วันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553

คำพิพากษาฎีกา ขับรถโดยประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย.odt


ฏีกา
ขับรถด้วยความประมาทผู้อื่นถึงแก่ความตาย
ขับรถด้วยความประมาทจนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น
ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท ความผิดฐานไม่หยุดให้ความช่วยเหลือพร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจยึดรถคันที่ผู้ขับขี่หลบหนี ผู้ครอบครองไม่แสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในหกเดือนนับแต่ วันเกิดเหตุ ให้ตกเป็นของรัฐ
ในคดีนี้ศาลฎีกาลงโทษจำเลยฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ ความตาย จำคุก 1 ปี ฐานไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือพร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที จำคุก 2 เดือน



คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7909/2549



โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยขับรถยนต์โดยประมาทโดยขับด้วยความเร็วสูงเกินสมควรจนไม่สามารถหยุดหรือ ลดความเร็วของรถให้ช้าลงพอที่จะหลบหลีกไม่ชนรถคันอื่นหรือสิ่งอื่นใดที่ กีดขวางอยู่ข้างหน้าได้ทัน โดยมิได้บรรยายฟ้องอ้างเหตุว่า จำเลยขับรถด้วยความเร็วเกินที่กำหนดในกฎกระทรวงหรือตามเครื่องหมายจราจรที่ ได้ติดตั้งไว้ในทาง แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจปรับบทลงโทษจำเลยในความผิดตาม พ...จราจรทางบก พ..2522 มาตรา 67, 152 ตามคำขอท้ายฟ้องได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291, 91 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ..2522 มาตรา 43, 67, 78, 152, 157, 160
จำเลยให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ..2522 มาตรา 43 (4), 78, 152, 157, 160 วรรคสอง เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 2 ปี ฐานไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือและแจ้งเหตุต่อเจ้าพนักงาน จำคุก 4 เดือน รวมจำคุก 2 ปี 4 เดือน จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 1 ปี 2 เดือน
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน
จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยขับรถยนต์ลากจูง โดยมีตัวรถกึ่งพ่วงคันเกิดเหตุด้วยความเร็วสูงบริเวณทางแยก จนเกิดการชนเข้ากับรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับมา การกระทำของจำเลยเป็นการขับรถด้วยความประมาทขาดสำนึกและขาดความรับผิดชอบต่อ ความปลอดภัยของผู้ร่วมใช้ถนน จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น ทั้งภายหลังเกิดเหตุแล้วจำเลยยังหลบหนีไปและไม่หยุดให้การช่วยเหลือพร้อม ทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียง พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นพฤติการณ์ที่ร้ายแรง จึงยังไม่มีเหตุที่จะปรานีจำเลยด้วยการรอการลงโทษจำคุกได้ แต่อย่างไรก็ดี จากคำฟ้องของโจทก์ปรากฏว่า เหตุที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากความประมาทของผู้ตายด้วย ทั้งภายหลังเกิดเหตุจำเลยได้พยายามบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ทายาทของผู้ตาย โดยชดใช้ค่าเสียหายจนเป็นที่พอใจแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดโทษจำเลยสำหรับความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ ผู้อื่นถึงแก่ความตายเสียใหม่ให้เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดี นอกจากนี้ศาลฎีกาเห็นว่า ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดโทษจำเลยสำหรับความผิดฐานไม่หยุดให้ความช่วยเหลือ พร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที โดยลงโทษจำเลยก่อนลดโทษให้จำคุก 4 เดือนนั้น หนักเกินไป เห็นสมควรกำหนดโทษจำเลยสำหรับความผิดฐานนี้เสียใหม่ให้เหมาะสมแก่พฤิตการณ์ แห่งคดีด้วย
อนึ่ง โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยขับรถยนต์ลากจูงโดยประมาทโดยขับด้วยความเร็วสูงเกินสมควรจนไม่สามารถ หยุดหรือลดความเร็วของรถให้ช้าลงพอที่จะหลบหลีกไม่ชนรถคันอื่นหรือสิ่ง กีดขวางได้ทัน มิได้บรรยายฟ้องอ้างเหตุว่า จำเลยขับรถด้วยความเร็วเกินกำหนดในกฎกระทรวงหรือตามเครื่องหมายจราจรที่ได้ ติดตั้งไว้ในทาง จึงไม่อาจปรับบทลงโทษจำเลยในความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ..2522 มาตรา 67, 152 ได้ตามคำขอท้ายฟ้อง ที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยสำหรับความผิดฐานนี้มาด้วยและศาลอุทธรณ์มิได้ พิพากษาแก้ไขจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกวินิจฉัยได้เอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ..2522 มาตรา 67, 152 คงให้ลงโทษจำเลยฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย จำคุก 1 ปี ฐานไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือพร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที จำคุก 2 เดือน รวมโทษทุกกระทงแล้วเป็น จำคุก 1 ปี 2 เดือน เมื่อลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้ว คงจำคุก 7 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3.
