วันอังคารที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2553

จงใจ           (ปพพ.ม.420)
รู้สำนึกถึงผลที่เกิดจากการกระทำของตนแต่ไม่ถึงกับขนาดมุ่งหมายต่อผล เพียงแต่รู้ว่า การกระทำของตนจะมีความเสียหายเกิดขึ้นก็เพียงพอ การกระทำโดยเจตนาเป็นจงใจด้วยเสมอแต่การกระทำโดยจงใจอาจไม่ใช่การกระทำโดยเจตนาก็ได้ ดูเจตนา

จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
 (พรบ.คุ้มครองแรงงาน 2541 ม.119(2)) ลูกจ้างกระทำโดยตั้งใจให้เกิดความเสียหายโดยรู้ถึงผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่นายจ้างด้วย (ฎ.902/2545)

จนกว่าคดีจะถึงที่สุด
  (พรบ.ให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม 2543) ถึงที่สุดตามความในปวิพ. ม.147 คดีที่ได้มีการอุทธรณ์หรือฎีกา และศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาแล้ว กรณีหาได้มีความหมายว่าถึงที่สุดในแต่ละชั้นศาล (ฎ.7223/2545)

จพท. 
 (ย.) เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์

จรรณยาบรรณ
กฎเกณฑ์ความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพใดวิชาชีพหนึ่ง ซึ่งมีขึ้นเพื่อรักษา ผดุงเกียรติคุณและคุณธรรมของการประกอบวิชาชีพนั้นๆ

จอห์น ล็อค  (John Locke) 
 (ค.ศ. 1632 – 1694) นักปราชญ์ชาวอังกฤษ เขียนหนังสือชื่อ Second Treatise of Civil Government อธิบายว่า อำนาจอธิปไตยแบ่งออกเป็น 3 อำนาจคือ (1) อำนาจนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นอำนาจที่สำคัญที่สุดเนื่องจากเป็นอำนาจที่กำหนดกฎเกณฑ์ และขอบเขตของสิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์ (2) อำนาจบริหารซึ่งเป็นอำนาจบังคับบัญชาให้เป็นไปตามกม. โดยลงโทษผู้ฝ่าฝืน (3) อำนาจในการทำสงคราม ทำสนธิสัญญา และแลกเปลี่ยนนักโทษ

จอห์น ออสติน – ( John Austin)
 (ค.ศ.1790-1859) นักปรัชญาชาวอังกฤษยึดถือปรัชญา สำนักกฎหมายฝ่ายบ้านเมือง (Legal Positivism)

จังหวัด
องค์กรที่ใหญ่ที่สุดในการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค มีฐานะเป็นนิติบุคคล การตั้งหรือยุบหรือเปลี่ยนเขตต้องทำโดยพรบ. มีการแบ่งส่วนราชการออกเป็นสำนักงานจังหวัดและส่วนราชการอื่นๆ ประจำจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าผู้บังคับบัญชาข้าราชการสูงสุดในจังหวัดและมีคณะกรรมการจังหวัดเป็นที่ปรึกษา

จัดการงานนอกสั่ง(ปพพ.)
การที่บุคคลเข้าทำกิจการแทนผู้อื่นโดยมิได้ถูกว่าขานวานใช้ให้ทำหรือโดยไม่มีสิทธิที่จะทำการงานนั้นแทนผู้อื่น มี 2 ประเภทคือ จัดการงานนอกสั่งที่สมประโยชน์ตัวการและจัดการงานนอกสั่งที่ไม่สมประโยชน์ตัวการ

จัดหางาน
  (พรบ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน ม.4 ) ประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางานหรือหาลูกจ้างให้แก่นายจ้าง โดยจะเรียกหรือรับค่าบริการตอบแทนหรือไม่ก็ตาม

