วันศุกร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2553

พภม



พกพา(อาวุธปืน) - การพาหรือเอาอาวุธปืนติดตัวไปโดยมีลักษณะพร้อมที่จะหยิบฉวยขึ้นมาใช้ในทันทีทันใดนั้นได้โดยง่าย  ที่ไม่เป็นพกพาเช่น ปืนอยู่ในกระเป๋าเอกสารซึ่งมีกุญแจล็อก 2 ด้านวางอยู่เบาะหลังรถ (ฎ.3945/2540)

พ้นโทษ – (พรบ.ลิขสิทธิ์  2537 ม.45) พ้นโทษที่ได้รับจริงๆ ในคดีก่อน  ไม่รวมถึงโทษที่รอไว้ในคดีก่อนด้วย (ฎ.1027/2538)

พ้นราชการทหารประเภทที่ 1  - (พรบ.รับราชการทหาร 2497 ม.4(6)) ทหารซึ่งถูกปลดโดยที่ได้รับราชการในชั้นต่างๆ จนครบกำหนดหรือโดยที่พิการทุพพลภาพ หรือมีโรคซึ่งไม่สามารถที่จะรับราชการทหารได้ในระหว่างรับราชการตามพรบ.นี้

พ้นราชการทหารประเภทที่ 2  - (พรบ.รับราชการทหาร 2497 ม.4(7)) ทหารกองหนุนประเภท 2 ที่มีอายุ 46 ปีบริบูรณ์แล้ว หรือทหารกองเกินหรือทหารกองหนุนประเภทที่ 2 ซึ่งพิการทุพพลภาพ หรือมีโรคซึ่งไม่สามารถที่จะรับราชการทหารได้ในระหว่างรับราชการทหารตามพรบ.นี้  หรือนายทหารสัญญาบัตรที่ถูกปลดโดยถูกถอดหรือออกจากยศ

พ้นวิสัย – (ปพพ.ม. 150) เหตุที่เป็นไปตามนิติกรรมไม่ได้เลยสำหรับทุกคนในขณะที่ทำนิติกรรมนั้น  ต่างจากเหตุสุดวิสัยตามปพพ.ม. 8

พนักงานคดีปกครอง – ข้าราชการฝ่ายศาลปกครองซึ่งมีหน้าที่ช่วยเหลือตุลาการเจ้าของสำนวนในการดำเนินคดีปกครองตามที่ได้รับมอบหมายและในการปฏิบัติหน้าที่นี้ถือว่า พนักงานคดีปกครองเป็นเจ้าพนักงานสอบสวนตามปอ.

พนักงานคุมประพฤติ -(พรบ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 ม. 4 ) ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้มีอำนาจหน้าที่พรบ.นี้ 

พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน – (พรบ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ 2543 ม.6) ผู้ซึ่งรัฐมนตรี(ว่าการกระทรวงแรงงาน) แต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพรบ.นี้

พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ  – เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ให้รวมทั้งพัศดี เจ้าพนักงานกรมสรรพสามิต  กรมศุลกากร  กรมเจ้าท่า พนักงานตรวจคนเข้าเมือง  และเจ้าพนักงานอื่นๆ ในเมื่อทำการอันเกี่ยวกับการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมาย ซึ่งตนมีหน้าที่ต้องจับกุมหรือปราบ ปราม (ปวิอ. ม. 2(16))

พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่  – (ปวิอ. ม. 2(17)) เจ้าพนักงานดังต่อไปนี้ (ก) ปลัดกระทรวงมหาดไทย  (ข) รองปลัดกระทรวงมหาดไทย (ค) ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย (ฆ) ผู้ช่วยปลัดกระทรวงมหาดไทย  (ง) อธิบดีกรมการปกครอง  (จ) รองอธิบดีกรมการปกครอง  (ฉ) ผู้อำนวยการกองการสอบสวนและนิติการกรมการปกครอง  (ช) หัวหน้าฝ่ายและหัวหน้างานในกองการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง (ซ) ผู้ตรวจราชการกรมการปกครอง (ฌ) ผู้ว่าราชการจังหวัด (ญ) รองผู้ว่าราชการจังหวัด   (ฎ) ปลัดจังหวัด (ฏ) นายอำเภอ (ฐ) ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้ากิ่งประจำอำเภอ (ฑ) อธิบดีกรมตำรวจ  (ฒ) รองอธิบดีกรมตำรวจ  (ฌ) ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ  (ด) ผู้บัญชาการตำรวจ (ต) รองผู้บัญชาการตำรวจ  (ถ) ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจ   (ท) ผู้บังคับการตำรวจ (ธ) รองผู้บังคับการตำรวจ  (น) หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัด  (บ) รองหัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัด  (ป) ผู้กำกับการตำรวจ  (ผ) ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดเขต (ฝ) รองผู้กำกับการตำรวจ (พ) รองผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดเขต  (ฟ) สารวัตรใหญ่ตำรวจ (ภ) สารวัตรตำรวจ (ม) ผู้บังคับกองตำรวจ  (ย) หัวหน้าสถานีตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป  (ร) หัวหน้ากิ่งสถานีตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป          ทั้งนี้หมายความรวมถึงผู้รักษาการแทนเจ้าพนักงานดังกล่าวแล้ว  แต่ผู้รักษาการแทนเจ้าพนักงานใน (ม) (ย) และ(ร) ต้องมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไปด้วย

พนักงานศุลกากรและพนักงาน – (พรบ.ศุลกากร  2469) หมายความและกินความรวมไปถึงบุคคลใดๆ ซึ่งรับราชการในกรมศุลกากรหรือนายทหารแห่งราชนาวี หรือนายอำเภอหรือผู้ช่วยนายอำเภอ ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นพิเศษให้กระทำการแทนกรมศุลกากร

พนักงานส่วนท้องถิ่น – ( พรบ.ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น 2542 ม.3)  ข้าราขการองค์การบริหารส่วนจังหวัด พนักงานเทศบาล พนักงานส่วนตำบลข้าราชการกรุงเทพมหานคร  พนักงานเมืองพัทยา และข้าราชการหรือพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกม.จัดตั้ง   ซึ่งได้รับบรรจุและแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการำดโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือจากเงินงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนของรัฐบาลที่ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำมาจัดเป็นเงินเดือนของข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น

พนักงานสอบสวน – (ปวิอ. ) เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน ( ม. 2(6)) แบ่งเป็น (1) พนักงานสอบสวนตามปวิอ. ได้แก่  (ก)  ในกทม. คือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่า ในกทม. (ข) ในจังหวัดอื่น คือ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ปลัดอำเภอ และข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่า  (ค) ความผิดที่เกิดขึ้นนอกราชอาณาจักร  คือ อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทน    (2) พนักงานสอบสวนตามกม.อื่น เช่น คระกรรมการปปช.ตามพรบ..ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 2542

พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ – (พรบ.การสอบสวนคดีพิเศษ 2547 ม.3) อธิบดี รองอธิบดี และผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้มีอำนาจและหน้าที่สืบสวนและสอบสวนคดีพิเศษตามที่กำหนดไว้ในพรบ.นี้

พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ – (ปวิอ.) พนักงานสอบสวนคนใดคนหนึ่งเพียงคนเดียวและในเขตใดเขตหนึ่งเพียงเขตเดียวที่รับผิดชอบการสอบสวนในคดีซึ่งอาจมีพนักงานสอบสวนได้หลายคนและหลายท้องที่  ซึ่งอาจแบ่งได้ดังนี้  (1) กรณีปกติ ได้แก่ พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ความผิดเกิด   (2) กรณีมีเหตุจำเป็นหรือเพื่อความสะดวก ได้แก่ พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ผู้ต้องหามีที่อยู่หรือถูกจับ 

พนักงานสังคมสงเคราะห์ - (พรบ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 ม. 4 ) ผู้มีอำนาจหน้าที่สืบเสาะข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน ควบคุมและสอดส่องความประพฤติเด็กและเยาวชน ให้คำแนะนำและสงเคราะห์เด็กและเยาวชน ตลอดจนครอบครัวของเด็กและเยาวชน รวมทั้งมีอำนาจสืบเสาะภาวะความเป็นอยู่ของครอบครัวและไกล่เกลี่ยประนีประนอมข้อพิพาทตามที่บัญญัติไว้ในพรบ.นี้ 

พนักงานอัยการ1  –      (พรบ. พนักงานอัยการ  2498 ) ข้าราชการสังกัดกรมอัยการผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการดำเนินคดี (ม.4) ซึ่งได้แก่ ผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ อธิบดี  รองอธิบดี อัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา อัยการพิเศษฝ่ายคดี อัยการพิเศษฝ่ายวิชาการ อัยการพิเศษประจำเขต  อัยการประจำกรม อัยการจังหวัด อัยการประจำกอง อัยการจังหวัดผู้ช่วย อัยการผู้ช่วย และผู้ดำรงตำแหน่งอย่างอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (ม.5) พนักงานอัยการเป็นทนายแผ่นดิน มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินคดีตามพรบ.พนักงานอัยการฯ ม.11 คือ (1) ในคดีอาญา มีอำนาจหน้าที่ตามปวิอ.และตามกม.อื่นซึ่งบัญญัติว่า เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ (2) ในคดีแพ่ง  มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาล  (3) แก้ต่างคดีแพ่งหรือคดีอาญา ซึ่งเจ้าพนักงานถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่หรือราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องที่ได้กระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงานซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกม. หรือเข้าร่วมกับเจ้าพนักงานกระทำในหน้าที่ราชการ (4) แก้ต่างหรือว่าต่างคดีแพ่งให้เทศบาลหรือสุขาภิบาล  แต่ต้องมิใช่เป็นคดีที่พิพาทกับรัฐบาล (5) แก้ต่างหรือว่าต่างคดีแพ่งให้นิติบุคคลซึ่งได้มีพรบ.หรือพรฎ.ได้จัดตั้งขึ้น แต่ต้องมิใช่เป็นคดีที่พิพาทกับรัฐบาล (6) เป็นโจทก์ในคดีที่ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดฟ้องเองไม่ได้โดยกม.ห้าม (7) ในคดีที่บุคคลใดถูกลงโทษโดยละเมิดอำนาจศาล ถ้าศาลอุทธรณ์ปล่อยตัวผู้นั้น พนักงานอัยการเห็นสมควรจะฎีกาก็ได้  (8) ในกรณีมีการผิดสัญญาประกัน มีอำนาจหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญา 