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.. 2522
มาตรา 67 ผู้ขับขี่ต้องขับรถด้วยอัตราความเร็ว ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงหรือตามเครื่องหมายจราจรที่ได้ติดตั้งไว้ในทาง
เครื่องหมายจราจรที่ติดตั้งไว้ตามวรรคหนึ่ง จะกำหนดอัตราความเร็ว ขั้นสูงหรือขั้นต่ำก็ได้ แต่ต้องไม่เกินอัตราความเร็วที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 78 ผู้ใดขับรถหรือขี่หรือควบคุมสัตว์ ในทางซึ่งก่อให้เกิดความ เสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นความผิดของผู้ขับขี่ หรือผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์หรือไม่ก็ตาม ต้องหยุดรถ หรือสัตว์ และให้ความ ช่วยเหลือตามสมควรและพร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ที่ใกล้เคียงทันที กับต้องแจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล และที่อยู่ของตนและหมายเลข ทะเบียนรถแก่ผู้ได้รับความเสียหายด้วย



ในกรณีที่ผู้ขับขี่หรือผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์หลบหนี้ไป หรือไม่แสดงตัว ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่เกิดเหตุ ให้สันนิษฐานว่าเป็นผู้กระทำ ความผิดและให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจยึดรถคันที่ผู้ขับขี่หลบหนี้ หรือไม่แสดงตนว่าเป็นผู้ขับขี่จนกว่าคดีถึงที่สุดหรือได้ตัวผู้ขับขี่ ถ้าเจ้าของ หรือผู้ครอบครองไม่แสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในหกเดือนนับแต่ วันเกิดเหตุ ให้ถือว่ารถนั้นเป็นทรัพย์สินซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิด หรือเกี่ยวกับการกระทำความผิดและให้ตกเป็นของรัฐ
มาตรา 152 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 7 มาตรา 10 ทวิ มาตรา 13 วรรคหนึ่ง มาตรา 15 วรรคหนึ่ง มาตรา 16 มาตรา 21 มาตรา 22 มาตรา 23 (1) มาตรา 24 มาตรา 25 มาตรา 26 มาตรา 29 มาตรา 49 มาตรา 50 มาตรา 56 มาตรา 64 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง มาตรา 73 วรรค 1 หรือวรรค 3 มาตรา 77 วรรค 1 มาตรา 85 มาตรา 86 มาตรา 89 วรรค 1 มาตรา 90 มาตรา 91 มาตรา 92 มาตรา 93 มาตรา 94 วรรค 1 มาตรา 95 มาตรา 99 มาตรา 127 มาตรา 128 มาตรา 130 หรือไม่ปฏิบัติตามประกาศที่อธิบดีกำหนด ตามมาตรา 15 วรรค 2 หรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตาม มาตรา 77 วรรค 2 หรือมาตรา 96 วรรค 2 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 291 ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุ ให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท

ประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย จำคุก 2 ปี โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี
จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษกึ่งหนึ่ง ความผิดฐานขับรถฝ่าฝืนสัญญาณจราจรกับความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ ผู้อื่นถึงแก่ความตายเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลาย บท ให้ลงโทษฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักสุด จำคุก 4 ปี และปรับ 20,000 บาท ลดโทษกึ่งหนึ่งแล้วคงจำคุก 2 ปี และปรับ 10,000 บาท เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วเป็นจำคุก 2 ปี 1 เดือน และปรับ 18,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.. 2535 บัญญัติว่า** เจ้าของรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหาย สำหรับผู้ประสบภัยทโดยประกันภัยกับบริษัท และ **เจ้าของรถผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท แสดงว่า การกระทำความผิดฐานเป็นเจ้าของรถซึ่งใช้รถ หรือมีรถไว้เพื่อใช้ ไม่จัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัย จะต้องได้ความว่า ผู้กระทำผิดเป็นเจ้าของรถ เมื่อไม่ได้เป็นเจ้าของรถก็ลงโทษไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2549
ความผิดตาม พ...คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ..2535 มาตรา 7 วรรคแรก และมาตรา 37 ผู้กระทำความผิดจะต้องเป็นเจ้าของรถ แต่ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ไม่ได้บรรยายว่า จำเลยเป็นเจ้าของรถคันที่ไม่ได้จัดให้มีการประกันความเสียหายจึงเป็นฟ้องที่ ขาดองค์ประกอบความผิดเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ มาตรา 158 (5)
โจทก์ฟ้องว่าเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2546 เวลากลางคืนหลังเที่ยง จำเลยกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่าง