จ้างทำของ – 1. (ปพพ.ม. 587)
อันว่า จ้างทำของนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจ้าง ตกลงรับจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่อีกบุคคลหนึ่ง เรียกว่า ผู้ว่าจ้างและผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น 2.ชื่อกม.ลักษณะ 7 บรรพ 3 ปพพ. 3. สัญญาซึ่งผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างมีนิติสัมพันธ์กันโดยผู้ว่าจ้างไม่มีอำนาจบังคับบัญชาหรือสั่งให้ลูกจ้างปฏิบัติงานในความควบคุมของตนเอง เป็นสัญญาที่คำนึงถึงผลสำเร็จของานโดยผู้ว่าจ้างจะจ่ายสินจ้างให้เมื่องานเสร็จ

จ้างแรงงาน – 1. (ปพพ.ม. 575)
อันว่า จ้างแรงงานนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ลูกจ้าง ตกลงจะทำงานให้แก่อีกบุคคลหนึ่ง เรียกว่า นายจ้างและนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้ 2. ชื่อกม.ลักษณะ 6 บรรพ 3 สัญญาซึ่งนายจ้างและลูกจ้างมีนิติสัมพันธ์กันโดยนายจ้างมีอำนาจที่จะสั่งให้ลูกจ้างปฏิบัติงานในความควบคุมของตนเองโดยไม่ได้คำนึงถึงผลสำเร็จของานและนายจ้างจ่ายสินจ้างให้

จารีตประเพณี – 1
 กม.ที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งเป็นประเพณีที่มีการปฏิบัติติดต่อกันมานานในท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่ง ไม่ขัดต่อกม.และความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ถือเป็นบ่อเกิดกม.ประเภทหนึ่งนอกเหนือจากกม.ลายลักษณ์อักษร 2.แบบแผนความประพฤติของมนุษย์ที่ถือปฏิบัติต่อกันมาเป็นเวลานานและชอบด้วยกม. ซึ่งอาจจะเป็นจารีตประเพณีเฉพาะคนบางกลุ่ม เช่น ประเพณีทางการค้า ประเพณีเฉพาะถิ่นใดถิ่นหนึ่งก็ได้

จารีตประเพณีระหว่างประเทศ
กม.ระหว่างประเทศซึ่งไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นแนวทางปฏิบัติของรัฐทั่วๆไป ที่มีการปฏิบัติตามกันมาเป็นเวลานาน และมีการยอมรับกันว่า เป็นกม. ตามม. 38 แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศกำหนดให้มีองค์ประกอบ ดังนี้ (1) ต้องเป็นแนวทางปฏิบัติของรัฐ เช่น คำแถลงการณ์ หรือแนวทางปฏิบัติของรัฐเกี่ยวกับคดีใดคดีหนึ่ง หรือคำแถลงการณ์ของรัฐเกี่ยวกับมติสหประชาชาติ หรือการตรากฎหมาย (2) ต้องมีการต่อเนื่องในทางปฏิบัติ (3) ต้องเป็นหลักปฏิบัติโดยทั่วไป (4) ต้องมีความต่อเนื่องของระยะเวลา

จ่าศาล – (ก)
หัวหน้าเจ้าหน้าที่ธุรการของศาลแต่ละศาลปัจจุบันคือตำแหน่ง ผู้อำนวยการศาล
จำคุก
โทษทางอาญาอย่างหนึ่งที่จำกัดเสรีภาพในการเดินทางของผู้กระทำความผิดโดยการขังตัวผู้กระทำความผิดไว้ในเรือนจำ
จำนอง - (ป.พ.พ. ม.702)
สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จำนอง เอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับจำนองเป็นการประกันการชำระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง
จำนำ - (ป.พ.พ. ม.747)
สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จำนำ ส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับจำนำ เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้

จำโนท – (ก)
ชายที่ลักลอบได้เสียกับหญิงคู่หมั้นของชายอื่น

จำเป็น
เหตุยกเว้นโทษเหตุหนึ่งตามปอ. ซึ่งเป็นการกระทำความผิดโดยความจำเป็น แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ (1) เพราะอยู่ในที่บังคับ หรือภายใต้อำนาจซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ หรือ (2) เพราะเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึง และไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้ เมื่อภยันตรายนั้นตนมิได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน
          การกระทำโดยจำเป็นยังเป็นความผิดอยู่ เพียงแต่กม.ยกเว้นโทษให้เท่านั้น และภยันตรายนั้นอาจจะไม่ใช่ละเมิดต่อกม.ก็ได้

