วันอังคารที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2553

คชก.จังหวัด
(พรบ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม  2524 ม.5) คณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัด
คชก.ตำบล
(พรบ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม  2524 ม.5) คณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล
คณะกรรมการ- (บริษัท)
กลุ่มผู้มีอำนาจจัดการบริษัทหรือกระทำการแทนบริษัท มีฐานะเป็นผู้แทนของบริษัทซึ่งอาจได้รับค่าตอบแทนหรือบำเหน็จจากบริษัท การจัดการบริษัทจะต้องทำในรูปของมติกรรมการที่วินิจฉัยชี้ขาดโดยเสียงข้างมากของที่ประชุม ดู  กรรมการ
คณะกรรมการการเลือกตั้ง
 (กกต.)องค์กรที่จัดตั้งตาม รธน. (เริ่มในปี 2540)  มี 5 คนประกอบด้วยประธาน 1 คนและกรรมการอื่นอีก 4 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 7 ปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งและดำรงตำแหน่งได้วาระเดียว  คุณสมบัติสำคัญคือ ต้องมีความเป็นกลางในทางการเมืองและมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ มีอำนาจหน้าที่หลักได้แก่ การควบคุมและดำเนินการจัด หรือจัดให้มีการเลือกตั้ง สส. สว. สมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น รวมทั้งการออกเสียงประชามติ ให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม กกต. มีที่มา 2 ทางคือ (1) โดยการสรรหาจากคณะกรรมการสรรหา (ซึ่งมีจำนวน 10 คนประกอบด้วย ประธานศาลรัฐธรรมนูญ  ประธานศาลปกครองสูงสุด อธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคลทุกแห่งเลือกกันเองให้เหลือ 4 คน และผู้แทนพรรคการเมืองทุกพรรคที่มีสมาชิกเป็นสส.พรรคละ 1 คนซึ่งเลือกกันเองให้เหลือ 4 คน ) ทำหน้าที่สรรหากกต.จำนวน 5 คนและเสนอต่อประธานวุฒิสภา  (2) โดยการสรรหาจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาจำนวน 5 คนเสนอต่อประธานวุฒิสภา  เมื่อประธานวุฒิสภาได้รับชื่อทั้ง 10 รายชื่อแล้ว ต้องเรียกประชุมวุฒิสภาเพื่อมีมติเลือก ผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุด  5 คนแรกและมีคะแนนมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภาจะได้เป็นกกต. ซึ่งพระมหากษัตริย์เป็นผู้แต่งตั้งโดยมีประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโอง การ
คณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม
(ก.ศ.)คณะ กรรมการซึ่งมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบดูแลการบริหารงานบุคคลของข้าราชการธุรการของศาลยุติธรรม  โดยกำหนดสายงานที่เหมาะสมและจำเป็น  สร้างเกณฑ์มาตรฐานสำหรับกำหนดตำแหน่ง วางแผนอัตรากำลังคน สรรหาบุคลากร กำหนดวิธีการเข้าสู่ตำแหน่ง การบรรจุ แต่งตั้ง สิทธิประโยชน์ ค่าตอบแทน  การพัฒนาบุคลากร วินัย สวัสดิการ การลาและอื่นๆ  
คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
องค์กรอิสระที่มีการจัดตั้งขึ้นมาใหม่ตามรัฐธรรมนูญฯ มีหน้าที่ในการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินของแผ่นดินให้เป็นไปตามกม. ประกอบด้วยกรรมการ 10 คนซึ่งได้รับการคัดเลือกจากวุฒิสภา
คณะกรรมการตำบล
คณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามพรบ.ลักษณะปกครองท้องที่ 2457 ประกอบด้วยกำนันท้องที่ ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านในตำบล และแพทย์ประจำตำบล เป็นกรรมการตำบลโดยตำแหน่ง และครูประชาบาล ในตำบลหนึ่งคน กรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิหมู่บ้านละ 1 คน มีหน้าที่เสนอข้อแนะนำ และให้คำปรึกษาต่อกำนัน เกี่ยวกับกิจการที่จะปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของกำนัน
คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
(ก.ต.) คณะกรรมการ ที่มีอำนาจหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการบริหารงานบุคคลของข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม มีประธานศาลฎีกาเป็นประธานโดยตำแหน่งกับผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาที่ได้รับการเลือกจากผู้พิพากษาทั่วประเทศชั้นละ 4 คน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่วุฒิสภาคัดเลือกอีก 2 คน ซึ่งมีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี
คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
(ก.บ.ศ.)คณะกรรมการที่มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลการบริหารราชการศาลยุติธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับงานบริหารราชการและงานธุรการของสำนักงานศาลยุติธรรม  โดยกำหนดโครงสร้างของสำนักงานศาลยุติธรรม  การแบ่งส่วนราชการภายใน วางระเบียบข้อบังคับในการบริหารราชการ  ให้ความเห็นชอบแก่เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมในการเสนอร่างกม.ที่เกี่ยวกับการบริหารราชการ  ให้ความเห็นชอบในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี    ให้ความเห็นชอบในการบริหารจัดการงบประมาณและพัสดุ  กำกับดูแลการบริหารราชการของสำนักงานศาลยุติธรรมให้เป็นไปตามกม. และระเบียบแบบแผน  รวมทั้งมีอำนาจสั่งยับยั้งการบริหารราชการที่ไม่ถูกต้องได้  ให้ความเห็นชอบในการจัดตั้ง ยุบเลิก หรือเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาล  กำหนดจำนวนผู้พิพากษาในแต่ละศาลให้เหมาะสมตามความจำเป็น   ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกาเป็นประธานโดยตำแหน่ง และข้าราชการตุลาการในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาที่ได้รับการเลือกจากผู้พิพากษาทั่วประเทศชั้นละ 4 คน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านงบประมาณ ด้านพัฒนาองค์กร หรือด้านบริหารจัดการที่ประธาน ก.บ.ศ. และ ก.บ.ศ. ประจำศาลเลือกมาไม่น้อยกว่า 2 คน แต่ไม่เกิน 4 คน ซึ่งมีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี
คณะกรรมการ ป.ป.ช. –
(พรบ.การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี  2543 ม.3) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ –
(ปปช.) องค์กรอิสระที่จัดตั้งตาม รธน. (เริ่มในปี 2540) มีอำนาจหน้าที่หลักในการไต่สวนข้อเท็จจริงผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่า ทุจริต ประพฤติมิชอบหรือร่ำรวยผิดปกติหรือไม่ ประกอบด้วยประธานกรรมการ 1 คนและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีก 8 คนซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา มีวาระ 9 ปีดำรงตำแหน่งได้เพียงครั้งเดียว   มีอำนาจหน้าที่ 4 ประการคือ (1) เป็นผู้ตรวจสอบในเบื้องต้นว่า  ทรัพย์สินที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ยื่นไว้กับปปช.นั้นตรงกับความเป็นจริงหรือไม่ หากจงใจไม่ยื่น หรือจงใจยื่นไม่ครบถ้วนหรือจงใจยื่นเท็จไม่ตรงกับความเป็นจริง  คณะกรรมการปปช.จะส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยให้ผู้นั้นหมดสิทธิในการดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5ปี (2) เป็นผู้ตรวจสอบว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ได้เคยยื่นบัญชีทรัพย์สินไว้นั้น มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติหรือไม่ เมื่อผู้ยื่นพ้นจากตำแหน่งหรือหลังจากพันตำแหน่งไปแล้ว 1 ปี หรือเสียชีวิต ในขณะที่ดำรงตำแหน่ง   หากมีทรัพย์สินเพิ่มผิดปกติ คณะกรรมการปปช.จะต้องส่งเรือ่งไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเพื่อให้วินิจฉัยให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดินต่อไป   (3) อำนาจในการไต่สวน ในกรณีที่ สส. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 หรือประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 คนเข้าชื่อต่อประธานวุฒิสภาเพื่อขอให้ถอดถอนนายกรัฐมนตรี สส. สว. ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด หรืออัยการสูงสุด กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ  ผู้พิพากษา พนักงานอัยการ และข้าราชการระดับสูงตามที่กม.ว่าด้วยปปช.กำหนด  เนื่องจากมีพฤติกรรมร่ำรวยผิดปกติส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ หรือส่อว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ประธานวุฒิสภาจะต้องส่งเรื่องให้ปปช.ไต่สวน หากมีมูล ปปช.จะต้องส่งเรื่องไปยังวุฒิสภาเพื่อถอดถอนบุคคลดังกล่าวออกจากตำแหน่ง  และยังต้องส่งเรื่องไปยังอัยการสูงสุดเพื่อส่งฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่อไป (ในกรณีที่เป็นนายรัฐมนตรี สส. สว. และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่น)   แต่ในกรณีที่เป็นข้าราชการประจำ ประธานศาล ผู้พิพากษาและอัยการ จะต้องดำเนินคดีในศาลยุติธรรม  ในกรณีที่อัยการสูงสุดไม่เห็นด้วยกับการฟ้องคดีดังกล่าว  ต้องมีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมกันเพื่อหาข้อยุติเกี่ยวกับการฟ้องคดี  แต่ถ้าหาข้อยุติไม่ได้  ปปช.มีอำนาจฟ้องคดีเองหรือตั้งทนายความฟ้องคดีแทนได้   (4) เมื่อมีผู้เสียหายอันเกิดจากการกระทำของนายกรัฐมนตรี สส. สว. หรือข้าราชการทางการเมืองอื่นที่เกี่ยวกับการร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามปอ. หรือการกระทำความผิดต่อหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกม.อื่น ยื่นเรื่องไปยังวุฒิสภาเพื่อถอดถอนและส่งเรื่องไปยังอัยการสูงสุดเพื่อฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
คณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการปปช.มี 15 คน ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด อธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคลเลือกกันเองให้เหลือเจ็ดคน ผู้แทนพรรคการเมืองที่มีสส.พรรคละ 1 คนซึ่งเลือกกันเองให้เหลือ 5 คนเป็นกรรมการ
       การร้องขอให้กรรมการปปช.พ้นจากตำแหน่งมี 2 กรณีคือ (1) กรณีทั่วไป กล่าวคือ เมื่อสส.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 4  ลงชื่อเสนอต่อประธานวุฒิสภาว่า กรรมการปปช. กระทำการขาดความเที่ยงธรรม   จงใจฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญหรือกม. หรือมีพฤติกรรมที่เป็นการเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของการดำรงตำแหน่งอย่างร้ายแรง   และ(2) กรณีที่ร้องว่า กรรมการปปช.กระทำความผิดอาญา กล่าวคือ สส.หรือสว.หรือสมาชิกของทั้งสองสภาจำนวน 1 ใน 4 มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้ส่งคำร้องไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่า  กรรมการ ปปช. ร่ำรวยผิดปกติ กระทำผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
คณะกรรมการราษฎร –
(ก) (พรบ.ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475)  คำที่ใช้เรียกฝ่ายบริหาร ซึ่งมีความหมายถึง  คณะรัฐมนตรี
คณะกรรมการลูกจ้าง –
(พรบ.แรงงานสัมพันธ์ 2518 ม.45) ตัวแทนของลูกจ้างในการเข้าร่วมประชุมกับนายจ้างเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการแก่ลูกจ้าง ปรึกษาหารือเพื่อกำหนดข้อบังคับในการทำงาน พิจารณาคำร้องทุกข์ของลูกจ้างและหาทางปรองดอง รวมทั้งระงับข้อขัดแย้งในสถานประกอบการ (ฎ.4850/2545)
คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง –
( พรบ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง  2539) คณะกรรมการมีหน้าที่หลักในการสอดส่อง ดูแลและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินงานของและให้คำปรึกษาแก่เจ้าหน้าที่  มีประธานกรรมการคนหนึ่ง ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงมหาดไทย เลขาธิการคณะรัฐมนตรี   เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา และผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 9 คนเป็นกรรมการ โดยคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความเชี่ยวชาญทางนิติศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือการบริหารราชการแผ่นดิน  แต่ต้องไม่ใช่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง   และมีข้าราชการของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ   มีวาระ 3 ปี
คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท –
(พรบ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง 2542 ม.3) คณะ กรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามกม.ที่มีการจัดองค์กรและวิธีพิจารณาสำหรับการวินิจฉัยชี้ขาดสิทธิและหน้าที่ตามกม.
คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล –
องค์กรที่จัดตั้งตาม รธน. (เริ่มในปี 2540)   มีอำนาจหน้าที่พิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเรื่องเขตอำนาจระหว่างศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหารและศาลอื่น วินิจฉัยชี้ขาดคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดที่ขัดแย้งกัน  มีประธานศาลฎีกาเป็นประธาน ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานศาลอื่น และผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกิน 4 คนตามที่กม.บัญญัติเป็นกรรมการ มีเลขานุการประธานศาลฎีกาเป็นเลขานุการ  และมีสำนักเลขานุการคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นหน่วยงานธุรการดำเนินการในส่วนของงานเลขานุการ งานธุรการและการอื่นๆตามคำสั่งของคณะกรรมการ
คณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา –
(รธน.)คณะกรรมการซึ่งมีหน้าที่สรรหาสมาชิกวุฒิสภาจากบุคคลที่มีความเหมาะสมจากผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อจากองค์กรต่างๆ ในภาควิชาการ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาชีพ และภาคอื่นที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภา คณะกรรมการชุดนี้ประกอบด้วย ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามอบหมายจำนวนหนึ่งคนและตุลาการในศาลปกครองสูงสุดที่ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดมอบหมายจำนวน 1 คนเป็นกรรมการ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ –   
องค์กรอิสระที่จัดตั้งตาม รธน. (เริ่มในปี 2540)  ทำหน้าที่ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ช่วยเหลือการปฏิบัติงานของศาลรัฐธรรมนูญ ให้เป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ประกอบด้วยประธานกรรมการ 1 คนและกรรมการอื่นอีก 6 คนซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาจากผู้ซึ่งมีความรู้หรือประสบการณ์ด้านการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นที่ประจักษ์ โดยต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้แทนจากองค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนด้วย  มีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปีและดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว โดยมีอำนาจ (1) ตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคีและเสนอมาตรการแก้ไขที่เหมาะสมต่อบุคคล หรือหน่วยงานที่กระทำ หรือละเลยการกระทำดังกล่าวเพื่อดำเนินการ ในกรณีที่ปรากฏว่า ไม่มีการดำเนินการตามที่เสนอ ให้รายงานต่อรัฐสภาเพื่อดำเนินการต่อไป  (2) เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองในกรณีที่มีผู้ร้องเรียนว่า กม. กฎ คำสั่งหรือการกระทำอื่นใดในทางปกครองกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและมีปัญหาเกี่ยวกับการชอบด้วยรธน.หรือกม. ตามพรบ.ประกอบรธน. ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ หรือ พรบ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (3) ฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมเมือ่ได้รับการร้องขอและเห็นสมควรเพื่อแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นส่วนรวมตามกม. (4) เสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกม. กฎ หรือข้อบังคับ ต่อรัฐสภาและคณะรัฐมนตรีเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน  (5) ส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน  (6) ส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานระหว่างหน่วยราชการ องค์การเอกชนและองค์การอื่นในด้านสิทธิมนุษยชน  (7) จัดทำรายงานประจำปีเพื่อประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนภายในประเทศเสนอต่อรัฐสภา  และ(8) มีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่กม.บัญญัติ
คณะกรรมาธิการ -