พนักงานอัยการ2 – 1..(ปวิอ. ม. 2(5)) เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล   ทั้งนี้จะเป็นข้าราชการในกรมอัยการหรือเจ้าพนักงานอื่นผู้มีอำนาจเช่นนั้นก็ได้    2. (พรบ. ค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา 2544 ม. 3 ) พนักงานอัยการตามกม.ว่าด้วยพนักงานอัยการหรืออัยการทหารตามกม.ว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร  3. (พรบ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ 2526 ม.4)  พนักงานอัยการตามกม.ว่าด้วยพนักงานอัยการหรืออัยการทหารตามกม.ว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร แล้วแต่กรณี 

พยาน – 1.(พรบ.คุ้มครองพยานในคดีอาญา 2546 ม.3) พยานบุคคลซึ่งจะมาให้ หรือได้ให้ข้อเท็จจริงต่อพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา พนักงานผู้มีอำนาจสอบสวนคดีอาญา พนักงานผู้มีอำนาจฟ้องคดีอาญาหรือศาลในการดำเนินคดีอาญา รวมทั้งผู้ชำนาญการพิเศษ  แต่มิให้หมายความรวมถึงจำเลยที่อ้างตนเองเป็นพยาน    2.(พินัยกรรม ปพพ.ม.1671) ผู้เป็นพยานต้องลงลายมือชื่อพร้อมระบุว่า เป็นพยานท้ายลายมือชื่อด้วย (ฎ.1466/2537)

พยานคู่ – ประจักษ์พยานตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปเบิกความยืนยันข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์เดียวกัน  ดูพยานเดี่ยว

พยานชั้นหนึ่ง – พยานหลักฐานที่ดีที่สุดที่มีอยู่ในคดีนั้นและคู่ความจะต้องนำมาสืบ เช่น ประจักษ์พยาน

พยานชั้นสอง - พยานหลักฐานที่ไม่ใช่พยานหลักฐานที่ดีที่สุดที่มีอยู่ในคดีนั้น  แต่เป็นพยานหลักฐานรองลงมา เช่น พยานบอกเล่า

พยานซัดทอด – การที่จำเลยคนหนึ่งเบิกความซัดทอดจำเลยคนอื่นว่า เป็นผู้กระทำความผิดในคดีนั้นๆ  กม. ให้รับฟังพยานประเภทนี้ด้วยความระมัดระวังและไม่ควรเชื่อพยานประเภทนี้โดยลำพังเพื่อลงโทษจำเลย เว้นแต่จะมีเหตุผลหนักแน่น มีพฤติการณ์พิเศษแห่งคดี หรือมีพยานหลักฐานประกอบอื่นสนับสนุน

พยานนำ – พยานบุคคลที่คู่ความฝ่ายที่อ้างนำหรือพาพยานนั้นมาเบิกความที่ศาลเอง  ดู พยานหมาย

พยานบอกเล่า – 1. พยานบุคคล ที่นำคำเล่าของผู้อื่นมาเบิกความต่อศาล โดยไม่ได้เป็นผู้ที่รู้เห็นข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์มาโดยตรง หรือข้อความซึ่งเป็นการบอกเล่าที่บันทึกไว้ในพยานเอกสารหรือพยานวัตถุ   ดูประจักษ์พยาน 2.(ปวพ.ม.95/1, ปวอ.ม.226/3) ข้อความซึ่งเป็นการบอกเล่าที่พยานบุคคลใดนำมาเบิกความต่อศาลก็ดี หรือที่บันทึกไว้ในพยานเอกสารหรือพยานวัตถุอื่นใดซึ่งได้อ้างเป็นพยานหลักฐานต่อศาลก็ดี  หากนำเสนอพิสูจน์ความจริงแห่งข้อความนั้น ให้ถือเป็นพยานบอกเล่า
    หลักของกม.ลักษณะพยานถือว่า พยานบอกเล่ารับฟังไม่ได้เว้นแต่ (1) เมื่อพิจารณา สภาพ ลักษณะแหล่งที่มา และข้อเท็จจริงแวดล้อมแล้วน่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้  หรือ (2) (ก) มีเหตุจำเป็นที่ไม่อาจนำพยานโดยตรงมาสืบพยานได้ และ(ข) มีเหตุผลสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในการรับฟังพยานนั้น
กม. ให้รับฟังพยานประเภทนี้ด้วยความระมัดระวังและไม่ควรเชื่อพยานประเภทนี้โดยลำพังเพื่อลงโทษจำเลย เว้นแต่จะมีเหตุผลหนักแน่น มีพฤติการณ์พิเศษแห่งคดี หรือมีพยานหลักฐานประกอบอื่นสนับสนุน


พยานบุคคล – บุคคลที่มาเบิกความให้ข้อเท็จจริงในคดีต่อศาล

พยานปรปักษ์ –  (ปวิพ.ม. 117 ) พยานบุคคลที่มาเบิกความต่อศาลโดยไม่ตรงความจริงและไม่เป็นประโยชน์แก่คู่ความฝ่ายที่อ้างตนมา และมีเจตนาจะเข้าข้างคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง  คู่ความฝ่ายที่อ้างอาจถามค้านพยานเพื่อหักล้างคำเบิกความพยานนี้ได้   ดูพยานไม่เอื้อเฟื้อ

พยานผู้เชี่ยวชาญ1 – พยานความเห็นที่มาเบิกความต่อศาล มี 3 ประเภทคือ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีความรู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการพิเศษ

พยานผู้เชี่ยวชาญ2 – (ปวอ.) พยานที่โดยอาชีพหรือไม่ก็ตามมีความเชี่ยวชาญในการใด ๆ เช่น ในทางวิทยาศาสตร์ ศิลปะ ฝีมือ พาณิชยการ การแพทย์ หรือกฎหมายต่างประเทศ และซึ่งความเห็นของพยานดังกล่าวมีประโยชน์ในการวินิจฉัยคดี ในการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณา

พยานวัตถุ – วัตถุหรือสถานที่ที่อาจพิสูจน์ความจริงต่อศาลโดยให้ศาลตรวจดูถึงสภาพของวัตถุหรือสถานที่นั้น เช่น มีดหรือปืนของกลาง  บาดแผลของผู้เสียหาย สถานที่เกิดเหตุ  ที่ดินพิพาท

พยานศาล – พยานที่ศาลเรียกมาสืบ หรือการที่ศาลไปตรวจสถานที่  ดู เดินเผชิญสืบ

พยานหมาย – พยานบุคคลที่ศาลได้ออกหมายเรียกให้มาเบิกความที่ศาล และศาลจะต้องจ่ายค่าพาหนะ ค่าป่วยการและค่าเช่าที่พักที่จำเป็นและสมควรแก่พยานประเภทนี้  ดู พยานนำ

พยานหลักฐาน – 1. สิ่งที่แสดงข้อเท็จจริงให้ปรากฏต่อศาล ซึ่งอาจจะเป็นพยานบุคคล พยานเอกสารหรือพยานวัตถุก็ได้  ซึ่งอาจแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ได้คือ (1) แบ่งเป็นพยานบุคคล พยานเอกสาร และพยานวัตถุ (2) แบ่งเป็นพยานชั้นหนึ่งและพยานชั้นสอง (3) แบ่งเป็นประจักษ์พยานและพยานบอกเล่า    ส่วนใหญ่จะเรียกสั้นๆ ว่า พยาน  2. ชื่อของกม.ลักษณะพยานที่บัญญัติไว้ในปวิพ.ภาค 1 ลักษณะ 5  ตั้งแต่ม. 84 -130      3. ชื่อของกม.ลักษณะพยานที่บัญญัติไว้ในปวิอ.ภาค 5  ตั้งแต่ม. 226 - 244

พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ – พยานหลักฐานที่ได้จากการตรวจพิสูจน์บุคคล วัตถุ หรือเอกสารใดๆ โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เช่น อาจจะตรวจพิสูจน์เลือด เนื้อเยื่อ ผิวหนัง เส้นผมหรือขน น้ำลาย ปัสสาวะ อุจจาระ สารคัดหลั่ง สารพันธุกรรมหรือส่วนประกอบของร่างกายมนุษย์ เป็นต้น