กันคือจำเลยขับรถยนต์หมายเลขทะเบียน บ-8638 นครปฐม ซึ่งยังมิได้เสียภาษีประจำปีให้ครบถ้วนถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดและไม่ได้ จัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัย ทั้งไม่ได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย ไปตามถนนเพชรเกษมจากกรุงเทพมหานครมุ่งหน้าไปจังหวัดนครปฐม เมื่อไปถึงบริเวณทางร่วมทางแยกตัดกับถนนไปอำเภอสามพราน ทางเดินรถของจำเลยปรากฏสัญญาณจราจรไปสีแดง ในภาวะเช่นนั้นจำเลยควรใช้ความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์โดยต้องหยุดรถ ก่อนถึงทางร่วมทางแยกหลังเส้นให้รถหยุด แต่จำเลยกลับขับรถด้วยความเร็วและไม่หยุดรถก่อนถึงทางร่วมทางแยกหลังเส้นให้ รถหยุด เป็นเวลาเดียวกับที่นางสาวนฤมล หงษ์ทอง ขับรถจักรยานยนต์หมายเลขทะเบียน บขธ กรุงเทพมหานคร 265 โดยมีนางสาวนิภาพรรณ สายยืนยงค์ นั่งซ้อนท้ายมาตามถนนเพชรเกษมจากจังหวัดนครปฐมมุ่งหน้ากรุงเทพมหานคร และเลี้ยวขวาเข้าถนนไปอำเภอสามพรานเพราะได้รับสัญญาณจราจรไฟสีเขียว รถที่จำเลยขับจึงเฉี่ยวชนจักรยานยนต์คันดังกล่าว เป็นเหตุให้รถทั้งสองคันได้รับความเสียหาย นางสาวนฤมลและนางสาวนิภาพรรณถึงแก่ความตาย ซึ่งเกิดจากการกระทำโดยประมาทของจำเลย หลังจากนั้นจำเลยไม่แสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียง ทันที ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ..2522 มาตรา 6, 60 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ..2522 มาตรา 21, 22, 43 (4), 78, 152, 157, 160 และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ..2535 มาตรา 7, 11, 37, 39 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 291
จำเลยให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ..2522 มาตรา 6 วรรคสอง, 60 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ..2535 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง, 11, 37, 39 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ..2522 มาตรา 22 (2) วรรคหนึ่ง, 43 (4), 152, 157 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานใช้รถที่ยังมิได้เสียภาษีประจำปี ปรับ 2,000 บาท ฐานใช้รถที่ไม่ได้จัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัย ปรับ 10,000 บาท ฐานขับรถฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร ปรับ 1,000 บาท ฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักสุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 4 ปี และปรับ 20,000 บาท จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 กระทงละกึ่งหนึ่ง คงปรับกระทงแรก 1,000 บาท กระทงที่สอง 5,000 บาท กระทงที่สาม 500 บาท กระทงที่สี่จำคุก 2 ปี และปรับ 10,000 บาท รวมปรับ 16,500 บาท โทษจำคุกให้รอลงโทษไว้ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ..2522 มาตรา 78 วรรคหนึ่ง, 160 วรรคหนึ่ง อีกกระทงหนึ่ง จำคุก 2 เดือน และปรับ 4,000 บาท จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษกึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 1 เดือน และปรับ 2,000 บาทความผิดฐานขับรถฝ่าฝืนสัญญาณจราจรกับความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุ ให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมาย หลายบท ให้ลงโทษฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้
อื่นถึงแก่ความตาย ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักสุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 4 ปี และปรับ 20,000 บาท ลดโทษกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้วคงจำคุก 2 ปี และปรับ 10,000 บาท เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วเป็นจำคุก 2 ปี 1 เดือน และปรับ 18,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ยกฟ้องข้อหาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ..2535 มาตรา 7, 37 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "คดีมีปัญหาข้อกฎหมายต้องวินิจฉัยตามฎีกาโจทก์เพียงประการเดียวว่า จะลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.. 2535 มาตรา 7, 37 ได้หรือไม่ โจทก์ฎีกาว่า จำเลยให้การรับสารภาพตามคำฟ้องทุกข้อหาโดยโจทก์และจำเลยไม่สืบพยาน คดีจึงต้องฟังว่าจำเลยกระทำความผิดตามคำฟ้องทุกข้อหานั้น เห็นว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.. 2535 มาตรา 7 วรรคแรก บัญญัติว่าภายใต้บังคับมาตรา 8 เจ้าของรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหาย สำหรับผู้ประสบภัยทโดยประกันภัยกับบริษัท และมาตรา 37 บัญญัติว่า เจ้าของรถผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 7 หรือมาตรา 9 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท ดังนี้ แสดงว่า การกระทำความผิดฐานเป็นเจ้าของรถซึ่งใช้รถ หรือมีรถไว้เพื่อใช้ ไม่จัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยตามมาตรา 37 ประกอบมาตรา 7 นั้น จะต้องได้ความว่า ผู้กระทำผิดเป็นเจ้าของรถ แต่ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่า จำเลยเป็นเจ้าของรถคันที่ไม่ได้จัดให้มีการประกันความเสียหายแต่อย่างใด คำฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานดังกล่าวจึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษในคามผิดฐานดังกล่าวได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษามานั้นชอบแล้ว ฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น"
พิพากษายืน
...คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ..2535
มาตรา ๗ ภายใต้บังคับมาตรา ๘ เจ้าของรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหาย สำหรับผู้ประสบภัยโดยประกันภัยกับบริษัท
มาตรา ๓๗ เจ้าของรถผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗ หรือมาตรา ๙ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

คำพิพากษาฎีกาที่ 6171/2544
