วันอังคารที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2553

ข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิง
ความผิดตาม ปอ. ม. 277
ข่มขู่
1. ทำให้กลัว  2. (นิติกรรม) การที่คู่กรณีฝ่ายหนึ่งทำให้คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งกลัวจนต้องยอมเข้าทำนิติกรรม โดยต้องเป็นการข่มขู่ที่จะให้เกิดภัยอันใกล้จะถึงและร้ายแรงถึงขนาดที่จะจูงใจให้ผู้ถูกข่มขู่มีมูลต้องกลัว(ปพพ.ม. 164) การข่มขู่ทำให้นิติกรรมเป็นโมฆียะ
ขอกันส่วน
การที่บุคคลภายนอกซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิรวมในทรัพย์ที่ถูกยึดหรือถูกบังคับคดีหรือซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของเจ้าของรวมหรือซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในฐานะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อนตาม ปพพ.ม. 1300 ได้ร้องมายังศาลในชั้นบังคับคดีเพื่อขอกันส่วนของตนในทรัพย์ที่ถูกยึดหรือถูกบังคับคดีได้  (กันส่วนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สิน(ฎ.2882 / 2528), ขอกันส่วนที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมที่มีการแบ่งแยกเป็นส่วนสัดแล้ว(ฎ.3139  / 2537 ) , ขอให้ศาลเพิกถอนการยึด (ฎ. 2975 / 2538 ) ) การยื่นคำร้องขอกันส่วนเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์เพียง 200 บาท(ฎ.6855/2515,คส.คร.19/2519) และไม่มีกำหนดระยะเวลาในการยื่น จึงอาจยื่นได้แม้ภายหลังจากการขายทอดตลาดทรัพย์ (ฎ. 3139 / 2529)
ข้อกำหนด
1. (ปพพ.ม. 915)  ข้อความที่กล่าวถึงความรับผิดหรือหน้าที่ของคู่สัญญาในตั๋วเงินมี 2 ประเภท คือข้อกำหนดลบล้างหรือจำกัดความรับผิดและข้อกำหนดยอมละหน้าที่แก่ผู้ทรง  2. (ปวิพ.ม.30) คำสั่งศาลที่ห้ามกระทำหรือสั่งให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่จำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในศาลและเพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปด้วยความเที่ยงธรรมและรวดเร็ว เช่นสั่งห้ามบุคคลที่เรียกเงินค่าเขียนคำร้องจากคู่ความเข้ามาบริเวณศาล (ฎ.57/2520)
ข้อกำหนดของท้องถิ่น
(พรบ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง 2535 ม. 4) ข้อบัญญัติ เทศบัญญัติ หรือข้อบังคับ ซึ่งตราขึ้นโดยราชการส่วนท้องถิ่น
ข้อความ
1. (พรบ.ยาเสพติดให้โทษ 2522 ม.4 ) หมายความรวมถึง การกระทำให้ปรากฏด้วยอักษร ภาพ ภาพยนตร์ แสง เสียง เครื่องหมายหรือการกระทำอย่างใดๆที่ทำให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าใจความหมายได้ 2. (พรบ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 2544 ม.4 ) เรื่องราวหรือข้อเท็จจริงไม่ว่าจะปรากฏในรูปแบบของตัวอักษร ตัวเลข เสียง ภาพหรือรูปแบบอื่นใดที่สื่อความหมายได้โดยสภาพของสิ่งของนั้นเองหรือโดยผ่านกรรมวิธีใดๆ
ของ
1. (ปพพ.ม.436) วัตถุ แต่ไม่รวมชิ้นส่วนของโรงเรือน   2. (พรบ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ม.3) สังหาริมทรัพย์ สัตว์มีชีวิต รวมทั้งภาชนะขนส่งที่ผู้ส่งของเป็นผู้จัดหามาเพื่อใช้ในการขนส่งด้วย
ของกลาง
ทรัพย์ที่มีไว้หรือที่ใช้ในการกระทำความผิดและถูกยึดไว้ในระหว่างการสอบสวนหรือพิจารณาคดี
ของตก
ดู ทรัพย์สินหาย
ของต้องกำกัด
(ศุลกากร) ของซึ่งจะนำเข้ามาในราชอาณาจักรหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรจะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น ยุทธภัณฑ์ อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง สิ่งเทียมอาวุธปืน เครื่องรับ-ส่งวิทยุ
ของต้องห้าม
(ศุลกากร)(1) ของซึ่งมีกม.ห้ามไม่ให้มีการนำเข้ามาในราชอาณาจักรหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรโดยเด็ดขาด เช่น วัตถุลามก สินค้าที่มีตราหรือลวดลายเป็นรูปธงชาติหรือแถบสีธงชาติโดยไม่สมควร (2)ของที่ส่งออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บนกับของผ่านแดนเท่านั้น ไม่รวมถึงของที่นำเข้ามาชั่วคราวและทำสัญญาไว้ต่อกรมศุลกากรและส่งกลับออกไปภายในกำหนดตามพิกัดอัตราศุลกากร ภาค 4 ประเภท 3
ของที่ขอคืนอากรขาเข้า
(พรบ.ศุลกากร ฉ.9 พ.ศ. 2482 ม.19,19ทวิ) ของที่ขอคืนอากรแต่ไม่รวมของที่คืนอากรขาเข้าเพราะเสียไว้เกินจำนวนที่ต้องเสียจริง เช่น เสียผิดพิกัดหรือนำเข้าไม่ครบจำนวน
ของป่า