(รัฐสภา) คณะทำงานซึ่งสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาแต่งตั้งเพื่อให้กระทำกิจการ พิจารณา สอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆ ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภานั้นๆ แบ่งได้เป็น 4 ประเภทคือ (1) คณะกรรมาธิการสามัญประจำสภา (2) คณะกรรมาธิการวิสามัญ ซึ่งอาจแต่งตั้งจากบุคคลภายนอก (3) คณะกรรมาธิการร่วมกัน และ(4) คณะกรรมาธิการเต็มสภา  การมีคณะกรรมาธิการก็เพื่อ ทำให้ได้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และได้รับข้อมูลที่ถูกต้องทั้งช่วยเหลือกลั่นกรองงานของสภาเพื่อจะได้วินิจฉัยปัญหาได้ถูกต้อง  เหมาะสม  ดู กรรมาธิการ
คณะกรรมาธิการเต็มสภา  -
(รัฐสภา) คณะกรรมาธิการที่ประกอบด้วยสมาชิกทุกคนในสภาเป็นกรรมาธิการ โดยประธานสภานั้นๆ ทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมาธิการ  และจะเกิดขึ้นในกรณีของการร่างพรบ.หรือร่างพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญในวาระที่ 2 ในชั้นของการพิจารณาของคณะกรรมาธิการ โดยคณะรัฐมนตรีร้องขอหรือเมื่อสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่า 20 คน และที่ประชุมสภาอนุมัติซึ่งในการประชุมสภา สภาอาจมีมติให้พิจารณาร่างพรบ.รวดเดียว 3 วาระได้โดยให้สมาชิกสภาในที่ประชุมนั้นประกอบเป็นกรรมาธิการพิจารณารายละเอียดของร่างพรบ.นั้นก็ได้
คณะกรรมาธิการร่วมกัน -
(รัฐสภา) คณะทำงานซึ่งทั้งสองสภาคือ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาร่วมกันแต่งตั้งขึ้นจากผู้ที่เป็นสมาชิกของสภานั้นๆ หรือจากบุคคลภายนอกโดยมีจำนวนแต่งตั้งจากทั้งสองสภาเท่ากัน เพื่อพิจารณาปัญหาร่วมกัน หรือเพื่อร่วมกันพิจารณาร่างพรบ.หรือร่างพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญที่วุฒิสภาได้แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งเมื่อพิจารณาเสร็จ คณะกรรมาธิการก็จะหมดหน้าที่และสลายตัวไป เช่นเดียวกับคณะกรรมาธิการวิสามัญ  
คณะกรรมาธิการวิสามัญ  -
 (รัฐสภา) คณะทำงานซึ่งสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาแต่งตั้งจากสมาชิกของสภานั้นๆ หรือจากบุคคลภายนอก มีจำนวนตามที่ประชุมสภากำหนดประกอบเป็นกรรมาธิการ  เพื่อให้กระทำกิจการ พิจารณา สอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆ ที่สภาเห็นว่า ไม่อยู่อยู่ในขอบข่ายอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาคณะใดคณะหนึ่ง หรือเป็นเรื่องที่คาบเกี่ยวกับขอบข่ายความรับผิดชอบของคณะกรรมาธิการสามัญหลายคณะ หรือควรจะได้รับฟังความคิดเห็นจากผู้มีความรู้ และผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ หรือจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง  คณะ กรรมาธิการนี้เมื่อได้ปฏิบัติหน้าที่เสร็จสิ้นแล้ว คณะกรรมา ธิการจะสิ้นสภาพลง การเลือกคณะกรรมาธิการวิสามัญจะเลือกจากบุคคลที่คณะรัฐมนตรีเสนอชื่อไม่เกิน 1 ใน 4 ของจำนวนกรรมาธิการทั้งหมด จำนวนนอกจากนั้นๆ ให้ที่ประชุมสภาเลือกจากราบชื่อที่สมาชิกเสนอ  โดยมีกำหนดจำนวนไม่แน่นอนและจะตั้งขึ้นเมื่อ่ใดอยู่กับมติของสภา
คณะกรรมาธิการสามัญประจำสภา -
(รัฐสภา) คณะทำงานซึ่งสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาแต่งตั้งจากสมาชิกของสภานั้นๆ (แต่ละคนจะเป็นกรรมาธิการเกินกว่า 2 คณะไม่ได้) เพื่อให้กระทำกิจการ พิจารณา สอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆ ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภานั้นๆ และตั้งไว้เป็นการถาวรตลอดอายุของสภานั้นๆ โดยมีจำนวนและคณะตามความจำเป็นของกิจการนั้นๆ
คณะการเมือง –
(ก) คำเก่าที่ตั้งขึ้นมาโดยหลวงวิจิตรวาทการ แปลมาจากคำว่า political party โดยตั้งใจให้มีความหมายว่า พรรคการเมือง หลวงวิจิตรวาทการได้พยายามจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นโดยใช้ชื่อว่า คณะชาติเพื่อให้เป็นฝ่ายค้านของคณะราษฎรโดยอาศัยบทบัญญัติของปพพ.ในเรื่องสมาคม แต่คณะราษฎรไม่ยอมให้จัดตั้ง
คณะบุคคล  –
(ป.รัษฎากร ม. 56) บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน แต่ไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้จากกิจการที่ทำนั้น  กม.ถือเป็นหน่วยภาษีประเภทบุคคลธรรมดาที่มีหน้าที่ยื่นและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล    -  
(ป.รัษฎากร ม. 77/1(3)) ห้างหุ้นส่วนสามัญ กองทุนหรือมูลนิธิที่มิใช่นิติบุคคล และให้หมายความรวมถึงหน่วยงาน หรือกิจการของเอกชนที่กระทำโดยบุคคลธรรมดาตั้งแต่สองคนขึ้นไปอันมิใช่นิติบุคคล
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข –
คณะบุคคลที่ทำการรัฐประหารเปลี่ยนแปลงคณะรัฐบาล(พตท.ทักษิณ ชินวัตร) เมื่อวันที่ 19 กย. 2546 มีผลทำให้รัฐธรรมนูญฯ(2540) สิ้นสุดลง
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ -
คณะบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามม.34 ของรัฐธรรมนูญฯ(ฉบับชั่วคราว)2549เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงแห่งชาติ
คณะรัฐมนตรี –
คณะบุคคลผู้ใช้อำนาจบริหารหรืออำนาจในการปกครองประเทศ ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี 1 คนเป็นหัวหน้า และบรรดารัฐมนตรีจำนวน 35 คน ประกอบขึ้นเป็นคณะรัฐมนตรี มีภาระหน้าที่ที่สำคัญคือ บริหารราชการแผ่นดินและการบังคับการให้เป็นไปตามกม. คณะรัฐมนตรีจะต้องประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาวินิจฉัยปัญหาต่างๆ และมีความรับผิดชอบทางการเมืองร่วมกันต่อรัฐสภาและมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
คณะสงฆ์ –
(พรบ.คณะสงฆ์  2505 ม.5 ทวิ) บรรดาพระภิกษุที่ได้รับบรรพชาอุปสมบทจากพระอุปัชฌาย์ตามพรบ.นี้ หรือตามกม.ที่ใช้บังคับก่อนพรบ.นี้ ไม่ว่าจะได้ปฏิบัติศาสนกิจในหรือนอกราชอาณาจักร
คณะสงฆ์อื่น –
(พรบ.คณะสงฆ์  2505 ม.5 ทวิ) บรรดาบรรพชิตจีนนิกายหรือ อนัมนิกาย
คณะองคมนตรี –
คณะที่ปรึกษาในพระองค์ของพระมหากษัตริย์   ซึ่งเริ่มมีการแต่งตั้งในปี 2417 โดย  ร.5 ได้ทรงตรา พรบ.ไปรวี เคาน์ซิล ขึ้นโดยให้มีหน้าที่ประชุมปรึกษาราชการในพระองค์และทำหน้าที่เป็นศาลรับสั่งพิเศษที่จะชำระคดีความตามที่มอบหมาย  ต่อมาได้ยกเลิกพรบ.นี้ในสมัย ร.7 และมีการตรา พรบ. องคมนตรี 2470 ขึ้นใช้บังคับแทน โดยมีสภากรรมการองคมนตรีมีหน้าที่เป็นสภานิติบัญญัติในการออกกม.และถวายคำแนะนำ แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงได้มีการยกเลิกไป  ต่อมา รธน. ฉบับชั่วคราว 2490 ได้บัญญัติในเรื่องคณะองคมนตรีไว้  แต่เรียกว่า คณะอภิรัฐมนตรี  และใน รธน. 2492 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและแต่งตั้งประธานองคมนตรีคนหนึ่งและองคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 8 คนประกอบกันเป็นคณะองคมนตรี    แต่ในบทบัญญัติของ รธน. ปัจจุบันกำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรีคนหนึ่งและองคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 18 คนประกอบกันเป็นคณะองคมนตรี  คณะองคมนตรีมีหน้าที่หลัก 2 ประการคือ (1) ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงในกรณีที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา   (2) หน้าที่อื่นตามที่ รธน. กำหนด เช่น เสนอผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หรือ รับพระราชดำริในการแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลมาจัดทำยกร่างกฎมณเฑียรบาลเพื่อกราบบังคมทูลพระกรุณา และเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย  หรือเสนอพระนามผู้สืบราชสันตติวงศ์ ในกรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่ได้ทรงแต่งตั้งพระรัชทายาทไว้หรือ ประธานองคมตรีทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นการชั่วคราว ดู คณะอภิรัฐมนตรี
คณะอภิรัฐมนตรี –
คณะที่ปรึกษาของพระเจ้าอยู่หัว จัดตั้งขึ้นตาม รธน. (ฉบับชั่วคราว)  2490  มีจำนวน 5 คนทำหน้าที่ในการถวายคำปรึกษาแก่พระมหากษัตริย์ ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี และเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในเวลาที่พระมหากษัตริย์ไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร หรือทรงบริหารราชการแผ่นดินไม่ได้ หรือในกรณีพระราชบัลลังค์ว่างลง   ดู คณะองคมนตรี
คณาจารย์ –
 1. (พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 2547 ม.4) บุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาของรัฐ  2. (พรบ.สถาบันอุดมศึกษาเอกชน 2546 ม.5) ศาสตราจารย์  ศาสตราจารย์พิเศษ  รองศาสตราจารย์  รองศาสตราจารย์พิเศษ  ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ  อาจารย์และอาจารย์พิเศษ ซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
คดี -  
1. (ป.ว.พ. ม.1 (2)) กระบวนพิจารณานับตั้งแต่เสนอคำฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้รับรอง คุ้มครอง   บังคับตามหรือเพื่อการใช้ซึ่งสิทธิหรือหน้าที่  2.(พรบ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ 2526 ม.4)  คดีอาญา
คดีครอบครัว1 –
1.(พรบ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว  2534 ม. 11(3) ) คดีแพ่งที่ฟ้องหรือร้องขอต่อศาลหรือกระทำการใดๆ ในทางศาลเกี่ยวกับผู้เยาว์หรือครอบครัวแล้วแต่กรณี  ซึ่งจะต้องบังคับตาม ปพพ.  2. คดีที่เกี่ยวด้วยการสมรส รวมทั้งสิทธิและหน้าที่หรือความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา บิดามารดา และบุตรไม่ว่าทางใด ๆ ซึ่งพิพาทกันตามบทบัญญัติแห่ง ปพพ. บรรพ 5 ทั้งหมดรวมทั้งคดีที่เกี่ยวด้วยสถานะ และความสามารถของบุคคลอันเกี่ยวกับครอบครัว หรือส่วนได้เสียของผู้เยาว์ ซึ่งพิพาทกันตาม ปพพ. บรรพ 1 ม. 21-28, 32, 43 หรือ 44 และในบรรพ 6 ม. 1610, 1611, 1687 และ 1692 (ค.ยช. 1 / 2540)  
คดีครอบครัว2 - 
คดีดังนี้ 1. คดีแพ่งเกี่ยวกับผู้เยาว์  เช่น  การขอทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์  การขอให้รับรองบุตร การขอเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์  การขอถอนอำนาจปกครอง การเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู ฯลฯ  2. คดีครอบครัว คือ  (1) คดีพิพาทกันตาม ปพพ. บรรพ 1 เกี่ยวด้วยสถานะ  ความสามารถของบุคคลเกี่ยวด้วยครอบครัวหรือส่วนได้เสียของผู้เยาว์ ตาม ม.21-28,32, 43 หรือ 44 เช่น ภริยาร้องขอให้สามีเป็นคนไร้ความสามารถ (ค.ยช.2/2535, ค.ยช.12/2536) หรือให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ (ค.ยช.26/2540) หรือพี่สาวร้องขอให้น้องชายร่วมบิดามารดาเดียวกันเป็นคนเสมือนไความสามารถ (ค.ยช.26/2540) (2)คดีพิพาทกันตาม ปพพ.บรรพ 5  ได้แก่ (2.1) คดีเกี่ยวกับการหมั้นหรือผิดสัญญาหมั้นตาม ม.1439,1442-1446 เช่น ฟ้องเรียกค่าทดแทนเพราะผิดสัญญาหมั้น (ค.ยช. 14/2540) (2.2) ฟ้องเรียกเงินสินสอดคืนเนื่องจากไม่มีการสมรสเพราะมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่ฝ่ายหญิง (ค.ยช.25/2541,ค.ยช.10/2542) (2.3) คดีพิพาทกันเกี่ยวด้วยการสมรสรวมทั้งสิทธิและหน้าที่ระหว่างสามีภริยาไม่ว่าทางใดๆ เช่น ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูตามสัญญาและตาม ม.1461 วรรคสอง (ค.ยช.7/2538) หรือฟ้องแบ่งทรัพย์มรดกโดยมีประเด็นพิพาทว่า เป็นสินสมรสระหว่างเจ้ามรดกและมารดาจำเลยหรือไม่ (ค.ยช.2/2541) หรือฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนสินสมรสที่ไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งตาม ม. 1480 (ค.ยช. 8/2543) หรือสามีฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากภริยาโดยมีประเด็นพิพาทว่า เป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัว (ค.ยช.30/2540) หรือฟ้องขอให้ปฏิบัติตามข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่า (ค.ยช.11/2546) หรือฟ้องขอให้เพิกถอนการสมรสโดยอ้างว่าถูกข่มขู่และขอให้ชดใช้ค่าเสียหายเพราะถูกข่มขืนกระทำชำเรา ซึ่งมีมูลความคดีเกี่ยวเนื่องกัน (ค.ยช.6/2535) หรือฟ้องว่า จดทะเบียนหย่าเพราะถูกข่มขู่ (ค.ยช.5/2541) หรือฟ้องเรียกค่าทดแทนจากชายชู้ (ค.ยช.2/2544) หรือฟ้องเรียกค่าทดแทนจากผู้ที่แสดงตนโดยเปิดเผยว่า มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง (ค.ยช.4/2541) หรือฟ้องหย่าและร้องขอต่อศาลให้ตั้งตนเป็นผู้อนุบาล  (ค.ยช. 2 / 2535) หรือ คดีที่ภริยาฟ้องหย่าสามีโดยอ้างเหตุว่า สามีอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นฉันภริยาและฟ้องเรียกค่าทดแทนจากสามีและหญิงอื่นด้วยตาม ม. 1516(1),1523  ฯลฯ  (2.4) คดีพิพาทเกี่ยวด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดาและบุตร  เช่น ฟ้องบิดาขอให้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูตามหนังสือยินยอม (ค.ยช.1/2536) หรือตามหนังสือสัญญาหย่า (ค.ยช.17/2540,28/2540) หรือฟ้องภริยาใหม่ของบิดามิให้ขัดขวางในการที่จะเข้าเยี่ยมปรนนิบัติและรักษาพยาบาลบิดา (ค.ยช.2/2539)  3. คดีที่พิพาทกันตามบรรพ 6.เกี่ยวด้วยสถานะและความสามารถของบุคคลอันเกี่ยวกับครอบครัวหรือส่วนได้เสียของผู้เยาว์ ตาม ม.1610,1611,1687,1692
 ส่วนที่ไม่ใช่คดีครอบครัว เช่น ร้องขอให้เป็นคนสาบสูญตาม ม.61 (ค.ยช.3/2536, 8/2544,13/2544)  หรือร้องขอจัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ (ค.ยช.32/2541,1/2543)หรือผู้เยาว์ร้องขอจัดการมรดก (ค.ยช.10/2537) หรือผู้อนุบาลบอกล้างนิติกรรมที่เป็นโมฆียะให้ตกเป็นโมฆะ (ค.ยช.16 / 2544, 18/2544 ) หรือเพิกถอนการให้โดยเสน่หาเพราะเหตุประพฤติเนรคุณ (ค.ยช.6/2541, 4/2545) หรือภริยาใหม่ฟ้องภริยาเก่าว่า ฝ่าฝืนใช้นามสกุลสามี (ค.ยช.2/ 2545) หรือฟ้องผู้เยาว์เพื่อแบ่งกรรมสิทธิ์รวม (ค.ยช.23/2541)หรือฟ้องให้บุตรนอกสมรสร่วมรับผิดในหนี้ของเจ้ามรดก (ค.ยช.34/2547)หรือฟ้องผู้เยาว์ที่เป็นทายาทให้ชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขาย (ค.ยช.3/2539) หรือคดีฟ้องให้ผู้เยาว์ซึ่งกระทำละเมิดให้ชดใช้ค่าเสียหายและให้บิดามารดาร่วมรับผิด (ค.ยช. 4 / 2535) หรือคดีเกี่ยวกับครอบครัวของอิสลามศาสนิกซึ่งเกิดในท้องที่จังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลาและสตูล เช่น  คดีที่คู่ความเป็นอิสลามศาสนิกที่ร้องขอให้สั่งว่า เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้เยาว์ (ค.ยช. 14/2542) หรือฟ้องหย่า (ค.ยช.14/2542) หรือฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร (ค.ยช. 25/2542)
คดีแดง –
คดีที่เสร็จการพิจารณาไปจากศาลใดศาลหนึ่งโดยมีคำพิพากษาวินิจฉัยคดีให้เสร็จไป  หรือมีคำสั่งจำหน่ายคดี   หรือมีเหตุที่ทำให้คดีเสร็จไปจากศาลโดยประการอื่น
คดีดำ –
คดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลชั้นต้น ยังไม่มีคำพิพากษาวินิจฉัยคดีให้เสร็จไป  หรือยังไม่มีคำสั่งจำหน่ายคดี   หรือมีเหตุที่ทำให้คดีเสร็จไปจากศาลประการอื่น
คดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ -
คดีดังนี้ (1) คดีอาญาเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร (2) คดีอาญาเกี่ยวกับความผิดตามปอ.ม. 271-275 (3) คดีแพ่งเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์สิทธิบัตร และคดีพิพาทตามสัญญาถ่ายทอดเทคโนโลยี หรือสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (4) คดีแพ่งอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดตามปอ.ม.271-275 (5) คดีแพ่งเกี่ยวกับการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้า หรือตราสารการเงินระหว่างประเทศหรือการให้บริการระหว่างประเทศ การขนส่งระหว่างประเทศ การประกันภัยและนิติกรรมอื่นที่เกี่ยวเนื่อง (6) คดีแพ่งเกี่ยวกับเลตเตอร์ออฟเครดิตที่ออกเกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมตาม(5) การส่งเงินเข้ามาในราชอาณาจักรหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ทรัสต์รีซีท รวมทั้งการประกันเกี่ยวกับกิจการดังกล่าว (7) คดีแพ่งเกี่ยวกับการกักเรือ (8)  คดีแพ่งเกี่ยวกับการทุ่มตลาด และการอุดหนุนสินค้าหรือการให้บริการจากต่างประเทศ (9) คดีแพ่งหรือคดีอาญาที่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทในการออกแบบวงจรรวม การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ ชื่อทางการค้า ชื่อทางภูมิศาสตร์ที่แสดงถึงแหล่งกำเนิดของสินค้า ความลับทางการค้าและการคุ้มครองพันธ์พืช (10) คดีแพ่งหรือคดีอาญาที่มีกม.บัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ (11)คดีแพ่งเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการเพื่อระงับข้อพิพาทตาม (3) ถึง(10)   ยกเว้นแต่คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว  2.(พรบ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ 2539 ม.3) คดีแพ่งและคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ –
