากจะเป็นเรื่องพิพาทกันดังกล่าวแล้ว อาจเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดให้บุคคลใช้สิทธิทางศาลเพื่อรับรองคุ้มครอง สิทธิของตน เช่น การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยการครอบครองปรปักษ์ซึ่งถือเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท
    สิทธิในการฟ้องคดีแพ่ง
  บุคคลที่มีสิทธินำคดีแพ่งขึ้นฟ้องร้องต่อศาล จะต้องมีเหตุตามกฎหมายกำหนดไว้ 2 ประการ คือ
1. มีการโต้แย้งสิทธิ หรือ
2. มีความจำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาล
  1. การโต้แย้งสิทธิ   หมาย ถึง การกระทำของบุคคลใดบุคคลหนึ่งกระทบกระเทือนหรือละเมิดต่อสิทธิที่พึงมีพึง ได้ตามกฎหมายของบุคคลอื่น สิทธินี้มิได้หมายถึงสิทธิในทรัพย์สินเท่านั้น แต่ยังหมายความรวมถึงสิทธิอื่นๆ ด้วย เช่น สิทธิในชีวิตร่างกาย สิทธิในครอบครัว หรือสิทธิในเกียรติยศ ชื่อเสียง
 2. การต้องใช้สิทธิทางศาล   หมาย ถึง กรณีที่กฎหมายกำหนดให้การกระทำบางอย่างต้องได้รับอนุญาตหรือได้รับการรับรอง จากศาลก่อน เช่น การขอเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย การขอเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ การขอทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ การขอให้ศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถ เสมือนไร้ความสามารถ หรือสาบสูญ หรือการขอให้แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นต้น
  กรณี เช่นนี้ ผู้ขอไม่ต้องฟ้องใครเป็นจำเลย เพียงแต่ยื่นคำร้องขอต่อศาลเท่านั้นและศาลจะนัดไต่สวนคำร้องของผู้ร้อง จึงเรียกว่าเป็น "คดีที่ไม่มีข้อพิพาท" ส่วนคดีที่มีการโต้แย้งสิทธิและต้องฟ้องบุคคลอื่นเป็นจำเลยนั้นเรียกว่า"คดีมีข้อพิพาท"  
  ผู้ที่จะฟ้องคดีหรืออาจถูกฟ้องคดีได้
  ต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล
  บุคคลธรรมดา ได้แก่ มนุษย์หรือคนซึ่งเมื่อมีสภาพบุคคลก็มีสิทธิและหน้าที่ จึงอาจเป็นโจทก์ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นจำเลยได้
อนึ่ง ตำแหน่ง หน้าที่ราชการบางตำแหน่งรวมถึงผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่ราชการด้วย เช่น ผู้ดำรงตำแหน่งอธิบดี หรือผู้ว่าราชการจังหวัดอาจเป็นโจทก์ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นจำเลยได้เช่นกัน
กรณีผู้เยาว์ ถ้าจะฟ้องคดีอาจแยกเป็น 2 กรณี คือ กรณีผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องคดีแทนผู้เยาว์ หรือกรณีผู้เยาว์ฟ้องคดีเองซึ่งต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม ก่อน แต่ถ้าผู้เยาว์ถูกฟ้องคดี ผู้แทนโดยชอบธรรมจะต้องเข้าดำเนินคดีแทน 
นิติบุคคล เป็นบุคคลทีกฎหมายกำหนดขึ้นให้มีสิทธิและหน้าที่บางประการที่นิติบุคคลจะมี อย่างเช่นบุคคลธรรมดาไม่ได้ การจะเป็นนิติบุคคลได้ต้องมีกฎหมายบัญญัติรับรองไว้ นิติบุคคลได้แก่ บริษัทมหาชนจำกัด บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญ สมาคม มูลนิธิ วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา หน่วยราชการ (กระทรวง ทบวง กรม) รัฐวิสาหกิจ มหาวิทยาลัย จังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กองบัญชาการทหารสูงสุด กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ เป็นต้น
สิ่งที่ไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล เช่น รัฐบาล กลุ่มหรือคณะบุคคล กองมรดก หน่วยราชการที่มีฐานะเป็นกอง สำนักสงฆ์ สุเหร่า อำเภอ ชมรม เป็นต้น ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติรับรองให้มีสถานะเป็นนิติบุคคล ดังนั้น จึงไม่อากเป็นโจทก์ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นจำเลยได้
คำฟ้อง
ยื่นฟ้องที่
1.
คดี เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นคดีฟ้องเกี่ยวกับทรัพย์โดยตรง เช่น ฟ้องบังคับจำนอง หรือไถ่ถอนที่ดินขายฝาก ฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกออกจากที่ดิน หรือฟ้องเกี่ยวกับสิทธิหรือประโยชน์เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เช่น ฟ้องเรียกค่าเช่าค่าเสียหาย
1.
ศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือ
2.
ศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่
2.
คดีเกี่ยวกับหนี้เหนือบุคคล เช่น ฟ้องเรียกเงินกู้ ฟ้องเรียกเงินตามเช็ค ฟ้องผิดสัญญา ฟ้องหย่า ฯลฯ
1.
ศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล
2.
ศาลที่มูลคดีเกิด
3.
คำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
ศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตขณะถึงแก่ความตาย
  การฟ้องจะฟ้องที่ศาลใด
  1. ดูประเภทของคดีก่อนว่าอยู่ในอำนาจของศาลใด
2. ดูทุนทรัพย์ของคดีว่าอยู่ในอำนาจศาลจังหวัดหรือศาลแขวง
คดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลจังหวัด
ศาลจังหวัดมีอำนาจทั่วไปที่จะชำระคดีได้ทุกประเภท ในส่วนของคดีแพ่งมีเงื่อนไขดังนี้
1. คดีที่มีจำนวนทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์ที่พิพาทเกินกว่า 300,000 บาท
2. คดีที่ฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เช่น การฟ้องขับไล่
3. คดีที่ไม่มีข้อพิพาท เช่น คดีขอเป็นผู้จัดการมรดก คดีขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครอง คดีขอให้ศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ เป็นต้น
คดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง
ศาลแขวง มีอำนาจชำระคดีเล็กๆ น้อยๆ ที่อยู่ในอำนาจของพิพากษาคนเดียว ในส่วนของคดีแพ่ง เป็นคดีที่มีจำนวนทุนทรัพย์ หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทไม่เกิน 300,000 บาท
  การเตรียมเอกสารในการฟ้องคดีแพ่ง

เอกสารที่ต้องจัดเตรียม เช่น
1. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับมูลหนี้ เช่น หนังสือสัญญา หนังสือบอกกล่าวทวงถาม
2. หนังสือมอบอำนาจในกรณีที่มอบให้ผู้อื่นกระทำการแทน
3. รายละเอียดในการคำนวณยอดหนี้
4. ใบแต่งทนายความ
5. บัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของโจทก์
6. สำเนาทะเบียนบ้านหรือแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรของจำเลย ไม่ควรเกิน 1 เดือน (จากฐานข้อมูลการทะเบียน สำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย)
7. หนังสือรับรองนิติบุคคล (จากสำนักงานหุ้นส่วนบริษัท กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์) ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับนิติบุคคล

  ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแพ่ง
1. ค่าขึ้นศาล
คดีที่มีทุนทรัพย์ ได้แก่ คดีที่โจทก์เรียกร้องโดยมีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เช่น คดีที่มีคำขอเรียกร้องเงินหรือทรัพย์สินซึ่งยังมิได้เป็นของตนจากผู้อื่นมา เป็นของตน โดยจำนวนเงินหรือราคาทรัพย์ที่เรียกร้องนั้นถือเป็นทุนทรัพย์
สำหรับค่าขึ้นศาลในคดีที่มีทุนทรัพย์โจทก์ต้องเสียอัตราร้อยละ 2.50 บาท ของจำนวนทุนทรัพย์ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
คดีไม่มีทุนทรัพย์ คือ คดีที่โจทก์มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เช่น ขอให้บังคับจำเลยให้กระทำการหรือละเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อ ประโยชน์ของโจทก์ โดยโจทก์ไม่ได้อ้างหรือเรียกร้องเป็นจำนวนเงินหรือทรัพย์สินอย่างใดอย่าง หนึ่ง
สำหรับค่าขึ้นศาลในคดีไม่มีทุนทรัพย์โจทก์ต้องเสียเรื่องละ 200 บาท
ในกรณีเป็นคดีมีทุนทรัพย์กับไม่มีทุนทรัพย์รวมอยู่ในคดีเดียวกัน ให้คิดค่าขึ้นศาลในอัตราร้อยละ 2.50 บาท ของจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้อง โดยเป็นเงินอย่างต่ำ 200 บาท แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
อุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 หรือ 228 เสียค่าขึ้นศาลเรื่องละ 200 บาท
ค่าขึ้นศาลในอนาคต (เกี่ยวกับค่าเช่า ดอกเบี้ย ค่าเสียหาย)
เช่นถ้าไม่ได้ขอดอกเบี้ยก่อนฟ้อง แต่ขอดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนถึงวันชำระเสร็จ ต้องเสียค่าขึ้นศาลอนาคตอีก 100 บาท
ค่าขึ้นศาลเพิ่มขึ้น
ตาม ปกติศาลจะคำนวณค่าขึ้นศาลเมื่อโจทก์ยื่นฟ้อง แต่ถ้าต่อมามีการแก้ไขคำฟ้องหรือมีเหตุประการอื่นอันทำให้จำนวนทุนทรัพย์ เพิ่มขึ้น โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มขึ้นตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เพิ่มนั้น
 