1. (พรบ.ป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ม.4(7)) บรรดาของที่เกิดหรือมีขึ้นในป่าตามธรรมชาติ คือ ก. ไม้ รวมทั้งส่วนต่างๆ ของไม้ ถ่านไม้ น้ำมันไม้ ยางไม้ตลอดจนสิ่งอื่นๆซึ่งเกิดจากไม้   ข. พืชต่างๆตลอดจนสิ่งอื่นๆ ซึ่งเกิดจากพืชนั้น   ค. รังนก ครั่ง รวงผึ้ง น้ำผึ้ง ขี้ผึ้ง และมูลค้างคาว  ง.หินที่มิใช่แร่ตามกม.ว่าด้วยแร่ และหมายความรวมถึงถ่านไม้ที่บุคคลทำขึ้นด้วย  2. (พรบ.ป่าสงวนแห่งชาติ  2507  ม.4)  สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่ในในป่า เป็นต้นว่า (1)  ไม้ฟืน ถ่าน  เปลือกไม้ ใบไม้ ดอกไม้ เมล็ด ผลไม้  หน่อไม้ ชันไม้และยางไม้   (2) หญ้า อ้อ พง แขม ปรือ คา กก กระจูด กล้วยไม้ กูด เห็ดและพืชอื่น   (3) ซากสัตว์ ไข่ หนัง เขา นอ งา กรม ขนาย กระดูก ขน รังนก ครั่ง รังผึ้ง น้ำผึ้ง ขี้ผึ้ง และมูลค้างคาว   (4) ดิน หิน กรวด ทราย แร่และน้ำมัน
ของหมั้น
ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนให้หญิงในการหมั้นเพื่อเป็นหลักฐานว่า จะสมรสกับหญิงนั้น  แต่ถ้าเป็นทรัพย์สินที่ให้แก่บิดามารดาฯลฯของหญิงจะเป็นสินสอด  ดูสินสอด
ขอเฉลี่ยทรัพย์
(ปวิพ.ม. 290) วิธีการบังคับคดีที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีอื่นขอเฉลี่ยเงินที่ได้จากการขายทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดหรืออายัดไว้ เนื่องจากเจ้าหนี้นั้นไม่สามารถเอาชำระหนี้ได้จากทรัพย์สินอื่นๆ ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา  การขอเฉลี่ยทรัพย์เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ (ฎ.6855/2515,คส.คร.19/2519)  ดู เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ข้อตกลง
(กม.รปท.) การตกลงที่ใช้กำหนดรายละเอียดประกอบความตกลง ( แปลมาจาก Arrangement)  ดู สนธิสัญญา อนุสัญญา ความตกลง
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
1. (พรบ.แรงงานสัมพันธ์ 2518 ม.5) ข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างหรือระหว่างนายจ้างหรือสมาคมนายจ้างกับสหภาพแรงงานเกี่ยวกับสภาพการจ้าง  2. (พรบ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ 2543 ม.6) ข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับสหภาพแรงงานตามพรบ.นี้
ข้อตกลงที่อาจถือได้ว่า ทำให้ได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
( พรบ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม 2540 ม.4) ข้อตกลงที่มีลักษณะหรือมีผลให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติหรือรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติ  เช่น (1) ข้อตกลงยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดที่เกิดจากการผิดสัญญา  (2) ข้อตกลงให้ต้องรับผิดหรือรับภาระมากกว่าที่กม.กำหนด (3) ข้อตกลงให้สัญญาสิ้นสุดลงโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือให้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้ โดยอีกฝ่ายหนึ่งมิได้ผิดสัญญาในข้อสาระสำคัญ (4) ข้อตกลงให้สิทธิที่จะไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อหนึ่งข้อใด หรือปฏิบัติตามสัญญาในระยะเวลาที่ล่าช้าได้โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร (5) ข้อตกลงให้สิทธิคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเรียกร้องหรือกำหนดให้อีกฝ่ายหนึ่งต้องรับภาระเพิ่มขึ้นมากกว่าภาระที่เป็นอยู่ในเวลาทำสัญญา (6) ข้อตกลงในสัญญาขายฝากที่ผู้ซื้อฝากกำหนดราคาสินไถ่สูงกว่าราคาขายบวกอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี (7) ข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อที่กำหนดราคาเช่าซื้อ หรือกำหนดให้ผู้เช่าซื้อต้องรับภาระสูงเกินกว่าที่ควร (8) ข้อตกลงในสัญญาบัตรเครดิตที่กำหนดให้ผู้บริโภคต้องชำระดอกเบี้ย เบี้ยปรับ ค่าใช้จ่ายหรือประโยชน์อื่นใดสูงเกินกว่าที่ควรในกรณีที่ผิดนัดหรือที่เกี่ยวเนื่องกับการผิดนัดชำระหนี้  (9) ข้อตกลงที่กำหนดวิธีคิดดอกเบี้ยทบต้นที่ทำให้ผู้บริโภคต้องรับภาระสูงเกินกว่าที่ควร
ข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคล
(ปพพ.ม.916) ข้อต่อสู้ส่วนตัวระหว่างคู่สัญญาแต่ละรายซึ่งยกขึ้นอ้างหรือต่อสู้กันได้เฉพาะระหว่างกันเท่านั้น ไม่อาจยกขึ้นอ้างต่อสู้กับคู่สัญญารายอื่นนอกเหนือจากนั้นได้    ไม่ใช่ข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคล เช่น  ข้อต่อสู้ที่ปรากฏขึ้นจากเนื้อหาหรือลักษณะของตั๋วเงินนั้นเอง (เช่น มีรายการไม่ครบ  ไม่มีการทำคำคัดค้าน  ลายมือปลอม  คดีขาดอายุความ)  หรือข้อต่อสู้ที่ผู้รับโอนได้รู้อยู่แล้วในเวลารับโอน (เช่น รับโอนเช็คโดยรู้ว่าไม่มีหนี้ที่ต้องชำระ  (ฎ. 1238/2501,1768/2517))   หรือข้อต่อสู้ว่าสิทธิของผู้ทรงบกพร่อง  (เช่น มูลหนี้เดิมตกเป็นโมฆะ (ฎ.802/2506) ) ข้อต่อสู้ว่า  เป็นการโอนโดยคบคิดกันฉัอฉล
ข้อเท็จจริง
ข้อความแห่งเหตุการณ์ที่เป็นมาหรือที่เป็นอยู่จริง ข้อความหรือเหตุการณ์ที่จะต้องวินิจฉัยว่าเท็จหรือจริง (ฎ.5161/2547)
ข้อเท็จจริงซึ่งมิอาจโต้แย้งได้
ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับกม.และจารีตประเพณี  สถาบันสำคัญของชาติ งานราชการ กิจการความเป็นไปของบ้านเมือง สนธิสัญญา และประวัติศาสตร์
ข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไป
ข้อเท็จจริงที่ประชาชนทั่วไปรู้กันและเป็นข้อเท็จจริงที่แน่นอนไม่เปลี่ยนแปลง เช่น วัน เดือน ปี พระอาทิตย์ขี้นตก  ภูมิประเทศ หรือสิ่งธรรมดาธรรมชาติอื่น  หรือวิถีชีวิตประจำวัน  สิ่งที่พบเห็นประจำ  ภาษาไทย
ขอบทาง
(พรบ.จราจรทางบก 2522 ม. 4 (7)) แนวริมของทางเดินรถ
ข้อบังคับ
1. ข้อความที่เป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งกำหนดขึ้นเพื่อให้วางระเบียบให้ปฏิบัติ  2. (ปอ.ทหาร ม.4 ) บรรดาข้อบังคับและกฎต่างๆ ที่ให้ใช้อยู่เสมอ ซึ่งผู้ซึ่งบังคับบัญชาทหารผู้ถืออำนาจอันสมควรได้ออกไว้โดยสมควรแก่กาลสมัยและชอบด้วยพระราชกำหนดกฎหมาย
ข้อบังคับสุขาภิบาล
(ก)กม.ลำดับรองที่ออกโดยอาศัยอำนาจพรบ.สุขาภิบาล 2495 หรือตามกม.อื่นที่ให้อำนาจ โดยสุขาภิบาลเป็นผู้ออก  แต่ปัจจุบันได้มีการยกเลิกองค์กรนี้ไปแล้ว  จึงไม่มีกม.นี้อีก
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
กม.ลำดับรองที่ออกโดยอาศัยอำนาจพรบ.กรุงเทพมหานคร 2528 หรือตามกม.อื่นที่ให้อำนาจ โดยกรุงเทพมหานครเป็นผู้ออกเพื่อบริหาร จัดหรือปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ข้อบัญญัติจังหวัด
กม.ลำดับรองที่ออกโดยอาศัยอำนาจพรบ.ระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด  2498 หรือตามกม.อื่นที่ให้อำนาจ  โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นผู้ออกเพื่อบริหาร จัดหรือปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ในเขตจังหวัด
ข้อบัญญัติท้องถิ่น
(พรบ.ควบคุมอาคาร 2522 ม.4) กฎซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจนิติบัญญัติของราชการส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบัญญัติ ข้อบังคับสุขาภิบาล ข้อบัญญัติจังหวัด ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร หรือข้อบัญญัติเมืองพัทยา เป็นต้น
ข้อบัญญัติเมืองพัทยา
กม.ลำดับรองที่ออกโดยเมืองพัทยาซึ่งเป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นของไทยรูปแบบพิเศษเพื่อบริหาร จัดหรือปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่
ขอประกันตัว
การขอให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาในระหว่างการสอบสวนหรือขอให้ปล่อยตัวจำเลยในระหว่างการพิจารณาของศาล มีอยู่ 3 ลักษณะคือ โดยไม่ต้องมีประกัน โดยมีประกันหรือโดยมีประกันและหลักประกัน  ซึ่งคำนี้เป็นภาษาพูด   ในภาษากฎหมายใช้คำว่า ขอให้ปล่อยชั่วคราว
ข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย
(ปวิพ. ม.180) ข้อผิดพลาดที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ใช่ข้อผิดพลาดเกี่ยวกับสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างอันเป็นที่อาศัยแห่งข้อหา (ฎ.408/2538)(ปวิพ. ม.180) ข้อผิดพลาดที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ใช่ข้อผิดพลาดเกี่ยวกับสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างอันเป็นที่อาศัยแห่งข้อหา (ฎ.408/2538)
ข้อพิพาทแรงงาน
(พรบ.แรงงานสัมพันธ์  2518 ม.5) ข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
ข้อมูล1