พยานหลักฐานประกอบ – (ปวอ.227/1) พยานหลักฐานอื่นที่รับฟังได้ และมีแหล่งที่มาเป็นอิสระต่างหากจากพยานหลักฐานที่ต้องการพยานหลักฐานประกอบนั้น ทั้งจะต้องมีคุณค่าเชิงพิสูจน์ที่สามารถสนับสนุนให้พยานหลักฐานอื่นที่ไปประกอบมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นด้วย

พยานเอกสาร – สิ่งที่แสดงข้อความหรือความหมายโดยตัวอักษร ตัวเลข รูปรอยหรือเครื่องหมาย และศาลจะตรวจดูโดยการอ่านหรือพิจารณาข้อความหรือความหมาย  เช่นสัญญากู้   จดหมายบอกกล่าว

พยานเดี่ยว – ประจักษ์พยานเพียงปากเดียวเบิกความต่อศาล  ดู พยานคู่

พยานโดยตรง – พยานหลักฐานที่แสดงให้เห็นข้อเท็จจริงในคดี โดยตรง   ดู พยานแวดล้อมกรณี

พยานแวดล้อมกรณี - พยานหลักฐานที่ไม่ได้แสดงให้เห็นข้อเท็จจริงในคดีโดยตรง   แต่มีพฤติการณ์หรือเหตุการณ์แวดล้อมที่สนับสนุนหรืออนุมานได้ว่า มีข้อเท็จจริงดังกล่าวเกิดขึ้น  ดู พยานโดยตรง

พยานไม่เอื้อเฟื้อ – พยานบุคคลที่เบิกความไม่เป็นไปตามความประสงค์ของคู่ความฝ่ายที่อ้างมา แต่ไม่ถึงขั้นเบิกความไม่ตรงความจริงและไม่มีเจตนาที่จะเข้าข้างอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่ได้เบิกความเป็นปรปักษ์  เช่น เบิกความว่า ไม่เคยรู้จักโจทก์  จะเคยไปพบหรือไม่จำไม่ได้ (ฎ. 2549/2517) คู่ความฝ่ายที่อ้างจะใช้สิทธิถามค้านหรือสืบพยานอย่างพยานปรปักษ์ไม่ได้  คงต้องนำพยานมาสืบเพิ่มเติมเท่านั้น  ดูพยานปรปักษ์

พยายาม – ดูพยายามกระทำความผิด

พยายามกระทำความผิด –  การลงมือกระทำความผิดแต่กระทำไปไม่ตลอด  หรือกระทำไปตลอดแล้ว  แต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล  (ปอ.ม.80) ผู้กระทำต้องระวางโทษ 2ใน 3 ส่วนของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น

พยายามกระทำความผิดที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้ – การกระทำโดยมุ่งต่อผลซึ่งกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด  แต่การกระทำนั้นไม่สามารถจะบรรลุผลได้อย่างแน่แท้เพราะเหตุปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำหรือเหตุแห่งวัตถุที่มุ่งหมายกระทำต่อ (ปอ.ม.81) ผู้กระทำต้องระวางโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่กม.กำหนด  แต่ถ้าทำไปโดยความเชื่องมงาย ศาลจะไม่ลงโทษก็ได้

พ.ร.ก.   -                  (ย.) พระราชกำหนด

พ.ร.ฎ.   -                  (ย.) พระราชกฤษฎีกา

พ.ร.บ.    -                 (ย.) พระราชบัญญัติ

พรรคการเมือง – (พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง  2541 ม. 4) พรรคการเมืองที่คณะบุคคลรวมกันจัดตั้งโดยได้รับการจดแจ้งการจัดตั้งตามพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญนี้

พระเจ้าลูกยาเธอ - (กฎมณเฑียรบาลฯ ม.4 (7)) พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระสนมเอก โท ตรี

พระธรรมนูญศาลยุติธรรม – กม.ว่าด้วยการจัดตั้งศาลและอำนาจของศาลในการพิจารณาพิพากษาคดี มีการแบ่งแยกศาลยุติธรรมออกเป็น 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา

พระธรรมศาสตร์ – 1. หรือคัมภีร์พระธรรมศาสตร์  กม.ที่ไทยใช้อยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาโดยมีที่มาจากคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ของฮินดูแต่ไทยรับผ่านมาทางมอญ กม.นี้เป็นสิ่งที่พระเจ้าสร้างขึ้นจึงมีความศักดิ์สิทธิ์ ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ และคงอยู่ชั่วนิรันดร์ มีเนื้อหาที่ระบุความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้าแผ่นดินกับพลเมือง ในฐานะที่พระเจ้าแผ่นดินทรงเป็นสมมุติเทพที่จะต้องปกครองและอำนวยความยุติธรรมให้แก่พลเมืองโดยยึดถือแนวของพระธรรมศาสตร์   2.ส่วนของกม.ตราสามดวงที่ว่าด้วยมูลคดีต่าง ๆรวม 39 มูลคดี เช่น ลักษณะกู้หนี้  แบ่งมรดก จ้างวาน ซื้อขาย ยืม อุทธรณ์ เป็นต้น พระมหากษัตริย์ไม่อาจกำหนดมูลคดีขึ้นใหม่ได้  ซึ่งเป็นไปตามแนวคิดของลัทธิพราหมณ์ที่ว่า คัมภีร์พระธรรมศาสตร์เป็นคัมภีร์ที่เกิดจากพระเจ้าจึงเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ มีหลักคำสอนที่เป็นสากลและ มนุษย์ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้  ดู กม.ตราสามดวง    พระราชนิติศาสตร์ พระราชศาสตร์

พระบิดาแห่งกม.ไทย – ดู กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์  ,พระเจ้าบรมวงศ์เธอ

พระมเหสีรอง - (กฎมณเฑียรบาลฯ ม.4 (6)) พระชายาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ที่ดำรงพระเกียรติยศรองลงมาจากสมเด็จพระอัครมเหสี มีเกียรติยศสูงต่ำเป็นลำดับกันคือ สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชเทวี พระนางเจ้า พระราชเทวี พระนางเธอ พระอัครชายาเธอ ดังนี้เป็นต้น

พระรัชทายาท – (กฎมณเฑียรบาลฯ ม.4 (1)) เจ้านายเชื้อพระบรมราชวงศ์พระองค์ที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สมมุติขึ้นเพื่อเป็นผู้ทรงสืบราชสันตติวงศ์สนองประองค์ต่อไป

พระราชกฤษฎีกา–1.กม.ลายลักษณ์อักษรที่พระมหา กษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้จัดทำและทูลเกล้าฯ เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย โดยไม่ต้องผ่านการพิจารณาของรัฐสภา เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วมีผลใช้บังคับได้   กม.นี้มีลำดับศักดิ์ต่ำกว่าพรบ. แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ พรฎ.ที่ออกโดยอาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญ เช่น พรฎ. เรียกประชุมรัฐสภา พรฎ. ขยายระยะเวลาการประชุมรัฐสภา พรฎ.ปิดสมัยประชุมรัฐสภา และพรฎ.ที่ออกโดยอาศัยอำนาจพรบ. ซึ่งมีเนื้อหาที่กำหนดรายละเอียดหลักเกณฑ์การปฏิบัติตามพรบ. นั้นๆ      2.(ก) พรบ.

พระราชกำหนด – กม.ลายลักษณ์อักษรในลำดับศักดิ์เดียวกับพรบ.ที่ออกโดยฝ่ายบริหารโดยพระมหากษัตริย์ทรงตราตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี  และจะมีผลเป็นกม.ชั่วคราวในทันทีที่ออกโดยไม่ต้องผ่านการพิจารณาของรัฐสภา แต่เมื่อมีการเปิดประชุมรัฐสภาต้องนำเสนอเพื่อให้รัฐสภาอนุมัติ หากรัฐสภาไม่อนุมัติพระราชกำหนดนั้นจะตกไปและสิ้นผลบังคับเป็นกม.
    มี 2  ประเภทคือ พระราชกำหนดที่เกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตรา ซึ่งจะต้องเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรภายใน 3 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา และพระราชกำหนดที่ว่าด้วยเรื่องทั่วๆไป   ซึ่งจะต้องเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรในการประชุมรัฐสภาคราวต่อไป
เหตุในการออกพระราชกำหนดคือในสถานการณ์ฉุกเฉินเร่งด่วนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ

พระราชกำหนดกฎหมาย – ดู พระราชกำหนดบทพระอัยการ

พระราชกำหนดบทพระอัยการ – 1. กม.ที่พระมหากษัตริย์สมัยอยุธยาทรงตราขึ้น เช่น กม.ลักษณะพยาน กม.ลักษณะอาญาหลวง กม.ลักษณะผัวเมีย เป็นต้น บางครั้งใช้คำว่า พระราชกำหนดกฎหมาย หรือ พระราชนิติศาสตร์  2. ส่วนของกม.ตราสามดวงที่เป็นกม.เกี่ยวกับการบริหารและการปกครองที่พระมหากษัตริย์ได้ทรงบัญญัติขึ้น  ดู กม.ตราสามดวง  พระธรรมศาสตร์  พระราชศาสตร์