คดีที่คู่ความพิพาทกันในเรื่องทรัพย์สินหรือเงินหรือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ซึ่งโดยผลของคดีเป็นเหตุให้คู่ความในคดีนั้นได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินหรือได้เงินหรือสิ่งอื่นซึ่งอาจคำนวณราคาเป็นเงินได้ การฟ้องคดีนี้เสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้อง ส่วนใหญ่มักจะเรียกว่า คดีมีทุนทรัพย์
คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ –
คดีที่คู่ความพิพาทกันในเรื่องอื่นนอกจากทรัพย์สินหรือเงินหรือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ซึ่งโดยผลของคดีคู่ความไม่ได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินหรือได้เงินหรือสิ่งอื่นซึ่งอาจคำนวณราคาเป็นเงินได้มา การฟ้องคดีนี้เสียค่าขึ้นศาลเพียง ๒๐๐ บาท ตัวอย่างเช่น  คดีฟ้องขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชี   คดีที่ฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือมอบอำนาจ  คดีฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่ง  คดีคำขอให้กันส่วนในชั้นบังคับคดี ส่วนใหญ่มักจะเรียกว่า คดีไม่มีทุนทรัพย์ 
คดีธรรมดา  –
(พรบ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว  ๒๕๓๔  ม. ๔ ) คดีอื่นๆ นอกจากคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
คดีผูบริโภค –
(พรบ.วิธีพิจารณาคดีผูบริโภค  ๒๕๕๑ ม.๓) ได้แก่ (๑) คดีแพงระหวางผูบริโภคหรือผูมีอํานาจฟองคดีแทนผูบริโภคตามม. ๑๙ หรือตาม กฎหมายอื่น กับผูประกอบธุรกิจซึ่งพิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิหรือหนาที่ตามกฎหมายอัน เนื่องมาจาก การบริโภคสินคาหรือบริการ (๒) คดีแพงตามกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดตอความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินคาที่ไมปลอดภัย (๓) คดีแพงที่เกี่ยวพันกันกับคดีตาม (๑) หรือ (๒) และ (๔) คดีแพงที่มีกฎหมายบัญญัติใหใชวิธีพิจารณาตามพรบ.นี้
คดีพิเศษ –
(พรบ.การสอบสวนคดีพิเศษ ๒๕๔๗ ม.๓) คดีความผิดอาญาตามที่กำหนดไว้ในม. ๒๑
คดีภาษีอากร –
(พรบ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวีธีพิจารณาคดีภาษีอากร  ๒๕๒๘ ม.๓) คดีแพ่งที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากร
คดีมรดก -
(ปพพ.ม.๑๗๕๔) คดีที่พิพาทกันระหว่างทายาทที่มีสิทธิในทรัพย์มรดกด้วยกันเรื่องสิทธิเรียกร้องส่วนแบ่งทรัพย์มรดก (ฎ.๔๐๙๕/๒๕๔๙) ซึ่งจะต้องฟ้องคดีใน ๑ ปี แต่ไม่รวมถึงคดีที่ทายาทฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากบุคคลภายนอก(ฎ.๑๕๘๔/๒๕๔๕)หรือจากผู้จัดการมรดก (ฎ.๓๑๗๔/๒๕๒๖) หรือจากทายาทที่ครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทคนอื่น (ฎ.๑๒๓๑/๒๕๔๗)
คดีมโนสาเร่ -  
คดีแพ่งที่มีการโต้แย้งสิทธิกันหรือคดีมีข้อพิพาทโดยเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ไม่เกินสามแสนบาท หรือเป็นคดีที่ฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสามหมื่นบาท (ปวิพ.ม. 189) คดีมโนสาเร่เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นเพียง 200 บาทและมีวิธีพิจารณาคดีเป็นพิเศษแตกต่างจากคดีแพ่งสา- มัญ เช่น ให้สิทธิจำเลยยื่นคำให้การในวันที่มาศาลตามหมาย เรียกหรือในวันอื่นต่อมาตามที่ศาลจะเห็นสมควร(ปวิพ.ม. 193)  จำเลยจะให้การเป็นหนังสือหรือด้วยวาจาก็ได้  จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การศาลจะต้องพิจารณาสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียวจะขอให้ชนะคดีโดยขาดนัดเช่นคดีแพ่งสามัญไม่ได้  ไม่มีการชี้สองสถาน  ศาลจะเป็นผู้ซักถามก่อนและให้ตัวความหรือทนายความซักถามเพิ่มเติมได้  และศาลพิพากษาหรือทำคำสั่งด้วยวาจาได้เป็นต้น
คดีมีข้อพิพาท –
คดีที่มีการโต้แย้งสิทธิและหน้าที่กันระหว่างโจทก์จำเลย เริ่มคดีโดยคำฟ้อง
คดีมีทุนทรัพย์ –
ดู คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ , คดีไม่มีทุนทรัพย์
คดีไม่มีข้อพิพาท -
คดีที่ไม่มีการโต้แย้งสิทธิและหน้าที่ แต่เป็นคดีที่ผู้ใช้สิทธิจำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาล และเริ่มคดีโดยการยื่นคำร้องขอต่อศาลโดยผู้ร้อง และไม่มีโจทก์จำเลยในคดี เช่น คดีร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก คดีร้องขอให้ศาลสั่งให้บุคคลวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถหรือให้บุคคลที่ไปจากถิ่นที่อยู่เป็นคนสาบสูญ   คดีนี้อาจกลายเป็นคดีมีข้อพิพาทได้ถ้ามีผู้คัดค้านเข้ามาในภายหลัง
คดีไม่มีข้อยุ่งยาก –
คดีแพ่งสามัญที่เป็นคดีที่โจทก์ฟ้องเพียงขอให้ชำระเงินจำนวนแน่นอนตามตั๋วเงินซึ่งการรับรองตั๋วหรือการชำระงินตามตั๋วนั้นได้ถูกปฏิเสธการจ่าย เงิน หรือเป็นคดีที่โจทก์ฟ้องเพียงขอให้ชำระเงินจำนวนแน่นอนตามสัญญาเป็นหนังสือ ซึ่งปรากฏเบื้องต้นว่า เป็นสัญญาอันแท้จริง มีความสมบูรณ์และบังคับได้ตามกฎหมาย (ปวิพ.ม.196) คดีไม่มีข้อยุ่งยากจะมีวิธีพิจารณาคดีเป็นพิเศษเช่น เดียวกับคดีมโนสาเร่และแตกต่างจากคดีแพ่งสามัญ เช่น ให้สิทธิจำเลยยื่นคำให้การในวันที่มาศาลตามหมายเรียกหรือในวันอื่นต่อมาตามที่ศาลจะเห็นสมควร(ปวิพ.ม. 193) ดูคดีมโนสาเร่
คดีไม่มีทุนทรัพย์ –
ดู คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ , คดีมีทุนทรัพย์
คดีเยาวชนและครอบครัว  –
(พรบ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว  2534 ม. 4 ) คดีที่ศาลเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจพิจารณาพิพากษาตามพรบ.นี้
คดีล้มละลาย –
(พรบ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย  2542 ม.3) คดีตามกม.ว่าด้วยล้มละลายที่มิใช่คดีอาญาและให้รวมถึงคดีแพ่งที่เกี่ยวกันกับคดีดังกล่าวด้วย
คดีเลิกกัน –
ดูคดีอาญาเลิกกัน
คดีวิสามัญ –
๑. คดีแพ่งที่มีการดำเนินกระบวนพิจารณาไม่เป็นไปตามขั้นตอนปกติของกม. โดยมีเหตุให้ต้องข้ามขั้นตอนกม.บางขั้นตอน  หรือเนื่องจากลักษณะหรือประเภทของคดี ทำให้กม.กำหนดแบบการดำเนินกระบวนพิจารณาไว้แตกต่างจากการดำเนินคดีแพ่งสามัญโดยทั่วไป เช่น คดีมโนสาเร่ คดีไม่มีข้อยุ่งยาก คดีที่คู่ความขาดนัดยื่นคำให้การหรือขาดนัดพิจารณาหรือขาดนัดทั้งคำให้การหรือขาดนัดพิจารณา คดีที่ให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด         ดู คดีสามัญ   ๒. (ย.) คดีวิสามัญฆาตกรรม
คดีสามัญ -
คดีแพ่งที่มีการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามขั้นตอนปกติของกม. ไม่มีเหตุให้ต้องข้ามขั้นตอนกม.  ดู คดีวิสามัญ
คดีเสร็จเด็ดขาด –
(ปวิอ.ม. 39) คดีที่ศาลได้มีคำพิพากษาแล้ว
คดีอาญาสินไหม –
(ก) คำที่ใช้เรียก “คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา”  แต่เดิม
คดีอาญาเลิกกัน  –
คดีอาญาที่มีเหตุต้องยุติลงไปในชั้นเจ้าพนักงานเพราะผู้กระทำความผิดได้ชำระค่าปรับตามกม.หรือตามที่เจ้าพนักงานเปรียบเทียบปรับ และมีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องต้องระงับไป  เหตุที่ทำให้คดีอาญาเลิกกันมีดังนี้  (๑)  บางครั้งเรียกว่า  คดีเลิกกัน
คดีอุทลุม – 
(ปพพ.ม. ๑๕๖๒) คดีที่ผู้สืบสันดานฟ้องบุพการี ซึ่งเป็นคดีที่กม.ห้ามมิให้ผู้สืบสันดานฟ้องเอง แต่ต้องให้พนักงานอัยการเป็นผู้ฟ้องแทน  แต่บุตรบุญธรรมฟ้องผู้รับบุตรบุญธรรมได้เนื่องจากไม่ใช่ผู้สืบสันดาน (ฎ. ๑๕๖๒/๒๕๓๘)
คตส.-
(ย) คณะกรรมการตรวจสอบ ตามประกาศ คมช.ฉบับที่ 30 เรื่อง การตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ
คนขี้ฉ้อหมอความ –
(ก) ผู้ที่ยุยง ส่งเสริมเสี้ยมสอนให้ตัวความหลีกเลี่ยงบิดเบือนความจริง , คนหัวหมอ
คนเข้าเมือง –
(พรบ.คนเข้าเมือง ๒๕๒๒ ม.๔ ) คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักร
คนงาน –
(พรบ.โรงงาน  ๒๕๓๕ ม.๕ ) ผู้ซึ่งทำงานในโรงงาน ทั้งนี้ไม่รวมถึงผู้ซึ่งทำงานฝ่ายธุรการ
คนเดินเท้า –
(พรบ.จราจรทางบก  ๒๕๒๒  ม. ๔ (๒๙)) คนเดิน และให้รวมตลอดถึงผู้ใช้เก้าอี้ล้อสำหรับคนพิการหรือรถสำหรับเด็กด้วย
คนโดยสาร –
(พรบ.คนเข้าเมือง  ๒๕๒๒ ม.๔) ผู้ซึ่งเดินทางโดยพาหนะไม่ว่าในกรณีใดๆ นอกจากผู้ควบคุมพาหนะและคนประจำพาหนะ
คนต้องขัง –
(พรบ.ราชทัณฑ์ ๒๔๗๙ ม. ๔(๔) ,พรบ.เรือนจำทหาร ๒๔๗๙  ม. ๔(๒) (ข))  บุคคลที่ถูกขังไว้ตามหมายขัง
คนต่างด้าว –
๑. (พรบ.สัญชาติ  ๒๕๐๘ ม.๔ ) ผู้ซึ่งมิได้มีสัญชาติไทย   2.(พรบ.การทะเบียนคนต่างด้าว  2493 ม.4) คนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยตามกม.ว่าด้วยสัญชาติ       3. (พรบ.คนเข้าเมือง 2522 ม.4, พรบ.การทำงานของคนต่างด้าว  2521 ม.5) บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย  4. (พรบ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว 2542 ม.4) (1) บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย   (2) นิติบุคคลซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย (3) นิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทย  และมีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) นิติบุคคลซึ่งมีหุ้นอันเป็นทุนตั้งแต่กึ่งหนึ่งของนิติบุคคลนั้นถือโดยบุคคลตาม (1) หรือ(2) หรือนิติบุคคลซึ่งมีบุคคลตาม (1) หรือ (2) ลงทุนมีมูลค่าตั้งแต่กึ่งหนึ่งของทุนทั้งหมดในนิติบุคคลนั้น   (4) นิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทยซึ่งมีหุ้นอันเป็นทุนตั้งแต่กึ่งหนึ่งของนิติบุคคลนั้นถือโดยบุคคลตาม (1) (2)หรือ(3) หรือนิติบุคคลซึ่งมีบุคคลตาม (1) (2)หรือ (3) ลงทุนมีมูลค่าตั้งแต่กึ่งหนึ่งของทุนทั้งหมดในนิติบุคคลนั้น   เพื่อประโยชน์แห่งคำนิยามนี้ให้ถือว่าหุ้นของบริษัทจำกัดที่มีใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือเป็นหุ้นของคนต่างด้าว เว้นแต่จะได้มีกฎกระทรวงกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น   5. (พรบ.ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ 2540 ม.4) บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทยและไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย และนิติบุคคลดังต่อไปนี้   (1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่มีทุนเกินกึ่งหนึ่งเป็นของคนต่างด้าวใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือเป็นหุ้นของคนต่างด้าว  (2) สมาคมที่มีสมาชิกเกินกึ่งหนึ่งเป็นคนต่างด้าว (3) สมาคมหรือมูลนิธิที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ของคนต่างด้าว (4) นิติบุคคลตาม (1) (2)หรือ (3) หรือนิติบุคคลอื่นใดที่มีผู้จัดการหรือกรรมการเกินกึ่งหนึ่งเป็นคนต่างด้าว นิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง ถ้าเข้าไปเป็นผู้จัดการหรือกรรมการ สมาชิก หรือมีทุนในนิติบุคคลอื่น ให้ถือว่า  ผู้จัดการหรือกรรมการ หรือสมาชิก หรือเจ้าของทุนดังกล่าวเป็นคนต่างด้าว
คนไทย –
(ปอ.ม. 121 ) ผู้มีสัญชาติไทยตามพรบ.สัญชาติ พ.ศ. 2508
คนประจำเรือ -  
(พรบ.เรือไทย  2481 ม.5) บรรดาคนที่มีหน้าที่ทำการประจำอยู่ในเรือ
คนประจำพาหนะ –
(พรบ.คนเข้าเมือง  2522 ม.4) ผู้ซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำหรือทำงานประจำพาหนะ และเพื่อประโยชน์แห่งพรบ.นี้ ให้หมายความรวมถึงผู้ควบคุมพาหนะซึ่งขับขี่พาหนะโดยไม่มีคนประจำพาหนะ
คนฝาก –
1. (พรบ.ราชทัณฑ์ 2479 ม.4(5)) บุคคลที่ถูกฝากให้ควบคุมไว้ตามปวิอ. หรือกม.อื่นโดยไม่มีหมายอาญา 2. (พรบ.เรือนจำทหาร 2479  ม.4(2) (ค))  บุคคลที่ถูกฝากให้ควบคุมไว้ในเรือนจำทหาร
คนพิการ  -
(พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ 2550 ม.4) บุคคลซึ่งมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม เนื่องจากมีความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสารจิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้ หรือความบกพร่องอื่นใด ประกอบกับมีอุปสรรคในด้านต่าง ๆ และมีความจำเป็นเป็นพิเศษที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือด้านหนึ่งด้านใด เพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป ทั้งนี้ตามประเภทและหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ประกาศกำหนด
คนเรือ -
(พรบ.การจำนองเรือและบุริมสิทธิทางทะเล  2537 ม.4 ) คนที่มีหน้าที่ทำการประจำอยู่ในเรือ
คนไร้ความสามารถ –
บุคคลวิกลจริตที่คู่สมรส ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ผู้ซึ่งปกครองดูแลบุคคลนั้น  หรือพนักงานอัยการร้องขอต่อศาลและศาลสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนไร้ความสามารถและอยู่ในความอนุบาลของผู้อนุบาล  เมื่อศาลมีคำสั่งแล้ว คนไร้ความสามารถไม่มีความสามารถในการทำนิติกรรมอีกต่อไป จะต้องให้ผู้อนุบาลกระทำนิติกรรมแทน  ดู คนวิกลจริต  ผู้อนุบาล
คนวิกลจริต -  
ดู บุคคลวิกลจริต
คนเสมือนไร้ความสามารถ –
1. บุคคลที่ไม่สามารถจัดการงานตนเองได้เนื่องจากมีความบกพร่องทางร่างกายหรือจิตใจหรือจากความประพฤติของตนเอง 2. (ปพพ.ม.32) บุคคลซึ่งมีกายพิการหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบหรือประพฤติสุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณหรือติดสุรายาเมา หรือมีเหตุอื่นใดทำนองเดียวกันจนไม่สามารถจะจัดทำการงานโดยตนเองได้ หรือจัดกิจการไปในทางที่อาจจะเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัว และคู่สมรส ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ผู้ซึ่งปกครองดูแลบุคคลนั้น  หรือพนักงานอัยการร้องขอต่อศาลและศาลสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนเสมือนไร้ความ สามารถและอยู่ในความพิทักษ์ของผู้พิทักษ์  เมื่อศาลมีคำสั่งแล้ว คนเสมือนไร้ความสามารถไม่มีความสามารถในการทำนิติกรรมตามที่กม.กำหนดไว้ใน ปพพ.ม. 34 อีกต่อไปยกเว้นจะได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ก่อน   ดู คนไร้ความสามารถ  ผู้พิทักษ์
คบคิด –
(ปอ.ม. 120) ร่วมกันคิด ร่วมปรึกษาหารือ ต่างจากสมคบที่เป็นการร่วมกันคิดที่จะต้องมีการดำเนินการต่อไป  ดู สมคบ
คบคิดกันฉ้อฉล – 
1.(ปพพ.ม.916)  การที่ทั้งผู้โอนและผู้รับโอนหรือผู้ทรงคนปัจจุบันซึ่งได้รู้ว่า มีความบกพร่องในสิทธิของผู้โอน จึงได้คบคิดกันและสลักหลังโอนตั๋วเงินให้แก่กันเพื่อให้ผู้รับโอนเรียกร้องให้ลูกหนี้ตามตั๋วเงินรับผิด   2. การที่ผู้ทรงรับโอนตั๋วเงินไว้โดยรู้ว่า มีความบกพร่องในสิทธิของผู้โอนหรือมีข้อต่อสู้  (ฎ.680/2501, 1238/2501, 180/2508, 270/2520, 447/2520) ไม่ต้องมีการคบคิดหรือหารือกันระหว่างผู้โอนหรือผู้รับโอน
คปค.-
(ย) คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คมช.-
(ย.) คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
ค.ยช. –
(ย.) คำวินิจฉัยประธานศาลฎีกาในคดีเยาวชนและครอบครัว
ครอบครอง –  
๑. กริยาเข้ายึดถือทรัพย์สิน ๒. (แพ่ง) สิทธิครอบครอง ซึ่งต้องมีการยึดถือทรัพย์นั้นไว้ประกอบกับมีเจตนาที่จะยึดถือเพื่อตนเอง ที่ไม่ถือว่า มีการครอบครองเช่น การที่สิ่งก่อสร้างในที่ดินแปลงหนึ่งเอนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่น (ฎ. 2077/2497) 3. (อาญา)เป็นองค์ประกอบความผิดหนึ่งตามกม.อาญาเช่น ความผิดต่อ พรบ.อาวุธปืนฯ พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ฯลฯ  หากไม่มีบทนิยามไว้เป็นอย่างอื่น ต้องยึดถือความหมายตาม 1.  หากไม่มีเจตนายึดถือเพื่อตน ย่อมไม่มีการครอบครองและไม่มีความผิด  ตัวอย่างการไม่มีเจตนายึดถือเพื่อตน เช่น รับฝากอาวุธปืนไว้เพื่อทำความสะอาด (ฎ.1428/2548) รับเลี้ยงดูหมีควายหรือหมีดำไว้ชั่วคราวเพื่อรอให้สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่ามารับไปในภายหลัง (ฎ.5039 / 2546)
ครอบครองปรปักษ์ – 
1. (ปพพ.ม. 1382)การที่ผู้ครอบครองได้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริม ทรัพย์ของผู้อื่นโดยสงบ เปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ครบระยะเวลาที่กม.กำหนด  คือ อสังหาริมทรัพย์ 10 ปี  สังหาริมทรัพย์ 5 ปี  ผู้ครอบครองจะได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้น  2. การครอบครองทรัพย์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อสิทธิของเจ้าของทรัพย์
ครอบครัว - 
ชื่อของกม.บรรพ ๕ แห่ง ปพพ.