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานใช้รถที่ยังไม่ได้จดทะเบียนและขับรถโดยไม่ ได้รับใบอนุญาตขับรถ ส่วนฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง พนักงานอัยการโจทก์อุทธรณ์เฉพาะความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่น ถึงแก่ความตาย ส่วนโจทก์ร่วมมีสิทธิอุทธรณ์ฐานความผิดนี้ได้ตามกฎหมาย แต่ไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์ คดีในส่วนของโจทก์ร่วมจึงยุติโจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิฎีกาขอไม่ให้รอการลงโทษ จำคุกจำเลยในความผิดฐานนี้ได้



คำพิพากษาฎีกาที่ 6169/2544
จำเลยที่ ๑ ขับรถจักรยานยนต์ โดยมีจำเลยที่ ๓ กับจำเลยที่ ๒นั่งซ้อนท้าย แล้วแซงเข้าประกบรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย จากนั้นจำเลยที่ ๒นั่งซ้อนท้ายสุดใช้เท้าถีบหน้าอกผู้เสียหายรถเสียหลักล้มลง ผู้เสียหายถูกรถจักรยานยนต์ล้มทับขาได้รับอันตรายสาหัส จำเลยที่ ๑ หยุดรถ จำเลยที่ ๓ ลงจากรถถือมีดปลายแหลมเดินเข้าไปหาผู้เสียหายแล้วกระชากเอาสร้อยคอทองคำที่ ผู้เสียหายสวมใส่อยู่ขาดติดมือไปได้บางส่วน หลังจากนั้นจำเลยที่ ๓ นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ที่จำเลยที่ ๑ และที่ ๒รออยู่หลบหนีไปด้วยกัน เมื่อจำเลยที่ ๓ มีอาวุธมีดติดตัวไปด้วยในการปล้นทรัพย์จำเลยทั้งสามจึงต้องมีความผิดตาม ป.. มาตรา ๓๔๐ วรรคสอง และลงโทษจำเลยทั้งสามตามมาตรา ๓๔๐ วรรคสาม ประกอบด้วยมาตรา ๓๔๐ ตรี, ๘๓ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.. มาตรา ๙๐ และจำเลยที่ ๓ มีความผิดตาม ป.. มาตรา ๓๗๑ อีกกระทงหนึ่ง ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำเลยไม่ถูกต้อง และลงโทษจำเลยหนักกว่าอัตราโทษที่กฎหมายบัญญัติ แม้โจทก์และจำเลยไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสามและแก้ไขโทษของจำเลยเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาฎีกาที่ 6167/2544
.วิ..มาตรา ๒๓ ได้กล่าวถึงระยะเวลาที่ศาลได้กำหนดไว้แสดงว่าศาลกำหนดระยะเวลาได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีอย่างคนอนาถาชั้นฎีกาและมีคำ สั่งกำหนดเวลาให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมชั้นฎีกามาชำระภายในกำหนด ๒๐วัน นับแต่วันฟังคำสั่ง เป็นการกำหนดเวลาโดยอาศัยอำนาจของศาลที่มีอยู่ทั่วไปในการที่จะดำเนินกระบวน พิจารณาใดที่ไม่มีกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะหรือห้ามไว้ ไปในทางที่เห็นว่ายุติธรรมและสมควร และการกำหนดระยะเวลาดังกล่าวมิใช่เป็นการขยายระยะเวลาตาม ป.วิ.. มาตรา ๒๓ ดังนั้น ถ้าจำเลยไม่ชำระค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกาในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ศาลชั้นต้นย่อมมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยได้ แม้จำเลยได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยฎีกาอย่างคนอนาถา แต่การยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวมิได้ทำให้คำสั่งศาลชั้นต้นต้องสะดุดหยุด อยู่หรือทำให้สิทธิในการวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกาต้องสะดุดหยุดอยู่จน กว่าศาลฎีกาจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น เพราะการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวเป็นเรื่องระหว่างศาลชั้นต้นกับจำเลย หากศาลฎีกามีคำสั่งเป็นอย่างอื่น คำสั่งศาลฎีกาย่อมลบล้างคำสั่งของศาลชั้นต้นไปในตัว ศาลชั้นต้นจึงไม่ต้องรอฟังคำสั่งของศาลฎีกาก่อน มิฉะนั้นคำสั่งศาลชั้นต้นก็จะไร้ผล เมื่อจำเลยใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นแต่อุทธรณ์ดังกล่าวยื่นเกิน กำหนดเวลาตามมาตรา ๑๕๖ วรรคท้าย และศาลฎีกามีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยเสียแล้วเท่ากับว่าจำเลยมิได้ยื่น อุทธรณ์มาแต่ต้น แม้จำเลยไม่ทราบคำสั่งนั้น เนื่องจากได้ย้ายไปรับราชการที่อื่นและมิได้รับหมายนัดจากศาลชั้นต้นให้มา ฟังคำสั่งศาลฎีกา และจำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งศาลฎีกาให้จำเลยฟังใหม่ และศาลชั้นต้นอ่านใหม่ก็ตามจำเลยก็ต้องผูกพันตามคำสั่งศาลชั้นต้นนั้น จึงเป็นกรณีที่ล่วงเลยเวลาที่จำเลยจะชำระค่าธรรมเนียมศาลแล้ว
คำพิพากษาฎีกาที่ 6163/2544
จำเลยฎีกาว่า จำเลยถูกฟ้องเป็นตัวการ แต่ศาลพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ในฐานะความผิดดังกล่าว จำเลยจึงไม่ใช่ตัวการหรือผู้ที่เจตนาจะกระทำความผิดหรือเป็นบุคคลที่เป็นไป ตามเจตนารมณ์แห่งการตรา
...พระราชทานอภัยโทษ พ..๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ () ไม่ให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษนั้น เป็นปัญหาอัน
เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยย่อมยกขึ้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ..มาตรา ๑๙๕วรรคสอง ประกอบมาตรา ๒๒๕ จำเลยกระทำผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษเฮโรอีนตาม พ...ยาเสพติดให้โทษ พ..๒๕๒๒ มาตรา ๑๕ วรรคหนึ่ง, ๖๖วรรคสอง ประกอบด้วย ป..มาตรา ๘๖ เมื่อศาลชั้นต้นซึ่งออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดตรงตามคำพิพากษาแล้ว จึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะเปลี่ยนแปลงแก้ไข ส่วนจำเลยจะได้รับการลดโทษจากพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ..๒๕๔๒ หรือไม่เพียงใดนั้นจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน พ...พระราชทานอภัยโทษ พ..๒๕๔๒และเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการซึ่งตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีดังกล่าวที่ จะทำการตรวจสอบผู้ซึ่งจะได้รับพระราชทานอภัยโทษ จำเลยชอบที่จะไปร้องให้ถูกทาง
ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย คำพิพากษาฎีกาที่ 6968/2545 พนักงานอัยการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โจทก์ นายทองคำ วงษ์คงคำหรือวงษ์ทองคำ จำเลย ...จราจรทางบก มาตรา 43 (4), 56, 78, 152, 157, 160
.วิ.. มาตรา 185, 215, 225.. มาตรา 90, 291, 390การที่จำเลยจอดรถในทางเดินรถโดยไม่แสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณตามพระราช บัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 56 วรรคสอง,152 เป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และได้รับอันตรายแก่กาย ซึ่งเป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกันและเป็นผลโดยตรงที่ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ ความตายและได้รับอันตรายแก่กายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291,390 จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายซึ่งเป็นบทที่มี โทษหนักที่สุด ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 43(4) และ 157ต้องเป็นผู้ขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคล หรือทรัพย์สิน และตามมาตรา 78 และ 160 ต้องเป็นผู้ขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของ ผู้อื่นและไม่หยุดให้ความช่วยเหลือพร้อมแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ ซึ่งการจะเป็นความผิดดังกล่าวได้ต้องเป็นผู้ขับรถที่กำลังแล่นอยู่หาใช่กรณี ผู้ขับรถที่จอดหรือหยุดรถไม่ เมื่อจำเลยจอดรถในทางเดินรถ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานขับรถโดยประมาทและก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคล หรือทรัพย์สินของผู้อื่นตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 43(4),78,157 และ 160 วรรคหนึ่งปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องในความผิดดังกล่าวทั้งสองข้อหาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง,215,225โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขับรถยนต์บรรทุกสิบล้อด้วยความประมาทโดยจอดรถล้ำเข้ามาในเส้นทางเดินรถ อันมีลักษณะกีดขวางการจราจรและไม่แสดงเครื่องหมายเพื่อแสดงให้รถยนต์ที่แล่น ผ่านไปมาพบเห็น เป็นเหตุให้รถยนต์บรรทุกหกล้อซึ่งมีนายสงค์คำจันทร์ เป็นผู้ควบคุม ขับมาพุ่งเข้าชนรถยนต์ที่จำเลยจอดล้ำอยู่บนถนนที่
เกิดเหตุและเป็นเหตุให้นาย อำนวย ยางงาม กับนายนิสิต วิเทียนเทียบ ซึ่งโดยสารมากับรถยนต์บรรทุกหกล้อคันดังกล่าวถึงแก่ความตายและได้รับอันตราย แก่กายตามลำดับกับรถยนต์บรรทุกหกล้อได้รับความเสียหาย ภายหลังเกิดเหตุดังกล่าวจำเลยไม่ให้ความช่วยเหลือตามสมควรและไม่ไปแสดงตัว กับแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที เป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายแก่กาย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291, 390, 91 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.. 2522มาตรา 5, 43(4), 56, 78, 157, 160 จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291, 390 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.. 2522 มาตรา 43(4), 56 วรรคสอง, 78, 152, 160 วรรคหนึ่ง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันเรียงกระทงลงโทษ ฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายแก่กาย เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทลงโทษฐานขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุ ให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย อันเป็นบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 จำคุก 4 ปี ฐานจอดรถอยู่ในทางเดินรถกีดขวางการจราจรและไม่แสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณ ปรับ 1,000 บาท ฐานขับรถแล้วหลบหนีไม่ให้ความช่วยเหลือตามสมควรและไม่แจ้งเหตุต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที จำคุก 2 เดือน รวมจำคุก4 ปี 2 เดือน และปรับ 1,000 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 29, 30จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.. 2522 มาตรา 157 อีกมาตราหนึ่ง ความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายแก่กาย ให้จำคุก 1 ปี เมื่อรวมโทษฐานไม่หยุดช่วยเหลือและไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำคุก 2 เดือน และฐานจอดรถกีดขวางการจราจรและไม่แสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณ ปรับ 1,000 บาท ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว คงจำคุก 1 ปี 2 เดือน ปรับ 1,000 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า ในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง จำเลยขับรถยนต์บรรทุกสิบล้อหมายเลขทะเบียน 80-5184 ประจวบคีรีขันธ์ ไปตามถนนเพชรเกษม จากอำเภอทับสะแกมุ่งหน้าไปอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ เมื่อมาถึงที่เกิดเหตุซึ่งมีสภาพเป็นทางลงเนินและมืด เครื่องยนต์รถขัดข้องทำให้รถยนต์บรรทุกสิบล้อไม่อาจแล่นต่อไปได้ ต่อมานายประสงค์ คำจันทร์ขับรถยนต์บรรทุกหกล้อหมายเลขทะเบียน 81-0892 ราชบุรี แล่นมาในทิศทางเดียวกันกับรถยนต์บรรทุกสิบล้อ เมื่อมาถึงบริเวณที่เกิดเหตุรถยนต์บรรทุกหกล้อได้พุ่งชนท้ายรถยนต์บรรทุกสิบ ล้อคันดังกล่าวในขณะที่รถยนต์บรรทุกสิบล้อจอดเพราะเครื่องยนต์ขัดข้องอยู่ เป็นเหตุให้ผู้ที่โดยสารมากับรถยนต์บรรทุกหกล้อได้แก่นายอำนวย ยางงาม ถึงแก่ความตาย และนายนิสิต วิเทียนเทียบ ได้รับอันตรายแก่กาย ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า จำเลยกระทำ