พระราชนิติศาสตร์ – ดู พระราชกำหนดบทพระอัยการ

พระราชบัญญัติ – กม.ลายลักษณ์อักษรที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ซึ่งอาจจะเสนอจากคณะรัฐมนตรีหรือจากประชาชนที่เข้าชื่อกันเสนอกม.ก็ได้โดยรัฐสภาจะเป็นผู้พิจารณาร่างพรบ.ใน 3 วาระคือรับหลักการ พิจารณาเรียงมาตราและให้ความเห็นชอบ เมื่อร่างพรบ.ผ่านรัฐสภาแล้ว จะถูกนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศในราชกิจจานุเบกษา จึงจะมีผลบังคับใช้  กม.นี้มีลำดับศักดิ์รองลงมาจากรัฐธรรมนูญ  มีเนื้อหากำหนดเกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ความผิดและโทษของบุคคล ซึ่งกม.ในลำดับศักดิ์ที่ต่ำกว่าพรบ.จะมีเนื้อหาเช่นนั้นไม่ได้  ดู  ร่างพรบ. รัฐสภา  วาระ

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ – กม. ลายลักษณ์อักษรในลำดับชั้นพรบ.ประเภทใหม่ เกิดจากรัฐธรรมนูญ ฯ 2540 ซึ่งจะต้องใช้ชื่อว่า “พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ” เสมอ โดยมีเนื้อหากำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญฯในเรื่องสำคัญ ๆ กระบวนการตรากม.นี้ไม่ต่างจากการตราพรบ.ทั่วๆไป มีจำนวนเพียง 8 ฉบับได้แก่  (1) พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน 2542 (2) พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ  2541 (3) พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง  2541         (4) พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบ ปรามการทุจริต 2542 (5) พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง 2541 (6) พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา 2542  (7) พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา  2541     และ(8) พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง  2542 

พระราชศาสตร์ – 1. กม.ที่สร้างจากพระบรมราชวินิจฉัยคดีของพระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีเนื้อหาเกี่ยวกับกฎมณเฑียรบาล กฎเกณฑ์การปฏิบัติราชการ ที่ดินและสถานภาพของบุคคลในสังคม   2. ส่วนของกม.ตราสามดวงที่เป็นสาขาคดีมาจากมูลคดี 39 ประการเป็นเรื่องของการวางหลักและวิธีพิจารณาความ  เช่น สาขาคดีที่สืบเนื่องจากมูลคดีแห่งผู้พิพากษาและตุลาการ  ดู กม.ตราสามดวง  พระธรรมศาสตร์  พระราชนิติศาสตร์

พระราชาคณะ – (พรบ.คณะสงฆ์ 2505 ม.5 ทวิ) พระภิกษุที่ได้รับแต่งตั้งและสถาปนาให้มีสมณศักดิ์ตั้งแต่ชั้นสามัญจนถึงชั้นสมเด็จพระราชาคณะ

พระองค์ใหญ่ - (กฎมณเฑียรบาลฯ ม.4 (8))พระองค์ที่มีชนมายุมากกว่าพระองค์อื่น ๆที่ร่วมพระมารดากัน

พระอัยการลักษณะพยาน มหาศักราช 1894 – กม.ลักษณะพยานที่ได้ตราขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาโดยสมเด็จพระรามาธิบดี กำหนดประเภทพยานที่ควรรับฟังและไม่ควรรับฟังโดยกำหนดข้อห้ามรับฟังพยานบุคคล 33 จำพวกเช่น คนไม่มีศีล คนกู้หนี้ยืมสิน คนขอทาน เพื่อน ญาติโสเภณี นักเลงการพนัน คนบ้าฯลฯ กม.นี้ถูกยกเลิกโดยพรบ.ลักษณะพยาน ร.ศ. 113 

พระอาทิตย์ขึ้น – พระอาทิตย์ขึ้นพ้นขอบฟ้าแล้ว (ฎ.530/2487)

พราก –    (ปอ.ม.317) พาไปหรือแยกตัวเด็กออกจากความปกครองดูแล แม้จะชักชวนแนะนำเด็กให้ไปกับผู้กระทำโดยมิได้หลอกลวงและเด็กเต็มใจไปด้วย (ฎ. 2858/2540)

พรากผู้เยาว์ –    ความผิดตามปอ.ม.318 ซึ่งเป็นการกระทำที่ทำลายคุณธรรมทางกม.ในเรื่องอำนาจปกครองของบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล  โดยมีการกระทำที่เป็นการพรากผู้เยาว์อายุเกิน 15 ปีแต่ไม่เกิน 18 ปีไปจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลโดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วย

พรากเด็ก –    ความผิดตามปอ.ม.317  ซึ่งเป็นการกระทำที่ทำลายคุณธรรมทางกม.ในเรื่องอำนาจปกครองของบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล  โดยมีการกระทำที่เป็นการพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปีไปจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลโดยไม่มีเหตุอันสมควร

พฤติการณ์ -(ปพพ.ม.433) มีสภาพที่ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างใด

พฤติการณ์พิเศษ  - (ปวิพ.23) โจทก์ยังไม่ได้รับสำเนาคำพิพากษาเป็นเหตุให้ไม่อาจทำอุทธรณ์ยื่นได้ภายในกำหนด (ฎ.1335/2544) เทียบเหตุสุดวิสัย

พลาด – ดู การกระทำโดยพลาด

พลาดิสัย – (ก) เหตุสุดวิสัย

พ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้น – (ปพพ.ม.1332) ผู้ที่ประกอบอาชีพในทางซื้อขายของชนิดหรือประเภทนั้นๆ เป็นปกติธุระ

พอสมควรแก่เหตุ – (ป้องกันโดยชอบด้วยกม.) การกระทำโดยป้องกันที่ (1) ได้สัดส่วนกับอันตรายที่จะเกิดขึ้น หากไม่ป้องกัน หรือ (2)ได้ใช้วิถีทางที่น้อยที่สุดที่จะก่อเกิดอันตราย

พาไปเพื่อสำเร็จความใคร่ของผู้อื่น -ความผิดตาม ปอ. ม.283

พาหญิงไปเพื่อการอนาจาร -  ความผิดตาม ปอ. ม.284

พาหนะ – (พรบ.คนเข้าเมือง  2522 ม.4) ยานพาหนะหรือสัตว์พาหนะ หรือสิ่งอื่นใดที่อาจนำบุคคลจากที่แห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง

พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530,พรก.- กม.ว่าด้วยการจัดเก็บภาษีศุลกากร ซึ่งได้แก่อากรขาเข้าและขาออก อัตราและวิธีการจัดเก็บ

พิทักษ์ทรัพย์ – (พรบ.ล้มละลาย 2483 ม.6) พิทักษ์ทรัพย์สินไม่ว่าเด็ดขาดหรือชั่วคราว

พิธีสาร – ตราสารซึ่งบรรจุข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างรัฐในกม.ระหว่างประเทศ มีความสำคัญรองลงมาจากสนธิสัญญา และอนุสัญญา โดยส่วนใหญ่เป็นตราสารต่อท้ายกำหนดรายละเอียด หรือเพื่อแก้ไขสนธิสัญญาหรืออนุสัญญา หรือให้โอกาสแก่ภาคีในการเลือกระดับความผูกพันในสนธิสัญญาหรืออนุสัญญา (แปลมาจาก “Protocol”)  ดู สนธิสัญญ อนุสัญญา

พินัยกรรม – คำสั่งสุดท้ายแสดงเจตนาตามแบบที่กม.กำหนดเพื่อกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง หรือในการต่างๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกม.เมื่อตนตาย

พิพากษา - (พรบ.ล้มละลาย  2483 ม.6) หมายความตลอดถึงการที่ศาลวินิจฉัยคดีโดยทำเป็นคำสั่ง

พิมพ์ – (พรบ.จดแจ้งการพิมพ์ 2550 ม.4) ทำให้ปรากฏด้วยตัวอักษร รูปรอย ตัวเลข แผนผังหรือภาพโดยวิธีการอย่างใดๆ

พิษจากสัตว์  – (พรบ.เชื้อโรคและพิษจากสัตว์ 2525 ม. 4) พิษที่เกิดจากสัตว์ที่ทำให้เกิดโรคในคน ปศุสัตว์ สัตว์พาหนะหรือสัตว์อื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง  เช่น พิษจากงู พิษจากแมลง และพิษจากปลาปักเป้า

พิสูจน์ต่อพยาน –  (ปวิพ.ม. 120) การนำสืบแสดงพยานหลักฐานต่อศาลเพื่อแสดงว่า คำเบิกความของพยานบุคคลของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือของศาลที่นำสืบไปแล้วไม่น่าเชื่อหรือไม่เป็นความจริง  จะพิสูจน์ต่อพยานของตนเองไม่ได้    คำนี้เป็นคำที่ใช้กันมาตั้งแต่กม.เดิมคือ กม.ตราสามดวงในพระอัยการลักษณะพยาน ม. 50 และพรบ.ลักษณะพยาน ร.ศ. 123 ม. 42

พืชของกสิกร  – (ปอ.ม. 359(4)) พืชที่ผู้มีอาชีพกสิกรนั้นๆ เป็นผู้ปลูก เช่น ต้นข้าวที่ผู้ทำนาปลูก(ฎ1155/2520)  ต้นกล้วย 100 ต้นปลูกไว้เพื่อขาย (ฎ.504/2524) ที่ไม่เป็นเช่น ต้นมะพร้าวปลูกเป็นแนวเขตสวนโดยไม่ทราบว่าเจ้าของทำสวนอะไร(ฎ.2560/2527)

พืชไร่  – (พรบ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม  2524 ม.21) พืชที่ต้องการน้ำน้อยและอายุสั้น หรือสามารถเก็บเกี่ยวครั้งแรกได้ภายใน 12 เดือน   ที่ไม่เป็นพืชไร่ เช่น ฝรั่งพันธุ์เวียดนามเนื่องจากต้องการน้ำมาก  มะม่วงและมะพร้าวซึ่งเป็นไม้ยืนต้น (ฎ.818/2537)