2. ค่าธรรมเนียมอื่นๆ ในคดีแพ่ง
คำร้อง          20  บาท
คำขอ            10  บาท
คำแถลง           -   บาท
ใบแต่งทนาย  20  บาท
- ค่าอ้างเอกสารเป็นพยานฉบับละ 5 บาท สูงสุดไม่เกิน 200 บาท
- ค่ารับรองสำเนาเอกสาร โดยผู้อำนวยการสำนักงานศาล 20 บาท
- ค่าใบสำคัญแสดงว่าคดีถึงที่สุด15บาท
3. ค่าใช้จ่ายอื่น ในการดำเนินคดีแพ่ง คู่ความอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีก เช่น ค่าส่งหมาย ค่าทำแผนที่พิพาท ค่าป่วยการ และค่าพาหนะพยาน ค่าตรวจเอกสารโดยผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น
  การขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล
กรณี ที่โจทก์หรือจำเลยเป็นคนยากจน ไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียมศาล โจทก์หรือจำเลยอาจยื่นคำร้องขออนุญาตยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลได้ เรียกว่าการฟ้องหรือต่อสู้คดีอย่างคนอนาถา ซึ่งขอได้ทุกระดับชั้นศาล
ผู้ ขอจะต้องยื่นคำร้องต่อศาลพร้อมกับคำฟ้อง คำฟ้องอุทธรณ์ คำฟ้องฎีกา หรือคำให้การ และสาบานตัวต่อเจ้าหน้าที่ศาลว่า ไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียมศาล ซึ่งเจ้าหน้าที่ศาลจะบันทึกถ้อยคำสาบานเอาไว้ ศาลจะฟังคู่ความทุกฝ่ายโดยไต่สวนก่อนพิจารณาสั่ง
 ถ้า ศาลอนุญาตให้ฟ้องหรือต่อสู้คดีอย่างคนอนาถาทั้งหมด ผู้นั้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล ซึ่งรวมถึงเงินวางศาล อันได้แก่เงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ต้องใช้แก่ฝ่ายชนะคดีในศาลล่าง สำหรับการยื่นฟ้องอุทธรณ์ หรือฎีกา
 แต่ถ้าศาลอนุญาตให้ฟ้องหรือต่อสู้คดีอย่างคนอนาถาเพียงบางส่วน ผู้นั้นจะได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลเฉพาะส่วนที่ศาลสั่งยกเว้นให้
   กรณีจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ
จำเลย ขาดนัดยื่นคำให้การ หมายถึง กรณีที่จำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การโดยชอบแล้ว จำเลยมิได้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามกฎหมายหรือตามคำสั่งศาล และจำเลยมิได้ขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การ ซึ่งตามกฎหมายจะถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การทันที
 อย่างไร ก็ตาม แม้จำเลยจะขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การแล้ว แต่ก็ยังอาจขาดนัดยื่นคำให้การได้ ถ้าศาลไม่อนุญาตขยายระยะเวลาให้ยื่นคำให้การ เนื่องจากไม่มีเหตุผลสมควร
 การขาดนัดยื่นคำให้การจะมีได้เฉพาะในศาลชั้นต้นเท่านั้น ในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาไม่มีการยื่นคำให้การ

ทางแก้สำหรับจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การ
 - กรณีจำเลยมาศาลก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดี ให้จำเลยแจ้งต่อศาลว่าประสงค์จะสู้คดี และขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ยื่นคำให้การ ดังนี้ หากศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ จากนั้นศาลจะดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ตั้งแต่เวลาที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ
 จำเลย สามารถแจ้งต่อศาลว่าประสงค์จะสู้คดีเป็นหนังสือหรือแจ้งด้วยวาจาก็ได้ โดยจำเลยอาจมาศาลด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่น หรือแต่งตั้งทนายความเพื่อดำเนินการแทนก็ได้
 การ ขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ ศาลต้องสอบถามฝ่ายโจทก์ก่อน หรือหากจำเลยยื่นคำขอเป็นหนังสือ ก็ต้องส่งสำเนาคำขอให้โจทก์ เพื่อให้โอกาสโจทก์คัดค้าน จากนั้นศาลจะพิจารณาสั่งตามรูปคดีไป
 - กรณีที่จำเลยมาศาลก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดี แต่จำเลยมิได้แจ้งต่อศาลว่าประสงค์จะสู้คดี หรือศาลไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ ดังนี้จำเลยมีสิทธิถามค้านพยานโจทก์ที่อยู่ระหว่างการสืบพยานได้ แต่จำเลยไม่มีสิทธินำพยานของตนเข้าสืบ
ข้อควรระวัง  กรณี ที่จำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กฎหมายหรือศาลกำหนด โจทก์มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอต่อศาลเพื่อขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้ฝ่ายโจทก์ชนะ คดี เพราะเหตุจำเลยขาดนัดภายใน 15 วัน นับแต่วันสิ้นกำหนดระยะเวลายื่นคำให้การของจำเลย มิฉะนั้น ศาลอาจมีคำสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์ได้
ผลของการจงใจขาดนัดยื่นคำให้การ
1. จำเลยจะนำพยานของตนเข้าสืบไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นพยานบุคคล หรือพยานเอกสาร
2. จำเลยมีสิทธิถามค้านพยานโจทก์ได้
  การขาดนัดพิจารณา
การขาดนัดพิจารณา คือ คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาศาล (ไม่ ว่าจะเป็นตัวความหรือผู้มีสิทธิทำการแทนตัวความ เช่น ผู้รับมอบอำนาจและทนายความ) ในวันสืบพยานและไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี ถือว่าคู่ความฝ่ายนั้นขาดนัดพิจารณา
 
  ชนิดของพยานหลักฐาน
1. พยานบุคคล หมายถึง บุคคลที่ไปเบิกความให้ข้อเท็จจริงต่อศาล
2. พยาน เอกสาร หมายถึง กระดาษ หรือวัตถุใดๆ ที่ปรากฏตัวอักษร ตัวเลข หรือเครื่องหมายซึ่งเป็นการสื่อความหมายนั้นๆ เช่น สัญญากู้ โฉนดที่ดิน
3. พยานวัตถุ หมายถึง วัตถุสิ่งของหรือสัตว์ที่นำมาให้ศาลตรวจ
4. พยานผู้เชี่ยวชาญ หมายถึง พยานที่มาเบิกความให้ความเห็นต่อศาล ในฐานะเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษในวิชาการบางอย่าง
  การอ้างพยานเอกสาร
1. การอ้างเอกสารเป็นพยานนั้น ศาลรับฟังเฉพาะต้นฉบับของเอกสาร
เว้นแต่
      1. คู่ความทุกฝ่ายตกลงกันว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้อง
      2. หาต้นฉบับเอกสารไม่ได้ ศาลจะอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารหรือพยานบุคคลมาสืบก็ได้
      3. ต้นฉบับ เอกสารอยู่ในความครอบครองของทางราชการ หากมีสำเนาหรือข้อความที่คัดจากเอกสารโดยที่ทางราชการรับรองถูกต้อง ก็ใช้อ้างอิงเป็นพยานได้
 2. ฝ่ายที่อ้างเอกสาร ต้องส่งสำเนาเอกสารให้ศาลและคู่ความฝ่ายอื่นก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน
3. ฝ่ายที่อ้างเอกสาร ต้องเสียค่าอ้างเอกสารเป็นพยานในศาลชั้นต้นฉบับละ 5 บาท แต่สูงสุดไม่เกิน 200 บาท