ครอบครัวอุปถัมภ์ –
(พรบ.คุ้มครองเด็ก  2546 ม. 4) บุคคลที่รับเด้กไว้อุปการะเลี้ยงดูอย่างบุตร
คลองขังน้ำ –
(พรบ.รักษาคลองประปา 2526 ม.4)คลองหรือที่ที่ใช้เก็บน้ำดิบสำหรับส่งเข้าคลองประปา
คลองประปา –
(พรบ.รักษาคลองประปา 2526 ม.4)คลองที่การประปาใช้เก็บน้ำและส่งน้ำที่ได้มาจากแหล่งน้ำดิบ คลองรับน้ำ หรือคลองขังน้ำ เพื่อใช้ในการผลิตน้ำประปาตามที่รมว.( มหาดไทย ) ประกาศกำหนดให้เป็นคลองประปาตามม.5
คลองรับน้ำ –
(พรบ.รักษาคลองประปา 2526 ม.4)คลองที่ใช้รับน้ำดิบจากแหล่งน้ำดิบเข้าสู่คลองขังน้ำ หรือคลองประปา
คลอดแล้ว –
(ปพพ. ม.15) การที่ทารกคลอดมาจากครรภ์มารดาหมดทั้งตัวตามหลักวิชาแพทย์
คลังสินค้า –
(พรบ.ศุลกากร  2469 ม.2) โรงพักสินค้า  ที่มั่นคงและคลังสินค้าทัณฑ์บน
คลังสินค้าทัณฑ์บน –
(พรบ.ศุลกากร 2469 ม.2) มี 3 ประเภทคือ สาธารณะหรือทัณฑ์บน  ร้านค้าปลอดอากร และโรงผลิตสินค้า
คลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทร้านค้าปลอดอากร –
(พรบ.ศุลกากร  2469 ม.2) คลังสินค้าทัณฑ์บนที่เป็นที่มั่นคง และขายของที่เก็บแก่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร
คลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทโรงผลิตสินค้า –
(พรบ.ศุลกากร  2469 ม.2) คลังสินค้าทัณฑ์บนที่อนุญาตให้ใช้ของที่นำเข้ามาและเก็บในคลังสินค้าทัณฑ์บนนั้นทำการผลิต ผสมหรือประกอบในโรงผลิตสินค้านั้นเพื่อให้เป็นที่ผลิตสินค้าจากของที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ แล้วส่งสินค้าที่ผลิตได้ออกไปนอกราชอาณาจักร
คลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทสาธารณะ –
(พรบ.ศุลกากร  2469 ม.2) คลังสินค้าที่เจ้าของได้รับอนุมัติจัดตั้งจากและทำสัญญาทัณฑ์บนไว้กับกรมศุลกากร  เพื่อประโยชน์แก่เจ้าของคลังสินค้าและประชาชนในการใช้เป็นที่รับฝากเก็บสินค้าและสิ่งของซึ่งเป็นของต้องอากรที่ยังไม่ได้เสียอากร  แต่ของยกเว้นอากร ของที่ได้เสียอากรหรือวางประกันอากรแล้ว ของต้องห้ามและของซึ่งไม่ได้รับอนุมัติให้เก็บรักษาจะเอาเข้าเก็บในคลังสินค้านี้ไม่ได้  ส่วนใหญ่เรียกสั้นๆว่า ทัณฑ์บน
ควบคุม   - 
(ป.วิ.อ. ม.2(21)) การคุมหรือกักขังผู้ถูกจับโดยเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจในระหว่างสืบสวนและสอบสวน  ถ้าเป็นการควบคุมระหว่างคดีโดยอาศัยอำนาจศาลจะใช้คำว่า “ขัง”     ดู “ขัง” “คุมขัง”   
ความคุ้มกัน –
(รัฐธรรมนูญฯ.) สิทธิที่ให้แก่ ส.ส. หรือ ส.ว. ในระหว่างสมัยประชุมที่ผู้นั้น (1) จะไม่ถูกจับ คุมขังหรือหมายเรียกตัวไปทำการสอบสวนในฐานะผู้ต้องหาในคดีอาญา เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากสภาหรือถูกจับขณะกระทำความผิด (2) จะไม่ถูกพิจารณาคดีในคดีอาญาไม่ว่าจะฟ้องก่อนหรือในสมัยประชุมสภาเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากสภา หรือเป็นคดีอันเกี่ยวกับกม.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.และ ส.ว.  หรือว่าด้วยกกต. หรือว่าด้วยพรรคการเมือง   แต่ความคุ้มกันนี้จะไม่ครอบคลุมถึงการถูกดำเนินคดีในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง   (3) ในสมัยประชุม จะไม่ถูกคุมขังในระหว่างสอบสวน หรือพิจารณา 
วัตถุประสงค์ของความคุ้มกันเพื่อขจัดการขัดขวางต่อการที่สมาชิกรัฐสภาจะมาเข้าประชุมสภา  ดู เอกสิทธิ์
ความตกลง –
(กม.รปท.) ความตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างรัฐในกม.ระหว่างประเทศ มีลักษณะเรียบง่าย ลดขั้นตอนแบบแผนในการจัดทำสนธิสัญญาและอนุสัญญา( แปลมาจาก Agreement)  ดู สนธิสัญญา อนุสัญญา
ความตาย –
(ปพพ.ม.๑๕๐๑) ตายจริงๆ ไม่รวมการตายโดยผลของกฎหมายหรือโดยสาบสูญซึ่งเป็นเพียงเหตุฟ้องหย่าเท่านั้น
ความปลอดภัย –
(พรบ.คุ้มครองพยานในคดีอาญา  ๒๕๔๖ ม.๓) ความปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ชื่อเสียง ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดของพยานทั้งก่อน ขณะและหลังมาเป็นพยาน
ความผิดกรรมเดียว –  
ความผิดที่ผู้กระทำมีเจตนากระทำความผิดที่มีจุดประสงค์เดียว  หรือความผิดที่เกี่ยวเนื่องกันโดยมีวัตถุประสงค์เดียว   กม.ให้ลงโทษบทที่หนักที่สุด  บางครั้งเรียกว่า ความผิดหลายบท   ดู กรรมเดียว
ความผิดซึ่งหน้า –
(ปวิอ.ม. 80) ความผิดซึ่งเห็นกำลังกระทำหรือพบในอาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่า เขาได้กระทำผิดมาแล้วสดๆ อย่างไรก็ดี ความผิดอาญาดั่งที่ได้ระบุไว้ในบัญชีท้ายประมวลกฎหมายนี้ ให้ถือว่าความผิดนั้นเป็นความผิดซึ่งหน้าในกรณีดังนี้ (1) เมื่อบุคคลหนึ่งถูกไล่จับดั่งผู้กระทำโดยมีเสียงร้องเอะอะ  (2) เมื่อพบบุคคลหนึ่งแทบจะทันทีทันใดหลังจากการกระทำความผิดในถิ่นแถวใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุนั้นและมีสิ่งของที่ได้มาจากการกระทำผิด หรือมีเครื่องมือ อาวุธหรือวัตถุอย่างอื่นอันสันนิษฐานได้ว่า ได้ใช้ในการกระทำความผิด หรือมีร่องรอยพิรุธเห็นประจักษ์ที่เสื้อผ้าหรือเนื้อตัวของผู้นั้น
ความผิดต่อส่วนตัว –
ความผิดอาญาที่ไม่ใช่ความผิดอาญาแผ่นดิน แต่เป็นความผิดที่กระทำต่อตัวผู้เสียหายและกม.ถือว่า มีความเสียหายเกิดขึ้นแก่ตัวผู้เสียหายเท่านั้น  รัฐหรือแผ่นดินไม่ได้เสียหายไปด้วย   บางครั้งก็ใช้คำว่า ความ ผิดอันยอมความได้ แทน  ดูความผิดอันยอมความได้
ความผิดต่อเนื่อง –
ความผิดที่สภาพการกระทำความผิดยังคงมีอยู่ตลอดไปตลอดเวลาที่มีการกระทำความผิดนั้นอยู่  เช่น ความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังตามปอ.ม. 310 ความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์โดยไม่ได้รับอนุญาต (ฎ.1399/2548) บุกรุกเข้าไปทำนาในเขตป่าสงวน (ฎ.461-465 / 2500) ความผิดฐานมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกม.(ฎ.138/2507 ) ความผิดฐานปลูกสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน(ฎ.1654 / 2512)  คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ชอบด้วยกม. (ฎ. 808/2520)หมิ่นประมาทโดยปิดป้ายโฆษณา (ฎ.2272 / 2527 )มีปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต(ฎ. 888/2507)  มีประโยชน์ในเรื่อง(1)การแบ่งแยกการลงโทษในความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรม และ(2)การนับอายุความ ดังนั้นตลอดเวลาที่มีการกระทำความผิดต่อเนื่องจึงถือว่า ยังไม่ขาดอายุความ
ความผิดต่างกรรมต่างวาระ –
ดู หลายกรรม
ความผิดที่ยืดออกไป –
การกระทำความผิดกม.ฐานเดียวกันหลายครั้งโดยผู้กระทำคนเดียวกันและผู้กระทำมีเพียงวัตถุประสงค์เดียวในการกระทำความผิดหลายครั้งนั้น มีประโยชน์ในการวินิจฉัยว่า เป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรม  ถ้าเป็นความผิดที่ยืดออกไปจะเป็นความผิดกรรมเดียว เช่น  ฉุดหญิงไปข่มขืนกระทำชำเรา ๒ คืน(ฎ. ๒๒๔๙/๒๕๒๐)
ความผิดลหุโทษ –
(ปอ.) ความผิดซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน  หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับเช่นว่านี้มาด้วยกัน (ม.๑๐๒) มีลักษณะพิเศษคือ แม้กระทำโดยไม่เจตนาก็เป็นความผิดและผู้พยายามหรือผู้สนับ สนุนการกระทำความผิดนี้ไม่ต้องรับโทษ
ความผิดหลายกรรมต่างกัน –
ดู หลายกรรม
ความผิดหลายบท –
ดู กรรมเดียว
ความผิดอันยอมความได้ -
ความผิดที่ผู้เสียหายและผู้กระทำความผิดอาจจะตกลงยินยอมระหว่างกันเพื่อให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปได้ เนื่องจากถือว่า เป็นการกระทำความผิดต่อผู้เสียหายโดยตรง  ผู้เสียหายจึงอาจแสดงเจตนายอมความเพื่อระงับคดีได้ ความผิดนี้ผู้เสียหายจะต้องร้องทุกข์หรือฟ้องภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิดมิฉะนั้นจะขาดอายุความฟ้องร้อง  ดูเทียบความผิดอาญาแผ่นดิน
ความผิดอาญาแผ่นดิน –
ความผิดอาญาที่กม.ถือว่า มีความเสียหายเกิดขึ้นแก่รัฐ รัฐเป็นผู้เสียหาย ส่วนจะมีผลเสียหายไปถึงตัวผู้เสียหายโดยเฉพาะหรือไม่ ไม่สำคัญ    ดูความผิดอันยอมความได้  ความผิดต่อส่วนตัว
ความยินยอมไม่ทำให้เป็นละเมิด ,หลัก –
(แปลมาจากภ.ละตินว่า Volunti non fit injuria ) หลักที่ว่า บุคคลซึ่งให้ความยินยอมต่อการกระทำละเมิดหรือยอมเข้าเสี่ยงภัยเพื่อรับความเสียหาย จะฟ้องเรียกค่าเสียหายมิได้เนื่องจากความยินยอมเป็นเหตุให้การกระทำละเมิดชอบด้วยกม.และไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย จึงไม่เป็นละเมิด เช่น ท้าให้ฟันเพื่อทดสอบคาถาคงกระพัน(ฎ.๖๗๓/๒๕๑๐) สมัครใจวิวาทยิงกันหรือต่อสู้กันเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งตายหรือได้รับอันตรายสาหัส (ฎ. ๒๔๘/๒๕๒๓, ๑๐๕๘/๒๕๓๑) หญิงยอมร่วมประเวณีกับชาย (ฎ.๕๗๖/๒๔๘๘)
ความยุติธรรม๑ –
๑. ความชอบธรรม ความถูกต้องชอบด้วยเหตุผล ๒. (ลอร์ด เดนนิง) สิ่งที่สมาชิกของสังคมผู้มีจิตใจถูกต้องชอบธรรมเชื่อว่า เป็นธรรม
ความยุติธรรม๒ –
(อริสโตเติล) ความอยุติธรรมย่อมเกิดขึ้นเมื่อความเท่ากันถูกปฎิบัติอย่างไม่เท่าเทียมกัน และเมื่อความไม่เท่ากันกลับถูกปฎิบัติอย่างเท่าเทียมกัน  อริสโตเติลได้แบ่งความยุติธรรมเป็น ๒ ประเภทคือ (๑) ความยุติธรรมโดยธรรมชาติ ซึ่งเป็นความยุติธรรมอันมีลักษณะสากล ไม่มีขอบเขตจำกัด และอาจค้นพบได้โดยเหตุผลบริสุทธิ์ของมนุษย์ และ (๒) ความยุติธรรมตามแบบแผน ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายของบ้านเมือง
ความยุติธรรม๓ –
(ก) ความประพฤติอันชอบด้วยพระราชกำหนดกม.เท่านั้น ความเห็นส่วนตัวบุคคลย่อมแปรปรวนไปต่างๆ ไม่มียุติ เป็นยุติธรรมไม่ได้เลย    (ฎ.๑๔๔/๒๔๕๙)
ความรุนแรงในครอบครัว –
(พรบ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ๒๕๕๐ ม.๓)การกระทำใด ๆ โดยมุ่งประสงค์ให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพ หรือกระทำโดยเจตนาในลักษณะที่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายจิตใจ หรือสุขภาพของบุคคลในครอบครัว หรือบังคับหรือใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรมให้บุคคลในครอบครัวต้องกระทำการ ไม่กระทำการ หรือยอมรับการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดโดยมิชอบแต่ไม่รวมถึงการกระทำโดยประมาท
ความแรงของสารออกฤทธิ์  –