จำเลย – 1.
บุคคลซึ่งถูกฟ้องยังศาลแล้วโดยข้อหาว่าได้กระทำความผิด(ปวิอ.ม. 1(3)) ดังนั้นจำเลยในคดีอาญาได้แก่ ผู้ซึ่งอัยการฟ้องคดีต่อศาล และ ผู้ซึ่งถูกฟ้องในคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์และศาลมีคำสั่งประทับฟ้องแล้ว จำเลยมีสิทธิตาม ปวิอ.ม. 8 ,14 และ 173 2. (พรบ. ค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา 2544 ม. 3 ) บุคคลซึ่งถูกฟ้องต่อศาลว่า ได้กระทำความผิดอาญา
จำเลยฎีกา
  คู่ความฝ่ายที่ไม่ได้ยื่นคำฟ้องฎีกา
จำเลยอุทธรณ์
  คู่ความฝ่ายที่ไม่ได้ยื่นคำฟ้องอุทธรณ์ซึ่งอาจจะเป็นโจทก์หรือจำเลยเดิมก็ได้ (ส่วนคู่ความที่ยื่นอุทธรณ์เรียกว่า ผู้อุทธรณ์)

จำหน่าย - 1
.(พรบ.ยาเสพติดให้โทษ 2522 มาตรา 4) ขาย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ให้ เช่น ถือถุงกัญชาขึ้นจากลำห้วยมาส่งมอบให้ตำรวจที่ปลอมตัวเป็นผู้ซื้อ, ส่งมอบ ๓ , ๔ - เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีนของกลางให้แก่สายลับที่เข้าล่อซื้อและแม้จะยังไม่ได้ชำระเงิน 2. (พรบ.เชื้อโรคและพิษจากสัตว์ 2525 ม. 4) ขาย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ให้สูญหาย เสียหาย ทิ้งหรือทำลาย 3.(พรบ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ 2542 ) ขาย แลกเปลี่ยน ให้ จ่ายแจก โอนสิทธิการครอบครองสินค้าให้แก่บุคคลอื่นหรือให้บริการ

จำหน่ายคดี
คำสั่งศาลที่ให้คดีเสร็จไปจากศาลโดยไม่มีการวินิจฉัยชี้ขาดคดี ซึ่งอาศัยบทบัญญัติที่กม.บัญญัติไว้หรือโดยอำนาจทั่วไปของศาล เปรียบเทียบ คำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดี

จำหน่ายคดีชั่วคราว
คำสั่งศาลที่ให้งดการพิจารณาคดีใดคดีหนึ่งเป็นการชั่วคราวเนื่องจากมีเหตุตามกม.ที่ไม่อาจจะดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีนั้นต่อไปได้ เช่น ในคดีอาญาเมื่อจำเลยหลบหนี หรือวิกลจริต เป็นต้น

จิตบกพร่อง
สภาพที่มันสมองบกพร่อง หรือสมองไม่เจริญเติบโตตามวัย ซึ่งอาจจะเกิดมาแต่กำเนิดหรือเสื่อมลงเพราะวัยชราหรือจากโรคเช่น เนื้องอกในสมอง สมองอักเสบ กะโหลกศรีษะผิดปกติ หรือสมองได้รับอันตรายจากอุบัติเหตุ (จิตทราม จิตเปลี้ย สมองอ่อน พิการทางสมอง หรือปัญญาอ่อน) ก็ได้ ทำให้ไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ ผู้ที่กระทำความผิดโดยมีจิตบกพร่องจะไม่ต้องรับโทษตามปอ.ม.65
จิตฟั่นเฟือน
  อาการหลงผิด ประสาทหลอนและหวาดระแวงว่าคนจะทำร้ายเพราะโรคจิตจากพิษสุรา (ฎ.371/2527) หรือมีอาการทางจิตใจเนื่องจากเป็นโรคประสาทหรือมีภาวะทางจิตแปรปรวนชั่วคราว ทำให้ไม่สามารถรู้ผิดชอบชั่วดีหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้