พืชหลัก  – (พรบ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม  2524 ม.21) ข้าวหรือพืชไร่ชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิด ซึ่งตามปกติของสภาพแห่งท้องที่ควรเพาะปลูกกันในรอบปีหนึ่งๆ และให้ผลเป็นรายได้สำคัญแก่เกษตรกรในรอบปีนั้น ทั้งนี้ตามที่คชก.ตำบลจะได้กำหนดขึ้นเป็นคราวๆ แต่ไม่รวมถึงพืชที่เพาะปลูกขึ้นเพื่อเป็นรายได้ประกอบตามสภาพของท้องที่หรือเพื่อการบริโภคในครัวเรือน

เพาะพันธ์ –   (พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า  2535 ม.4) ขยายพันธ์สัตว์ป่าที่นำมาเลี้ยงไว้โดยวิธีผสมพันธุ์สัตว์ป่า และหมายความรวมถึงขยายพันธ์สัตว์ป่าโดยวิธีผสมเทียมหรือการย้ายฝากตัวอ่อนด้วย

เพิกถอนการฉ้อฉล – 1. (ปพพ.) การที่เจ้าหนี้ร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมที่ลูกหนี้ได้จำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินของลูกหนี้ให้แก่บุคคลอื่น โดยที่รู้อยู่ว่า จะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ แต่ถ้าเป็นนิติกรรมที่มีค่าตอบแทน  จะเพิกถอนได้ต่อเมื่อผู้ได้ลาภงอกจากนิติกรรมจะต้องรู้ถึงข้อเท็จจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบนั้นด้วย การฟ้องเพิกถอนจะต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่วันที่เจ้าหนี้ได้รู้มูลเหตุเพิกถอนหรือ 10 ปีนับแต่วันที่ทำนิติกรรม 2.(พรบ.ล้มละลาย  2483 ม. 113)  การเพิกถอนนิติกรรม

เพิกถอนการให้เปรียบ – (พรบ.ล้มละลาย  2483 ม. 115 )  การเพิกถอนนิติกรรม

แพ – 1. (ปพพ.ม.456, 1302) แพที่คนใช้อยู่อาศัย ไม่ใช่แพสินค้า เช่น แพซุง    2. (พรบ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย 2456 ม.3) หมายความรวมตลอดถึง โป๊ะ อู่ลอย และสิ่งลอยน้ำอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน

แพคนอยู่ -   (พรบ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย 2456 ม.3) เรือนที่ปลูกอยู่บนแพ และลอยอยู่ในลำแม่น้ำหรือลำคลอง

แพทย์ตรวจคนเข้าเมือง – (พรบ.คนเข้าเมือง  2522 ม.4) แพทย์ซึ่งอธิบดี(กรมตำรวจ)แต่งตั้งเพื่อปฏิบัติการตามพรบ.นี้

โพสต์ กลอสซาเตอร์ – (Glossators’ school) ผู้ที่ศึกษากม.โรมันในยุโรปยุคกลางต่อจากพวกกลอสซาเตอร์ โดยจะนำ กม.โรมันในส่วนที่เป็น Digest มาศึกษา มีการตั้งทฤษฎีและจัดระบบการอธิบาย  ทั้งมีการนำกม.นั้นมาใช้ในระหว่าง คศ. 14 -15 ร่วมกับกม.พระ




ฟ้องเคลือบคลุม(คดีอาญา) – คำฟ้องที่ไม่บรรยายให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี กล่าวคือ คำฟ้องที่บรรยายข้อเท็จจริงหรือองค์ประกอบความผิดไม่ครบถ้วนหรือไม่ชัดแจ้งตาม ปวิอ.ม. 158 เช่น ไม่ระบุสถานที่เกิดเหตุ (ฎ. 1526 / 2522) ไม่บรรยายว่าทรัพย์ที่ถูกประทุษร้ายในความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย(ฎ. 2240 / 2530)ฟ้องฐานโกงเจ้าหนี้  แต่ไม่บรรยายว่า จำเลยได้กระทำไปโดยรู้อยู่ว่า โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ของตนได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้จำเลยชำระหนี้ (ฎ. 2976 / 2524)   ฟ้องแจ้งความเท็จ แต่ไม่บรรยายว่าความจริงเป็นอย่างไร (ฎ. 245 / 2525)

ฟ้องซ้อน  - การที่โจทก์คนเดียวกันฟ้องคดีขึ้นใหม่อีกคดีหนึ่งโดยคดีเก่าที่โจทก์ฟ้องและเป็นเรื่องเดียวกันยังค้างพิจารณาอยู่ในศาล  กม.ห้ามมิให้ฟ้องคดีใหม่นั้น ซึ่งเป็นไปตามหลักที่ว่า ผู้ที่ถูกโต้แย้งสิทธินั้นย่อมมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้เพียงคดีเดียวเท่านั้น  ดู ปวิพ.ม.173 วรรคหนึ่ง

ฟ้องซ้ำ - การที่คู่ความเดียวกันไม่ว่าจะเป็นโจทก์หรือจำเลยได้ฟ้องคดีขึ้นใหม่อีกคดีหนึ่งโดยมีประเด็นเดียวกับคดีเก่าและคดีเก่าที่ฟ้องร้องกันนั้นคดีได้ถึงที่สุดไปแล้ว กม.ห้ามมิให้ฟ้องคดีใหม่นั้นซึ่งเป็นไปตามหลักที่ว่า ผู้ที่ถูกโต้แย้งสิทธินั้นย่อมมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้เพียงคดีเดียวเท่านั้น  ดู ปวิพ.ม. 148

ฟ้องคดีอย่างคนอนาถา -     การขออนุญาตศาลฟ้องคดีโดยขอที่จะยกเว้นไม่ต้องชำระค่าขึ้นศาลในการฟ้องโดยอ้างเหตุว่า  คดีของโจทก์มีมูลที่จะฟ้องร้อง และโจทก์เป็นคนยากจน  ผู้ฟ้องจะต้องสาบานตนว่า ยากจน

ฟ้องแย้ง - การที่จำเลยฟ้องโจทก์เป็นจำเลย จำเลยจึงมีฐานะเป็นโจทก์ ส่วนโจทก์เดิมจะมีฐานะเป็นจำเลย




ภริยา – หญิงที่ได้จดทะเบียนสมรสกับชายตามกม.

ภัยทางอากาศ –( พรบ. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 2550 ม.4)  ภัยอันเกิดจากการโจมตีทางอากาศ

ภาคยานุวัติ – (กม.รปท.) การเข้าร่วมเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาของรัฐที่ไม่ได้เป็นภาคีมาแต่แรก โดยยอมรับสิทธิและหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญา มี 3 รูปแบบคือ โดยการทำสนธิสัญญาพิเศษ โดยการแลกเปลี่ยนแถลงการณ์หรือโดยการแถลงการณ์ฝ่ายเดียว

ภาชนะขนส่ง – (พรบ.การรับขนของทางทะเล  2534 ม.3 ) ตู้สินค้า ไม้รองสินค้า หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน ซึ่งใช้บรรจุหรือรองรับของ หรือใช้รวมหน่วยการขนส่งของหลายหน่วยเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการขนส่งทางทะเล เช่น ตู้คอนเทนเนอร์ (ฎ.7622/2540)

ภาพยนตร์ – ( พรบ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ 2551 ม.4) วัสดุที่มีการบันทึกภาพ หรือภาพและเสียงซึ่งสามารถนำมาฉายให้เห็นเป็นภาพที่เคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่อง แต่ไม่รวมถึงวีดิทัศน์

ภาพยนตร์ไทย – ( พรบ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ 2551 ม.4) ภาพยนตร์ที่ใช้ภาษาไทยหรือภาษาท้องถิ่นของประเทศไทยทั้งหมด หรือเป็นส่วนใหญ่ในบทภาพยนตร์ต้นฉบับสำหรับการแสดงภาพยนตร์และเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นผู้มีสัญชาติไทย

ภารจำยอม –  (ปพพ.ม. 1387) ทรัพยสิทธิประเภทหนึ่งที่ให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่เรียกว่า ภารยทรัพย์ ต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบกระเทือนทรัพย์สินของตนหรือทำให้ต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ของทรัพย์สินนั้นเพื่อประโยชน์ของอสังหาริมทรัพย์อื่นที่เรียกว่า สามยทรัพย์    ภารจำยอมจึงเป็นทรัพยสิทธิประเภทที่จำกัดตัดกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินและอาจได้มาโดยทางนิติกรรม โดยอายุความ หรือโดยกม.เช่น  ปพพ.ม.1312,1352  ก็ได้  
หลักเกณฑ์การเกิดภาระจำยอมมีดังนี้ (1) ต้องมีอสังหาริมทรัพย์ 2 แปลงที่ต่างเจ้าของกัน (2) ในการได้มาโดยอายุความ จะต้องมีการใช้ทางในทางที่เป็นปรปักษ์กับเจ้าของที่ดินเดิม โดยมีการใช้โดยสงบ เปิดเผย 10 ปี (3) การใช้ทางต้องเป็นประโยชน์แก่เจ้าของที่ดิน  ผู้เช่าที่ดินของผู้อื่นจึงไม่อาจได้ภาระจำยอมได้
ภารจำยอมจะตกติดไปกับภารยทรัพย์และสามยทรัพย์เสมอแม้มีการแบ่งแยกทรัพย์ทั้งสองก็ตาม