  คำพิพากษาของศาล
คำพิพากษา
คำ พิพากษาของศาลกฎหมายกำหนดให้ทำเป็นหนังสือแสดงคำวินิจฉัยของศาลในประเด็น แห่งคดีและเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยนั้น รวมทั้งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมด้วย
 ย่อหน้าสุดท้ายของคำพิพากษา จะบอกผลของข้อวินิจฉัย เช่น
 "พิพากษาให้จำเลยชำระเงิน จำนวน 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงิน 80,000 บาท นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 9 กันยายน 2545) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 1,000 บาท" หรือ "พิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ"
การอ่านผลของคดีจากคำพิพากษาชั้นศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา   มีถ้อยคำที่ควรทราบคือ
ยืน หมายถึง เห็นด้วยกับศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ทั้งหมด
ยก หมายถึง ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกายกอุทธรณ์หรือฎีกาของคู่ความ เช่น กรณีต้องห้ามไม่ให้อุทธรณ์ฎีกา หรือยกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้วให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและ พิพากษาใหม่ตามรูปคดี
กลับ หมายถึง ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ทั้งหมด
แก้ หมายถึง เห็นด้วยบางส่วน ไม่เห็นด้วยบางส่วน
เมื่อ ศาลมีคำพิพากษาแล้ว ศาลจะมีคำสั่งให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาปฏิบัติตามคำพิพากษา และกำหนดวิธีปฏิบัติไว้ เรียกว่า "คำบังคับ" ศาลมีหน้าที่ออกคำบังคับแก้ผู้แพ้คดีโดยผู้ชนะคดีไม่ต้องร้องขอ หากผู้แพ้คดีมาฟังคำพิพากษาศาลจะออกคำบังคับให้ผู้แพ้คดีลงลายมือชื่อทราบคำ บังคับโดยอาจเขียนคำบังคับไว้ที่หน้าสำนวน หากผู้แพ้คดีไม่มาฟังคำพิพากษา ศาลจะออกคำบังคับและให้เจ้าพนักงานศาลส่งคำบังคับให้ผู้แพ้คดีทราบในภายหลัง
การพิพากษาตามยอม
เมื่อฟ้องคดีต่อศาลแล้วคู่ความอาจตกลงกันและทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันได้ โดยมีวิธีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน 2 วิธี คือ การทำสัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาล ซึ่งเป็นการทำสัญญากันเองไม่ผ่านกระบวนพิจารณาของศาล กับการทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล ซึ่งเป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันตามขั้นตอนและกระบวนการของศาล
ถ้า เป็นการตกลงประนีประนอมยอมความกันนอกศาลต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ และขั้นตอนทางศาลคือโจทก์ต้องมาขอถอนฟ้องโดยอ้างว่าตกลงกันได้แล้วซึ่งศาลจะ อนุญาตให้ถอนฟ้อง คดีก็เป็นอันเสร็จกันไป หากภายหลังฝ่ายใดไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญาก็ต้องฟ้องร้องต่อศาลขอบังคับตาม สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นคดีใหม่อีกครั้งหนึ่ง
ส่วน การตกลงประนีประนอมยอมความกันในศาลเป็นเรื่องที่คู่ความตกลงกันได้แล้วขอให้ ศาลบันทึกข้อตกลงในแบบพิมพ์สัญญาของศาลหรือคู่ความทำสัญญาประนีประนอม ยอมความกันเอง แล้วขอให้ศาลมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้ว ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญา อีกฝ่ายหนึ่งย่อมขอให้ศาลบังคับคดีได้ทันทีโดยไม่ต้องฟ้องคดีใหม่
ใน ช่วงคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ถ้าคู่ความตกลงกันได้ก็อาจทำสัญญาประนีประนอมกันยอมความในศาลกันได้ ถ้าศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาเห็นว่าข้อตกลงไม่ขัดต่อกฎหมายก็จะพิพากษาตามยอม ให้
  การอุทธรณ์ฎีกาคำพิพากษา
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ฎีกา  
เมื่อ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว คู่ความที่ไม่พอใจ อาจอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ได้ หรือ เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้ว คู่ความที่ไม่พอใจอาจฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาได้ ข้อโต้แย้งที่คู่ความหยิบยกขึ้นอาจแยกเป็นข้อกฎหมาย และข้อเท็จจริง โดยหลักถ้าเป็นข้อกฎหมายจะไม่มีข้อห้ามในการอุทธรณ์ฎีกา แต่กฎหมายจำกัดสิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงดังนี้
คดีที่จะอุทธรณ์ฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงได้
ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในแต่ละชั้นศาลต้องเกินกว่า 50,000 บาท (กรณีอุทธรณ์) หรือเกินกว่า 200,000 บาท (กรณีฎีกา)
ถ้าจำนวนทุนทรัพย์ 50,000 บาท หรือ 200,000 บาท พอดี หรือต่ำกว่านั้น มีข้อยกเว้นให้อุทธรณ์ฎีกาได้ โดยต้องให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณารับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์หรือฎีกา หรือได้รับหนังสืออนุญาตจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรืออธิบดีผู้พิพากษา ภาค (กรณีอุทธรณ์) หรืออธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ (กรณีฎีกา)
คดีที่เกี่ยวกับสิทธิแห่งสภพบุคคล หรือสิทธิในครอบครัว หรือคดีฟ้องขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ (หรือ ที่เรียกว่าคดีไม่มีทุนทรัพย์) สามารถอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ ยกเว้นคดีฟ้องขับไล่ซึ่งถือเป็นคดีฟ้องปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็น ราคาเงินได้ หากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะที่ยื่นฟ้องไม่ เกินเดือนละ 4,000 บาท (กรณีอุทธรณ์) หรือไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท (กรณีฎีกา) ต้องห้ามอุทธรณ์ฎีกาข้อเท็จจริง
ระยะเวลาอุทธรณ์ฎีกา
คู่ความจะต้องยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังแล้วแต่กรณี
  การบังคับคดี
การบังคับคดี หมายถึง วิธีการที่คู่ความผู้ชนะคดีจะดำเนินการเอาแก่ผู้แพ้คดีเพื่อให้ได้ผลตามคำพิพากษา
เนื่อง จากฝ่ายแพ้คดีไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาโดยได้ทราบคำบังคับและระยะเวลาที่ ได้กำหนดไว้เพื่อการปฏิบัติตามคำพิพากษา หรือคำสั่งนั้นได้ล่วงพ้นไปแล้ว เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีอำนาจที่จะดำเนินการขอให้ศาลบังคับคดีได้

คู่ ความฝ่ายชนะคดีอาจร้องขอให้มีการบังคับคดีได้นับแต่วันศาลมีคำพิพากษาหรือคำ สั่ง โดยการบังคับคดีไม่จำเป็นจะต้องรอจนกว่าคดีจะถึงที่สุด เมื่อศาลพิพากษาแล้ว แม้จะมีการอุทธรณ์ฎีกา คำพิพากษา แต่หากศาลมิได้มีคำสั่งสั่งให้ทุเลาการบังคับคดีไว้ก็ย่อมดำเนินการบังคับ คดีได้
อย่างไรก็ตาม คู่ความฝ่ายชนะคดีจะต้องร้องขอให้มีการบังคับคดีภายใน 10 ปี นับแต่วันศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุด แต่ถ้าผู้ชนะคดีไม่ร้องขอให้ศาลบังคับคดีภายใน 10 ปี การบังคับคดีก็ย่อมสิ้นสุดลง
วิธีการออกหมายบังคับคดี
เมื่อ ได้มีการส่งคำบังคับให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา และระยะเวลาที่ได้กำหนดไว้เพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาได้ล่วงพ้นแล้ว แต่ลูกหนี้ตามคำพิพากษายังขัดขืนไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสามารถยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นที่ได้พิจารณาและ พิพากษาคดี เพื่อขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี หรืออีกนัยหนึ่งคือขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อดำเนินการบังคับคดี เช่น ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา แล้วนำออกมาขายทอดตลาด นำเงินมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
  การฟ้องคดีมโนสาเร่และคดีไม่มีข้อยุ่งยากด้วยตนเอง

คดีมโนสาเร่
ความหมายของคดีมโนสาเร่
คดีมโนสาเร่ ได้แก่
1. คดีที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท
2. คดีฟ้องขับไล่บุคคลออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่มีค่าเช่า หรืออาจให้เช่าได้ในขณะที่ยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละ 20,000 บาท
วิธีการฟ้องและขั้นตอนการดำเนินคดี
การฟ้องคดีมโนสาเร่ทุกเรื่องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ส่วนค่าธรรมเนียมอื่นๆ ยังคงต้อเสียเหมือนคดีแพ่งทั่วไป เช่น ค่าคำร้อง คำขอ ค่าส่งประเด็น เป็นต้น
วิธีการ ฟ้องคดีมโนสาเร่ โจทก์อาจยื่นคำฟ้องเป็นหนังสือ หรือมาแถลงข้อหาต่อศาลด้วยวาจา (ฟ้องด้วยวาจา) ก็ได้ หลังจากศาลรับฟ้อง ศาลจะกำหนดวันนัดพิจารณาโดยเร็ว โดยในหมายเรียกต้องระบุประเด็นในคดี เช่น โจทก์ฟ้องจำเลยเรื่องกู้ยืมให้จำเลยชำระเงินกู้คืนโจทก์สี่หมืนบาท เป็นต้น หมายเรียกจะมีข้อความให้จำเลยมาศาลเพื่อการไกล่เกลี่ย ให้การและสืบพยานในวันเดียวกัน และให้โจทก์มาศาลในวันนัดด้วย
หากจำเลยไม่ยื่นคำให้การ ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจให้ดำเนินคดีต่อไป โดยถือว่าจำเลยขาดยื่นนัดคำให้การ
กรณี โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาโดยมิได้ขอเลื่อนคดี หรือเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาล ศาลถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ดำเนินคดีต่อไป และจำหน่ายคดีจากสารบบความได้
คดีมโนสาเร่ ศาลจะเลื่อนคดีได้เฉพาะเมื่อมีเหตุจำเป็นและเลื่อนได้ครั้งละไม่เกิน 7 วัน

ใน การสืบพยาน ศาลจะเป็นผู้ซักถามพยานก่อน แล้วจึงให้ตัวความหรือทนายความซักถามเพิ่มเติม การบันทึกคำเบิกความพยาน ศาลจะบันทึกข้อความโดยย่อก็ได้
การดำเนินคดีมโนสาเร่ด้วยตนเอง

1. เตรียมหลักฐานให้พร้อม ได้แก่
1.1 บัตรประจำตัวประชาชน/สำเนาทะเบียนบ้านของโจทก์พร้อมสำเนา;
1.2 หนังสือรับรองจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท (กรณีนิติบุคคลฟ้อง) พร้อมสำเนา
1.3 สำเนาทะเบียนบ้านของจำเลย พร้อมสำเนา
1.4 หนังสือรับรองจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท (ไม่เกิน 1 เดือน) กรณีนิติบุคคลถูกฟ้องเป็นจำเลย พร้อมสำเนา
1.5 หลักฐานในการดำเนินคดี
    - คดีกู้ยืม/ค้ำประกัน ได้แก่ สัญญากู้/ค้ำประกัน
    - คดีผิดสัญญา ได้แก่ สัญญาหรือบันทึกข้อตกลง
    - คดีละเมิด ได้แก่ บันทึกประจำวันของเจ้าพนักงานตำรวจ
    - คดีตั๋วเงิน ได้แก่ เช็คที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน
2. ติดต่อนิติกรประจำศาล เพื่อบันทึกคำฟ้องด้วยวาจา ตามแบบ ม. 1 (ส่วนฟ้องแย้งด้วยวาจาใช้แบบ ม. 2)
3. ยื่นบันทึกคำฟ้องพร้อมเอกสารหลักฐาน ชำระเงินค่าธรรมเนียมต่อเจ้าหน้าที่งานรับฟ้อง และกำหนดวันนัดกับเจ้าหน้าที่ศาล
4. ศาลมีหมายเรียกจำเลยมาศาลเพื่อไกล่เกลี่ยโดยกำหนดวันนัดพิจารณา ประมาณ 30 วัน (จำเลยมีภูมิลำเนาในเขตศาล) หรือ 45 วัน (กรณีจำเลยมีภูมิลำเนานอกเขตศาล) โดยโจทก์ต้องมาศาลในวันนัดทุกครั้ง
5. กรณีโจทก์จำเลยมาศาลในวันนัด ศาลจะเรียกไกล่เกลี่ยก่อน หากไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จศาลจึงพิจาณาคดีต่อไป โดยโจทก์ต้องนำพยานเข้าสืบ
6. กรณี จำเลยไม่มาศาลในวันนัดพิจารณา ศาลจะถือว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา และหากจำเลยมิได้ยื่นคำให้การไว้ก่อนด้วยแล้ว ศาลจะถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ โดยศาลจะสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียวแล้วพิพากษาคดีทันที และศาลจะออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 15 วัน โดยโจทก์ไม่ต้องขอ
7. กรณีจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับภายในกำหนด (15 วัน นับแต่วันได้รับคำบังคับ หรือ 30 วันกรณีปิดหมาย) โจทก์จะขอให้ศาลออกหมายต้องบังคับคดีต่อไป