ข้อเท็จจริง หรือ สิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริงหรือการคำนวณ ข้อมูลไม่นับเป็นวัตถุมีรูปร่าง สำหรับตัวอักษร ภาพ แผนผัง และตราสารเป็นเพียงสัญลักษณ์ที่ถ่ายทอดความหมายของข้อมูลออกจากแผ่นบันทึกข้อมูล โดยอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์ มิใช่รูปร่างของข้อมูล เมื่อ ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๗ บัญญัติว่า ทรัพย์ หมายความว่า วัตถุมีรูปร่าง ข้อมูลในแผ่นบันทึกข้อมูลจึงไม่ถือเป็นทรัพย์ การที่จำเลยนำแผ่นบันทึกข้อมูลเปล่าลอกข้อมูลจากแผ่นบันทึกข้อมูลของโจทก์ร่วม จึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ (ฎ.5161/2547)
ข้อมูล2
(พรบ.การประกอบข้อมูลธุรกิจเครดิต 2545 ม.3)สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราวข้อเท็จจริงของข้อมูลเครดิตหรือคะแนนเครดิต ไม่ว่าการสื่อความหมายนั้นจะทำได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเอง หรือโดยผ่านวิธีการใดๆ และไม่ว่าจะได้จัดทำในรูปของเอกสาร แฟ้มรายงาน หนังสือ แผนผัง แผนที่ ภาพวาด ภาพถ่าย ฟิล์ม การบันทึกภาพหรือเสียง การบันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือวิธีอื่นใดที่ทำให้สิ่งที่บันทึกไว้ปรากฏได้
ข้อมูลการค้า
(พรบ.ความลับทางการค้า 2545ม.3) สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้ข้อความ เรื่องราว ข้อเท็จจริงหรือสิ่งใดไม่ว่าการสื่อความหมายนั้นจะผ่านวิธีการใดๆ และไม่ว่าจะจัดไว้ในรูปใดๆ และให้หมายความรวมถึงสูตร รูปแบบ งานที่ได้รวบรวมหรือประกอบขึ้น โปรแกรม วิธีการ เทคนิค หรือกรรมวิธีด้วย
ข้อมูลคอมพิวเตอร์
(พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 ม.3 )  ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์
(พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 ม.3 )  ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น
ข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎร
(พรบ.การทะเบียนราษฎร  2534 ม.4) ข้อมูลตัวบุคคลเกี่ยวกับชื่อ ชื่อสกุลเพศ วันเดือนปีเกิดและตาย สัญชาติ ศาสนา ภูมิลำเนา สถานะการสมรส  วุฒิการศึกษา ชื่อบิดามารดาหรือผู้รับบุตรบุญธรรม ชื่อคู่สมรสและชื่อบุตร และข้อมูลอื่นที่จำเป็นเพื่อการดำเนินงานทะเบียนต่างๆในพรบ.นี้
ข้อสัญญา
1. ข้อความแต่ละข้อที่กำหนดไว้ในสัญญา  2.( พรบ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม  2540 ม.3) ข้อตกลง ความตกลง และความยินยอมรวมทั้งประกาศ และคำแจ้งความเพื่อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดด้วย
ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม 2540 , พรบ. ว่าด้วย
กม.ที่กำหนดแนวทางให้ศาลเพื่อใช้ในการพิจารณาว่า ข้อสัญญาหรือข้อตกลงใดที่ไม่เป็นธรรม และให้อำนาจแก่ศาลที่จะสั่งให้ข้อสัญญาหรือข้อตกลงที่ไม่เป็นธรรมนั้น มีผลบังคับใช้เท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี
ข้อสำคัญ
(ปพพ.ม.1007) ข้อความที่ทำให้ความรับผิดของคู่สัญญาแห่งตั๋วเงินเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ตาม เช่น ข้อความเกี่ยวกับ วันที่ลงในตั๋วเงิน จำนวนเงิน(เช่น แก้ไขจำนวนเงิน ฎ. 343/2506)  เวลาและสถานที่ที่ใช้เงิน   และตั๋วเงินรับรองทั่วไปที่ไม่เจาะจงสถานที่ใช้เงินไปเติมระบุสถานที่ใช้เงิน
ข้อหา
ฐานความผิดหนึ่งๆ ในคดีอาญา
ขอให้
(ปอ.ม. 144, 167)   ติดต่อให้สินบน
ขอให้ปล่อยชั่วคราว
การขอให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยระหว่างการสอบสวนหรือระหว่างการพิจารณา  ดูขอประกันตัว
ขัง
การกักขังจำเลยหรือผู้ต้องหาโดยศาล (ป.วิ.อ. ม.2(22))  แต่ถ้าคุมตัวโดยอาศัยอำนาจพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะใช้คำว่า “ควบคุม”
ขัดขวาง
(เจ้าพนักงาน) – (ปอ.ม. 138) การกระทำในลักษณะที่ก่อให้เกิดอุปสรรคหรือเกิดความยากลำบากในการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงาน  เช่น ดึงมือผู้เล่นการพนันให้ออกไปจากการตรวจค้นจับกุม (ฎ. 4950/ 2540) เข้าช่วยแย่งปืนจากตำรวจและร้องบอกให้ผู้อื่นขว้างระเบิดมือใส่ตำรวจ (ฎ. 91/2510 ป.) ขับรถส่ายไปมาขณะที่ตำรวจที่จะจับกุมอยู่บนหลังคารถและไม่ยอมหยุด(ฎ. 2218/2536) ยิงปืนขึ้นฟ้าหรือจ้องปืนไปที่ตำรวจเพื่อขู่มิให้ไล่จับกุม (ฎ.243/2509, 132/2515)   ที่ไม่เป็นขัดขวาง เช่น ไม่ยอมเปิดประตูบ้านให้ตำรวจ(ฎ. 900/2536)  ส่งปืนยาวให้ตรวจค้นแล้วแล้วกระโดดหนี (ฎ.568/2536)ดับไฟฟ้าเพราะกลัวถูกจับ (ฎ. 1318/2506) 
ขัดขืน