(พรบ.ยา  ๒๕๑๐ ม.๔) (๑) ความเข้มข้นของยาที่มีปริมาณของสารออกฤทธิ์ระบุเป็นน้ำหนักต่อน้ำหนัก น้ำหนักต่อปริมาตร หรือปริมาณของสารออกฤทธิ์ต่อหนึ่งหน่วยการใช้ หรือ (๒) การแสดงฤทธิ์ทางการรักษาโรคของยาตามที่ได้มีการทดสอบในห้องปฏิบัติการด้วยวิธีการที่เหมาะสม หรือได้ผ่านการควบคุมการใช้รักษาโรคอย่างได้ผลเพียงพอแล้ว
ความลับทางการค้า –
(พรบ.ความลับทางการค้า ๒๕๔๕ ม.๓) ข้อมูลการค้าซึ่งยังไม่รู้จักกันโดยทั่วไปหรือยังเข้าถึงไม่ได้ในหมู่บุคคลซึ่งปกติแล้วต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลดังกล่าว  โดยเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เนื่องจากการเป็นความลับ และเป็นข้อมูลที่ผู้ควบคุมความลับทาการค้าได้ใช้มาตรการที่เหมาะสมเพื่อรักษาไว้เป็นความลับ
ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน –
(ปพพ.ม. ๑๕๐) ความสงบของการอยู่ร่วมกันของสมาชิกในสังคมและถือเป็นความมาตรฐานประพฤติทั่วไปและเป็นหน้าที่ของสมาชิกในสังคมนั้นที่จะต้องปฏิบัติ  โดยไม่อาจจะตกลงกันเป็นอย่างอื่นได้
ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล -
หลักที่ใช้จำกัดขอบเขตความรับผิดของการกระทำในทางอาญาหรือละเมิด โดยมีหลักว่า ผู้กระทำจะต้องรับผิดเฉพาะผลที่เกิดเนื่องมาจากการกระทำของตนเท่านั้น ไม่ควรรับผิดโดยไม่มีขอบเขตจำกัด  มี 2 ทฤษฎีคือ ทฤษฎีเงื่อนไขหรือทฤษฎีความเท่ากันแห่งเหตุ และทฤษฎีมูลเหตุเหมาะสมหรือทฤษฎีผลธรรมดา
ความสามารถ –
๑. (แพ่ง) การได้รับการรับรองตามกม.ว่า เป็นผู้มีสิทธิและใช้สิทธิ  จึงแบ่งความสามารถออกเป็น ความสามารถในการมีสิทธิและความสามารถในการใช้สิทธิ แต่ส่วนใหญ่เมื่อกล่าวถึงคำนี้มักจะหมายถึงความสามารถในการใช้สิทธิ     ๒.(ปพพ.) ความสามารถในการใช้สิทธิ
ความสามารถในการใช้สิทธิ –   
การได้รับรองตามกม.ว่า เป็นผู้ใช้สิทธิได้ โดยส่วนใหญ่หมายถึงความสามารถในการใช้สิทธิทำนิติกรรม ซึ่งขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของบุคคลนั้นๆ เองว่า จะมีความสามารถที่จะดูแลรักษาประโยชน์ของตนเองได้เพียงใด (เทียบกับ การมีสิทธิซึ่งบุคคลทุกคนย่อมมีสิทธิ แต่อาจถูกจำกัดสิทธิในการใช้(ความสามารถ)เนื่องจากเป็นผู้เยาว์หรือเป็นคนไร้ความสามารถหรือเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ  และต่างจากการมีอำนาจเข้าทำสัญญาของตัวแทนหรือผู้แทนนิติบุคคล)
ความสามารถในการมีสิทธิ -
การได้รับการรับรองตามกม.ว่า เป็นผู้มีสิทธิหรือทรงสิทธิ ซึ่งบุคคลย่อมได้ความสามารถนี้มาตั้งแต่เกิดและสิ้นสุดลงเมื่อตาย รวมทั้งทารกในครรภ์มารดาที่เกิดมาแล้วรอดอยู่ก็มีความสามารถนี้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ด้วย
ความเสมอภาค –
การรับรองความเท่าเทียมกันแห่งสิทธิของบุคคลและไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติเนื่องจากความแตกต่างของบุคคลโดยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฯ ไม่ว่า บุคคลนั้นจะแตกต่างกันด้วยถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ(ชาย –หญิง)  อายุ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ
ความเสียหาย -  
๑. ฐานในการคำนวณกำหนดค่าเสียหายที่จะได้รับชดใช้  มีความหมายกว้างกว่าค่าเสียหาย ดู  ค่าสินไหมทดแทน, ค่าเสียหาย  ๒. (พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ  ๒๕๓๕ ม.๔)  ความเสียหายต่อชีวิต ร่างกายหรืออนามัยอันเกิดจากรถ
ความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม -
(พรบ.การช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล ๒๕๕๐ ม.๔) ความเสียหายอย่างมากทางกายภาพแก่สุขอนามัยของมนุษย์ สิ่งมีชีวิตทางทะเล หรือทรัพยากรในน่านน้ำชายฝั่งทะเลในน่านน้ำในประเทศหรือบริเวณต่อเนื่องใกล้เคียง ซึ่งเกิดขึ้นจากมลพิษ การปนเปื้อน อัคคีภัย การระเบิดหรืออุบัติภัยร้ายแรงอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน
คะแนนเครดิต - 
(พรบ.การประกอบข้อมูลธุรกิจเครดิต ๒๕๔๕ ม.๓) ตัวชี้วัดความน่าจะเป็นในการชำระคืนหนี้โดยใช้วิธีการทางสถิติในการประมวลผลข้อมูลโดยบริษัทข้อมูลเครดิต
คันคลอง -
(พรบ.รักษาคลองประปา ๒๕๒๖ ม.๔) มูลดินที่ถมขึ้น หรือสิ่งที่ทำขึ้นเป็นคันยาวไปตามแนวคลองประปา คลองรับน้ำหรือคลองส่งน้ำ
คัมภีร์พระธรรม ศาสตร์ –
ดู พระธรรมศาสตร์
คัมภีร์อินทภาษ –
ดู อินทภาษ,หลัก
ค่าขาดประโยชน์จากการทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงาน –
(ละเมิด) ค่าสินไหมทดแทนซึ่งผู้กระทำละเมิดต้องชำระในกรณีกระทำละเมิดต่อบุคคลที่ไม่ได้ถึงแก่ความตายในทันทีและทำให้ผู้นั้นไม่อาจประกอบการงานจนขาดรายได้
ค่าขาดแรงงาน –
(ละเมิด) ค่าสินไหมทดแทนซึ่งผู้กระทำละเมิดต้องชำระในกรณีกระทำละเมิดต่อบุคคลที่มีความผูกพันตามกม.ที่จะต้องทำการงานให้เป็นคุณแก่ผู้อื่นในครัวเรือนหรืออุตสาหกรรมของผู้อื่นนั้น
ค่าขาดไร้อุปการะ – 
(ละเมิด) ค่าสินไหมทดแทนซึ่งผู้กระทำละเมิดต้องชำระในกรณีกระทำละเมิดต่อบุคคลที่มีหน้าที่ตามกม.ที่จะต้องอุปการะผู้อื่น เช่น บิดามารดากับบุตร สามีภริยา ฯลฯ ถึงแก่ความตาย และทำให้ผู้มีสิทธิที่จะได้รับการอุปการะขาดสิทธินี้   ซึ่งอาจกำหนดเป็นเงินจำนวนเดียว (ฎ.๑๔๑๑-๒/๒๕๒๔)หรือให้จ่ายเป็นระยะเวลาในอนาคตก็ได้ (ฎ.๒๙๒/๒๕๐๒)
ค่าขึ้นศาล –
เงินค่าฤชาธรรมเนียมศาลในคดีแพ่งซึ่งคู่ความฝ่ายที่เริ่มต้นคดีชำระหรือเสียให้แก่ศาลในเวลายื่นคำฟ้องตามประเภทและจำนวนทุนทรัพย์ของคดี
ค่าจับจ่ายเกี่ยวกับการ –
(ปพพ.ม. ๔๗๐) ค่าใช้จ่ายที่ผู้ขายต้องเสียไปอันเนื่องจากการที่ผู้ขายต้องดูแลรักษาทรัพย์ของผู้ซื้อ
ค่าจ้าง –
๑. (พรบ.คุ้มครองแรงงาน ๒๕๔๑ ม.๕) เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือนหรือระยะเวลาอื่น  หรือจ่ายให้ โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน  และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุด และวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามพรบ.นี้  ที่ยกเว้นไม่ใช่ค่าจ้างเช่น ค่าเช่าบ้านที่จ่ายเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างเรื่องที่อยู่อาศัย (ฎ.๙๐๙๖/๒๕๔๖) เงินโบนัส (ฎ. ๒๒๔๔/๒๕๔๘)   ๒. (พรบ. ประกันสังคม  ๒๕๓๓ ม.๕) เงินทุกประเภทที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในวัน และเวลาทำงานปกติไม่ว่าจะคำนวณตามระยะเวลา หรือคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้ในวันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงานด้วย ทั้งนี้ไม่ว่าจะกำหนด คำนวณ หรือจ่ายในลักษณะใดหรือโดยวิธีการใด และไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร    ๓.     (พรบ. เงินทดแทน  ๒๕๔๑ ม.๕) เงินทุกประเภทที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติไม่ว่าจะคำนวณตามระยะเวลา หรือคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงานด้วย ทั้งนี้ไม่ว่าจะกำหนด คำนวณ หรือจ่ายในลักษณะใดหรือโดยวิธีการใด และไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร 
ค่าจ้างในวันทำงาน –   
(พรบ.คุ้มครองแรงงาน  ๒๕๔๑ ม.๕) ค่าจ้างที่จ่ายสำหรับการทำงานเต็มเวลาการทำงานปกติ
ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี -
(พรบ.คุ้มครองแรงงาน ๒๕๔๑ ม. ๖๗) เงินค่าจ้างที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้กับลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันมาแล้วครบ 1 ปีและนายจ้างได้เลิกจ้างลูกจ้างโดยลูกจ้างมิได้กระทำความผิด จำนวนเงินที่จ่ายจะขึ้นอยู่กับวันหยุดพักผ่อนประจำปีของลูกจ้างที่ยังเหลืออยู่
ค่าชดเชย –
(พรบ.คุ้มครองแรงงาน ๒๕๔๑ ม.๕) เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างนอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง
ค่าชดเชยพิเศษ –
(พรบ.คุ้มครองแรงงาน  ๒๕๔๑ ม.๕) เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุดลงเพราะมีเหตุกรณีพิเศษที่กำหนดในพรบ.นี้
ค่าใช้จ่าย -  
(ป.รัษฎากร) จำนวนเงินที่ผู้มีเงินได้ต้องใช้ไปเพื่อประโยชน์ในการหาเงินได้ ซึ่งกม.ยอมให้ผู้มีเงินได้นำค่าใช้จ่ายนี้มาหักกับเงินได้พึงประเมินก่อนเสียภาษีได้ มีการหัก ๒ วิธีคือ หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาซึ่งจะหักตามอัตราร้อยละแน่นอนตายตัว และการหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรซึ่งเป็นการหักค่าใช้จ่ายตามจริง  ดู ค่าลดหย่อน
ค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่นๆ -
(ปพพ.ม.๔๔๓) ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศพผู้ตาย เช่น ค่าพาหนะที่บิดามารดาและญาติของผู้ตายเดินทางไปจัดการศพ(ฎ.๕๗๔/๒๕๑๕) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์หนังสือแจกงานศพและค่าเจดีย์บรรจุอัฐิของผู้ตายซึ่งจ่ายไปเป็นจำนวนตามสมควรแก่ฐานะของผู้ตาย (ฎ.๒๗๐๗/๒๕๑๖) ค่าส่งศพกลับคืนไปประเทศที่เป็นภูมิลำเนา (ฎ.๒๐๒๓/๒๕๒๒)
ค่าใช้จ่ายอันตนต้องเสียไป –
( ปพพ.ม.๔๔๔ ) ค่าใช้จ่ายที่ผู้ถูกกระทำละเมิดต้องเสียไปเนื่องจากถูกทำละเมิด เช่น ค่ารักษาพยาบาลบาดแผล ค่าประสาทพิการ  ค่าจ้างคนใช้เลี้ยงดูบุตรเนื่องจากไม่สามารถเลี้ยงดูบุตรได้ ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเนื่องจากถูกทำละเมิดทำให้พิการ เดินไม่ได้แขนขาเป็นอัมพาต (ฎ.๑๑๕๗/๒๕๒๑)
ค่าเช่า –
๑. เงินหรือทรัพย์สินที่ผู้เช่าชำระแก่ผู้ให้เช่าเพื่อตอบแทนการได้ใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินตามสัญญาเช่า  ๒. (พรบ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ๒๕๒๔ ม.๕) ผลิตผลเกษตรกรรม เงินหรือทรัพย์สินอื่นใด ซึ่งให้เป็นค่าตอบแทนการเช่า และหมายความรวมถึงประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ที่ผู้ให้เช่าหรือบุคคลอื่นได้รับเพื่อตอบแทนการให้เช่าทั้งโดยทางตรงหรือทางอ้อม
ค่าตอบแทน –
1.   (ปพพ.ม.1299 ว.2) เงิน สิ่งของหรือแรงงาน ที่ให้กันแล้วหรือยังไม่ให้ก็ได้           2.(พรบ. ค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา  2544 ม. 3 ) เงิน ทรัพย์สิน  หรือประโยชน์อื่นใดที่ผู้เสียหายมีสิทธิได้รับเพื่อตอบแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นจากหรือเนื่องจากมีการกระทำความผิดอาญาของผู้อื่น
ค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา 2544 , พรบ.