ภาระติดพัน – (ปพพ.ม.34 (7)) หน้าที่ที่จะต้องยอมรับปฏิบัติเป็นระยะเวลาต่อเนื่องกัน

ภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ - ทรัพยสิทธิประเภทหนึ่งที่ให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์มีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้จากอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นคราวๆ ให้แก่บุคคลอื่นเรียกว่าผู้รับประโยชน์หรือต้องยอมให้ผู้อื่นได้ใช้หรือถือเอาประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์นั้น

ภารยทรัพย์ –   ทรัพย์ที่รับภาระ  ทรัพย์ที่ต้องตกอยู่ใต้ภาระจำยอม  ดูสามยทรัพย์

ภาระการพิสูจน์ – หน้าที่ที่คู่ความจะต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบให้ได้น้ำหนักตรงตามมาตรฐานที่กม.กำหนดเพื่อพิสูจน์ความจริงในประเด็นข้อพิพาทและเพื่อที่ จะชนะคดี

ภาระเพิ่มขึ้น -  (ปพพ.ม.1388) เช่น ภารจำยอมเป็นทางคนเดิน  แต่มาปักเสาและวางสายไฟฟ้า  วางท่อประปา (ฎ.3378/2511) ภารจำยอมเป็นทางรถเดินได้แต่ต้องไม่ใช้ทางเป็นการรบกวนปกติสุข  การใช้รถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่จำนวนมากเข้าออกสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อยู่ในหมู่บ้าน (ฎ. 5613/2540)

ภาษีเงินได้ – ภาษีที่จัดเก็บจากรายได้ แบ่งเป็น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา – ภาษีทางตรงที่จัดเก็บเป็นรายปีจากผู้มีเงินได้พึงประเมินทุกประเภท และคำนวณโดยนำเงินได้มาหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว ที่เหลือเป็นเงินได้สุทธิจะนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราก้าวหน้า 

ภาษีเงินได้นิติบุคคล – ภาษีทางตรงที่จัดเก็บจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล  และคำนวณโดยนำรายได้มาหักรายจ่ายที่เหลือเป็นกำไร  จะนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีตามอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราคงที่

ภาษีทางตรง – ภาษีที่ผู้เสียภาษีต้องรับภาระภาษีนี้เอง จะผลักภาระไปให้ผู้อื่นไม่ได้ เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีทรัพย์สินและภาษีมรดก 

ภาษีทางอ้อม – ภาษีที่ผู้เสียภาษีไม่ต้องรับภาระภาษีนี้เอง แต่อาจจะผลักภาระภาษีไปให้ผู้อื่นได้ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีศุลกากร ภาษีสรรสามิต

ภาษีธุรกิจเฉพาะ – ภาษีที่จัดเก็บจากการประกอบกิจการบางอย่างในราชอาณาจักร เช่น การธนาคารหรือการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ การรับประกันชีวิตหรือวินาศภัย การรับจำนำ และการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรตามที่กำหนดในพรฎ.  โดยจะเสียภาษีในลักษณะพิเศษเช่นเดียวกับภาษีการค้า

ภาษีมูลค่าเพิ่ม – ภาษีที่จัดเก็บจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนของการผลิตและการจำหน่ายสินค้าหรือบริการชนิดต่างๆ   เป็นภาษีที่จัดเก็บจากฐานการบริโภคและผู้ซื้อหรือผู้รับบริการคนสุดท้ายเป็นผู้รับภาระ  ก่อนหน้านี้ใช้ภาษีการค้า.ในการจัดเก็บแต่มีความซ้ำซ้อนกัน จึงได้มาเปลี่ยนใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อวันที่ 1 มค.2535

ภาษีสรรพสามิต  – (ป.รัษฎากร ม. 77/1(19)) ภาษีสุรา ภาษีแสตมป์ ยาสูบ ค่าธรรมเนียมประทับตราไพ่ และภาษีหรือค่าธรรมเนียมอื่นในลักษณะทำนองเดียวกัน ตามที่กำหนดโดยพรฎ.

ภาษีอากร – 1.เงินที่รัฐบาลบังคับจัดเก็บจากประชาชนเพื่อนำมาใช้ในการจัดหรือให้บริการสาธารณะ โดยผู้ที่เสียภาษีไม่ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนโดยตรง  2.(พรบ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร  2528 ม.3 ) ภาษี อากร และค่าภาคหลวงทุกชนิด และหมายความรวมถึง (1) แสตมป์ยาสูบตามกม.ว่าด้วยยาสูบ  (2)ค่าธรรมเนียมสำหรับการประทับตราไพ่ ตามกม.ว่าด้วยไพ่  (3) ค่าธรรมเนียมพิเศษสำหรับการนำเข้าตามกม.ว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน  (4)  ค่าธรรมเนียมพิเศษตามกม.ว่าด้วยการส่งออกไปนอก และการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า (5) ค่าธรรมเนียมการส่งออกตามกม.ว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร (6) เงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่งออกต้องเสียตามกม.ว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง  (7) ค่าธรรมเนียมหรือเงินอื่นที่มีพรฎ.กำหนดให้เป็นภาษีอากรตามพรบ.นี้

ภูมิลำเนา –  1.สถานที่ที่บุคคลมีถิ่นที่อยู่และมีเจตนาที่จะยึดถือที่นั้นเป็นภูมิลำเนา  ภูมิลำเนามี 2 ประเภทคือ ภูมิลำ เนาตามเจตนาและภูมิลำเนาตามกม. ซึ่งหากเป็นภูมิลำเนาตามกม.จะไม่คำนึงเจตนา  2. (ปพพ.ม. 37) ถิ่นอันบุคคลนั้นมีสถานที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญ

เภสัชเคมีภัณฑ์ -  (พรบ.ยา 2510 ม.4) สารอินทรีย์เคมี หรืออนินทรีย์เคมีซึ่งเป็นสารเดี่ยวที่ใช้ปรุง แต่ง เตรียม หรือผสมเป็นยา

เภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป -  (พรบ.ยา 2510 ม.4) สารอินทรีย์เคมี หรืออนินทรีย์เคมีทั้งที่เป็นสารเดี่ยวหรือสารผสมที่อยู่ในลักษณะพร้อมที่จะนำมาใช้ประกอบในการผลิตเป็นยาสำเร็จรูป

เภสัชกรชั้นสอง -  (พรบ.ยา 2510 ม.4) ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้นสองในสาขาเภสัชกรรม

เภสัชกรชั้นหนึ่ง -  (พรบ.ยา 2510 ม.4) ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้นหนึ่งในสาขาเภสัชกรรม




มติ – 1. การวินิจฉัยให้ดำเนินการใดโดยอาศัยการออกเสียงลงคะแนน  2.(พรบ.ล้มละลาย  2483 ม.6) มติของเจ้าหนี้ฝ่ายที่มีจำนวนหนี้ข้างมาก ซึ่งได้เข้าประชุมด้วยตนเองหรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นเข้าประชุมแทนในที่ประชุมเจ้าหนี้  และได้ออกเสียงลงคะแนนในมตินั้น

มติคณะรัฐมนตรี- คำสั่ง ประกาศหรือระเบียบที่คณะรัฐมนตรีวินิจฉัยให้กระทำการใด การตัดสินใจหรือกำหนดนโยบายตามอำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหารและในฐานะผู้ปกครองบังคับบัญชา  แต่ไม่มีสถานะเป็นกฎหมาย(ฎ.1882/2518,950/2541) 

มติพิเศษ -  1. มติที่ที่ประชุมใหญ่ของผู้ถือหุ้นบริษัทซึ่งได้มีการลงมติยืนยันกัน 2 ครั้งโดยข้อความที่จะนำเสนอให้ลงมติได้แจ้งในคำบอกกล่าวนัดประชุมทั้ง 2 ครั้ง การนัดประชุมครั้งที่ 2 ต้องเรียกและประชุมกันในเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน - 6 สัปดาห์ภายหลังการประชุมครั้งแรก และคะแนนเสียงทั้ง 2ครั้ง เป็นเสียงข้างมากโดยครั้งแรกไม่ต่ำกว่า 3 ใน 4 ส่วนและครั้งที่สองไม่ต่ำกว่า 2 ใน 3 ส่วนของจำนวนเสียงทั้งหมด  2. (พรบ.ล้มละลาย  2483 ม.6) มติของเจ้าหนี้ฝ่ายข้างมากและมีจำนวนหนี้เท่ากับสามในสี่แห่งจำนวนหนี้ทั้งหมดของเจ้าหนี้ซึ่งได้เข้าประชุมด้วยตนเองหรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นเข้าประชุมแทนในที่ประชุมเจ้าหนี้ และได้ออกเสียงลงคะแนนในมตินั้น

มรดก –   1. ทรัพย์สินของผู้ตาย  ดู กองมรดก  2. ชื่อของบรรพ 6 แห่ง ปพพ.