เจตนา – (อาญา)
การที่ผู้กระทำรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบภายนอกของความผิดและผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น แบ่งเป็น เจตนาตามข้อเท็จจริงได้แก่ เจตนาประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผล และเจตนาโดยผลของกม.เช่น การกระทำโดยพลาด ตามปอ.ม. 60

เจตนาซ่อนเร้น – (ปพพ.ม. 154)
การที่ผู้แสดงเจตนามีเจตนาแท้จริงในใจอย่างหนึ่งแต่กลับแสดงเจตนาออกมาผิดแผกแตกต่างไปจากเจตนาที่แท้จริง โดยผู้รับการแสดงเจตนาไม่รู้เจตนาแท้จริงนั้น กม.ถือว่า เจตนาที่แสดงออกมานั้นสมบูรณ์มีผลผูกพันผู้แสดงเจตนา เช่น มีเจตนาแท้จริงที่จะขายลดเช็คแทนผู้อื่นแต่แสดงเจตนาว่าตนเองเป็นผู้ขายลดเช็ค ผู้แสดงเจตนาต้องผูกพันรับผิดตามเจตนาที่แสดงออกมา (ฎ.3313-3315/2536) ยกเว้นแต่ผู้รับการแสดงเจตนาทราบเจตนาที่แท้จริง เจตนาที่แสดงออกมาจึงจะตกเป็นโมฆะ

เจตนาโดยพลาด
ดู การกระทำโดยพลาด

เจตนาธรรมดา
เจตนาประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผล ซึ่งความผิดอาญาส่วนใหญ่ต้องการเพียงเจตนาธรรมดาเท่านั้น ไม่ต้องการเจตนาพิเศษเพิ่มเติมอีก ดู เจตนาพิเศษ

เจตนาประสงค์ต่อผล
เจตนาที่ผู้กระทำมุ่งหมายจะให้ผลเกิดขึ้น แม้ผลไม่เกิดตามความมุ่งหมายก็เป็นการกระทำความผิดฐานพยายาม

เจตนาพิเศษ
มีมูลเหตุจูงใจในการกระทำโดยเฉพาะหรือมีวัตถุประสงค์ในการกระทำโดยเฉพาะ เป็นองค์ประกอบภายในที่กม.ต้องการเพิ่มเติมจากเจตนาธรรมดาในความผิดอาญาบางฐาน เช่น เจตนา ”โดยทุจริต” ในความผิดฐานลักทรัพย์ ตามปอ.ม. 334 หรือ “เพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่า เป็นเอกสารที่แท้จริง” ในความผิดฐานปลอมเอกสารตามปอ.ม.264 ส่วนใหญ่ในตัวบท ปอ.จะใช้คำว่า “เพื่อ” ดู เจตนาธรรมดา

เจตนาย่อมเล็งเห็นผล
เจตนาที่ผู้กระทำไม่ได้มุ่งหมายจะให้ผลเกิดขึ้น แต่ผู้กระทำเล็งเห็นผลได้ว่า ผลร้ายจะเกิดขึ้นได้อย่างแน่ชัดจากการกระทำนั้น หรือผู้กระทำไม่ไยดีว่าผลการกระทำขึ้นจะเป็นเช่นไร เช่น ใช้ปืนกลเล็กยิงหลายนัดเพื่อให้จักรยานยนต์ผู้เสียหายล้มลง แต่กระสุนถูกผู้เสียหายถึงแก่ความตาย (ฎ.2991/2536)

เจตนาลวง - (ปพพ.ม. 155)
การที่คู่กรณีในนิติกรรมทั้งสองฝ่ายไม่มีเจตนาแท้จริงที่จะทำนิติกรรมกัน แต่ตกลงสมคบกันทำนิติกรรมขึ้นมาเพื่อลวงผู้อื่นว่า ได้ทำหรือมีนิติกรรมนั้นเกิดขึ้น นิติกรรมที่เกิดขึ้นมานั้นจะตกเป็นโมฆะ เช่น สมคบกันซื้อและรับซื้อหุ้นบริษัทเพื่อหลีกเลี่ยงข้อห้ามของธนาคารแห่งประเทศไทย (ฎ.848/2534) สมคบกันจดทะเบียนยกที่ดินให้ภายหลังที่ถูกฟ้องและกำลังถูกศาลบังคับชำระหนี้เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้ที่ดินถูกยึด (ฎ.4056/2533) สมคบกันทำสัญญาจำนองและสัญญากู้เงิน (ฎ. 1986/2533)