  กม.ว่าด้วยการรับรองสิทธิของผู้เสียหายในคดีอาญาที่จะได้รับเงินค่าตอบแทนจากความช่วยเหลือจากรัฐและสิทธิของจำเลยในคดีอาญาที่จะได้รับเงินค่าทดแทนจากรัฐหากถูกคุมขังระหว่างการพิจารณาคดีและมีคำพิพากษาถึงที่สุดมว่ามีข้อเท็จจริงฟังเป็นที่ยุติว่า จำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิดหรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด
ค่าแต่งทนาย
 ค่าธรรมเนียมศาลในคดีแพ่งซึ่งคู่ความฝ่ายที่ยื่นใบแต่งทนายต้องชำระต่อศาล
ค่าไถ่
  (ป.อ. ม.1(13))  ทรัพย์สินหรือประโยชน์ที่เรียกเอาหรือให้เพื่อแลกเปลี่ยนเสรีภาพของผู้ถูกเอาตัวไป   ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยว หรือผู้ถูกกักขังค่าไถ่ -   (ป.อ. ม.1(13))  ทรัพย์สินหรือประโยชน์ที่เรียกเอาหรือให้เพื่อแลกเปลี่ยนเสรีภาพของผู้ถูกเอาตัวไป   ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยว หรือผู้ถูกกักขัง
ค่าทดแทน1
 (พรบ. ค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา  2544 ม. 3 ) เงิน ทรัพย์สิน  หรือประโยชน์อื่นใดที่จำเลยมีสิทธิได้รับเนื่องจากการตกเป็นจำเลยในคดีอาญาและถูกคุมขังระหว่างการพิจารณาคดี และปรากฏว่าคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีนั้นฟังเป็นที่ยุติว่า จำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิดหรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด
ค่าทดแทน2
 (พรบ. เงินทดแทน  2541 ม.5) เงินที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามม.20 สำหรับการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยหรือสูญหายของลูกจ้างตามพรบ.นี้
ค่าทำขวัญ
 เงินที่ใช้เป็นค่ากรรมสิทธิ์ที่ดินของราษฎรที่นำมาใช้วางทางรถไฟหรือตัดถนน ตามพรบ. จัดวางทางรถไฟและทางหลวง 2464  ซึ่งออกในสมัย ร.6 โดยจะกำหนดให้ตามราคาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในวันที่ออกพรฎ.กำหนดเขตที่ดินโดยมีคณะกรรมการจัดที่ดิน 3 คนเป็นผู้มีหน้าที่ไกล่เกลี่ย และถ้าตกลงกันไม่ได้ก็ให้ตั้งอนุญาโตตุลาการชี้ขาด  ทางราชการจะเข้าครอบครองที่ดินได้ต่อเมื่อได้ใช้เงินหรือวางค่าทำขวัญแล้ว
ค่าทำงานในวันหยุด 
 (พรบ.คุ้มครองแรงงาน 2541 ม.5) เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในวันหยุด
ค่าทำศพ
(พรบ. เงินทดแทน  2541 ม.5) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดการศพของลูกจ้างตามประเพณีทางศาสนาของลูกจ้างหรือตามประเพณีแห่งท้องถิ่น ในกรณีที่ลูกจ้างถึงแก่ความตายเนื่องจากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยหรือสูญหาย
ค่าธรรมเนียม
 1.  (ปวิพ.) เงินที่กม.กำหนดให้คู่ความในคดีแพ่งต้องชำระให้แก่ศาลตามขั้นตอนในการดำเนินกระ บวนพิจารณา เช่น ค่าขึ้นศาล ค่าอ้างเอกสาร  บางครั้งเรียก   ค่าธรรมเนียมศาล ค่าฤชาธรรมเนียมศาล ค่าฤชาธรรมเนียม      2. เงินที่กม.กำหนดให้ผู้ขออนุญาตหรือขอให้ทางราชการดำเนินการสิ่งใดให้ต้องชำระแก่พนักงานเจ้าหน้าที่
ค่าน้ำ
 (ก) เงินภาษีที่ต้องชำระเมื่อมีเครื่องมือจับสัตว์น้ำ  อากรสัตว์น้ำ
ค่าปลงศพ
 (ปพพ.ม.443) ค่าทำศพ ค่าใช้จ่ายในการจัดการศพผู้ตายตามสมควร ตามความจำเป็นและตามฐานะของผู้ตายหรือบิดามารดาซึ่งเป็นค่าสินไหมทดแทนที่กม.กำหนดให้ผู้กระทำละเมิดต้องชำระในกรณีกระทำละเมิดให้เขาตาย
ค่าปากเรือ
 (ก) เงินภาษีที่เก็บจากเรือบรรทุกสินค้าตามขนาดความกว้างตอนกลางของเรือ
ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน 
 (พรบ. เงินทดแทน  2541 ม.5) ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน
ค่าภาคหลวง
(พรบ.ป่าไม้ 2484 ม.4(12)) เงินค่าธรรมเนียมซึ่งผู้ทำไม้หรือเก็บหาของป่าจะต้องเสียตามความในพรบ.นี้
ค่าภาระติดพัน
 (ปพพ. ม.34(7) )ค่าตอบแทนหรือภาระหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตอบแทนหรือต้องยอมรับเป็นระยะเวลาต่อเนื่องกันเพื่อตอบแทนการให้
ค่าระวางพาหนะ
 1. เงินค่าจ้างที่จ่ายให้แก่ผู้ขนส่งตามสัญญารับขน  2. บำเหน็จอันจะต้องจ่ายให้เพื่อการขนส่งของนั้น   ดู อุปกรณ์แห่งค่าระวางพาหนะประกอบ
ค่ารักษาพยาบาล
 1. (ละเมิด) ค่าใช้จ่ายที่ผู้ถูกกระทำละเมิดเสียไปในการรักษาพยาบาล เช่น ค่ายา ค่าผ่าตัด ค่าฉายรังสี      2. (พรบ. เงินทดแทน  2541 ม.5) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการตรวจ การรักษา การพยาบาล และค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็น เพื่อให้ผลของการประสบอันตรายหรือการเจ็บป่วยบรรเทาหรือหมดสิ้นไป และหมายความรวมถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอุปกรณ์ เครื่องใช้ หรือวัตถุที่ใช้แทนหรือทำหน้าที่แทนหรือช่วยอวัยวะที่ประสบอันตรายด้วย
ค่าฤชาธรรมเนียม
 1.  เงินที่กม.กำหนดให้คู่ความในคดีแพ่งต้องชำระให้แก่ศาลตามขั้นตอนในการดำเนินกระบวนพิจารณา เช่น ค่าขึ้นศาล ค่าอ้างเอกสาร  บางครั้งเรียก   ค่าฤชาธรรมเนียมศาล  ค่าธรรมเนียม    2.(ปวิพ. ม.161) หมายความรวมถึง ค่าป่วยการพยาน ค่าทนายความ ค่าธรรมเนียมในการส่งเอกสารและบังคับคดี และค่าฤชาธรรมเนียมหรือค่าธรรมเนียมอื่นๆบรรดาที่กม.บังคับให้เสีย 3. (ปพพ. ม. 329) เงินที่ลูกหนี้จะใช้แก่รัฐ  ไม่ใช่จำนวนเงินที่ลูกหนี้จะต้องใช้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่ได้เสียให้แก่รัฐในการดำเนินคดีไปแล้ว (ฎ. 5416 / 2540)
ค่าลดหย่อน
(ป.รัษฎากร) จำนวนเงินที่กม.กำหนดให้หักจากเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้วเป็นพิเศษนอกเหนือจากรายจ่ายเพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีตามสถานะของผู้เสียภาษีแต่ละคน มีการหักค่าลดหย่อนได้ ๗ กรณีคือ ค่าลดหย่อนตามสถานภาพของผู้มีเงินได้ ค่าลดหย่อนเพื่อการศึกษาของบุตร ค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต ค่าลดหย่อนเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย ค่าลดหย่อนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม และค่าลดหย่อนเงินบริจาค ดู ค่าใช้จ่าย
ค่าล่วงเวลา
 (พรบ.คุ้มครองแรงงาน  2541 ม.5) เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน
ค่าล่วงเวลาในวันหยุด
(พรบ.คุ้มครองแรงงาน 2541 ม.5) เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานล่วงเวลาในวันหยุด
ค่าเลี้ยงชีพ
เงินที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกได้จากอีกฝ่ายหนึ่งภายหลังจากการหย่า เนื่องจากเป็นความผิดของคู่สมรสอีกฝ่ายแต่เพียงฝ่ายเดียวและการหย่าเป็นเหตุให้คู่สมรสฝ่ายที่ไม่ผิดต้องยากจนลงเพราะไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สินหรือจากการงานที่เคยทำอยู่ระหว่างสมรสหรือหย่าขาดกันเนื่องจากการวิกลจริตหรือเป็นโรคติดต่อร้ายแรง และสิทธินี้สิ้นสุดเมื่อฝ่ายที่มีสิทธิได้สมรสใหม่  ดู ค่าอุปการะเลี้ยงดู
ค่าสิทธิอย่างอื่น 
(ป.รัษฎากร ม.40(3))  เงินที่ได้จากการโอนสิทธิบัตร เงินที่ได้จากการอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า เงินค่าตอบแทนที่ได้รับจากการโอนสิทธิในประทานบัตรเหมืองแร่
ค่าสินไหมทดแทน
 1.สิ่งที่กำหนดขึ้นเพื่อชดใช้หรือทดแทน ความเสียหาย ซึ่งอาจจะเป็นตัวเงินหรือไม่ก็ได้  ดู  ความเสียหาย   , ค่าเสียหาย  2. (ละเมิด ปพพ.ม.438)การคืนทรัพย์สินที่ต้องเสียไปเพราะละเมิด   การใช้ราคาทรัพย์สิน  การใช้ค่าเสียหาย และการแก้ไขเยียวยาอย่างอื่นให้กลับคืนสู่ฐานะเดิมก่อนมีการละเมิด เช่น  ให้ถอนชื่อบริษัท (ฎ.64/2501) ให้ขับไล่ออกจากที่ดิน (ฎ.1822/2494) ให้เพิกถอนการโอนทรัพย์ (ฎ.881/2495) ให้เจ้าพนักงานปฏิบัติตามหน้าที่ (ฎ.544/2516)
ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงิน
 (ปพพ.ม.446) ได้แก่ ค่าเสียโฉม (ฎ.2501/2517, 559/2535) ค่าเสื่อมสุขภาพอนามัย(ฎ.1936/2517) ค่าเสียหายที่ต้องตัดขาพิการตลอดชีวิต (ฎ.379/2518,4807/2534) บางครั้งเรียกว่า ค่าเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงิน
ค่าสืบพยานนอกศาล
ค่าธรรมเนียมศาลในคดีแพ่งซึ่งประกอบด้วย ค่าป่วยการและค่าพาหนะในการที่ผู้พิพากษาต้องไปสืบพยานนอกศาลและคู่ความฝ่ายที่ยื่นคำขอจะต้องชำระต่อศาล
ค่าเสียหาย
  1. จำนวนเงินที่กำหนดแก่ผู้เสียหายเพื่อทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้น  มีความหมายแคบกว่าความเสียหาย  ดู ความเสียหาย , ค่าสินไหมทดแทน   2. (ปพพ.ม.176 ว.3) ค่าเสียหายเฉพาะในกรณีที่คู่กรณีไม่อาจคืนสู่ฐานะเดิมได้เท่านั้น ไม่รวมค่าเสียหายอื่น
ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
 (พรบ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน  2522 ม. 49)เงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมและศาลเห็นว่า ลูกจ้างและนายจ้างไม่สามารถร่วมกันทำงานต่อไปได้
ค่าเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นจากการไม่ชำระหนี้  
      ค่าเสียหายที่ผู้เสียหายเรียกเอาได้โดยไม่ต้องพิ-
สูจน์พฤติการณ์พิเศษ (ป.พ.พ. ม. 222 วรรค 1)เช่นค่าเสียหายที่เกิดจากการผิดสัญญาเช่าที่ดินโดยผู้เช่าอยู่ในที่ดินต่อ ได้แก่ ค่าเสียหายในค่าเช่า  และค่าเสียหายจากการที่ผู้ให้เช่าไม่สามารถสร้างตึกแถวในที่ดินที่ให้เช่าเพราะราคาวัสดุก่อ สร้างมีราคาสูงขึ้น (ฎ. 3697/2524) หรือค่าเสียหายจากกำไรในการก่อสร้างอาคารพาณิชย์เพื่อทำเป็นศูนย์การค้า แต่ผู้รับจ้างก่อสร้างไม่เสร็จ (ฎ. 3587/2526)  หรือค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากทางหลวงตัดผ่าน   ผู้จะซื้อเรียกเอาจากผู้จะขายที่ผิดสัญญาได้ (ฎ.2339/2517)

ค่าเสียหายมิใช่ตัวเงิน
  ค่าเสียหายที่ไม่อาจตีราคาหรือคำนวณเป็นตัวเงินได้  เช่น ค่าเสียหายเพราะร่างกายพิการ ค่าทนทุกขเวทนา(ฎ. 247/2538)
ค่าเสียหายเบื้องต้น
 (พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ  2535 ม.4) ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการ
รักษาพยาบาล ค่าปลงศพ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดการศพ รวมทั้งค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายที่จำเป็นอย่างอื่นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยในเบื้องต้น ทั้งนี้ ตามรายการและจำนวนเงินที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 20 วรรคสอง
ค่าเสียหายเพื่อการที่เสียความสามารถประกอบการงานสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วน
( ปพพ.ม.444) ค่าสินไหมทดแทนซึ่งผู้กระทำละเมิดต้องชำระในกรณีกระทำละเมิดทำให้ผู้ถูกทำละเมิดเสียความสามารถในการประกอบการงาน เช่น ต้องออกจากราชการก่อนถึงกำหนดเกษียณอายุ (ฎ.829/2509) ทำให้ทุพพลภาพตลอดชีวิต (ฎ.1895/2512) ทำให้พิการไม่สามารถเดินได้อย่างบุคคลธรรมดาเสียสมรรถภาพในการรับราชการทหารทั้งไม่สามารถทำงานหนักได้ (ฎ.1895/2512)  เป็นค่าเสียหายในอนาคตที่กำหนดจำนวนได้แน่นอนจึงคิดดอกเบี้ยได้นับจากวันที่ศาลพิพากษา (ฎ.4613/2533)
ค่าหนังสือประกัน
 ค่าธรรมเนียมศาลในคดีแพ่งซึ่งคู่ความฝ่ายที่ทำหนังสือประกันการบังคับคดีต้องชำระต่อศาล
ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ 
 (ป.รัษฎากร ม.40(3))  ค่าแห่งความนิยมที่ประชาชนมีต่อชื่อเสียงของธุรกิจหรือสินค้า
ค่าแห่งลิขสิทธิ์ 
 (ป.รัษฎากร ม.40(3))  เงินค่าตอบแทนที่เจ้าของลิขสิทธิ์ได้รับจากการโอนลิขสิทธิ์หรือยอมให้ผู้อื่นได้ใช้ประโยชน์ในลิขสิทธิ์นั้น
ค่าอ้างเอกสาร
 ค่าธรรมเนียมศาลในคดีแพ่งซึ่งคู่ความฝ่ายที่อ้างเอกสารเป็นพยานในการสืบพยานจะต้องชำระต่อศาล
ค่าอุปการะเลี้ยงดู
 เงินที่บุตรผู้เยาว์มีสิทธิได้รับหรือเรียกได้จากบิดามารดา หรือเงินที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งมีสิทธิได้รับหรือเรียกได้จากอีกฝ่ายหนึ่งระหว่างสมรส  แต่ถ้าหย่าแล้วจะเป็นค่าเลี้ยงชีพ
ค้า
 (พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า  2535 ม.4) ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน จำหน่าย จ่าย แจกหรือโอนกรรมสิทธ์ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในทางการค้า และหมายความรวมถึงมีหรือแสดงไว้เพื่อขายด้วย
คำกล่าวโทษ
  (ปวิอ.) การที่บุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ ว่ามีบุคคลรู้ตัวหรือไม่ก็ดีได้กระทำความผิดอย่างหนึ่งขึ้น ( ม.1(8))  ต่างจากคำร้องทุกข์ที่คำกล่าวโทษไม่จำเป็นต้องมีเจตนาให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ   กม.ให้นำบทบัญญัติในเรื่องร้องทุกข์มาใช้กับคำกล่าวโทษด้วย
คำแก้ฎีกา
 (ปวิพ.ม.237) คำคู่ความ(ฎ. 65/2489) ที่จำเลยฎีกาหยิบยกเหตุผลเพื่อหักล้างคำฟ้องฎีกา   จำเลยฎีกาจะยื่นคำแก้ฎีกาหรือไม่ก็ได้ ไม่ถือว่าขาดนัด
คำแก้อุทธรณ์
(ปวิพ.ม.237) คำคู่ความ(ฎ. 65/2489) ที่จำเลยอุทธรณ์หยิบยกเหตุผลเพื่อหักล้างคำฟ้องอุทธรณ์   จำเลยอุทธรณ์จะยื่นคำแก้อุทธรณ์หรือไม่ก็ได้ ไม่ถือว่าขาดนัด
คำขอ
  1.แบบพิมพ์ศาลแบบหนึ่ง 2.การที่คู่ความในคดีแพ่งยื่นแสดงความประสงค์ต่อศาลตามแบบพิมพ์ที่กม.กำหนดเพื่อขอให้ศาลสั่งให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเสียค่าธรรมเนียม 10 บาท โดยปกติจะเป็นการขอให้ศาลออกหมายเรียกพยาน หรือขอหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี  เปรียบเทียบกับคำร้องและคำแถลง
คำขอฝ่ายเดียว
 (ปวิพ.ม.21) คำขอที่ศาลจะส่งสำเนาให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่ก็ได้ แต่ศาลมีอำนาจที่จะฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก่อนออกคำสั่งในเรื่องนั้นๆได้
คำขอฝ่ายเดียวโดยเคร่งครัด
 (ปวิพ.ม.21) คำขอที่ศาลมีอำนาจพิจารณาสั่งโดยฟังคู่ความแต่เพียงฝ่ายเดียวโดยไม่ต้องฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น  คำขอให้ยึดหรืออายัดทรัพย์
คำคัดค้าน 
 (ตั๋วเงิน) เอกสารหรือหลักฐานตามแบบระเบียบที่เจ้าหน้าที่(นายอำเภอหรือผู้แทนนายอำเภอ) หรือทนายความผู้ได้รับอนุญาตทำขึ้นมีข้อความแสดงเหตุที่ต้องทำคัดค้าน (เช่น ผู้ทรงได้ยื่นตั๋วเงินเพื่อให้รับรองหรือให้ใช้เงินแล้วแต่ถูกปฏิเสธ หรือหาตัวผู้จ่ายหรือผู้รับรองไม่พบ)คำคัดค้านเป็นเงื่อนไขที่ทำให้ผู้ทรงมีสิทธิไล่เบี้ยบุคคลที่ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินได้
คำคู่ความ
 (ปวิพ. ม.1(5)) บรรดาคำฟ้อง คำให้การ หรือคำร้องทั้งหลายที่ยื่นต่อศาลเพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ
คำเชื้อเชิญ
  (นิติกรรม) คำเชิญชวนขอให้คู่กรณีอีกฝ่ายทำคำเสนอ   เช่น ประกาศประกวดราคาของทางราชการไม่ใช่คำเสนอ แต่เป็นเพียงแต่คำเชื้อเชิญให้ทำคำเสนอเท่านั้น คำเชื้อเชิญจึงไม่ใช่คำเสนอ  ดู คำเสนอ คำปรารภ
คำซัดทอด
 คำให้การหรือคำเบิกความของผู้ร่วมกระทำความผิดในคดีอาญาที่มีผลร้ายต่อผู้ร่วมกระทำความผิดอื่นเช่น ผู้อื่นนั้นเป็นผู้กระทำผิด ตนเองไม่ได้ทำหรือทำเป็นส่วนน้อย  ศาลอาจจะรับฟังคำซัดทอดหรือไม่ก็ได้   แต่คำเบิกความของผู้ร่วมกระทำความผิดที่ศาลพิพากษาลงโทษไปก่อนหน้าคดีที่มาเบิกความแล้วไม่ถือเป็นคำซัดทอด
คำถามนำ
 คำถามที่มีหรือที่ชี้แนะคำตอบอยู่ในตัวคำถามเช่น คำถามที่ให้ตอบว่า ใช่หรือไม่ใช่  กม.ห้ามใช้คำถามนำในการซักถามพยานหรือในการถามติงพยาน  แต่ใช้คำถามนำในการถามค้านพยานได้  ดู ซักถาม  ถามติง
คำแถลง
 1.แบบพิมพ์ศาลแบบหนึ่ง 2.การที่คู่ความในคดีแพ่งยื่นแสดงความประสงค์ต่อศาลตามแบบพิมพ์ที่กม.กำหนดเพื่อขอให้ศาลสั่งให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล  เปรียบเทียบกับคำร้องและคำขอ
คำแถลงการณ์
 (ป.ว.พ. ม.1(6)) คำแถลงด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือ  ซึ่งคู่ความฝ่ายหนึ่งกระทำหรือยื่นต่อศาล ด้วยมุ่งหมายที่จะเสนอความ เห็นต่อศาลในข้อความในประเด็นที่ได้ยกขึ้นอ้างในคำคู่ความหรือในปัญหาข้อใดที่ศาลจะพึงมีคำสั่งหรือคำพิพากษา ซึ่งในข้อเหล่านี้คู่ความฝ่ายนั้นเพียงแต่แสดงหรือกล่าวทบทวนหรือยืนยัน หรืออธิบายข้อความแห่งคำพยานหลักฐาน  และปัญหาข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงทั้งปวง   คำแถลงการณ์  อาจรวมอยู่ในคำคู่ความ
คำแถลงการณ์ปิดคดี
 คำแถลงเป็นหนังสือที่คู่ความได้ยื่นต่อศาลหลังจากสืบพยานเสร็จ แต่ก่อนที่ศาลพิพากษา ทั้งนี้เพื่อแสดงประเด็นข้อพิพาทในคดีและเพื่อแสดง เน้นหรืออธิบายประเด็นหรือพยานหลักฐานที่นำสืบมาแล้วเพื่อโน้มน้าวศาลในการทำคำพิพากษา
คำท้า
  การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในศาลที่คู่ความตกลงกันให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่คู่ความท้ากันเป็นข้อแพ้ชนะ (ฎ. 826/2537) คำท้าไม่ใช่นิติกรรม ผู้ที่ดำเนินคดีแทนเด็กจึงไม่ต้องขออนุญาตต่อศาลเยาวชนฯก่อน (ฎ. 826/2537)
คำนิยาม
 คำซึ่งกำหนดหรือจำกัดความหมายที่แน่นอน  ซึ่งส่วนใหญ่กม.หรือพรบ.แต่ละฉบับจะให้ความหมายของถ้อยคำที่ใช้ใน พรบ.ไว้ในคำนิยามเนื่องจากอาจต้องให้คำคำนั้นมีความหมายกว้างหรือแคบกว่าความหมายโดยปกติธรรมดาทั่วๆไป  บางครั้งก็ใช้คำว่า บทนิยาม
คำบังคับ
 (ปอ.ม. 168)  คำบังคับตามกม. เช่น หมายเรียกพยานของพนักงานสอบสวน แต่ไม่รวมถึงหมายเรียกผู้ต้องหามาให้การ (ฎ. 1341/2509 ป.)