คดีไม่มีข้อยุ่งยาก

ความหมายของคดีไม่มีข้อยุ่งยาก

คดีไม่มีข้อยุ่งยาก ได้แก่
1. คดีฟ้องขอให้ชำระเงินจำนวนแน่นอนตามตั๋วเงิน ซึ่งการรับรองหรือการชำระเงินตามตั๋วเงินถูกปฏิเสธ
2. คดีฟ้องขอให้ชำระเงินจำนวนแน่นอนตามหนังสือสัญญา ซึ่งปรากฏว่า เป็นสัญญาอันแท้จริง มีความสมบูรณ์และบังคับได้ตามกฎหมาย
วิธีการฟ้องและขั้นตอนการดำเนินคดี
คดี ไม่มีข้อยุ่งยากนั้น จะยื่นฟ้องและเสียค่าขึ้นศาลเหมือนคดีแพ่งทั่วไป หากศาลเห็นว่าคดีที่ฟ้องเป็นคดีที่ไม่มีข้อยุ่งยาก ศาลจะมีคำสั่งให้นำบทบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่มาใช้และออก หมายเรียกไปยังจำเลย แสดงจำนวนเงินที่เรียกร้อง และเหตุแห่งการเรียกร้อง และให้จำเลยมาศาลและให้การในวันที่กำหนด
ถ้า จำเลยมาศาล ศาลจะจดคำแถลงของจำเลยลงไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ถ้าศาลพิจารณาคำแถลงและคำให้การของจำเลยแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุต่อสู้คดี ศาลจะพิจารณาพิพากษาคดีโดยเร็ว ถ้าจำเลยมีคู่ต่อสู้อันสมควร ศาลจะพิจารณาโดยไม่ชักช้า และฟังพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายก่อนพิพากษา
ถ้าจำเลยได้รับหมายเรียกแล้วไม่มาศาลตามกำหนด ศาลจะสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา แล้วศาลจะพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียวและพิพากษาคดีโดยเร็ว

Check out ASTV ผู้จัดการออนไลน์:Crime

Check out ASTV ผู้จัดการออนไลน์:Crime

วันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553

DEBUSSY & The Moon / Classical Violin

Celtic dueling violins

Sad Violin

Mozart 's Greatest Violin Piece

Wolfgang Amadeus Mozart - Symphony 40 in G min KV 550

Itzhak Perlman-Violin Concerto in A minor,RV 356 Op 3 No 6

Check out ASTV ผู้จัดการออนไลน์:Crime

Check out ASTV ผู้จัดการออนไลน์:Crime

คำพิพากษาฎีกา ขับรถโดยประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย.odt


ฏีกา
ขับรถด้วยความประมาทผู้อื่นถึงแก่ความตาย
ขับรถด้วยความประมาทจนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น
ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท ความผิดฐานไม่หยุดให้ความช่วยเหลือพร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจยึดรถคันที่ผู้ขับขี่หลบหนี ผู้ครอบครองไม่แสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในหกเดือนนับแต่ วันเกิดเหตุ ให้ตกเป็นของรัฐ
ในคดีนี้ศาลฎีกาลงโทษจำเลยฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ ความตาย จำคุก 1 ปี ฐานไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือพร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที จำคุก 2 เดือน



คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7909/2549



โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยขับรถยนต์โดยประมาทโดยขับด้วยความเร็วสูงเกินสมควรจนไม่สามารถหยุดหรือ ลดความเร็วของรถให้ช้าลงพอที่จะหลบหลีกไม่ชนรถคันอื่นหรือสิ่งอื่นใดที่ กีดขวางอยู่ข้างหน้าได้ทัน โดยมิได้บรรยายฟ้องอ้างเหตุว่า จำเลยขับรถด้วยความเร็วเกินที่กำหนดในกฎกระทรวงหรือตามเครื่องหมายจราจรที่ ได้ติดตั้งไว้ในทาง แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจปรับบทลงโทษจำเลยในความผิดตาม พ...จราจรทางบก พ..2522 มาตรา 67, 152 ตามคำขอท้ายฟ้องได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291, 91 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ..2522 มาตรา 43, 67, 78, 152, 157, 160
จำเลยให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ..2522 มาตรา 43 (4), 78, 152, 157, 160 วรรคสอง เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 2 ปี ฐานไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือและแจ้งเหตุต่อเจ้าพนักงาน จำคุก 4 เดือน รวมจำคุก 2 ปี 4 เดือน จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 1 ปี 2 เดือน
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน
จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยขับรถยนต์ลากจูง โดยมีตัวรถกึ่งพ่วงคันเกิดเหตุด้วยความเร็วสูงบริเวณทางแยก จนเกิดการชนเข้ากับรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับมา การกระทำของจำเลยเป็นการขับรถด้วยความประมาทขาดสำนึกและขาดความรับผิดชอบต่อ ความปลอดภัยของผู้ร่วมใช้ถนน จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น ทั้งภายหลังเกิดเหตุแล้วจำเลยยังหลบหนีไปและไม่หยุดให้การช่วยเหลือพร้อม ทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียง พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นพฤติการณ์ที่ร้ายแรง จึงยังไม่มีเหตุที่จะปรานีจำเลยด้วยการรอการลงโทษจำคุกได้ แต่อย่างไรก็ดี จากคำฟ้องของโจทก์ปรากฏว่า เหตุที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากความประมาทของผู้ตายด้วย ทั้งภายหลังเกิดเหตุจำเลยได้พยายามบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ทายาทของผู้ตาย โดยชดใช้ค่าเสียหายจนเป็นที่พอใจแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดโทษจำเลยสำหรับความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ ผู้อื่นถึงแก่ความตายเสียใหม่ให้เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดี นอกจากนี้ศาลฎีกาเห็นว่า ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดโทษจำเลยสำหรับความผิดฐานไม่หยุดให้ความช่วยเหลือ พร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที โดยลงโทษจำเลยก่อนลดโทษให้จำคุก 4 เดือนนั้น หนักเกินไป เห็นสมควรกำหนดโทษจำเลยสำหรับความผิดฐานนี้เสียใหม่ให้เหมาะสมแก่พฤิตการณ์ แห่งคดีด้วย
อนึ่ง โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยขับรถยนต์ลากจูงโดยประมาทโดยขับด้วยความเร็วสูงเกินสมควรจนไม่สามารถ หยุดหรือลดความเร็วของรถให้ช้าลงพอที่จะหลบหลีกไม่ชนรถคันอื่นหรือสิ่ง กีดขวางได้ทัน มิได้บรรยายฟ้องอ้างเหตุว่า จำเลยขับรถด้วยความเร็วเกินกำหนดในกฎกระทรวงหรือตามเครื่องหมายจราจรที่ได้ ติดตั้งไว้ในทาง จึงไม่อาจปรับบทลงโทษจำเลยในความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ..2522 มาตรา 67, 152 ได้ตามคำขอท้ายฟ้อง ที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยสำหรับความผิดฐานนี้มาด้วยและศาลอุทธรณ์มิได้ พิพากษาแก้ไขจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกวินิจฉัยได้เอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ..2522 มาตรา 67, 152 คงให้ลงโทษจำเลยฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย จำคุก 1 ปี ฐานไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือพร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที จำคุก 2 เดือน รวมโทษทุกกระทงแล้วเป็น จำคุก 1 ปี 2 เดือน เมื่อลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้ว คงจำคุก 7 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3.
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.. 2522
มาตรา 67 ผู้ขับขี่ต้องขับรถด้วยอัตราความเร็ว ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงหรือตามเครื่องหมายจราจรที่ได้ติดตั้งไว้ในทาง
เครื่องหมายจราจรที่ติดตั้งไว้ตามวรรคหนึ่ง จะกำหนดอัตราความเร็ว ขั้นสูงหรือขั้นต่ำก็ได้ แต่ต้องไม่เกินอัตราความเร็วที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 78 ผู้ใดขับรถหรือขี่หรือควบคุมสัตว์ ในทางซึ่งก่อให้เกิดความ เสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นความผิดของผู้ขับขี่ หรือผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์หรือไม่ก็ตาม ต้องหยุดรถ หรือสัตว์ และให้ความ ช่วยเหลือตามสมควรและพร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ที่ใกล้เคียงทันที กับต้องแจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล และที่อยู่ของตนและหมายเลข ทะเบียนรถแก่ผู้ได้รับความเสียหายด้วย