ผิดตามฟ้องหรือไม่ ที่จำเลยฎีกาว่าขณะเกิดเหตุรถยนต์บรรทุกสิบล้อคันที่จำเลยขับจอดอยู่ระหว่าง เส้นแบ่งที่พักรถกับไหล่ถนน ไม่ได้จอดคร่อมเส้นแบ่งช่องทางเดินรถซึ่งเป็นเส้นประ และเมื่อจำเลยจอดรถยนต์บรรทุกสิบล้อแล้ว เครื่องยนต์รถขัดข้อง ระบบไฟฟ้าเสีย ทำให้ไม่อาจให้สัญญาณไฟได้ แต่จำเลยก็ได้พยายามหากิ่งไม้และทางมะพร้าวมาไว้บนถนนเพื่อแสดงให้เห็นว่ามี รถจอดอยู่ เหตุรถชนกันดังกล่าวจึงไม่ได้เกิดจากความประมาทและผลโดยตรงจากการกระทำของ จำเลยแต่อย่างใดนั้น เห็นว่า โจทก์มีนายแสน กรุงษาสี ซึ่งอาศัยมากับรถยนต์บรรทุกสิบล้อเบิกความว่า นายแสนอาศัยโดยสารรถยนต์บรรทุกสิบล้อมาเพื่อเดินทางไปจังหวัดนครปฐม เมื่อมาถึงที่เกิดเหตุสภาพถนนเป็นเนินลาดลง ไฟหน้ารถยนต์บรรทุกสิบล้อดับจำเลยจะจอดรถเข้าข้างทางแต่เครื่องยนต์รถดับ ด้วย จำเลยจึงจอดรถยนต์บรรทุกสิบล้อบริเวณช่องเส้นประของถนนด้านซ้ายมือโดยในชั้น สอบสวนนายแสนก็ได้ให้การว่าเมื่อรถยนต์บรรทุกสิบล้อระบบไฟในรถดับลงจำเลย พยายามบังคับรถให้ชิดขอบถนนเพื่อจะจอด แต่ไม่สามารถเข้าชิดขอบถนนได้เนื่องจากมีรถเทลเลอร์จอดอยู่ก่อน จึงจอดคร่อมเส้นแบ่งช่องทางเดินรถซึ่งเป็นเส้นประซึ่งตรงกับคำให้การของ จำเลยในชั้นสอบสวนตามบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาที่ว่าจำเลยนำรถจอดข้างทาง ไม่ได้ เพราะมีรถเทลเลอร์จอดชิดขอบทางด้านซ้ายของถนนจำเลยจึงจอดคร่อมช่องทางเดินรถ ซึ่งเป็นเส้นประ และเมื่อพิจารณาแผนที่สังเขปแสดงสถานที่เกิดเหตุกับภาพถ่าย เห็นได้ว่า ถนนบริเวณที่เกิดเหตุมีช่องเดินรถทางตรง 2 ช่องทาง มีเครื่องหมายลูกศรสีขาว และถัดจากช่องเดินรถช่องขวามือเป็นช่องทางสำหรับกลับรถยนต์ ส่วนด้านซ้ายมือของช่องเดินรถช่องที่ 1 จะเป็นช่องทางสำหรับจอดรถหรือพักรถ ถัดจากช่องนี้ไปจะเป็นไหล่ถนนส่วนที่เป็นเส้นประก็คือเส้นที่กั้นระหว่าง ช่องทางสำหรับจอดรถหรือพักรถกับช่องเดินรถช่องที่ 1 สำหรับรอยห้ามล้อของรถยนต์บรรทุกหกล้อตามที่ปรากฏในแผนที่สังเขปแสดงสถานที่ เกิดเหตุ จะอยู่ในช่องเดินรถช่องที่ 1 ซ้ายมือ ห่างจากบริเวณที่พบเศษกระจกตกประมาณ 10 เมตร เศษกระจกกระจายตามพื้นส่วนใหญ่ และมีกระสอบปลาป่นตกจากรถยนต์บรรทุกสิบล้ออีก4 กระสอบอยู่ห่างจากบริเวณที่เศษกระจกตกประมาณ 3 เมตร อยู่ในช่องเดินรถช่องที่ 1ซ้ายมือเช่นกัน ประกอบกับสภาพความเสียหายของรถยนต์บรรทุกหกล้อตามภาพถ่ายจะอยู่ตรงบริเวณ ด้านหน้าซ้ายของรถ ส่วนรถยนต์บรรทุกสิบล้อได้รับความเสียหายเฉพาะด้านท้ายรถมุมด้านขวา แสดงว่ารถยนต์บรรทุกหกล้อพุ่งชนส่วนท้ายมุมขวาของรถยนต์บรรทุกสิบล้อ เท่านั้น ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า จำเลยจอดรถยนต์บรรทุกสิบล้อคร่อมเส้นประล้ำเข้าไปในช่องทางเดินรถช่องที่ 1 ด้านซ้ายมือซึ่งแม้จะเป็นกรณีจำเป็นที่จำเลยจะต้องจอดรถอยู่ในทางเดินรถ เนื่องจากเครื่องยนต์ขัดข้อง แต่จำเลยก็ต้องแสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (.. 2525) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.. 2522 ได้แก่ เครื่องหมายทำด้วยแผ่นโลหะรูปสามเหลี่ยมด้านเท่ามีความยาวไม่ต่ำกว่าด้านละ 50 เซนติเมตร ติดด้วยแถบสะท้อนแสงพื้นสีขาว ขอบสีแดงกว้าง 5 เซนติเมตร มีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีดำ กว้าง 8 เซนติเมตร ยาว15 เซนติเมตร หัวท้ายมนอยู่บนพื้นสีขาวในแนวดิ่งพร้อมขาตั้ง โดยให้ฐานของรูปสามเหลี่ยมขนานกับพื้นไว้ทั้งด้านหน้าและด้านหลังของรถห่าง จากรถไม่ต่ำกว่า 50 เมตรหรือมิฉะนั้นต้องให้สัญญาณเป็นไฟกระพริบสีเหลืองอำพันหรือสีขาวติดอยู่ หน้ารถทั้งด้านซ้ายและด้านขวาและสัญญาณไฟกระพริบสีแดงหรือสีเหลืองอำพันติด อยู่ท้ายรถทั้งด้านซ้ายและด้านขวาเพื่อแสดงให้รถยนต์ที่แล่นผ่านไปมาพบเห็น และไม่ชนกับรถยนต์บรรทุกสิบล้อคันที่จำเลยขับจอด แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณไฟดังกล่าวแต่อย่างใด จำเลยคงอ้างแต่เพียงว่าจำเลยได้ตัดกิ่งไม้และทางมะพร้าววางไว้บนถนน ซึ่งก็ไม่ได้ความว่ากิ่งไม้และทางมะพร้าวมี
๑๐