เจตนาโอน 
ดู การกระทำโดยพลาด

เจ็บป่วย - พรบ.
เงินทดแทน 2537 ม. 5) การที่ลูกจ้างเจ็บป่วย หรือถึงแก่ความตายด้วยโรคซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานหรือเนื่องจากการทำงาน

เจ้าของ - (ปพพ.ม.434,434)
ผู้มีกรรมสิทธิ

เจ้าของความลับทางการค้า –(พรบ.ความลับทางการค้า 2545ม.3)
ผู้ค้นพบ คิดค้น รวบรวม หรือสร้างสรรค์ข้อมูลการค้าที่เป็นความลับทางการค้าโดยมิได้เป็นการละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าของผู้อื่น หรือผู้มีสิทธิโดยชอบในผลการทดสอบหรือข้อมูลการค้าที่เป็นความลับทางการค้าและให้หมายความรวมถึงผู้รับโอนสิทธิตามพรบ.นี้ด้วย
เจ้าของเคหะ – (พรบ.การเคหะแห่งชาติ 2537 ม.25/1 )
ผู้เป็นเจ้าของเคหะในโครงการ และหมายความรวมถึงคู่สัญญากับ กคช. ตามสัญญาจะซื้อจะขายหรือสัญญาเช่าซื้อเคหะในโครงการด้วย แต่ไม่รวมถึง กคช.ในฐานะที่เป็นเจ้าของเคหะในโครงการ

เจ้าของพาหนะ – (พรบ.คนเข้าเมือง 2522 ม.4)
หมายความรวมถึงตัวแทนเจ้าของ ผู้เช่า ตัวแทนผู้เช่า ผู้ครอบครองหรือตัวแทนผู้ครอบครองพาหนะแล้วแต่กรณี
เจ้าของรถ – 1. (พรบ.จราจรทางบก 2522 ม. 4 (30))
หมายความรวมถึงผู้มีรถไว้ในครอบครองด้วย 2..(พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ 2535 ม.4) ผู้ซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในรถหรือผู้มีสิทธิครอบครองรถตามสัญญาเช่าซื้อ และหมายความรวมถึงผู้นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศเข้ามาใช้ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวด้วย 3. (พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ 2535 ม.26) เจ้าของรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายซึ่งมิได้จัดให้มีการประกันความเสียหายตามม.23 (1) ไว้เท่านั้น (ฎ.5865/2545)
เจ้าของรวม
  บุคคลตั้งแต่สองคนหรือหลายคนต่างเป็นเจ้าของทรัพย์สินเดียวกันโดยยังมิได้แบ่งแยกความเป็นเจ้าของออกเป็นสัดส่วน เจ้าของรวมมีสิทธิจัดการทรัพย์สินรวมกันแต่ละคนย่อมใช้สิทธิในทรัพย์นั้นในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมได้ ดู กรรมสิทธิ์รวม

เจ้าของร่วม
(พรบ.อาคารชุด 2522 ม.4 ) เจ้าของห้องชุดในอาคารชุดแต่ละอาคารชุด
เจ้าของลายมือชื่อ
 (พรบ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 2544 ม.4) ผู้ซึ่งถือข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์และสร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้นในนามตนเองหรือแทนบุคคลอื่น

เจ้าของลิขสิทธิ์
 (พรบ. การผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี 2548 ม.3 )เจ้าของลิขสิทธิ์ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์และให้หมายความรวมถึงผู้รับโอนลิขสิทธิ์ หรือผู้ได้รับอนุญาตให้ทำการผลิตงานอันมีลิขสิทธิ์

เจ้าของหนังสือพิมพ์ 
 (พรบ.จดแจ้งการพิมพ์ 2550 ม.4) บุคคลซึ่งเป็นเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์