ในกรณีที่ผู้ขับขี่หรือผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์หลบหนี้ไป หรือไม่แสดงตัว ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่เกิดเหตุ ให้สันนิษฐานว่าเป็นผู้กระทำ ความผิดและให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจยึดรถคันที่ผู้ขับขี่หลบหนี้ หรือไม่แสดงตนว่าเป็นผู้ขับขี่จนกว่าคดีถึงที่สุดหรือได้ตัวผู้ขับขี่ ถ้าเจ้าของ หรือผู้ครอบครองไม่แสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในหกเดือนนับแต่ วันเกิดเหตุ ให้ถือว่ารถนั้นเป็นทรัพย์สินซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิด หรือเกี่ยวกับการกระทำความผิดและให้ตกเป็นของรัฐ
มาตรา 152 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 7 มาตรา 10 ทวิ มาตรา 13 วรรคหนึ่ง มาตรา 15 วรรคหนึ่ง มาตรา 16 มาตรา 21 มาตรา 22 มาตรา 23 (1) มาตรา 24 มาตรา 25 มาตรา 26 มาตรา 29 มาตรา 49 มาตรา 50 มาตรา 56 มาตรา 64 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง มาตรา 73 วรรค 1 หรือวรรค 3 มาตรา 77 วรรค 1 มาตรา 85 มาตรา 86 มาตรา 89 วรรค 1 มาตรา 90 มาตรา 91 มาตรา 92 มาตรา 93 มาตรา 94 วรรค 1 มาตรา 95 มาตรา 99 มาตรา 127 มาตรา 128 มาตรา 130 หรือไม่ปฏิบัติตามประกาศที่อธิบดีกำหนด ตามมาตรา 15 วรรค 2 หรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตาม มาตรา 77 วรรค 2 หรือมาตรา 96 วรรค 2 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 291 ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุ ให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท

ประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย จำคุก 2 ปี โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี
จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษกึ่งหนึ่ง ความผิดฐานขับรถฝ่าฝืนสัญญาณจราจรกับความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ ผู้อื่นถึงแก่ความตายเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลาย บท ให้ลงโทษฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักสุด จำคุก 4 ปี และปรับ 20,000 บาท ลดโทษกึ่งหนึ่งแล้วคงจำคุก 2 ปี และปรับ 10,000 บาท เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วเป็นจำคุก 2 ปี 1 เดือน และปรับ 18,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.. 2535 บัญญัติว่า** เจ้าของรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหาย สำหรับผู้ประสบภัยทโดยประกันภัยกับบริษัท และ **เจ้าของรถผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท แสดงว่า การกระทำความผิดฐานเป็นเจ้าของรถซึ่งใช้รถ หรือมีรถไว้เพื่อใช้ ไม่จัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัย จะต้องได้ความว่า ผู้กระทำผิดเป็นเจ้าของรถ เมื่อไม่ได้เป็นเจ้าของรถก็ลงโทษไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2549
ความผิดตาม พ...คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ..2535 มาตรา 7 วรรคแรก และมาตรา 37 ผู้กระทำความผิดจะต้องเป็นเจ้าของรถ แต่ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ไม่ได้บรรยายว่า จำเลยเป็นเจ้าของรถคันที่ไม่ได้จัดให้มีการประกันความเสียหายจึงเป็นฟ้องที่ ขาดองค์ประกอบความผิดเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ มาตรา 158 (5)
โจทก์ฟ้องว่าเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2546 เวลากลางคืนหลังเที่ยง จำเลยกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่าง
กันคือจำเลยขับรถยนต์หมายเลขทะเบียน บ-8638 นครปฐม ซึ่งยังมิได้เสียภาษีประจำปีให้ครบถ้วนถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดและไม่ได้ จัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัย ทั้งไม่ได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย ไปตามถนนเพชรเกษมจากกรุงเทพมหานครมุ่งหน้าไปจังหวัดนครปฐม เมื่อไปถึงบริเวณทางร่วมทางแยกตัดกับถนนไปอำเภอสามพราน ทางเดินรถของจำเลยปรากฏสัญญาณจราจรไปสีแดง ในภาวะเช่นนั้นจำเลยควรใช้ความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์โดยต้องหยุดรถ ก่อนถึงทางร่วมทางแยกหลังเส้นให้รถหยุด แต่จำเลยกลับขับรถด้วยความเร็วและไม่หยุดรถก่อนถึงทางร่วมทางแยกหลังเส้นให้ รถหยุด เป็นเวลาเดียวกับที่นางสาวนฤมล หงษ์ทอง ขับรถจักรยานยนต์หมายเลขทะเบียน บขธ กรุงเทพมหานคร 265 โดยมีนางสาวนิภาพรรณ สายยืนยงค์ นั่งซ้อนท้ายมาตามถนนเพชรเกษมจากจังหวัดนครปฐมมุ่งหน้ากรุงเทพมหานคร และเลี้ยวขวาเข้าถนนไปอำเภอสามพรานเพราะได้รับสัญญาณจราจรไฟสีเขียว รถที่จำเลยขับจึงเฉี่ยวชนจักรยานยนต์คันดังกล่าว เป็นเหตุให้รถทั้งสองคันได้รับความเสียหาย นางสาวนฤมลและนางสาวนิภาพรรณถึงแก่ความตาย ซึ่งเกิดจากการกระทำโดยประมาทของจำเลย หลังจากนั้นจำเลยไม่แสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียง ทันที ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ..2522 มาตรา 6, 60 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ..2522 มาตรา 21, 22, 43 (4), 78, 152, 157, 160 และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ..2535 มาตรา 7, 11, 37, 39 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 291
จำเลยให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ..2522 มาตรา 6 วรรคสอง, 60 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ..2535 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง, 11, 37, 39 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ..2522 มาตรา 22 (2) วรรคหนึ่ง, 43 (4), 152, 157 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานใช้รถที่ยังมิได้เสียภาษีประจำปี ปรับ 2,000 บาท ฐานใช้รถที่ไม่ได้จัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัย ปรับ 10,000 บาท ฐานขับรถฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร ปรับ 1,000 บาท ฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักสุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 4 ปี และปรับ 20,000 บาท จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 กระทงละกึ่งหนึ่ง คงปรับกระทงแรก 1,000 บาท กระทงที่สอง 5,000 บาท กระทงที่สาม 500 บาท กระทงที่สี่จำคุก 2 ปี และปรับ 10,000 บาท รวมปรับ 16,500 บาท โทษจำคุกให้รอลงโทษไว้ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ..2522 มาตรา 78 วรรคหนึ่ง, 160 วรรคหนึ่ง อีกกระทงหนึ่ง จำคุก 2 เดือน และปรับ 4,000 บาท จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษกึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 1 เดือน และปรับ 2,000 บาทความผิดฐานขับรถฝ่าฝืนสัญญาณจราจรกับความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุ ให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมาย หลายบท ให้ลงโทษฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้
อื่นถึงแก่ความตาย ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักสุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 4 ปี และปรับ 20,000 บาท ลดโทษกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้วคงจำคุก 2 ปี และปรับ 10,000 บาท เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วเป็นจำคุก 2 ปี 1 เดือน และปรับ 18,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ยกฟ้องข้อหาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ..2535 มาตรา 7, 37 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "คดีมีปัญหาข้อกฎหมายต้องวินิจฉัยตามฎีกาโจทก์เพียงประการเดียวว่า จะลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.. 2535 มาตรา 7, 37 ได้หรือไม่ โจทก์ฎีกาว่า จำเลยให้การรับสารภาพตามคำฟ้องทุกข้อหาโดยโจทก์และจำเลยไม่สืบพยาน คดีจึงต้องฟังว่าจำเลยกระทำความผิดตามคำฟ้องทุกข้อหานั้น เห็นว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.. 2535 มาตรา 7 วรรคแรก บัญญัติว่าภายใต้บังคับมาตรา 8 เจ้าของรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหาย สำหรับผู้ประสบภัยทโดยประกันภัยกับบริษัท และมาตรา 37 บัญญัติว่า เจ้าของรถผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 7 หรือมาตรา 9 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท ดังนี้ แสดงว่า การกระทำความผิดฐานเป็นเจ้าของรถซึ่งใช้รถ หรือมีรถไว้เพื่อใช้ ไม่จัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยตามมาตรา 37 ประกอบมาตรา 7 นั้น จะต้องได้ความว่า ผู้กระทำผิดเป็นเจ้าของรถ แต่ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่า จำเลยเป็นเจ้าของรถคันที่ไม่ได้จัดให้มีการประกันความเสียหายแต่อย่างใด คำฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานดังกล่าวจึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษในคามผิดฐานดังกล่าวได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษามานั้นชอบแล้ว ฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น"
พิพากษายืน
...คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ..2535
มาตรา ๗ ภายใต้บังคับมาตรา ๘ เจ้าของรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหาย สำหรับผู้ประสบภัยโดยประกันภัยกับบริษัท
มาตรา ๓๗ เจ้าของรถผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗ หรือมาตรา ๙ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

คำพิพากษาฎีกาที่ 6171/2544
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานใช้รถที่ยังไม่ได้จดทะเบียนและขับรถโดยไม่ ได้รับใบอนุญาตขับรถ ส่วนฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง พนักงานอัยการโจทก์อุทธรณ์เฉพาะความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่น ถึงแก่ความตาย ส่วนโจทก์ร่วมมีสิทธิอุทธรณ์ฐานความผิดนี้ได้ตามกฎหมาย แต่ไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์ คดีในส่วนของโจทก์ร่วมจึงยุติโจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิฎีกาขอไม่ให้รอการลงโทษ จำคุกจำเลยในความผิดฐานนี้ได้