(ปอ.ม. 168-171) ไม่ทำตาม
ขัดขืนคำบังคับซึ่งให้มาให้ถ้อยคำ
(ปอ.ม. 168 )ความผิดอาญาฐานหนึ่งซึ่งเป็นการขัดขืนคำบังคับตามกม.ของพนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี หรือพนักงานสอบสวนซึ่งให้มาเพื่อให้ถ้อยคำ
ขัดขืนคำบังคับซึ่งให้ส่งหรือจัดการส่งเอกสาร
(ปอ.ม. 169)ความผิดอาญาฐานหนึ่งซึ่งเป็นการขัดขืนคำบังคับตามกม.ของพนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี หรือพนักงานสอบสวนซึ่งให้ส่งหรือจัดการส่งทรัพย์หรือเอกสารใด ให้สาบาน ให้ปฏิญาณหรือให้ให้ถ้อยคำ
ขาดนัด
การที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้ดำเนินกระ บวนพิจารณาซึ่งเป็นหน้าที่ตามกม.ของตนภายในเวลาที่กม.กำหนดหรือตามที่ศาลมีคำสั่ง  ซึ่งมีผลตามกม.ทำให้ต้องมีวิธีพิจารณาคดีโดยวิธีการพิเศษแตกต่างจากการดำเนินคดีแพ่งสามัญโดยทั่วไป     การขาดนัดมี 2 ประเภท คือขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา
ขาดนัดพิจารณา
การที่โจทก์ จำเลยหรือคู่ความทั้งสองฝ่ายไม่มาศาลในวันสืบพยาน โดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบ   มีผลทำให้มีการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไปเพียงฝ่ายเดียว
ขาดนัดยื่นคำให้การ
การที่จำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การแล้ว  แต่จำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กม.กำหนดหรือตามคำสั่งศาล ( ปวิพ. ม. 197)   มีผลตามกม.คือ โจทก์มีหน้าที่ยื่นคำขอต่อศาลเพื่อให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัดได้ ( ปวิพ. ม. 198)   หากไม่ยื่น ศาลอาจจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์ได้   ศาลอาจมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การได้ทันทีโดยไม่ต้องกำหนดวันสืบพยานโจทก์ต่อไปอีกเมื่อศาลเห็นว่า คำฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกม.
ขาย1
1. (ป.รัษฎากร ม.39) หมายความรวมถึง ขายฝาก แลกเปลี่ยน ให้โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ไม่ว่าด้วยวิธีใดและไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ แต่ไม่รวมถึง (1) ขาย แลกเปลี่ยน ให้หรือโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่มิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและราคาหรือมูลค่าตามที่กำหนดโดยพรฎ. (2) การโอนโดยทางมรดกให้แก่ทายาทซึ่งกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์   2. (ป.รัษฎากร ม.77/1 (ข)(ฉ) ) จำหน่าย จ่าย โอนสินค้า ไม่ว่าจะมีประโยชน์หรือค่าตอบแทนหรือไม่  และให้หมายความรวมถึงมีสินค้าคงเหลือและหรือทรัพย์สินที่ผู้ประกอบการมีไว้ในการประกอบกิจการ ณ วันเลิกประกอบกิจการด้วย 3. (ป.รัษฎากร ม.91/1) หมายความรวมถึงสัญญาจะขาย ขายฝาก แลกเปลี่ยน ให้ ให้เช่าซื้อ หรือจำหน่ายจ่ายโอนไม่ว่าจะมีประโยชน์ตอบแทนหรือไม่
ขาย2
1. (พรบ.ยา  2510 ม.4) ขายปลีก ขายส่ง จำหน่าย จ่าย แจก แลกเปลี่ยนเพื่อประโยชน์ในทางการค้า และให้หมายความรวมถึงการมีไว้เพื่อขายด้วย 2.( พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท  2518 ม. 4 ) หมายความรวมถึง จำหน่าย จ่าย แลกเปลี่ยน ส่งมอบหรือมีไว้เพื่อขาย   3..(พรบ. ขายตรงและตลาดแบบตรง 2545 ม.3) หมายความรวมถึง ให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือจัดหาให้ไม่ว่าด้วยประการใดๆ โดยเรียกค่าตอบแทนเป็นเงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่น ตลอดจนการเสนอหรือการชักชวนเพื่อการดังกล่าวด้วย   4..(พรบ.ความลับทางการค้า 2545ม.3) จำหน่าย จ่าย แจก หรือแลกเปลี่ยนเพื่อประโยชน์ในทางการค้า และให้หมายความรวมถึงการมีไว้เพื่อขายด้วย
ขายตรง
(พรบ. ขายตรงและตลาดแบบตรง  2545 ม.3) การทำตลาดสินค้าหรือบริการในลักษณะของการนำเสนอขายต่อผู้บริโภคโดยตรง ณ ที่อยู่อาศัยหรือสถานที่ทำงานของผู้บริโภคหรือของผู้อื่น หรือสถานที่อื่นที่มิใช่สถานที่ประกอบการค้าเป็นปกติธุระ โดยผ่านตัวแทนขายตรงหรือผู้จำหน่ายอิสระชั้นเดียว หรือหลายชั้น แต่ไม่รวมถึงนิติกรรมตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ขายตามคำพรรณนา
(ป.พ.พ. ม.503)  สัญญาซื้อขายที่ผู้ขายพรรณนาหรือโฆษณาคุณสมบัติหรือรายละเอียดของทรัพย์สินที่ซื้อขายแก่ผู้ซื้อ  โดยมีข้อตกลงในการขายว่าผู้ขายจะส่งมอบทรัพย์สินให้ตรงตามคำพรรณนา