เจ้าทุกข์ – 1.(ก)
ผู้เสียหาย 2. ผู้เสียหายตามพรบ.คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม 2474

เจ้าบ้าน – 1.
 (พรบ.ลักษณะปกครองท้องที่ 2457 ม.7 ข้อ 2) ผู้อยู่ปกครองบ้าน ซึ่งได้ว่ามาแล้วในข้อก่อน (ม.7 ข้อ 1.)จะครอบครองด้วยเป็นเจ้าของก็ตาม ด้วยเป็นผู้เช่าก็ตาม ด้วยเป็นผู้อาศัยโดยชอบด้วยกม.ก็ตาม นับตามพรบ.นี้ว่า เป็นเจ้าบ้าน 2.(พรบ.การทะเบียนราษฎร 2534 ม.4) ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครองบ้านในฐานะเป็นเจ้าของ ผู้เช่า หรือในฐานะอื่นใดก็ตาม ในกรณีที่ไม่ปรากฏเจ้าบ้าน หรือเจ้าบ้านไม่อยู่ ตาย สูญหาย สาบสูญหรือไม่สามารถปฏิบัติกิจการได้ให้ถือว่า ผู้มีหน้าที่ดูแลบ้านในขณะนั้นเป็นเจ้าบ้าน 3. (พรบ.คนเข้าเมือง 2522 ม.4) ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครองบ้านในฐานะเป็นเจ้าของ ผู้เช่า หรือในฐานะอื่นใดก็ตามตามกม.ว่าด้วยการทะเบียนราษฎร 3. (พรบ.การทะเบียนคนต่างด้าว 2493 ม.4) บุคคลซึ่งเป็นครอบครองบ้านในฐานะเป็นเจ้าของ ผู้เช่า หรือในฐานะอย่างอื่นใดก็ตาม ในกรณีที่เจ้าบ้านไม่อยู่ควบคุมบ้าน แต่ได้มอบหมายให้บุคคลใดควบคุมอยู่ ในระหว่างที่ควบคุมอยู่นั้นให้ถือว่า ผู้ควบคุมเท่านั้นเป็นเจ้าบ้าน

เจ้าพนักงาน – 1
. ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งโดยทางการของรัฐไทย ให้ปฏิบัติราชการของรัฐไทย (ฎ.700/2490) 2.บุคคลที่มีกม.บัญญัติแต่งตั้งไว้โดยเฉพาะว่า ให้เป็นเจ้าพนักงาน เช่น พรบ.การสื่อสารแห่งประเทศไทย 2519 บัญญัติให้พนักงานการสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าพนักงานตามปอ.(ฎ. 3485/2539) 3. ข้าราชการซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยกม.ว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง (ฎ. 253/2503)หรือบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการไม่ว่าจะโดยประจำหรือชั่วคราว ที่ไม่ใช่เจ้าพนักงานตามปอ.เช่น สมาชิกสภานิติบัญญัติ สมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาเทศบาล ลูกจ้างเช่นลูกจ้างของโรงงานสุรา (ฎ. 253/2503) พนักงานของสำนักงานตลาดกรุงเทพมหานครซึ่งไม่ได้รับเงินเดือนจากหมวดงบประมาณเงินเดือน (ฎ. 1173/2539) 4.(ปอ.ทหาร ม.4 ) คำว่า “เจ้าพนักงาน” ที่ใช้ในป.กฎหมายลักษณะอาญานั้น ท่านหมายความตลอดถึงบรรดานายทหารบก นายทหารเรือ ชั้นสัญญาบัตรและชั้นประทวนที่อยู่ในกองประจำการนั้นด้วย

เจ้าพนักงานกรรโชกทรัพย์
ความผิดตาม ปอ. ม. 147 ซึ่งผู้กระทำต้องเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ข่มขืนใจหรือจูงใจผู้อื่นเพื่อให้บุคคลอื่นมอบให้หรือหามาให้ซี่งทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่น ที่เป็นความผิดเช่น ตำรวจแกล้งจับผู้เสียหาย แล้วพูดข่มขืนใจให้มอบเงินแล้วและค้นลักเอาเงินไป(ฎ.798/2502) หรือยึดเอารถยนต์ไป (ฎ.1085/2536) หรือหยิบเอาเงินและปืนไป (ฎ. 1389/2506)