มหาบัตร – ( Magna Carta) รัฐธรรมนูญฉบับแรกของโลก โดยพระเจ้าจอห์นแห่งอังกฤษที่ได้พระราชทานแก่บรรดาขุนนางที่ทุ่งรันนีมีด เมื่อวันที่ 15 มิย. ค.ศ.1215 และรับรองโดยรัฐสภาในสมัยพระเจ้าเฮนรีที่ 3 และพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1  มีเนื้อหาว่าด้วยการบริหารงานยุติธรรม เขตอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดี การประกันสิทิเสรีภาพของบุคคล สิทธิที่มีต่อทรัพย์สิน รักษาเสรีภาพและเอกสิทธิทางศาสนา 

มองเตสกิเออ  – (Montesquieu) (ค.ศ.1689 – 1755) นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศส  เกิดในครอบครัวขุนนางในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14   เมื่อปี ค.ศ. 1744 เขียนหนังสือชื่อ เจตนารมณ์แห่งกฎหมาย (The Spirit of Law) ศึกษาระบบการเมืองการปกครองทั่วโลกตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงสมัยมองเตสกิเออ มีการแบ่งรัฐบาลออกเป็น 3 รูปแบบคือ สาธารณรัฐ สมบูรณาญาสิทธิราช และทรราชย์ และเสนอให้มีการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยเป็น 3 ประเภทคือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจปฏิบัติการสิ่งซึ่งอยู่ภายใต้กม.มหาชน และอำนาจปฏิบัติการสิ่งซึ่งอยู่ภายใต้กม.แพ่ง มองเตสกิเออยังเสนอให้มีการควบคุมหรือจำกัดอำนาจแต่ละอำนาจ โดยให้มีการคานและดุลกันในแต่ละอำนาจอย่างพอเหมาะพอควร

มัดจำ –  1. สิ่งที่ให้ไว้เป็นหลักฐานในการทำสัญญาและเพื่อประกันการชำระหนี้   2. เงินหรือทรัพย์ที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งมอบให้ไว้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งตั้งแต่ก่อนหรือขณะทำสัญญา(ในวันทำสัญญา)เพื่อเป็นหลักฐานว่า  ได้มีการทำสัญญาขึ้นและเพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญาต่อไป  หากมีการผิดสัญญาคู่สัญญาฝ่ายที่ยึดมัดจำไว้ย่อมริบมัดจำนั้นได้ มัดจำต่างจากเบี้ยปรับ (ที่กำหนดไว้เพื่อทดแทนความเสียหายในการไม่ชำระหนี้) ศาลจึงไม่มีอำนาจลดมัดจำ (ฎ. 656/2538) ไม่ใช่มัดจำเช่น ตกลงให้กันวันอื่น (ฎ.513/2538)  ดู เบี้ยปรับ

มาตรา – บทบัญญัติกม.เป็นข้อๆ ของพรบ. พรก. หรือ พรฎ.

มาตราบท – (กม.รปท.) ตราสารตกลงก่อตั้งองค์กรระหว่างประเทศ เช่น ตราสารก่อตั้งไอ เอ็ม เอฟ  ( แปลมาจาก Articles of Agreement )  ดู กฎบัตร

มาตรแท็กซี่ – (พรบ.จราจรทางบก 2522 ม. 4 (27)) เครื่องแสดงอัตราและค่าโดยสารของรถแท็กซี่โดยอาศัยเกณฑ์ระยะทางหรือเวลาการใช้รถแท็กซี่หรือโดยอาศัยทั้งระยะทางและเวลาการใช้รถแท็กซี่

มิชอบด้วยกม.- (ปพพ.ม.421) ผิดกม.

มีฐานะเสมอด้วยคู่ความที่ตนเข้าแทน – (ปวิพ.ม.58) มีสิทธิ หรืออยู่ในฐานะเท่ากับคู่ความที่เข้าแทนที่ กล่าวคือคู่ความเดิมมีสิทธิอย่างไร ผู้ร้องสอดมีสิทธิเพียงนั้น  ไม่มีสิทธิน้อยหรือเกินไปกว่านั้น

มีแร่ไว้ในครอบครอง - (พรบ.แร่ 2510 ม.4) การซื้อแร่ การมีไว้ การยึดถือ หรือการรับไว้ด้วยประการใดซึ่งแร่ ทั้งนี้ไม่ว่าเพื่อตนเองหรือผู้อื่น

มีสิทธิดีกว่า(ในที่ดินสาธารณประโยชน์) – มีสิทธิใช้สอย(ที่ดินสาธารณประโยชน์)   ใครใช้สอยที่ดินสาธารณประโยชน์ก่อนย่อมมีสิทธิดีกว่า

มูลคดี -           (ปวิพ. ม. ๔ (๑)) ต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้โจทก์เกิดอำนาจฟ้องร้องตามสิทธิ (ฎ. 2437/2540,9858/2544)

มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ – (ปวิพ.ม.59, 245) ความผูกพันตามกม.ระหว่างคู่ความร่วมที่แต่ละคนมีสิทธิได้รับชำระหนี้หรือจะต้องรับผิดโดยเต็มจำนวน จะแบ่งแยกออกเป็นส่วนๆ แยกต่างหากจากกันไม่ได้   เช่น เจ้าหนี้ร่วม ลูกหนี้ร่วม ลูกหนี้ชั้นต้นกับผู้ค้ำประกัน   นายจ้างที่ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ลูกจ้วงทำไปในทางการที่จ้าง (ฎ.477/2514)

มูลค่า -(ป.รัษฎากร ม.91/1) ราคาตลาดของทรัพย์สินของกิจการ ของค่าตอบแทนหรือของประโยชน์ใดๆ

มูลดินทราย -  (พรบ.แร่ 2510 ม.4) หมายความรวมถึง เปลือกดิน ทราย กรวด หรือหินที่เกิดจากการทำเหมือง

มูลนิติธรรมประเพณี – (ก) คำตามพรบ.สัญชาติ 2456 หมายถึง กม.จารีตประเพณีว่าด้วยสัญชาติ

มูลนิธิ – (ปพพ.ม.110) ทรัพย์สินที่จัดสรรไว้โดยเฉพาะสำหรับวัตถุ ประสงค์เพื่อการกุศลสาธารณะ  การศาสนา  ศิลปะ วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา หรือเพื่อสาธารณ ประโยชน์อย่างอื่น โดยมิได้มุ่งหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกัน และได้จดทะเบียนตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้(ปพพ.)  การจัดการทรัพย์สินของมูลนิธิ ต้องมิใช่เป็นการหาผลประโยชน์เพื่อบุคคลใดนอกจากเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธินั้นเอง

มูลฝอย – (พรบ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง 2535 ม. 4) เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ หรือซากสัตว์รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น

มูลหนี้ – ดูบ่อเกิดแห่งหนี้

โมฆะ –  เสียเปล่า การกระทำที่สูญเสียเปล่าหรือไม่เคยมีการกระทำนั้นเลยมาแต่ต้น จึงไม่มีผลตามกม. ใดๆ และไม่ทำให้คู่กรณีเกิดสิทธิหรือหน้าที่หรือเปลี่ยนแปลงฐานะแต่อย่างใด เป็นความเสียเปล่าอย่างเด็ดขาดไม่อาจทำให้ดีขึ้นมาได้จึงไม่อาจให้สัตยาบันได้ มี 2 ประเภทคือ โมฆะทั้งหมดและโมฆะบางส่วน ผู้มีส่วนได้เสียสามารถจะยกกล่าวอ้างความเป็นโมฆะขึ้นต่อสู้ได้เสมอ การเยียวยาแก้ไขความเสียหายที่เกิดจากโมฆะกรรมใช้หลักกม.ในเรื่องลาภมิควรได้ คำนี้มีรากศัพท์ที่มาจากกม.โรมันเอกชนหรือในกม.แพ่ง ( Nullum est negotitum, nulla oblgates ; nihil agitur, nihil actum est ) ส่วนใหญ่ใช้กับกม.ลักษณะนิติกรรม สัญญา และครอบครัว  ดู โมฆียะ ,ไม่บริบูรณ์ , ตกไป
    เหตุที่ทำให้นิติกรรมเป็นโมฆะตามปพพ.มี 8 เหตุคือ (1) มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามตามกม. หรือเป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน (ม.150)  (2)ไม่ทำตามแบบ (ม.152) (3) มีเจตนาซ่อนเร้นในการทำนิติกรรม  แต่คู่กรณีรู้เจตนานั้น (ม.154) (4) การแสดงเจตนาลวง (ม.155) (5) นิติกรรมอำพราง (ม.155) (6) สำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญของนิติกรรม (ม.156)  (7) เมื่อมีการบอกล้างโมฆียกรรม (ม.176) และ(8) การกำหนดเงื่อนไขในนิติกรรม

โมฆียะ –  เสมือนสมบูรณ์ กล่าวคือ ยังมีผลใช้บังคับใช้ได้ในระหว่างคู่กรณีเสมือนนิติกรรมสมบูรณ์ทั่วไป แต่ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่เนื่องจากอาจจะมีการบอกล้าง ซึ่งจะทำให้ตกเป็นโมฆะสูญเปล่า หรืออาจจะมีการให้สัตยาบันซึ่งจะทำให้เป็นนิติกรรมที่สมบูรณ์ ส่วนใหญ่ใช้กับกม.ลักษณะนิติกรรม สัญญา และครอบครัว  ดู โมฆะ ,ไม่บริบูรณ์ , ตกไป

มั่วสุมก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง – ความผิดตามปอ.ม. 215 ซึ่งเป็นการกระทำโดยมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง

เมือง – (ปพพ.ม. 990) จังหวัด

เมืองท่า - (พรบ.เรือไทย 2481 ม.5) ทำเล หรือถิ่นที่ทอดจอดเรือเพื่อขนถ่ายคนโดยสารหรือของ