คำบังคับ
 (ปวิพ.) คำสั่งของศาลที่สั่งให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง  โดยกำหนดวิธีการที่จะปฏิบัติ  เวลาและเงื่อนไขอื่นๆ ที่จำเป็น พร้อมกับกำหนดวิธีบังคับในตอนท้ายว่า หากไม่ปฏิบัติตาม ผู้นั้นจะต้องถูกยึดทรัพย์ ถูกจับหรือกักขังตามปวิพ. ภาค 4 ลักษณะ 2 หมวด 2  การออกคำบังคับจะออกเฉพาะในกรณีที่ต้องมีการบังคับคดีเท่านั้น    ดู หมายบังคับคดี
คำเบิกความ
 คำที่พยานหรือคู่ความได้ให้ต่อศาลในการสืบพยาน
คำปรารภ
 1. คำนำก่อนถึงตัวบทบัญญัติเนื้อหาของรัฐธรรมนูญหรือพรบ.  เป็นข้อความที่แสดงถึงวัตถุประสงค์หรือเหตุที่ต้องมีการออกกม.นั้น  ในสมัยก่อนคำปรารภจะยาวมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำปรารภในรัฐธรรมนูญ   แต่สมัยปัจจุบันคำปรารภมักจะกล่าวไว้สั้น ๆ เท่านั้น  เช่น คำปรารภในพรบ.วัตถุอันตราย 2535 ที่บัญญัติไว้ว่า “ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยวัตถุมีพิษ”  2. (นิติกรรม)  คำทาบทามเพื่อหยั่งหรือเชื้อเชิญให้ทำคำเสนอ ไม่ใช่คำเสนอเพราะยังไม่ชัดเจนแน่นอน  ดู คำเชื้อเชิญ  คำเสนอ
คำพิพากษา
1.คำวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีของศาลยุติธรรม บางครั้งใช้คำสั่ง  ดูคำสั่ง 2.เอกสารที่แสดงคำวินิจฉัยดังกล่าว
คำฟ้อง1 
  1. (ป.ว.พ. ม.1(3))      กระบวนพิจารณาใด ๆ ที่โจทก์ได้เสนอข้อหาต่อศาล  ไม่ว่าจะได้เสนอด้วยวาจาหรือทำเป็นหนังสือ ไม่ว่าจะได้เสนอต่อศาลชั้นต้น หรือชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา ไม่ว่าจะได้เสนอในขณะที่เริ่มคดีโดยคำฟ้อง หรือคำร้องขอ หรือเสนอในภายหลังโดยคำฟ้องเพิ่มเติมหรือแก้ไข  หรือฟ้องแย้ง  หรือโดยสอดเข้ามาในคดีไม่ว่าด้วยสมัครใจ  หรือถูกบังคับ หรือโดยมีคำขอให้พิจารณาใหม่   2. แบบพิมพ์ศาลแบบหนึ่ง 
คำฟ้อง2
 (พรบ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง 2542 ม.3) การเสนอข้อหาต่อศาลไม่ว่าจะได้เสนอต่อศาลปกครองชั้นต้นหรือศาลปกครองสูงสุด ไม่ว่าจะได้เสนอในขณะที่เริ่มคดีโดยคำฟ้องหรือคำร้องขอหรือเสนอในภายหลังโดยคำฟ้องเพิ่มเติมหรือแก้ไข หรือฟ้องแย้งหรือโดยสอดเข้ามาในคดีไม่ว่าด้วยความสมัครใจ หรือถูกบังคับหรือโดยมีคำขอให้พิจารณาใหม่
คำมั่น
 นิติกรรมฝ่ายเดียวที่ผู้ทำแสดงเจตนาผูกพันตนเองมั่นคงต่อบุคคลอื่นโดยมีข้อความชัดเจนแน่นอนและเมื่อบุคคลได้ปฏิบัติตามคำมั่น จะเกิดสัญญาขึ้น มี 2 ประเภทคือ คำมั่นจะให้รางวัลและคำมั่นจะทำสัญญา  ดู คำเสนอ  คำสนอง
คำมั่นว่าจะซื้อจะขาย
 นิติกรรมฝ่ายเดียวที่ผู้ทำคำมั่นจะผูกมัดตัวเองไว้ฝ่ายเดียวและก่อให้เกิดหนี้ผูกพันแก่ผู้ทำโดยให้คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง (ซึ่งอาจจะเป็นคนเดียวหรือหลายคน) ทราบว่า ได้มีการให้คำมั่นว่าจะซื้อหรือจะขาย  คำมั่นและคำเสนอจะมีลักษณะคล้ายกัน แต่ความผูกพันในคำมั่นจะมัดแน่นแฟ้นยิ่งกว่าคำเสนอ คำมั่นเป็นการแสดงเจตนาอย่างหนึ่ง จึงนำหลักทั่วไปในเรื่องการแสดงเจตนามาใช้ด้วย เมื่อให้คำมั่นแล้วย่อมเป็นผลผูกพันฝ่ายผู้ให้คำมั่นจะต้องผูกพันที่จะต้องรอคำตอบจากอีกฝ่ายหนึ่ง และคำมั่นจะมีผลต่อเมื่อได้บอกกล่าวความจำนงว่าจะทำการซื้อขายให้ทำสำเร็จตลอดไป  และคำบอกกล่าวนั้นไปถึงบุคคลผู้ให้คำมั่นแล้ว ถ้าผู้รับคำมั่นแสดงเจตนาตอบรับมาก็เกิดเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดหรือสัญญาจะซื้อจะขายผูกพันคู่สัญญา  ส่วนใหญ่คำมั่นว่าจะขายมักจะปรากฏและใช้กันอยู่ในสัญญาเช่าโดยมักจะมีข้อความที่ผูกพันผู้ให้เช่าว่า  หากผู้เช่าจะซื้อทรัพย์สินที่ให้เช่า ผู้ให้เช่าจะยอมขายให้
    คำมั่นแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ (1) คำมั่นมีกำหนดเวลา ซึ่งจะมีผลผูกพันผู้ให้คำมั่นภายในเวลาที่กำหนดไว้เท่านั้นกล่าวคือ ผู้ให้คำมั่นจะถอนคำมั่นก่อนเวลาที่กำหนดไว้ไม่ได้และถ้าอีกฝ่ายไม่ตอบรับภายในกำหนด เวลาที่กำหนดไว้  คำมั่นจะสิ้นผลผูกพัน  และ (2) คำมั่นไม่มีกำหนดเวลา ซึ่งจะมีผลผูกพันผู้ให้คำมั่นตลอดไปไม่มีกำหนดเวลา (ฎ.1004 / 2485) แม้ว่า จะเกิน 10 ปีก็จะผูกพันแต่อาจทำให้สิ้นผลได้  โดยผู้ให้คำมั่นบอกกล่าวโดยกำหนดเวลาพอควรไปอีกครั้งหนึ่ง โดยมีเงื่อนไขว่า หากไม่ตอบกลับมาก็ให้คำมั่นสิ้นผลไป(ม.454 วรรค 2)
    คำมั่นว่าจะขายหรือซื้ออสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด หรือมีการวางประจำหรือหรือมีการชำระหนี้บางส่วนแล้ว จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้  (ม. 456 วรรค 2 ) แต่คำมั่นว่าจะขายหรือจะซื้อสังหาริมทรัพย์ไม่ต้องทำตามข้อกำหนดในม. 456 วรรค 2 แต่ประการใด
    ตัวอย่างของคำมั่นจะซื้อจะขาย เช่น ข้อความที่ว่า ถ้ามาก็จะขายให้ (ฎ. 1004 / 2485) หรือ ผู้ซื้อยอมให้ผู้ขายซื้อคืนได้ (ฎ. 347 /2488) หรือถ้าผู้เช่าจะซื้อ ผู้ให้เช่ายอมจะขายให้ (ฎ. 5758 / 2539) หรือทำสัญญาซื้อขายที่ดินจดทะเบียนไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว โจทก์จำเลยทำสัญญาต่อกันอีกฉบับว่า โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินคืนได้ภายในเวลา 10 ปี สัญญาฉบับหลังเป็นคำมั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตาม ม 454 วรรคสอง มีผลผูกพันคู่กรณีใช้บังคับได้ (ฎ.3670 / 2538)
คำมั่นจะทำสัญญา
 นิติกรรมฝ่ายเดียวที่ผู้ทำแสดงเจตนาผูกพันตนเองมั่นคงต่อบุคคลอื่นโดยมีข้อความชัดเจนแน่นอนเสนอให้ทำสัญญา  เมื่อบุคคลได้สนองรับหรือปฏิบัติตามคำมั่น จะเกิดสัญญาขึ้น ดู  คำมั่น คำมั่นจะให้รางวัล
คำมั่นจะให้รางวัล
  นิติกรรมฝ่ายเดียวที่ผู้ทำแสดงเจตนาผูกพันตนเองมั่นคงต่อบุคคลทั่วๆไปโดยมีข้อความชัดเจนแน่นอนว่า เมื่อบุคคลใดได้ปฏิบัติตามคำมั่น จะเกิดสัญญาขึ้นและผู้นั้นจะได้รับรางวัลตามคำมั่น  มี 2 ประเภทคือ คำมั่นจะให้รางวัลแก่ผู้กระทำการและคำมั่นจะให้รางวัลในการประกวดชิงรางวัล  ดู   คำมั่น คำมั่นจะทำสัญญา
คำร้อง
 1.แบบพิมพ์ศาลแบบหนึ่ง 2.การที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในคดีแพ่งยื่นแสดงความประสงค์ต่อศาล ตามแบบพิมพ์ที่กม.กำหนด เพื่อขอให้ศาลสั่งให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง คำร้องต้องเสียค่าธรรมเนียม 20 บาท กมจะ.กำหนดแบบและกรณีที่จะต้องทำเป็นคำร้องไว้  ถ้าไม่ทำตามแบบศาลจะสั่งยกคำร้องนั้น  เปรียบเทียบกับคำขอและคำแถลง  3.(พรบ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ 2526 ม.4)  คำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีอาญาที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแล้วขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่
คำร้องขอ
     1. (ปวิพ.)   คำฟ้อง ที่ใช้ในการเริ่มคดีไม่มีข้อพิพาท เช่น ในคดีร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก  โดยปกติจะใช้แบบพิมพ์คำร้องแทนคำฟ้อง  2. (พรบ.ล้มละลาย 2483 ม.90/1) คำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ
คำร้องทุกข์
 1. การที่ผู้เสียหายหรือผู้รับมอบอำนาจได้กล่าวหาต่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจว่า มีการกระทำความผิดอาญาแก่ตนและประสงค์จะให้ผู้กระทำความผิดนั้นได้รับโทษ  ในคดีความผิดต่อส่วนตัวจะต้องมีคำร้องทุกข์ก่อนจึงจะมีการดำเนินคดีได้  2.  (ปวิอ.) การที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ (ปวิอ.)ว่ามีผู้กระทำความผิดขึ้น จะรู้ตัวผู้กระทำความผิดหรือไม่ก็ตาม ซึ่งกระทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย และการกล่าวหาเช่นนั้น ได้กล่าวโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ (ม.1(7))  การแจ้งไว้เป็นหลักฐาน (ฎ.1701/2522)หรือ แจ้งเพื่อกันคดีขาดอายุความไม่ต้องการให้ดำเนินคดี (ฎ.1725 / 2522)ไม่เป็นการร้องทุกข์
คำวินิจฉัย 
 1. )ชื่อที่ใช้เรียกคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญ  2.) คำพิพากษาของศาลปกครอง
คำสนอง
 นิติกรรมฝ่ายเดียวที่ผู้รับคำเสนอแสดงเจตนาตอบตกลงที่จะรับทำสัญญาตามคำเสนอต่อผู้ทำคำเสนอ  เมื่อคำเสนอคำสนองต้องตรงกัน จะเกิดสัญญาขึ้น ยกเว้น แต่เป็นคำสนองล่วงเวลา หรือมีข้อความเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำเสนอ  ดูคำเสนอ
คำสนองล่วงเวลา
 คำสนองที่มาถึงผู้ทำคำเสนอช้ากว่าเวลาที่กำหนดไว้ในคำเสนอ หรือช้ากว่าเวลาที่กม.กำหนด ซึ่งมีผลทำให้คำเสนอสิ้นความผูกพันและคำสนองล่วงเวลากลับกลายเป็นคำเสนอขึ้นมาใหม่
คำสั่ง
  1. ถ้อยคำหรือข้อความที่บังคับให้กระทำ หรือไม่กระทำการใด  ซึ่งอาจเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้  2. (ปอ.ทหาร ม.4 ) บรรดาข้อความที่ผู้ซึ่งบังคับบัญชาทหารผู้ถืออำนาจอันสมควร เป็นผู้สั่งไปโดยสมควรแก่กาลสมัยและชอบด้วยพระราชกำหนดกฎหมาย คำสั่งเช่นนี้ ท่านว่า เมื่อผู้รับคำสั่งได้กระทำตามแล้ว ก็เป็นอันหมดเขตของการที่สั่งนั้น
คำสั่งทางปกครอง
 1. (พรบ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง 2539 ม.5)  การใช้อำนาจทางกม.ของเจ้าหน้าที่รัฐแต่เพียงฝ่ายเดียว  ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โดน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล          2. (พรบ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง  2539 ม.5) (1) การพระราชกฤษฎีกา
คำสั่งปิดคดี
 (พรบ.ล้มละลาย  2483) คำสั่งที่มีผลเพียงให้ระงับการจัดการต่างๆ ตามที่จพท.มีอำนาจตามพรบ.ล้มละลายฯ ไว้เป็นการชั่วคราว แต่ไม่ทำให้คดีล้มละลายสิ้นสุด คดีล้มละลายยังคงค้างพิจารณาอยู่ในระหว่างการปฏิบัติการของจพท. ซึ่งยังคงมีหน้าที่อื่นๆ เช่น หน้าที่ตามม.160 หรืออนุมัติการใดๆที่กม.บัญญัติไว้ หรือตรวจบัญชีรับจ่ายของบุคคลล้มละลายตามม.134วรรค (1)-(3) รวมทั้งยังอาจขอให้ศาลเปิดคดีต่อไปเมื่อเห็นว่า บุคคลล้มละลายมีทรัพย์สินขึ้นใหม่ตาม ม.134 ว.ท้าย (ฎ.236/2545)
คสั่งระหว่างพิจารณา
 (ปวิพ.) คำสั่งที่มิใช่คำสั่งตามปวิพ.ม.227และ228 แต่เป็นคำสั่งที่ศาลสั่งหรือวินิจฉัยคำคู่ความ คำร้อง คำขอหรือคำแถลงในระหว่างการพิจารณาคดีใดคดีหนึ่งก่อนมีการชี้ขาดตัดสินคดี และไม่ทำให้คดีเสร็จไปทั้งคดีหรือในประเด็นใดประเด็นหนึ่งแต่ศาลยังต้องดำเนินกระบวนพิจารณาคดดีนั้นต่อไป  จะอุทธรณ์คำสั่งนี้คู่ความต้องโต้แย้งไว้ก่อนและอุทธรณ์ทันทีไม่ได้ต้องให้มีคำพิพากษาคดีนั้นก่อน
คำเสนอ
 นิติกรรมฝ่ายเดียวที่ผู้ทำแสดงเจตนาต่อบุคคลอื่น มีข้อความชัดเจนแน่นอนเพียงพอที่จะเสนอให้มีการตกลงทำสัญญา  และผู้ทำมีเจตนาว่า เมื่อบุคคลอื่นนั้นมีคำสนองกลับคืนมา จะเกิดเป็นสัญญาขึ้น คำเสนอจึงเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียวที่ต้องมีผู้รับการแสดงเจตนา ซึ่งอาจจะทำด้วยวาจา หรือเป็นลายลักษณ์อักษรหรือกริยาอาการใดก็ได้  คำเสนอจะมีผลผูกพันผู้ทำจนกว่าจะสิ้นกำหนดระยะเวลาตามที่กำหนดในคำเสนอ หรือมีการถอนคำเสนอ หรือสิ้นผลตามที่กม.กำหนด  ดู คำสนอง คำเชื้อเชิญ คำปรารภ  คำมั่น
คำให้การ
   1. (ป.ว.พ. ม. 1(4))  กระบวนพิจารณาใด ๆ ซึ่งคู่ความฝ่ายหนึ่งยกข้อต่อสู้เป็นข้อแก้คำฟ้องตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้   นอกจากคำแถลงการณ์  2. แบบพิมพ์ศาลแบบหนึ่ง 3. คำให้การชั้นสอบสวน
คให้การชั้นสอบสวน
 คำให้การของผู้ต้องหาหรือพยานต่อพนักงานสอบสวน
คุณธรรมทางกฎหมาย
 สิ่งที่กม.ประสงค์จะคุ้มครอง เช่น ในความผิดฐานลักทรัพย์ คุณธรรมหรือสิ่งที่กม.ประสงค์จะคุ้มครองไม่ใช่ตัวทรัพย์ แต่เป็นกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองของบุคคลในตัวทรัพย์นั้น  ในความผิดฐานยักยอกคุณธรรมทางกฎหมายคือ กรรมสิทธิ์  คุณธรรมทางกมงจึงมีประโยชน์ในการใช้และตีความกม. บางครั้งเรียกว่า นิติสมบัติ
คุมขัง 
(ป.อ. ม.1 (12))   คุมตัว  ควบคุม  ขัง  กักขังหรือจำคุก
คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ 2535, พรบ.
