คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น |
|
|
| | ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ยกฟ้อง “นาม ยิ้มแย้ม” อดีตประธาน คตส.และพวก 11 คน ในคดี “ทักษิณ-หญิงอ้อ” กล่าวหาปฏิบัติหน้าที่มิชอบกลั่นแกล้งดำเนินคดีอาญาคดีทุจริตที่ดินรัชดาฯ ศาลวินิจฉัยข้อกฎหมายคดีไม่อยู่ในอำนาจ วันนี้ (21 ธ.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่ห้องพิจารณาคดี 909 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขดำ อ.3020/2550 ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร อดีตภริยา เป็นโจทก์ฟ้องนายนาม ยิ้มแย้ม อดีตประธานคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) กับพวกรวม 11 คน ซึ่งเป็นอดีต คตส. ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด และกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ 200 ทั้งนี้ คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า ระหว่างวันที่ 14 พ.ค. - 21 มิ.ย.50 จำเลยทั้ง 11 คนได้รับแต่งตั้งและมีอำนาจหน้าที่ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) และจำเลยทั้ง 11 คน ได้อาศัยอำนาจหน้าที่ในฐานะเป็นคณะกรรมการตรวจสอบการทุจริต โดยเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ทั้งสองให้ตกเป็นจำเลยที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ ดำรงตำแหน่งทางการเมืองคดีซื้อขายที่ดินย่านถนนรัชดาภิเษก ให้โจทก์ได้รับความเสียหาย บิดเบือนข้อเท็จจริง เพื่อแกล้งให้โจทก์ทั้งสองเกิดความเสียหาย และต้องรับโทษจำคุกริบทรัพย์สิน เหตุเกิดที่แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กทม. ขณะเดียวกัน ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 26 พ.ย.50 เห็นว่า คดีนี้วินิจฉัยโดยไม่ต้องมีการไต่สวนมูลฟ้อง ซึ่งแม้ว่าโจทก์จะยื่นฟ้องต่อศาลก่อนที่จะมี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ตามประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 จะมีผลบังคับใช้ แต่การที่จำเลยยื่นฟ้อง คตส.ในความผิดดังกล่าวต้องไปยื่นฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรง ตำแหน่งทางการเมือง เนื่องจากศาลอาญาไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา จึงพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสอง ต่อมาโจทก์ทั้งสองยื่นอุทธรณ์ อย่างไรก็ตาม ศาลอุทธรณ์ประชุมตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือพิจารณาข้อกฎหมาย ตามอุทธรณ์โจทก์ทั้งสองแล้วทั้งประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง ประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 มาตรา 173 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 249 เกี่ยวกับการรับฟ้องและวิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น การแต่งตั้ง คตส. และถอดถอน ป.ป.ช. ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบการทุจริตแล้วเห็นว่าที่ศาลชั้นต้นพิพากษานั้น ศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วย พิพากษายืน |
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น