คำพิพากษาฎีกาที่ 6169/2544
จำเลยที่ ๑ ขับรถจักรยานยนต์ โดยมีจำเลยที่ ๓ กับจำเลยที่ ๒นั่งซ้อนท้าย แล้วแซงเข้าประกบรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย จากนั้นจำเลยที่ ๒นั่งซ้อนท้ายสุดใช้เท้าถีบหน้าอกผู้เสียหายรถเสียหลักล้มลง ผู้เสียหายถูกรถจักรยานยนต์ล้มทับขาได้รับอันตรายสาหัส จำเลยที่ ๑ หยุดรถ จำเลยที่ ๓ ลงจากรถถือมีดปลายแหลมเดินเข้าไปหาผู้เสียหายแล้วกระชากเอาสร้อยคอทองคำที่ ผู้เสียหายสวมใส่อยู่ขาดติดมือไปได้บางส่วน หลังจากนั้นจำเลยที่ ๓ นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ที่จำเลยที่ ๑ และที่ ๒รออยู่หลบหนีไปด้วยกัน เมื่อจำเลยที่ ๓ มีอาวุธมีดติดตัวไปด้วยในการปล้นทรัพย์จำเลยทั้งสามจึงต้องมีความผิดตาม ป.. มาตรา ๓๔๐ วรรคสอง และลงโทษจำเลยทั้งสามตามมาตรา ๓๔๐ วรรคสาม ประกอบด้วยมาตรา ๓๔๐ ตรี, ๘๓ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.. มาตรา ๙๐ และจำเลยที่ ๓ มีความผิดตาม ป.. มาตรา ๓๗๑ อีกกระทงหนึ่ง ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำเลยไม่ถูกต้อง และลงโทษจำเลยหนักกว่าอัตราโทษที่กฎหมายบัญญัติ แม้โจทก์และจำเลยไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสามและแก้ไขโทษของจำเลยเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาฎีกาที่ 6167/2544
.วิ..มาตรา ๒๓ ได้กล่าวถึงระยะเวลาที่ศาลได้กำหนดไว้แสดงว่าศาลกำหนดระยะเวลาได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีอย่างคนอนาถาชั้นฎีกาและมีคำ สั่งกำหนดเวลาให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมชั้นฎีกามาชำระภายในกำหนด ๒๐วัน นับแต่วันฟังคำสั่ง เป็นการกำหนดเวลาโดยอาศัยอำนาจของศาลที่มีอยู่ทั่วไปในการที่จะดำเนินกระบวน พิจารณาใดที่ไม่มีกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะหรือห้ามไว้ ไปในทางที่เห็นว่ายุติธรรมและสมควร และการกำหนดระยะเวลาดังกล่าวมิใช่เป็นการขยายระยะเวลาตาม ป.วิ.. มาตรา ๒๓ ดังนั้น ถ้าจำเลยไม่ชำระค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกาในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ศาลชั้นต้นย่อมมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยได้ แม้จำเลยได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยฎีกาอย่างคนอนาถา แต่การยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวมิได้ทำให้คำสั่งศาลชั้นต้นต้องสะดุดหยุด อยู่หรือทำให้สิทธิในการวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกาต้องสะดุดหยุดอยู่จน กว่าศาลฎีกาจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น เพราะการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวเป็นเรื่องระหว่างศาลชั้นต้นกับจำเลย หากศาลฎีกามีคำสั่งเป็นอย่างอื่น คำสั่งศาลฎีกาย่อมลบล้างคำสั่งของศาลชั้นต้นไปในตัว ศาลชั้นต้นจึงไม่ต้องรอฟังคำสั่งของศาลฎีกาก่อน มิฉะนั้นคำสั่งศาลชั้นต้นก็จะไร้ผล เมื่อจำเลยใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นแต่อุทธรณ์ดังกล่าวยื่นเกิน กำหนดเวลาตามมาตรา ๑๕๖ วรรคท้าย และศาลฎีกามีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยเสียแล้วเท่ากับว่าจำเลยมิได้ยื่น อุทธรณ์มาแต่ต้น แม้จำเลยไม่ทราบคำสั่งนั้น เนื่องจากได้ย้ายไปรับราชการที่อื่นและมิได้รับหมายนัดจากศาลชั้นต้นให้มา ฟังคำสั่งศาลฎีกา และจำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งศาลฎีกาให้จำเลยฟังใหม่ และศาลชั้นต้นอ่านใหม่ก็ตามจำเลยก็ต้องผูกพันตามคำสั่งศาลชั้นต้นนั้น จึงเป็นกรณีที่ล่วงเลยเวลาที่จำเลยจะชำระค่าธรรมเนียมศาลแล้ว
คำพิพากษาฎีกาที่ 6163/2544
จำเลยฎีกาว่า จำเลยถูกฟ้องเป็นตัวการ แต่ศาลพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ในฐานะความผิดดังกล่าว จำเลยจึงไม่ใช่ตัวการหรือผู้ที่เจตนาจะกระทำความผิดหรือเป็นบุคคลที่เป็นไป ตามเจตนารมณ์แห่งการตรา
...พระราชทานอภัยโทษ พ..๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ () ไม่ให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษนั้น เป็นปัญหาอัน
เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยย่อมยกขึ้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ..มาตรา ๑๙๕วรรคสอง ประกอบมาตรา ๒๒๕ จำเลยกระทำผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษเฮโรอีนตาม พ...ยาเสพติดให้โทษ พ..๒๕๒๒ มาตรา ๑๕ วรรคหนึ่ง, ๖๖วรรคสอง ประกอบด้วย ป..มาตรา ๘๖ เมื่อศาลชั้นต้นซึ่งออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดตรงตามคำพิพากษาแล้ว จึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะเปลี่ยนแปลงแก้ไข ส่วนจำเลยจะได้รับการลดโทษจากพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ..๒๕๔๒ หรือไม่เพียงใดนั้นจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน พ...พระราชทานอภัยโทษ พ..๒๕๔๒และเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการซึ่งตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีดังกล่าวที่ จะทำการตรวจสอบผู้ซึ่งจะได้รับพระราชทานอภัยโทษ จำเลยชอบที่จะไปร้องให้ถูกทาง
ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย คำพิพากษาฎีกาที่ 6968/2545 พนักงานอัยการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โจทก์ นายทองคำ วงษ์คงคำหรือวงษ์ทองคำ จำเลย ...จราจรทางบก มาตรา 43 (4), 56, 78, 152, 157, 160
.วิ.. มาตรา 185, 215, 225.. มาตรา 90, 291, 390การที่จำเลยจอดรถในทางเดินรถโดยไม่แสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณตามพระราช บัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 56 วรรคสอง,152 เป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และได้รับอันตรายแก่กาย ซึ่งเป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกันและเป็นผลโดยตรงที่ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ ความตายและได้รับอันตรายแก่กายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291,390 จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายซึ่งเป็นบทที่มี โทษหนักที่สุด ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 43(4) และ 157ต้องเป็นผู้ขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคล หรือทรัพย์สิน และตามมาตรา 78 และ 160 ต้องเป็นผู้ขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของ ผู้อื่นและไม่หยุดให้ความช่วยเหลือพร้อมแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ ซึ่งการจะเป็นความผิดดังกล่าวได้ต้องเป็นผู้ขับรถที่กำลังแล่นอยู่หาใช่กรณี ผู้ขับรถที่จอดหรือหยุดรถไม่ เมื่อจำเลยจอดรถในทางเดินรถ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานขับรถโดยประมาทและก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคล หรือทรัพย์สินของผู้อื่นตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 43(4),78,157 และ 160 วรรคหนึ่งปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องในความผิดดังกล่าวทั้งสองข้อหาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง,215,225โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขับรถยนต์บรรทุกสิบล้อด้วยความประมาทโดยจอดรถล้ำเข้ามาในเส้นทางเดินรถ อันมีลักษณะกีดขวางการจราจรและไม่แสดงเครื่องหมายเพื่อแสดงให้รถยนต์ที่แล่น ผ่านไปมาพบเห็น เป็นเหตุให้รถยนต์บรรทุกหกล้อซึ่งมีนายสงค์คำจันทร์ เป็นผู้ควบคุม ขับมาพุ่งเข้าชนรถยนต์ที่จำเลยจอดล้ำอยู่บนถนนที่