 กม.ที่มีเจตนารมณ์เพื่อที่จะให้ผู้ประสบภัยจากรถได้รับการเยียวยารักษาทันท่วงทีจากบริษัทประกันภัยหรือสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ แล้วให้บริษัทหรือสำนักงานดังกล่าวมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากเจ้าของรถผู้ขับขี่รถที่ก่อ่ให้เกิดความเสียหายเพราะจงใจหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงได้ (ฎ.5865/2545)
คุ้มครองพยานในคดีอาญา  2546 , พรบ.
  กม. ว่าด้วยบทบัญญัติรับรองสิทธิของบุคคลซึ่งเป็นพยานในคดีอาญาให้ได้รับความคุ้มครอง การปฏิบัติที่เหมาะสมและได้รับค่าตอบแทนที่จำเป็นและสมควรแก่รัฐ   เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ
คุ้มครองเด็ก  2546 , พรบ.
 กม.ว่าด้วยวิธีการปฏิบัติต่อเด็กเพื่อให้เด็กได้รับการอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน และมีพัฒนาการที่เหมาะสม ป้องกันมิให้เด็กถูกทารุณกรรม ตกเป็นเครื่องมือในการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ หรือถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม และปรับปรุงวิธีการส่งเสริมความร่วมมือในการคุ้มครองเด็กระหว่างหน่วยงานของรัฐและเอกชน เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก เดิมกม.ในเรื่องนี้คือ ปว. ฉบับที่ 132 ลงวันที่ 22 เมย. 2515 และปว. ฉบับที่ 294 ลงวันที่ 27 พย. 2515
คุมตัวไว้ในสถานพยาบาล
การที่ศาลสั่งให้ส่งตัวผู้มีจิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน ซึ่งไม่ต้องรับโทษหรือได้รับการลดโทษไปคุมตัวไว้ในสถานพยาบาลเนื่องจากเห็นว่า การปล่อยตัวไปจะไม่ปลอดภัยแก่ประชาชน  (ปอ.ม. 48) ซึ่งเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยอย่างหนึ่ง
คู
 (ปพพ.ม. 1342)  รวมถึงคลองด้วย (ฎ. 2882/2538)
คู่กรณี
 (พรบ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง 2542 ม.3) ผู้ฟ้องคดี ผู้ถูกฟ้องคดี และให้หมายความรวมถึงบุคคล หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งเข้ามาเป็นคู่กรณีด้วยการร้องสอด ไม่ว่าจะด้วยความสมัครใจเอง หรือโดยถูกคำสั่งศาลปกครองเรียกเข้ามาในคดี ทั้งนี้เนื่องจากเป็นผู้มีส่วนได้เสีย หรืออาจถูกกระทบจากผลแห่งคดีนั้นและเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินการะบวนพิจารณาให้รวมถึงผู้มีสิทธิกระทำการแทนด้วย
คู่กรณีที่เกี่ยวข้อง
(พรบ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 2544 ม.4) ผู้ซึ่งอาจกระทำการใดๆ โดยขึ้นอยู่กับใบรับรองหรือลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
คู่ความ  
1. ( ป.ว.พ. ม.1(11))   บุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาล และเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณาให้รวม ถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้น ๆ ตามกฎ หมาย หรือในฐานะทนายความ       2. (ป.วิ.อ. ม.2(15))โจทก์ฝ่ายหนึ่งและจำเลยอีกฝ่ายหนึ่ง  รวมทนายความ(ฎ.1382/2492)
คู่ความมรณะ
 การที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตายระหว่างคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล   ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียอาจร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่คู่ความมรณะได้หรือศาลอาจหมายเรียกบุคคลดังกล่าวเข้าเป็นคู่ความแทน ที่คู่ความมรณะได้  บางครั้งเรียกว่า  การเข้าแทนที่คู่ความมรณะ  ดูปวิพ. ม. 42
คู่ความร่วม
(ปวิพ.) การที่บุคคลหลายคนร่วมเป็นคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เช่น ร่วมกันเป็นโจทก์หรือจำเลย  มี 2 กรณีคือ เป็นคู่ความร่วมตั้งแต่เริ่มคดีและเป็นภายหลังจากเริ่มคดีแล้วหรือการร้องสอด  ในการดำเนินกระบวนพิจารณา การที่คู่ความร่วมคนใดคนหนึ่งทำไม่ถือว่าทำแทนคนอื่นด้วย คู่ความร่วมแต่ละคนต่างต้องทำด้วยตนเอง เว้นแต่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้หรือมีกม.บัญญัติให้ทำแทนกันได้ ดู ผู้ที่มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี   ร้องสอด
คู่ฉีก
 (ตั๋วเงิน) ต้นฉบับแต่ละฉบับของตั๋วแลกเงินเป็นสำรับซึ่งมีข้อความอย่างเดียวกันและใช้แทนกันได้  ดู ตั๋วแลกเงินเป็นสำรับ
คู่สัญญาคนก่อน
 (ตั๋วเงิน) ผู้สั่งจ่ายหรือผู้ออกตั๋วและผู้สลักหลังคนก่อนๆ
เคมีภัณฑ์ทางการเกษตร
(พรบ.ความลับทางการค้า 2545 ม.3) เคมีภัณฑ์ที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการเกษตร และให้หมายความรวมถึงเคมีภัณฑ์ที่ใช้ในการฆ่าเชื้อโรค หรือกำจัดแมลง สัตว์หรือพืช ที่อาจก่อความเสียหายแก่การเกษตรด้วย
เครดิตภาษีเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกำไร
(ป.รัษฎากร ม. 47 ทวิ) การคืนเงินภาษีเงินได้นิติบุคคลที่เรียกเก็บจากกำไรสุทธิของนิติบุคคลบางส่วนให้แก่ผู้ถือหุ้นซึ่งได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกำไร มีขึ้นเพื่อขจัดหรือบรรเทาปัญหาที่เก็บภาษีในเงินจำนวนเดียวกันจากนิติบุคคลและผู้ถือหุ้นซ้ำซ้อนกัน
เคหสถาน
(ป.อ. ม.1(4), พรบ.คนเข้าเมือง 2522 ม.4) ที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัย เช่น เรือน โรง เรือหรือแพ ซึ่งคนอยู่อาศัย  และให้หมายความรวมถึงบริเวณของที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยนั้นด้วย  จะมีรั้วล้อมหรือไม่ก็ตาม เช่น กุฏิพระ(ฎ. 2014 / 2536) ที่พักคนงานกินอยู่หลับนอนระหว่างการก่อสร้าง(ฎ.2457/251 )แผงลอยค้าขายในตลาดสดซึ่งได้เช่าทำ เพิงพักและพักอาศัยที่นั้น (ฎ.3780/2516)เล้าไก่อยู่ในบริเวณโรงเรือนซึ่งมีรั้วและอยู่ห่างจากเรือนผู้เสียหาย 1  เมตร(ฎ.393/2509)  ที่ไม่ใช่ เคหสถาน เช่น คอกสุกรซึ่งติดอยู่กับห้องแถว(ฎ. 1250/2520)  ใน ป.อ. มีความผิดเกี่ยวกับเคหสถานเพียงสองฐานคือ ลักทรัพย์ในเคหสถาน (ม.335(8)) และบุกรุกเคหสถาน (ม.364)
แคชเชียร์เช็ค
 เช็คที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่ายหรือเป็นผู้ออกและผูกพันตนเองที่จะชำระเงินตามเช็คนั้น คำนี้เป็นคำย่อส่วนคำเต็มคือ Cashier’ s Order Cheque  บางครั้งเรียก Banker’s Cheque, Manager’s Cheque
เครื่องกระสุนปืน
 (พรบ.อาวุธปืนฯ ม. 4(2))หมายความรวมตลอดถึงกระสุนโดด  กระสุนปราย กระสุนแตก ลูกระเบิด ตอร์ปิโด  ทุ่นระเบิดและจรวด  ทั้งชนิดที่มีหรือไม่มีกรด  แกลเชื้อเพลิง  เชื้อโรค ไอพิษ  หมอกหรือควัน  หรือกระสุน  ลูกระเบิด  ตอร์ปิโด ทุ่นระเบิดและจรวด  ที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน  หรือเครื่อง  หรือสิ่งเหมาะสำหรับอัดหรือทำหรือใช้ประกอบเครื่องกระสุนปืน
เครื่องจักร 
 1.(พรบ.โรงงาน  2535 ม.5 ) สิ่งที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนหลายชิ้นสำหรับใช้ก่อกำเนิดพลังงาน เปลี่ยนหรือแปลงสภาพพลังงาน หรือส่งพลังงาน ทั้งนี้ด้วยกำลังน้ำ ไอน้ำ ลม ก๊าซ ไฟฟ้า หรือพลังงานอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน และหมายความรวมถึงเครื่องอุปกรณ์ ไฟลวีล ปุลเล สายพาน เพลา เกียร์ หรือสิ่งอื่นที่ทำงานสนองกัน 2. (พรบ. การผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี 2548ม.3 )เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต และให้หมายความรวมถึงอุปกรณ์ของเครื่องจักรตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
 (พรบ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2551 ม.3 ) สุราตามกม.ว่าด้วยสุรา ทั้งนี้ ไม่รวมถึงยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ยาเสพติดให้โทษตาม กม.ว่าด้วยการนั้น
เครื่องปรับอากาศ
แผนคอยล์ยูนิต (ส่วนที่อยู่ในอาคาร) ซึ่งประกอบด้วยแผงส่งลมเย็นและพัดลมซึ่งขับด้วยมอเตอร์ และ คอนเดนซิ่งยูนิต (ส่วนที่อยู่นอกอาคาร) ซึ่งประกอบด้วยแผงระบายความร้อน พัดลมซึ่งขับด้วยมอเตอร์ และคอมเพรสเซอร์ เป็นเครื่องปรับอากาศตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ประเภท ๐๓.๐๑ แฟนคอยล์ยูนิตและคอนเดนซิ่งยูนิตแต่ละส่วนจึงเป็นเครื่องปรับอากาศโดยมิต้องประกอบเข้าด้วยกัน (ฎ. ๑๑๗๐/๒๕๔๗)
เครื่องมือทำการประมง
 (พรบ.การประมง  2490 ม.4 (3)) เครื่องกลไก เครื่องใช้ เครื่องอุปกรณ์ ส่วนประกอบ อาวุธ เสา หลัก หรือเรือ บรรดาที่ใช้ทำการประมง
เครื่องมือนอกพิกัด
 (พรบ.การประมง  2490 ม.4 (14)) เครื่องมือทำการประมงซึ่งไม่ได้ระบุไว้ในกฎกระทรวงว่าเป็นเครื่องมือในพิกัด
เครื่องมือในพิกัด
 (พรบ.การประมง  2490 ม.4 (13)) เครื่องมือทำการประมงซึ่งระบุชื่อ ลักษณะ หรือวิธีใช้ไว้ในกฎกระทรวง
เครื่องมือประจำที่
(พรบ.การประมง  2490 ม.4 (12)) เครื่องมือทำการประมงซึ่งใช้วิธีลงหลัก ปัก ผูก ขึง รั้ง ถ่วง หรือวิธีอื่นใด อันทำให้เครื่องมือนั้นอยู่กับที่ในเวลาทำการประมง
เครื่องหมาย
 1. สิ่งที่ทำขึ้นแสดงความหมายเพื่อจดจำหรือกำหนดรู้  สิ่งใดๆ ก็ได้ที่ทำขึ้นแสดงความหมายนั้น (ฎ.7036/2540)  2.(พรบ.เครื่องหมายการค้า 2534 ม. 4 ) ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ ตรา ชื่อ คำ ตัวหนังสือ ตัวเลข ลายมือชื่อ หรือสิ่งเหล่านี้อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างรวมกัน แต่ไม่หมายความรวมถึงแบบผลิตภัณฑ์ตามกม.ว่าด้วยสิทธิบัตร
เครื่องหมายการค้า
(พรบ.เครื่องหมายการค้า 2534 ม. 4 )  เครื่องหมายที่ใช้หรือจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น
เครื่องหมายการค้า 2534, พรบ.
 กม.ที่ว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการราชการ การจดทะเบียน สิทธิในการใช้และสิทธิอื่นๆ โดยกำหนดความผิดและโทษไว้
เครื่องหมายเขต
  (ปอ.ม.363) สิ่งที่แสดงเขตแห่งอสังหาริมทรัพย์ซึ่งอาจเกิดจากธรรมชาติ เช่น คู คลองหรือต้นไม้  หรืออาจเกิดจากมนุษย์ทำขึ้นก็ได้เช่น หมุดเขตโฉนดที่ดิน  แต่ถ้าเป็นหลักที่ปักเพื่อทำแผนที่พิพาท  (ฎ. 2861 / 2517) หรือเพื่อบังคับคดีไม่ใช่เครื่องหมายเขต (ฎ. 4723 / 2529)
เครื่องหมายจราจร
 (พรบ.จราจรทางบก  2522 ม. 4 (34)) เครื่องหมายใดๆ ที่ได้ติดตั้งไว้ หรือทำให้ปรากฏในทางสำหรับให้ผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนที่จูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์ ปฏิบัติตามเครื่องหมายนั้น
เครื่องหมายบริการ
  (พรบ.เครื่องหมายการค้า 2534 ม. 4 )  เครื่องหมายที่ใช้หรือจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับบริการ เพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายบริการค้านั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการของบุคคลอื่น
เครื่องหมายร่วม
  (พรบ.เครื่องหมายการค้า 2534 ม. 4 )  เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้หรือจะใช้โดยบริษัทหรือวิสาหกิจในกลุ่มเดียวกัน  หรือโดยสมาชิกของสมาคม สหกรณ์ สหภาพ สมาพันธ์ กลุ่มบุคคลหรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน
เครื่องหมายรับรอง
  (พรบ.เครื่องหมายการค้า 2534 ม. 4 )  เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้หรือจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองเกี่ยวกับแหล่งกำเนิด  ส่วนประกอบ วิธีการผลิต คุณภาพ หรือคุณลักษณะอันใดของสินค้านั้นหรือเพื่อรับรองเกี่ยวกับสภาพ คุณภาพ ชนิดหรือคุณลักษณะอันใดของบริการนั้น
เครื่องหมายรับรองการผลิต
 (พรบ. การผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี 2548ม.3 ) เครื่องหมายและรหัสที่อธิบดีออกให้เพื่อแสดงให้ทราบถึงแหล่งการผลิตของผลิตภัณฑ์ซีดี
เครื่องหมายรับรองงานต้นแบบ
 (พรบ. การผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี 2548ม.3 ) เครื่องหมายและรหัสที่อธิบดีออกให้เพื่อแสดงให้ทราบถึงงานที่ผลิตขึ้นอันมีลิขสิทธิ์
เครื่องหมายราชการ  2482 , พรบ.
 กม.อาญาที่ว่าด้วย การใช้เครื่องหมายราชการและการปลอมและเลียนเครื่องหมายราชการเป็นความผิดและมีโทษ  ใช้บังคับเมื่อ30 ตค. 2482
เครื่องหมายอื่นที่มีความหมายถึงรัฐ
 (ปอ.ม.118)เครื่องหมายที่หมายถึงประเทศไทย เช่น ตราครุฑ
เครื่องอุปกรณ์
(ก) อุปกรณ์
เคาน์ซิลออฟเสตด
คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษจากคำว่า Council of State คณะที่ปรึกษาราชการแผ่นดินที่ ร.5 โปรดเกล้าฯแต่งตั้งขึ้นตามพรบ.เคาน์ซิลออฟเสตดคือ ที่ปฤกษาราชการแผ่นดินเมื่อวันที่ 14 มิย.2417 มีอำนาจหน้าที่ 2 ประการคือ เป็นที่ปรึกษาในการบริหารราชการแผ่นดินและในการร่างกม.กับพิจารณาเรื่องที่ราษฎรได้รับความเดือด ร้อน  เป็นต้นกำเนิดของคณะกรรมการกฤษฎีกา  คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ และศาลปกครองในเวลาต่อมา   ดู ปรีวี เคาน์ซิล
ครอบครอง
(พรบ.ป่าไม้ 2484) หมายความรวมถึงครอบครองเพื่อตนเองและครอบครองแทนผู้อื่นด้วยเพราะไม่มีบทกฎหมายใดจำกัดว่าต้องเป็นการครอบครองเพื่อตนเองเท่านั้นจึงจะเป็นความผิดอีกทั้งในทางอาญาการร่วมกันครอบครองไม้หวงห้ามก็เป็นความผิดเช่นเดียวกันดังนั้นการที่จำเลยครอบครองไม้ยูงซึ่งเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก.เพื่อแปรรูปให้ผู้ว่าจ้างจึงเป็นความผิด(ฎ.๒๖๕๐/๒๕๔๑)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น