จำนวนมากเพียงพอที่จะทำให้ผู้ที่ ขับรถยนต์แล่นมาในช่องทางเดินรถที่เกิดเหตุเห็นได้ชัดเจนในระยะทางที่สามารถ หลีกเลี่ยงหรือห้ามล้อได้ทันหรือไม่ จำเลยเองก็นำสืบรับว่าสภาพอากาศในวันเวลาที่เกิดเหตุมีพายุฝนตกตลอดคืน ถนนบริเวณที่เกิดเหตุเป็นทางลงเนินและมืดเมื่อจำเลยไม่ได้ทำเครื่องหมายหรือ สัญญาณไฟตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงดังกล่าวจึงเป็นการยากที่ผู้ขับขี่รถยนต์ ที่แล่นมาในช่องทางเดินรถช่องนี้จะขับหลบหลีกหรือห้ามล้อไม่ให้ชนกับรถยนต์ บรรทุกสิบล้อที่จอดอยู่ได้ทัน เหตุรถชนกันดังกล่าวจึงเกิดจากการกระทำโดยประมาทของจำเลย จำเลยมีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และได้รับอันตรายแก่กายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291, 390 และฐานจอดรถในทางเดินรถโดยไม่แสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณตามพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.. 2522 มาตรา 56 วรรคสอง, 152 การที่จำเลยจอดรถในทางเดินรถโดยไม่แสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณเป็นสาเหตุส่วน หนึ่งของการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตราย แก่กาย เป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกันและเป็นผลโดยตรงที่ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความ ตายและได้รับอันตรายแก่กาย จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษฐานกระทำโดย ประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ปัญหานี้แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบ เรียบร้อย ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง, 225 และที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.. 2522 มาตรา 43(4), 78, 157 และ 160 วรรคหนึ่ง ด้วยนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วยเพราะความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.. 2522 มาตรา 43(4) และ157 ต้องเป็นผู้ขับขี่ขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคล หรือทรัพย์สิน และมาตรา 78 และ 160 ต้องเป็นผู้ขับรถหรือขี่รถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือ ทรัพย์สินของผู้อื่น และไม่หยุดให้ความช่วยเหลือพร้อมแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งกรณีจะเป็นความผิดตามกฎหมายดังกล่าวต้องเป็นผู้ขับขี่รถที่กำลังแล่น อยู่ หาใช่กรณีผู้ขับรถที่จอดรถอยู่หรือหยุดรถไม่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยจอดรถในทางเดินรถ การกระทำของจำเลยไม่ได้ขับรถโดยประมาท และไม่ได้ขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้ อื่น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.. 2522 มาตรา 43(4),78, 157 และ 160 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยจะไม่ได้ฎีกาขึ้นมาในข้อกฎหมายศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัย และพิพากษายกฟ้องในความผิดดังกล่าวทั้งสองข้อหาได้ตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 215, 225 ส่วนที่จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษ โดยอ้างว่าผู้ขับรถยนต์บรรทุกหกล้อมีส่วนกระทำผิดด้วยและเกิดเหตุแล้วได้หลบ หนีไปทันที แต่จำเลยเข้ามอบตัวนั้น เห็นว่า หลังเกิดเหตุจำเลยไม่ได้ช่วยเหลือญาติของผู้ตายหรือผู้เสียหายเพื่อเป็นการ บรรเทาผลของการกระทำความผิด อีกทั้งยังหลบหนีไปจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น"
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.. 2522 มาตรา 43(4), 78, 157 และ 160 วรรคหนึ่ง สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291, 390 และความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.. 2522 มาตรา 56, 152 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา
๑๑
มาตรา 90 คงจำคุก 1 ปี (วัฒนชัย โชติชูตระกูล - อภิชาต สุขัคคานนท์ - วิธวิทย์ หิรัญรุจิพงศ์)
แหล่งที่มา สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ (ADMIN)หมายเหตุ ผู้ที่ขับขี่รถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว อันอาจจะเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน และผู้ขับรถหรือผู้ขี่ในทางที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นหรือ ทรัพย์สินของผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นความผิดของผู้ขับขี่หรือผู้ขี่หรือไม่ก็ตาม บุคคลดังกล่าวต้องหยุดรถและให้ความช่วยเหลือตามสมควร และพร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีนั้น จะต้องเป็นผู้ที่กำลังขับรถหรือขี่รถอยู่เท่านั้นหรือว่าแม้จะจอดรถอยู่ก็ ต้องรับผิดหรืออยู่ในเงื่อนไขจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวคำพิพากษา ศาลฎีกาฉบับที่หมายเหตุนี้ได้วินิจฉัยตอบปัญหาเหล่านี้ไว้ว่า ผู้กระทำความผิดพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.. 2522 มาตรา 43(4) และ 157 ต้องเป็นผู้ขับโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือ ทรัพย์สินและตามมาตรา 78และ 160 ต้องเป็นผู้ขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของ ผู้อื่นและไม่หยุดให้ความช่วยเหลือพร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ซึ่งการจะเป็นความผิดดังกล่าวต้องเป็นผู้ขับรถที่กำลังแล่นอยู่ หาใช่กรณีผู้ขับรถที่จอดหรือหยุดรถไม่ เมื่อจำเลยจอดรถในทางเดินรถ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานขับรถโดยประมาทและก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคล หรือทรัพย์สินของผู้อื่น แต่มีข้อพิจารณาว่า พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.. 