เกิดเหตุและเป็นเหตุให้นาย อำนวย ยางงาม กับนายนิสิต วิเทียนเทียบ ซึ่งโดยสารมากับรถยนต์บรรทุกหกล้อคันดังกล่าวถึงแก่ความตายและได้รับอันตราย แก่กายตามลำดับกับรถยนต์บรรทุกหกล้อได้รับความเสียหาย ภายหลังเกิดเหตุดังกล่าวจำเลยไม่ให้ความช่วยเหลือตามสมควรและไม่ไปแสดงตัว กับแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที เป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายแก่กาย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291, 390, 91 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.. 2522มาตรา 5, 43(4), 56, 78, 157, 160 จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291, 390 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.. 2522 มาตรา 43(4), 56 วรรคสอง, 78, 152, 160 วรรคหนึ่ง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันเรียงกระทงลงโทษ ฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายแก่กาย เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทลงโทษฐานขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุ ให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย อันเป็นบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 จำคุก 4 ปี ฐานจอดรถอยู่ในทางเดินรถกีดขวางการจราจรและไม่แสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณ ปรับ 1,000 บาท ฐานขับรถแล้วหลบหนีไม่ให้ความช่วยเหลือตามสมควรและไม่แจ้งเหตุต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที จำคุก 2 เดือน รวมจำคุก4 ปี 2 เดือน และปรับ 1,000 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 29, 30จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.. 2522 มาตรา 157 อีกมาตราหนึ่ง ความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายแก่กาย ให้จำคุก 1 ปี เมื่อรวมโทษฐานไม่หยุดช่วยเหลือและไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำคุก 2 เดือน และฐานจอดรถกีดขวางการจราจรและไม่แสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณ ปรับ 1,000 บาท ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว คงจำคุก 1 ปี 2 เดือน ปรับ 1,000 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า ในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง จำเลยขับรถยนต์บรรทุกสิบล้อหมายเลขทะเบียน 80-5184 ประจวบคีรีขันธ์ ไปตามถนนเพชรเกษม จากอำเภอทับสะแกมุ่งหน้าไปอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ เมื่อมาถึงที่เกิดเหตุซึ่งมีสภาพเป็นทางลงเนินและมืด เครื่องยนต์รถขัดข้องทำให้รถยนต์บรรทุกสิบล้อไม่อาจแล่นต่อไปได้ ต่อมานายประสงค์ คำจันทร์ขับรถยนต์บรรทุกหกล้อหมายเลขทะเบียน 81-0892 ราชบุรี แล่นมาในทิศทางเดียวกันกับรถยนต์บรรทุกสิบล้อ เมื่อมาถึงบริเวณที่เกิดเหตุรถยนต์บรรทุกหกล้อได้พุ่งชนท้ายรถยนต์บรรทุกสิบ ล้อคันดังกล่าวในขณะที่รถยนต์บรรทุกสิบล้อจอดเพราะเครื่องยนต์ขัดข้องอยู่ เป็นเหตุให้ผู้ที่โดยสารมากับรถยนต์บรรทุกหกล้อได้แก่นายอำนวย ยางงาม ถึงแก่ความตาย และนายนิสิต วิเทียนเทียบ ได้รับอันตรายแก่กาย ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า จำเลยกระทำ
ผิดตามฟ้องหรือไม่ ที่จำเลยฎีกาว่าขณะเกิดเหตุรถยนต์บรรทุกสิบล้อคันที่จำเลยขับจอดอยู่ระหว่าง เส้นแบ่งที่พักรถกับไหล่ถนน ไม่ได้จอดคร่อมเส้นแบ่งช่องทางเดินรถซึ่งเป็นเส้นประ และเมื่อจำเลยจอดรถยนต์บรรทุกสิบล้อแล้ว เครื่องยนต์รถขัดข้อง ระบบไฟฟ้าเสีย ทำให้ไม่อาจให้สัญญาณไฟได้ แต่จำเลยก็ได้พยายามหากิ่งไม้และทางมะพร้าวมาไว้บนถนนเพื่อแสดงให้เห็นว่ามี รถจอดอยู่ เหตุรถชนกันดังกล่าวจึงไม่ได้เกิดจากความประมาทและผลโดยตรงจากการกระทำของ จำเลยแต่อย่างใดนั้น เห็นว่า โจทก์มีนายแสน กรุงษาสี ซึ่งอาศัยมากับรถยนต์บรรทุกสิบล้อเบิกความว่า นายแสนอาศัยโดยสารรถยนต์บรรทุกสิบล้อมาเพื่อเดินทางไปจังหวัดนครปฐม เมื่อมาถึงที่เกิดเหตุสภาพถนนเป็นเนินลาดลง ไฟหน้ารถยนต์บรรทุกสิบล้อดับจำเลยจะจอดรถเข้าข้างทางแต่เครื่องยนต์รถดับ ด้วย จำเลยจึงจอดรถยนต์บรรทุกสิบล้อบริเวณช่องเส้นประของถนนด้านซ้ายมือโดยในชั้น สอบสวนนายแสนก็ได้ให้การว่าเมื่อรถยนต์บรรทุกสิบล้อระบบไฟในรถดับลงจำเลย พยายามบังคับรถให้ชิดขอบถนนเพื่อจะจอด แต่ไม่สามารถเข้าชิดขอบถนนได้เนื่องจากมีรถเทลเลอร์จอดอยู่ก่อน จึงจอดคร่อมเส้นแบ่งช่องทางเดินรถซึ่งเป็นเส้นประซึ่งตรงกับคำให้การของ จำเลยในชั้นสอบสวนตามบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาที่ว่าจำเลยนำรถจอดข้างทาง ไม่ได้ เพราะมีรถเทลเลอร์จอดชิดขอบทางด้านซ้ายของถนนจำเลยจึงจอดคร่อมช่องทางเดินรถ ซึ่งเป็นเส้นประ และเมื่อพิจารณาแผนที่สังเขปแสดงสถานที่เกิดเหตุกับภาพถ่าย เห็นได้ว่า ถนนบริเวณที่เกิดเหตุมีช่องเดินรถทางตรง 2 ช่องทาง มีเครื่องหมายลูกศรสีขาว และถัดจากช่องเดินรถช่องขวามือเป็นช่องทางสำหรับกลับรถยนต์ ส่วนด้านซ้ายมือของช่องเดินรถช่องที่ 1 จะเป็นช่องทางสำหรับจอดรถหรือพักรถ ถัดจากช่องนี้ไปจะเป็นไหล่ถนนส่วนที่เป็นเส้นประก็คือเส้นที่กั้นระหว่าง ช่องทางสำหรับจอดรถหรือพักรถกับช่องเดินรถช่องที่ 1 สำหรับรอยห้ามล้อของรถยนต์บรรทุกหกล้อตามที่ปรากฏในแผนที่สังเขปแสดงสถานที่ เกิดเหตุ จะอยู่ในช่องเดินรถช่องที่ 1 ซ้ายมือ ห่างจากบริเวณที่พบเศษกระจกตกประมาณ 10 เมตร เศษกระจกกระจายตามพื้นส่วนใหญ่ และมีกระสอบปลาป่นตกจากรถยนต์บรรทุกสิบล้ออีก4 กระสอบอยู่ห่างจากบริเวณที่เศษกระจกตกประมาณ 3 เมตร อยู่ในช่องเดินรถช่องที่ 1ซ้ายมือเช่นกัน ประกอบกับสภาพความเสียหายของรถยนต์บรรทุกหกล้อตามภาพถ่ายจะอยู่ตรงบริเวณ ด้านหน้าซ้ายของรถ ส่วนรถยนต์บรรทุกสิบล้อได้รับความเสียหายเฉพาะด้านท้ายรถมุมด้านขวา แสดงว่ารถยนต์บรรทุกหกล้อพุ่งชนส่วนท้ายมุมขวาของรถยนต์บรรทุกสิบล้อ เท่านั้น ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า จำเลยจอดรถยนต์บรรทุกสิบล้อคร่อมเส้นประล้ำเข้าไปในช่องทางเดินรถช่องที่ 1 ด้านซ้ายมือซึ่งแม้จะเป็นกรณีจำเป็นที่จำเลยจะต้องจอดรถอยู่ในทางเดินรถ เนื่องจากเครื่องยนต์ขัดข้อง แต่จำเลยก็ต้องแสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (.. 2525) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.. 2522 ได้แก่ เครื่องหมายทำด้วยแผ่นโลหะรูปสามเหลี่ยมด้านเท่ามีความยาวไม่ต่ำกว่าด้านละ 50 เซนติเมตร ติดด้วยแถบสะท้อนแสงพื้นสีขาว ขอบสีแดงกว้าง 5 เซนติเมตร มีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีดำ กว้าง 8 เซนติเมตร ยาว15 เซนติเมตร หัวท้ายมนอยู่บนพื้นสีขาวในแนวดิ่งพร้อมขาตั้ง โดยให้ฐานของรูปสามเหลี่ยมขนานกับพื้นไว้ทั้งด้านหน้าและด้านหลังของรถห่าง จากรถไม่ต่ำกว่า 50 เมตรหรือมิฉะนั้นต้องให้สัญญาณเป็นไฟกระพริบสีเหลืองอำพันหรือสีขาวติดอยู่ หน้ารถทั้งด้านซ้ายและด้านขวาและสัญญาณไฟกระพริบสีแดงหรือสีเหลืองอำพันติด อยู่ท้ายรถทั้งด้านซ้ายและด้านขวาเพื่อแสดงให้รถยนต์ที่แล่นผ่านไปมาพบเห็น และไม่ชนกับรถยนต์บรรทุกสิบล้อคันที่จำเลยขับจอด แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณไฟดังกล่าวแต่อย่างใด จำเลยคงอ้างแต่เพียงว่าจำเลยได้ตัดกิ่งไม้และทางมะพร้าววางไว้บนถนน ซึ่งก็ไม่ได้ความว่ากิ่งไม้และทางมะพร้าวมี
๑๐
จำนวนมากเพียงพอที่จะทำให้ผู้ที่ ขับรถยนต์แล่นมาในช่องทางเดินรถที่เกิดเหตุเห็นได้ชัดเจนในระยะทางที่สามารถ หลีกเลี่ยงหรือห้ามล้อได้ทันหรือไม่ จำเลยเองก็นำสืบรับว่าสภาพอากาศในวันเวลาที่เกิดเหตุมีพายุฝนตกตลอดคืน ถนนบริเวณที่เกิดเหตุเป็นทางลงเนินและมืดเมื่อจำเลยไม่ได้ทำเครื่องหมายหรือ สัญญาณไฟตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงดังกล่าวจึงเป็นการยากที่ผู้ขับขี่รถยนต์ ที่แล่นมาในช่องทางเดินรถช่องนี้จะขับหลบหลีกหรือห้ามล้อไม่ให้ชนกับรถยนต์ บรรทุกสิบล้อที่จอดอยู่ได้ทัน เหตุรถชนกันดังกล่าวจึงเกิดจากการกระทำโดยประมาทของจำเลย จำเลยมีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และได้รับอันตรายแก่กายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291, 390 และฐานจอดรถในทางเดินรถโดยไม่แสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณตามพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.. 2522 มาตรา 56 วรรคสอง, 152 การที่จำเลยจอดรถในทางเดินรถโดยไม่แสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณเป็นสาเหตุส่วน หนึ่งของการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตราย แก่กาย เป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกันและเป็นผลโดยตรงที่ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความ ตายและได้รับอันตรายแก่กาย จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษฐานกระทำโดย ประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ปัญหานี้แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบ เรียบร้อย ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง, 225 และที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.. 2522 มาตรา 43(4), 78, 157 และ 160 วรรคหนึ่ง ด้วยนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วยเพราะความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.. 2522 มาตรา 43(4) และ157 ต้องเป็นผู้ขับขี่ขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคล หรือทรัพย์สิน และมาตรา 78 และ 160 ต้องเป็นผู้ขับรถหรือขี่รถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือ ทรัพย์สินของผู้อื่น และไม่หยุดให้ความช่วยเหลือพร้อมแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งกรณีจะเป็นความผิดตามกฎหมายดังกล่าวต้องเป็นผู้ขับขี่รถที่กำลังแล่น อยู่ หาใช่กรณีผู้ขับรถที่จอดรถอยู่หรือหยุดรถไม่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยจอดรถในทางเดินรถ การกระทำของจำเลยไม่ได้ขับรถโดยประมาท และไม่ได้ขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้ อื่น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.. 2522 มาตรา 43(4),78, 157 และ 160 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยจะไม่ได้ฎีกาขึ้นมาในข้อกฎหมายศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัย และพิพากษายกฟ้องในความผิดดังกล่าวทั้งสองข้อหาได้ตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 215, 225 ส่วนที่จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษ โดยอ้างว่าผู้ขับรถยนต์บรรทุกหกล้อมีส่วนกระทำผิดด้วยและเกิดเหตุแล้วได้หลบ หนีไปทันที แต่จำเลยเข้ามอบตัวนั้น เห็นว่า หลังเกิดเหตุจำเลยไม่ได้ช่วยเหลือญาติของผู้ตายหรือผู้เสียหายเพื่อเป็นการ บรรเทาผลของการกระทำความผิด อีกทั้งยังหลบหนีไปจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น"