ขายตามตัวอย่าง
(ป.พ.พ. ม.503) สัญญาซื้อขายที่ผู้ขายนำตัวอย่างของทรัพย์สินที่ซื้อขายมาให้ผู้ซื้อดู  โดยมีข้อตกลงในการขายว่าผู้ขายจะส่งมอบทรัพย์สินให้ตรงตามตัวอย่าง
ขายทอดตลาด
1. (ปพพ.ม. 509-517) การขายทรัพย์สินโดยเปิดเผย มีการประมูลขายโดยผู้ซื้อเข้าสู้ราคาและตกลงขายให้กับผู้ที่ให้ราคาสูงสุดโดยผู้ทอดตลาดแสดงความตกลงโดยการเคาะไม้   2. (ปพพ.ม. 1332) การขายทอดตลาดตามปพพ.ม. 509-517  แต่ไม่ใช่การขายทอดตลาดโดยคำสั่งศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (ฎ.63-64/2506)
ขายเผื่อชอบ
(ป.พ.พ. ม.505) การซื้อขายกันโดยมีเงื่อนไขว่า ให้ผู้ซื้อได้มีโอกาสตรวจดูทรัพย์สินก่อนรับซื้อ
ขายฝาก
1. (ปพพ.ม. 491)สัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ  โดยมีข้อตกลงกันว่า ผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้  2. สัญญาซึ่งผู้ซื้อรับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายฝากไปจากผู้ขายฝาก โดยมีเงื่อนไขบังคับหลังว่า เมื่อผู้ขายฝากมาไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากคืนภายในกำหนดระยะเวลา  กรรมสิทธิ์จะเปลี่ยนมือกลับมาเป็นของผู้ขายฝากตามเดิม (ฎ.4729/2543)
ขายแร่
(พรบ.แร่ 2510 ม.4) การโอนแร่ด้วยประการใดไปยังบุคคลอื่น
ขายลดตั๋วเงิน
การนำตั๋วเงินซึ่งยังไม่ถึงกำหนดเวลาใช้เงินมาขายลดราคาจากหน้าตั๋วโดยผู้รับซื้อลดตั๋วเงินจะคิดค่าตอบแทนเป็นดอกเบี้ย
ขายส่ง
(พรบ.ยา  2510 ม.4) ขายตรงต่อผู้รับอนุญาตขายยา  ผู้รับอนุญาตขายส่งยา กระทรวง ทบวง กรม สภากาชาดไทย องค์การเภสัชกรรม ผู้ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน หรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์
ขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร
(ภาษีธุรกิจเฉพาะ,พรฎ. ฉ. 244) มีความหมายกว้างกว่าคำว่าซื้อขาย ตาม ปพพ. ม. 453 เพราะหมายความรวมถึง การจำหน่าย จ่าย โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตามนิติกรรมสัญญาประเภทต่างๆ ทั้งนี้ไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ด้วย (ฎ.1687/2548)
ข้าราชการ
1.บุคคลซึ่งรับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือนข้าราชการ เช่น ทหาร ยกเว้นทหารกองประจำการ (ฎ.1111/2545) 2.(พรบ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ม. 4(1) ) คนที่ทำงานราชการตามทำเนียบ  ผู้ปฏิบัติราชการในส่วนราชการ  ผู้ที่ปฏิบัติราชการหรือทำงานในหน้าที่ราชการ (ฎ.875/2548)
ข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(พรบ.ระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร 2528 ) บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนของกรุงเทพมหานคร หรือจากเงินงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนของรัฐบาลที่ให้แก่กรุงเทพ มหานคร และกรุงเทพมหานครนำมาจัดเป็นเงินเดือนของข้าราชการกรุงเทพมหานคร  (ม.4)  มี 2 ประเภทคือ (1) ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญได้แก่ ข้าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งรับราชการในกรุงเทพมหานคร  แต่ไม่รวมถึงข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร  (2) ข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร  ได้แก่ ข้าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นผู้สอนประจำในสถานศึกษาของกรุงเทพ มหานคร หรือดำรงตำแหน่งอื่นซึ่งมีหน้าที่เป็นผู้บริหารหรือให้การศึกษาในสถานศึกษาของกรุงเทพมหานคร และให้หมายความรวมถึงข้าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งดำรงตำแหน่งที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการให้การศึกษาซึ่งไม่สังกัดสถานศึกษาของกรุงเทพมหานครตามที่มีพรฎ.กำหนดให้เป็นข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมือง
1. (พรบ.ระเบียบข้าราชการการเมือง 2535 ม.4) บุคคลซึ่งรับราชการในตำแหน่งข้าราชการการเมืองดังต่อไปนี้ (1) นายกรัฐมนตรี (2) รองนายกรัฐมนตรี (3) รัฐมนตรีว่าการกระทรวง (4) รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (5) รัฐมนตรีว่าการทบวง (6) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง (7) รัฐมนตรีช่วยว่าการทบวง (8) ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (9) ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี  (10) ที่ปรึกษารัฐมนตรี และที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (11) เลขาธิการนายกรัฐมนตรี (12) รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง  (13) โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (14) รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (15) เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (16) ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (17) เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง (18) ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรี (19) เลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวง (20) ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวง  2. ข้าราชการที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีให้ดำรงตำแหน่งโดยอาศัยอำนาจตาม ม.8 เช่น ตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการ (อม.1/2545)
ข้าราชการครู
(พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 2547 ม.4) ผู้ที่ประกอบวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ ในสถานศึกษาของรัฐ
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
(พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 2547 ม.4) บุคคลซึ่งได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามพรบ.นี้ให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณแผ่นดิน งบบุคลากรที่จ่ายในลักษณะเงินเดือนในกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา  กระทรวงวัฒนธรรมหรือกระทรวงอื่นที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
ข้าราชการตำรวจ
(พรบ.ตำรวจแห่งชาติ 2547 ม.4) บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตามพรบ.นี้โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และให้หมายความรวมถึงข้าราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติแต่งตั้งหรือสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ราช การตำรวจโดยได้รับเงินเดือนจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐด้วย
ข้าราชการทหาร
(พรบ.ระเบียบข้าราชการทหารฯม.4) ทหารประจำการและข้าราชการกลาโหมพลเรือนที่บรรจุในตำแหน่งอัตราทหาร  ดู ทหารประจำการ ทหารกองประจำการ
ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
(พรบ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม 2543 ม.4) ข้าราชการซึ่งรับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในศาลยุติธรรมหรือสำนักงานศาลยุติธรรม
ข้าราชการฝ่ายพลเรือน
(พรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน 2535 ม.4) บุคคลซึ่งได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามกม.ให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในกระทรวง ทบวง กรมฝ่ายพลเรือน
ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(พรบ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา 2523 ม.4)   บุคคลซึ่งรับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณแผ่นดินหมวดเงินเดือนในส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง
ข้าราชการในสำนักงานศาลปกครองซึ่งแยกต่างหากจากตุลาการศาลปกครอง มีคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครองเป็นองค์กรบริหารงานบุคคล แบ่งเป็น 2  ประเภทได้แก่ พนักงานคดีปกครองและข้าราชการอื่น
ข้าราชการฝ่ายอัยการ
(พรบ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ 2521 ม.3) ข้าราชการซึ่งรับราชการในสำนักงานอัยการสูงสุดโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในสำนักงานอัยการสูงสุด
ข้าราชการพลเรือน
(พรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน 2535 ม.4) บุคคลซึ่งได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามพรบ.นี้ให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงิน เดือนในกระทรวงทบวงกรมฝ่ายพลเรือน
ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ
ผู้นำและประสานงานในการรวบรวมความช่วยเหลือจากนานาประเทศ เพื่อปกป้องและแก้ปัญหาของผู้ลี้ภัยทั่วโลก และการปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ลี้ภัย โดยเฉพาะสิทธิที่จะอาศัยอยู่อย่างปลอดภัยในรัฐอื่น เพื่อเตรียมพร้อมที่จะส่งกลับประเทศต้นทางตามที่ผู้ลี้ภัยต้องการ หรือเพื่อที่จะส่งไปยังประเทศที่สาม  มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ขีดฆ่า
(ป.รัษฎากร) การกระทำเพื่อมิให้ใช้แสตมป์ได้อีก โดยในกรณีแสตมป์ปิดทับ ได้ลงลายมือชื่อหรือลงชื่อห้างร้านบนแสตมป์ หรือขีดเส้นคร่อมฆ่าแสตมป์ที่ปิดทับกระดาษและลงวัน เดือน ปี ที่กระทำสิ่งเหล่านี้ด้วย ในกรณีแสตมป์ดุนได้เขียนบนตราสาร หรือยื่นตราสารให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประทับแสตมป์ดุนให้แสตมป์ดุนปรากฏอยู่ในด้านหน้าของตราสารนั้น (ม.103) และหมายความรวมถึงการกระทำด้วยวิธีอื่นใดที่ทำให้อากรแสตมป์นั้นเสียไปไม่สามารถนำไปใช้ใหม่ด้วย เช่น เพียงแต่ขีดเส้นคร่อมบนอากรแสตมป์ (ฎ.426/2544)
ขุดเจาะน้ำเกลือใต้ดิน
(พรบ.แร่ 2510 ม.4) การกระทำแก่พื้นที่ไม่ว่าจะเป็นที่บกหรือที่น้ำเพื่อให้ได้มาซึ่งน้ำเกลือใต้ดิน แต่ไม่รวมถึงการทำเหมืองแร่เกลือหินด้วยวิธีเหมืองละลายแร่
ขุดหาแร่รายย่อย
(พรบ.แร่ 2510 ม.4) การกระทำแก่พื้นที่ไม่ว่าจะเป็นที่บกหรือที่น้ำเพื่อให้ได้มาซึ่งแร่โดยใช้แรงคนแต่ละคนตามชนิดของแร่ ภายในท้องที่และวิธีการขุดแร่ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
เขต(ศาล)
เขตทางภูมิศาสตร์ที่ศาลนั้นๆ มีอำนาจพิจารณาพิพากษา
เขตต่อเนื่อง
(กม.ทะเล ม. 33) อาณาเขตทางทะเลที่มีความกว้างไม่เกิน 12 ไมล์ทะเลโดยวัดต่อจากทะเลอาณาเขต
เขตน้ำบาดาล
(พรบ.น้ำบาดาล  2520 ม.3) เขตท้องที่ที่รัฐมนตรีกำหนดให้เป็นเขตน้ำบาดาลโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เขตปลอดภัย
(พรบ.จราจรทางบก  2522 ม. 4 (13)) พื้นที่ในทางเดินรถที่มีเครื่องหมายแสดงไว้ให้เห็นชัดเจนทุกเวลา สำหรับให้คนเดินเท้าข้ามทางหยุดรอหรือให้คนที่ขึ้นหรือลงรถหยุดรอก่อนจะข้ามทางต่อไป
เขตเพลิงไหม้
(พรบ.ควบคุมอาคาร 2522 ม.4) บริเวณที่เกิดเพลิงไหม้อาคารตั้งแต่สามสิบหลังคาเรือนขึ้นไปหรือมีเนื้อที่ตั้งแต่หนึ่งไร่ขึ้นไป รวมทั้งบริเวณที่อยู่ติดต่อภายในระยะสามสิบเมตรโดยรอบบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ด้วย
เขตเลือกตั้ง
1. (รธน)  เขตที่ใช้ในการคำนวณจำนวน ส.ส.และ ส.ว. ซึ่งมี 3 ประเภท คือ เขตประเทศ(ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ) เขตจังหวัด (ส.ว.และส.ส.แบบแบ่งเขตตามจำนวนราษฎร) และเขตที่แบ่งในจังหวัด (ส.ส.แบบแบ่งเขตตามจำนวนราษฎร)   2. (พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 ม. 4) ท้องที่ที่กำหนดเป็นเขตเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง แบบบัญชีรายชื่อหรือเขตเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา แล้วแต่กรณี
เขตวิกฤติการณ์น้ำบาดาล
(พรบ.น้ำบาดาล  2520 ม.4) เขตท้องที่ที่มีการสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ในปริมาณที่มากเกินกว่าปริมาณน้ำที่ไหลลงสู่ชั้นน้ำบาดาลจนอาจทำให้เกิดการทรุดตัวของแผ่นดินหรือการแพร่กระจายของน้ำเค็มเข้าสู่ชั้นน้ำบาดาล หรือการลดตัวของระดับน้ำในชั้นน้ำบาดาลหรือผลกระทบสำคัญอื่นต่อสิ่งแวดล้อม
เขตเศรษฐกิจจำเพาะ
(กม.ทะเล ม. 57) อาณาเขตทางทะเลที่มีความกว้างไม่เกิน 200 ไมล์ทะเลโดยวัดจากเส้นฐานปกติจากฝั่งทะเลของรัฐชายฝั่งหรือไม่เกิน     188 ไมล์ทะเลโดยนับจากขอบนอกสุดของทะเลอาณาเขต
เขตอำนาจศาล
เขตทางภูมิศาสตร์เขตใดเขตหนึ่ง ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ศาลใดศาลหนึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้
เขตอำนาจแห่งรัฐ
(กม.รปท.) เขตทางภูมิศาสตร์อื่นๆ ซึ่งมิใช่อาณาเขตและอยู่นอกอธิปไตยของรัฐ
ไขข่าว
(ปพพ.ม.423) แสดงข้อความให้ปรากฏโดยแพร่หลายให้บุคคลทั่วไปได้ทราบ เช่น ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ (ฎ.4008/2526, 3023/2533) จดทะเบียนรายงานการประชุมบริษัท (ฎ.111/2521) แสดงละครจีนหรืองิ้วล้อเลียน (ฎ.723/2525) ถ่ายทอดเสียงการอภิปรายในที่ประชุมรัฐสภา(ฎ.1927/2528) ไม่รวมการลักพาบุตรสาวไป (ฎ.378/2483)
เข้าถือเอา
(ปพพ. ม. 1318) เข้ายึดถือหรือแสดงการหวงแหนกันไว้โดยมีเจตนาจะเอาเป็นของตน  เช่น  ทำให้สัตว์ป่าบาดเจ็บและติดตามไป(ปพพ.ม.1322)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น