2522 ได้บัญญัติถึงการขับรถรวมทั้งการจอดรถไว้ด้วย แม้ข้อความในมาตรา 43(4) จะใช้รวม ๆ ว่าขับรถแต่ก็น่าจะรวมถึงการจอดรถด้วย เช่นเดียวกันตามมาตรา 78 แม้จะใช้คำว่าผู้ใดขับรถหรือขี่ในทางที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือ ทรัพย์สินของผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นความผิดของผู้ขับขี่หรือผู้ขี่หรือไม่ก็ตามต้องหยุดรถ และให้ความช่วยเหลือตามสมควรและพร้อมทั้งแสดงและแจ้งเหตุต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที กับต้องแจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล และที่อยู่ของตนและหมายเลขทะเบียนรถแก่ผู้ได้รับความเสียหายด้วย แม้จะใช้คำว่า ต้องหยุดรถ ก็มิได้หมายความว่าจะต้องเป็นกรณีกำลังขับรถแล่นอยู่เท่านั้น เพียงแต่ถ้าหากขับรถแล่นอยู่ก็ต้องหยุดรถ แต่ถ้าหากหยุดรถอยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องบอกว่าต้องหยุดรถอีกและบทบัญญัติดัง กล่าวใช้บังคับแม้กระทั่งผู้ขับขี่หรือผู้ขี่จะมิได้เป็นผู้กระทำความผิดก็ ตาม ถ้าหากพิจารณาตามมาตรา 160 ประกอบด้วยแล้ว จะเห็นได้ว่า ผู้ฝ่าฝืนจะต้องได้รับโทษเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ฝ่าฝืนแล้วเป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้รับอันตรายสาหัสหรือ ตาย ต้องระวางโทษหนักขึ้น เมื่อพิจารณาประกอบดังกล่าวจะเห็นได้ว่า กฎหมายมีวัตถุประสงค์จะคุ้มครองผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุหรือความเสียหายจาก การจราจรเพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือรักษาพยาบาลทันท่วงที ซึ่งจะเป็นการบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่มีผู้ ได้รับอันตรายแก่กายหรืออันตรายสาหัส หากได้รับการส่งตัวไปรักษาพยาบาลทันทีอาจจะไม่ถึงกับเสียชีวิต กฎหมายจึงบังคับว่าผู้ที่ใช้ทางเดินรถโดยเป็นผู้ขับขี่หรือผู้ขี่ หากก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์แล้วจะต้องปฏิบัติเสมอหากตีความ ว่าเฉพาะรถที่แล่นอยู่นั้นก็จะมีปัญหา เช่น แดงขับรถมาจอดติดสัญญาณไฟจราจรอยู่ เหลืองขับรถตามมาชนท้ายเป็นเหตุให้เหลืองได้รับอันตรายสาหัส หากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงทีจะต้องถึงแก่ความตาย หรือแดงขับรถฝ่าสัญญาณไฟจราจรไปจอดอยู่กลางสี่แยก
๑๒
เมื่อจอดได้สักครู่เหลืองได้ขับรถมาจากช่องเดินรถที่ไฟสัญญาณจราจรให้แล่น ผ่านไปได้ (ไฟเขียว) เป็นเหตุให้รถคันที่เหลือขับชนรถคันที่แดงจอดอยู่เหลืองได้รับอันตรายสาหัส หรือแดงจอดรถล้ำเข้ามาในช่องเดินรถในเวลากลางคืนโดยไม่ให้สัญญาณไว้ เป็นเหตุให้เหลืองมองไม่เห็นขับมาชนได้รับอันตรายสาหัส หากตีความว่าแดงจอดรถอยู่จึงไม่มีหน้าที่ดังกล่าว แดงจึงไม่ช่วยเหลือเหลืองเป็นเหตุให้เหลืองถึงแก่ความตาย ก็จะไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ไม่ว่าผู้ขับขี่หรือผู้ขับกำลังขับรถแล่นอยู่หรือจอดรถก็ตาม หากอยู่บนทางเดินรถซึ่งจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.. 2522 แล้ว จะต้องอยู่ในบังคับมาตรา 43(4),78, 157 และ 160 เสมอ
4067/2550
การที่จำเลยขับรถในขณะเมาสุรา อันเป็นความผิดตาม พ...จราจรทางบกฯ มาตรา 43 (2), 160 วรรคสาม กับการที่จำเลยขับรถโดยประมาทแซงรถที่อยู่ข้างหน้าไปในหน้าไปในช่องเดินรถ ขวามือในขณะที่ผู้ตายขับสวนมา เป็นเหตุให้ชนรถจักรยานยนต์ของผู้ตายเสียหายและทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย อันเป็นความผิดตาม ป.. มาตรา 291 และ พ...จราจรทางบกฯ มาตรา 43 (4), 157 นั้น เป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องและเป็นผลโดยตรงที่ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จึงเป็นการกระทำกรรมเดียว ต้องลงโทษตาม ป.. มาตรา 291 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด

6968/2545
การที่จำเลยจอดรถในทางเดินรถ โดยไม่แสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 56 วรรคสอง,152 เป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และได้รับอันตรายแก่กาย ซึ่งเป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกันและเป็นผลโดยตรงที่ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ ความตายและได้รับอันตรายแก่กายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291,390 จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายซึ่งเป็นบทที่มี โทษหนักที่สุด ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 43(4) และ 157ต้องเป็นผู้ขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคล หรือทรัพย์สิน และตามมาตรา 78 และ 160 ต้องเป็นผู้ขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของ ผู้อื่นและไม่หยุดให้ความช่วยเหลือพร้อมแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ ซึ่งการจะเป็นความผิดดังกล่าวได้ต้องเป็นผู้ขับรถที่กำลังแล่นอยู่หาใช่กรณี ผู้ขับรถที่จอดหรือหยุดรถไม่ เมื่อจำเลยจอดรถในทางเดินรถ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานขับรถโดยประมาทและก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคล หรือทรัพย์สินของผู้อื่นตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 43(4),78,157 และ 160 วรรคหนึ่งปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องในความผิดดังกล่าวทั้งสองข้อหาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรค


__________________________________________________________________________________________

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น