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.. 2522 มาตรา 43(4), 78, 157 และ 160 วรรคหนึ่ง สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291, 390 และความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.. 2522 มาตรา 56, 152 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา
๑๑
มาตรา 90 คงจำคุก 1 ปี (วัฒนชัย โชติชูตระกูล - อภิชาต สุขัคคานนท์ - วิธวิทย์ หิรัญรุจิพงศ์)
แหล่งที่มา สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ (ADMIN)หมายเหตุ ผู้ที่ขับขี่รถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว อันอาจจะเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน และผู้ขับรถหรือผู้ขี่ในทางที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นหรือ ทรัพย์สินของผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นความผิดของผู้ขับขี่หรือผู้ขี่หรือไม่ก็ตาม บุคคลดังกล่าวต้องหยุดรถและให้ความช่วยเหลือตามสมควร และพร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีนั้น จะต้องเป็นผู้ที่กำลังขับรถหรือขี่รถอยู่เท่านั้นหรือว่าแม้จะจอดรถอยู่ก็ ต้องรับผิดหรืออยู่ในเงื่อนไขจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวคำพิพากษา ศาลฎีกาฉบับที่หมายเหตุนี้ได้วินิจฉัยตอบปัญหาเหล่านี้ไว้ว่า ผู้กระทำความผิดพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.. 2522 มาตรา 43(4) และ 157 ต้องเป็นผู้ขับโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือ ทรัพย์สินและตามมาตรา 78และ 160 ต้องเป็นผู้ขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของ ผู้อื่นและไม่หยุดให้ความช่วยเหลือพร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ซึ่งการจะเป็นความผิดดังกล่าวต้องเป็นผู้ขับรถที่กำลังแล่นอยู่ หาใช่กรณีผู้ขับรถที่จอดหรือหยุดรถไม่ เมื่อจำเลยจอดรถในทางเดินรถ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานขับรถโดยประมาทและก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคล หรือทรัพย์สินของผู้อื่น แต่มีข้อพิจารณาว่า พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.. 2522 ได้บัญญัติถึงการขับรถรวมทั้งการจอดรถไว้ด้วย แม้ข้อความในมาตรา 43(4) จะใช้รวม ๆ ว่าขับรถแต่ก็น่าจะรวมถึงการจอดรถด้วย เช่นเดียวกันตามมาตรา 78 แม้จะใช้คำว่าผู้ใดขับรถหรือขี่ในทางที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือ ทรัพย์สินของผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นความผิดของผู้ขับขี่หรือผู้ขี่หรือไม่ก็ตามต้องหยุดรถ และให้ความช่วยเหลือตามสมควรและพร้อมทั้งแสดงและแจ้งเหตุต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที กับต้องแจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล และที่อยู่ของตนและหมายเลขทะเบียนรถแก่ผู้ได้รับความเสียหายด้วย แม้จะใช้คำว่า ต้องหยุดรถ ก็มิได้หมายความว่าจะต้องเป็นกรณีกำลังขับรถแล่นอยู่เท่านั้น เพียงแต่ถ้าหากขับรถแล่นอยู่ก็ต้องหยุดรถ แต่ถ้าหากหยุดรถอยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องบอกว่าต้องหยุดรถอีกและบทบัญญัติดัง กล่าวใช้บังคับแม้กระทั่งผู้ขับขี่หรือผู้ขี่จะมิได้เป็นผู้กระทำความผิดก็ ตาม ถ้าหากพิจารณาตามมาตรา 160 ประกอบด้วยแล้ว จะเห็นได้ว่า ผู้ฝ่าฝืนจะต้องได้รับโทษเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ฝ่าฝืนแล้วเป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้รับอันตรายสาหัสหรือ ตาย ต้องระวางโทษหนักขึ้น เมื่อพิจารณาประกอบดังกล่าวจะเห็นได้ว่า กฎหมายมีวัตถุประสงค์จะคุ้มครองผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุหรือความเสียหายจาก การจราจรเพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือรักษาพยาบาลทันท่วงที ซึ่งจะเป็นการบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่มีผู้ ได้รับอันตรายแก่กายหรืออันตรายสาหัส หากได้รับการส่งตัวไปรักษาพยาบาลทันทีอาจจะไม่ถึงกับเสียชีวิต กฎหมายจึงบังคับว่าผู้ที่ใช้ทางเดินรถโดยเป็นผู้ขับขี่หรือผู้ขี่ หากก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์แล้วจะต้องปฏิบัติเสมอหากตีความ ว่าเฉพาะรถที่แล่นอยู่นั้นก็จะมีปัญหา เช่น แดงขับรถมาจอดติดสัญญาณไฟจราจรอยู่ เหลืองขับรถตามมาชนท้ายเป็นเหตุให้เหลืองได้รับอันตรายสาหัส หากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงทีจะต้องถึงแก่ความตาย หรือแดงขับรถฝ่าสัญญาณไฟจราจรไปจอดอยู่กลางสี่แยก
๑๒
เมื่อจอดได้สักครู่เหลืองได้ขับรถมาจากช่องเดินรถที่ไฟสัญญาณจราจรให้แล่น ผ่านไปได้ (ไฟเขียว) เป็นเหตุให้รถคันที่เหลือขับชนรถคันที่แดงจอดอยู่เหลืองได้รับอันตรายสาหัส หรือแดงจอดรถล้ำเข้ามาในช่องเดินรถในเวลากลางคืนโดยไม่ให้สัญญาณไว้ เป็นเหตุให้เหลืองมองไม่เห็นขับมาชนได้รับอันตรายสาหัส หากตีความว่าแดงจอดรถอยู่จึงไม่มีหน้าที่ดังกล่าว แดงจึงไม่ช่วยเหลือเหลืองเป็นเหตุให้เหลืองถึงแก่ความตาย ก็จะไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ไม่ว่าผู้ขับขี่หรือผู้ขับกำลังขับรถแล่นอยู่หรือจอดรถก็ตาม หากอยู่บนทางเดินรถซึ่งจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.. 2522 แล้ว จะต้องอยู่ในบังคับมาตรา 43(4),78, 157 และ 160 เสมอ
4067/2550
การที่จำเลยขับรถในขณะเมาสุรา อันเป็นความผิดตาม พ...จราจรทางบกฯ มาตรา 43 (2), 160 วรรคสาม กับการที่จำเลยขับรถโดยประมาทแซงรถที่อยู่ข้างหน้าไปในหน้าไปในช่องเดินรถ ขวามือในขณะที่ผู้ตายขับสวนมา เป็นเหตุให้ชนรถจักรยานยนต์ของผู้ตายเสียหายและทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย อันเป็นความผิดตาม ป.. มาตรา 291 และ พ...จราจรทางบกฯ มาตรา 43 (4), 157 นั้น เป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องและเป็นผลโดยตรงที่ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จึงเป็นการกระทำกรรมเดียว ต้องลงโทษตาม ป.. มาตรา 291 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด

6968/2545
การที่จำเลยจอดรถในทางเดินรถ โดยไม่แสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 56 วรรคสอง,152 เป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และได้รับอันตรายแก่กาย ซึ่งเป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกันและเป็นผลโดยตรงที่ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ ความตายและได้รับอันตรายแก่กายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291,390 จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายซึ่งเป็นบทที่มี โทษหนักที่สุด ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 43(4) และ 157ต้องเป็นผู้ขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคล หรือทรัพย์สิน และตามมาตรา 78 และ 160 ต้องเป็นผู้ขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของ ผู้อื่นและไม่หยุดให้ความช่วยเหลือพร้อมแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ ซึ่งการจะเป็นความผิดดังกล่าวได้ต้องเป็นผู้ขับรถที่กำลังแล่นอยู่หาใช่กรณี ผู้ขับรถที่จอดหรือหยุดรถไม่ เมื่อจำเลยจอดรถในทางเดินรถ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานขับรถโดยประมาทและก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคล หรือทรัพย์สินของผู้อื่นตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 43(4),78,157 และ 160 วรรคหนึ่งปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องในความผิดดังกล่าวทั้งสองข้อหาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรค


__________________________________________________________________________________________