เมืองพัทยา – องค์กรปกครองท้องถิ่นที่อยู่ที่เมืองพัทยา จัดตั้งขึ้นตามพรบ.ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา  2542  มีฐานะเป็นนิติบุคคล   มีอาณาเขตอยู่ตามเขตเมืองพัทยา  เริ่มจัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2521

ไม่บริบูรณ์ – (ปพพ.ม.1299) ไม่อาจบังคับได้อย่างทรัพยสิทธิ แต่บังคับระหว่างคู่สัญญาอย่างบุคคลสิทธิได้ ส่วนใหญ่ใช้กับกม.ลักษณะทรัพย์สิน  ดูโมฆะ , โมฆียะ , ตกไป

ไม้ – 1. (พรบ.ป่าไม้  2484 ม.4 (2)) ไม้สักและไม้อื่นทุกชนิด ที่เป็นต้น เป็นกอ เป็นเถา รวมตลอดถึงไม้ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ไม้ไผ่ทุกชนิด ปาล์ม หวาย ตลอดจนราก ปุ่ม ตอ เศษ ปลาย และกิ่งของสิ่งนั้นๆ ไม่ว่าจะได้ถูกตัด ทอน เลื่อย ผ่า ถาก ขุด หรือกระทำโดยประการอื่นใด    2. (พรบ.ป่าสงวนแห่งชาติ  2507 ม.4) ไม้ทุกชนิดทั้งที่เป็นต้น เป็นกอ หรือเถา ไม่ว่ายังยืนต้นหรือล้มลงแล้ว และหมายความรวมตลอดถึงราก ปุ่ม ตอ หน่อ กิ่ง ตา หัว เหง้า เศษ ปลาย หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของไม้ ไม่ว่าจะถูกตัด ฟัน เลื่อย ผ่า ถาก ทอน ขุด หรือกระทำโดยวิธีการอื่นใด   3. (พรบ.อุทยานแห่งชาติ  2504 ม.4) หมายความรวมถึงพันธุ์ไม้ทุกชนิดทั้งที่เป็นต้น เป็นกอ เป็นเถา ตลอดจนส่วนต่างๆ ของไม้

ไม้ประจำที่ – (ก) ไม้ยืนต้น

ไม้แปรรูป – (พรบ.ป่าไม้ 2484 ม.4 (4)) ไม้ที่ได้แปรรูปแล้ว และหมายความรวมถึงไม้ที่อยู่ในสภาพพรางว่าเป็นสิ่งปลูกสร้าง หรืออยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้าง อันไม่ชอบด้วยลักษณะสิ่งปลูกสร้างทั่วๆไป หรือที่ผิดปกติวิสัยหรืออยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้ไม่ชอบด้วยลักษณะของเครื่องใช้เป็นปกติในท้องที่นั้นหรือที่ผิดปกติวิสัย   ไม้ที่อยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรืออยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้ทั้งนี้ตลอดเวลาที่อยู่ในสภาพเช่นนั้น  รวมทั้งไม้ที่เคยอยู่ในสภาพดังกล่าวและผู้ครอบครองพิสูจน์ได้ว่าเคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี สำหรับไม้อื่นที่มิใช่ไม้สักและ 5 ปีสำหรับไม้สัก มิให้ถือว่าเป็นไม้แปรรูป ดู แปรรูป
กรณีที่ถือว่า เป็นไม้แปรรูป เช่น ไม้ตีไว้เป็นฝาเรือน มีช่องว่างระหว่างแผ่นกระดาน  ตีตะปูไว้ครึ่งๆ กลางๆ ถอนได้โดยง่าย (ฎ.471/2505) หรือไม้หรือโครงเรือนที่มีสภาพพรางว่า เป็นสิ่งปลูกสร้างโดยไม่มีเจตนาใช้อยู่อาศัยจริง (ฎ.531/2507) หรือไม้กระดานวางกองอยู่ยังไม่ได้ตอกตะปู ยังคงเป็นไม้ใหม่อยู่ ยังไม่ได้ไสกบและไม่ได้ตัดหัวกระดานให้เรียบ (ฎ.699/2505) หรือไม้ต่อเป็นรูปเรือแต่ยังไม่เสร็จส่วนบนลำเรือยังไม่ได้ปูกระดาน ไม่ได้ยาชัน ยังไม่สามารถลงน้ำเพื่อใช้สอยได้ (ฎ.257/2506) หรือเขียงไม้สักเซาะร่องลึก ขัดและทาน้ำมัน(ฎ.1424/2520) หรือไม้เคี่ยมสับเป็นชิ้นเล็กๆ ใช้ใส่ในน้ำตาลกันบูด (ฎ.1058/2522) เป็นต้น 
กรณีไม่ถือว่าเป็นไม้แปรรูป เช่น เป็นสิ่งปลูกสร้าง หรือเป็นเครื่องใช้ หรือการถากไม้ให้เป็นเหลี่ยมเพื่อสะดวกในการชักลาก (ฎ.83/2503) หรือไม้สักที่ทำเป็นโครงหรือบานหน้าต่างแล้ว  (ฎ.270/2503)หรือไม้บานประตูและบานหน้าต่างสำเร็จรูป (ฎ.1212/2516 , 405/2520 ) โครงเรือนที่กำลังปลูกสร้าง (ฎ.448/2505)หรือเรือที่ต่อสำเร็จเป็นตัวเรือและตอกหมันยาชัน ใช้ล่องตามลำคลองได้ (ฎ.437/2511) หรือถ่าน (ฎ.798/2511)หรือไม้ดุมเกวียน กำเกวียนและถีบเกวียนสำเร็จรูป(ฎ.409/2518)หรือถาดไม้สักรูปฝักถั่วที่ทำขึ้นสำเร็จรูปแล้ว แม้จะยังไม่ได้ขัดน้ำมัน (ฎ.1490/2520) เป็นต้น 

ไม้ฟืน – (พรบ.ป่าไม้  2484 ม.4 (8)) บรรดาไม้ที่มีลักษณะและคุณภาพเหมาะสมที่จะใช้เป็นเชื้อเพลิงยิ่งกว่าจะใช้ประโยชน์อย่างอื่น

ไม่ยอม – (ปวิพ.ม. 149) จงใจฝ่าฝืน (ฎ. 6992/2537)หลงลืมไม่ใช่จงใจฝ่าฝืน(ฎ. 6992/2537)

ไม้ยาง – (พรบ.ป่าไม้ 2484 ม.7) ไม้ยางทั่วไปไม่ว่าจะขึ้นที่ใด ไม้ยางนก ไม้ยางนาและไม้ยางแดงที่ขึ้นในป่าแต่ไม่รวมถึง ไม้ยางพารา

ไม้ยืนต้น – (ประกาศใช้เป็นข้อบังคับชั่วคราวสำหรับการเพาะปลูกสวนใหญ่ สมพักศร ที่ไร่แลนา รัตนโกสินทรศก 127, ปพพ.ม. 145) ต้นไม้ที่มีอายุเกินกว่า 3 ปี เช่น ต้นพลู (ฎ.372/2498) ต้นไผ่ (ฎ. 6303/2539) ต้นมะม่วง ต้นฝรั่ง (ฎ. 4803/2539) ไม้ยืนต้นเป็นอสังหาริมทรัพย์ประเภทหนึ่ง  เดิมเรียกไม้ชนิดนี้ว่า ไม้ประจำที่

ไม้ล้มลุก – (ประกาศใช้เป็นข้อบังคับชั่วคราวสำหรับการเพาะปลูกสวนใหญ่ สมพักศร ที่ไร่แลนา รัตนโกสินทรศก 127, ปพพ.ม. 145) ต้นไม้ที่มีอายุไม่เกิน 3 ปี

ไม้หวงห้าม – (พรบ.ป่าไม้  2484 ม.6) ไม้ 2 ประเภทดังนี้  ประเภท ก. ไม้หวงห้ามธรรมดา  และประเภท ข. ไม้หวงห้ามพิเศษ  การแบ่งแยกประเภทนี้ก็เพื่อประโยชน์เกี่ยวกับการทำไม้ การเก็บค่าภาคหลวงและการกำหนดความผิดและโทษ โดยไม้หวงห้ามประเภท ข. จะมีความสำคัญมากกว่าไม้ประเภท ก.

ไม้หวงห้ามธรรมดา – (พรบ.ป่าไม้ 2484 ม.6) ไม้หวงห้ามประเภท ก. ได้แก่  ไม้ซึ่งการทำไม้จะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรือได้รับสัมปทานตามความในพรบ.นี้ (ป่าไม้)  เช่น ไม้สัก ไม้ยางทั่วไป ไม่ว่าจะขึ้นที่ใด

ไม้หวงห้ามพิเศษ – (พรบ.ป่าไม้ 2484 ม.6) ไม้หวงห้ามประเภท ข. ได้แก่  ไม้หายากหรือไม้ที่ควรสงวนซึ่งไม่อนุญาตให้ทำไม้  เว้นแต่รัฐมนตรี(ว่าการกระทรวงเกษตรฯ)จะได้อนุญาตในกรณีพิเศษ

ไม้ไหลลอย – (พรบ.ป่าไม้  2484 ม.4 (6)) ไม้ต้น ไม้ซุง ไม้ท่อน ไม้เสา ไม้เข็ม ไม้หลัก ไม้เหลี่ยม ไม้กระดาน ซึ่งเป็นไม้หวงห้ามที่ได้ไหลลอยโดยปราศจากการควบคุม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น