เจ้าพนักงานกำหนดราคาทรัพย์สินหรือสินค้าโดยทุจริต
  ความผิดตาม ปอ. ม. 155 ซึ่งผู้กระทำต้องเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่กำหนดราคาทรัพย์สินหรือสินค้าใดๆ เพื่อเรียกเก็บภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมตามกม. กำหนดราคาทรัพย์สินหรือสินค้านั้นโดยทุจริต เพื่อให้ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมนั้นมิต้องเสีย หรือเสียน้อยกว่าที่จะต้องเสีย

เจ้าพนักงานเข้ามีส่วนได้เสียในกิจการหน้าที่ 
ความผิดตาม ปอ. ม. 152 ซึ่งผู้กระทำต้องเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการ หรือดูแลกิจการ เข้ามีส่วนได้เสียเนื่องด้วยกิจการนั้นเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น

เจ้าพนักงานจราจร
(พรบ.จราจรทางบก 2522 ม. 4 (37)) ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรซึ่งรัฐมนตรี(ว่าการกระทรวงมหาดไทย)แต่งตั้งให้เป็นเจ้าพนักงานจราจร
เจ้าพนักงานจ่ายทรัพย์เกินกว่าที่ควรจ่าย
ความผิดตาม ปอ. ม. 153 ซึ่งผู้กระทำต้องเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จ่ายทรัพย์ จ่ายทรัพย์นั้นเกินกว่าที่ควรจ่าย เพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น

เจ้าพนักงานใช้ดวงตราหรือรอยตราโดยมิชอบ
ความผิดตาม ปอ. ม. 160 ซึ่งผู้กระทำต้องเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่รักษาหรือใช้ดวงตราหรือรอยตราของราชการหรือของผู้อื่น กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่โดยใช้ดวงตราหรือรอยตรานั้น หรือโดยยินยอมให้ผู้อื่นกระทำเช่นนั้นซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย

เจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต
ความผิดตาม ปอ. ม. 151 ซึ่งผู้กระทำต้องเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด ใช้อำนาจในตำแหน่งอันเป็นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาลหรือเจ้าของทรัพย์นั้นโดยทุจริต

เจ้าพนักงานตรวจสอบบัญชีโดยทุจริต
  ความผิดตาม ปอ. ม. 156 ซึ่งผู้กระทำต้องเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ตรวจสอบบัญชีตามกม. แนะนำหรือกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดโดยทุจริต เพื่อให้มีการละเว้นการลงรายการในบัญชี ลงรายการเท็จในบัญชี แก้ไขบัญชีหรือซ่อนเร้นหรือทำลายหลักฐานในการลงบัญชีอันจะเป็นผลให้การเสียภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมนั้น มิต้องเสียหรือเสียน้อยกว่าที่จะต้องเสีย

เจ้าพนักงานท้องถิ่น
(พรบ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง 2535 ม. 4) (1) นายกเทศมนตรี สำหรับในเขตเทศบาล (2) ประธานกรรมการสุขาภิบาล สำหรับในเขตสุขาภิบาล (3) ผู้ว่าราชการจังหวัด สำหรับในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด (4) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร (5) ปลัดเมืองพัทยา สำหรับในเขตเมืองพัทยา (6) หัวหน้าผู้บริหารท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นอื่นที่กม.กำหนดให้เป็นราชการส่วนท้องถิ่น สำหรับในเขตราชการส่วนท้องถิ่นนั้น

เจ้าพนักงานทำให้เสียหายซึ่งตราหรือเครื่องหมาย
  ความผิดตาม ปอ. ม. 159 ซึ่งผู้กระทำต้องเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ดูแลรักษาทรัพย์หรือเอกสารใด กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่โดยถอน ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้ไร้ประโยชน์หรือโดยยินยอมให้ผู้อื่นกระทำเช่นนั้น ซึ่งตราหรือเครื่องหมายอันเจ้าพนักงานได้ประทับหรือหมายไว้ที่ทรัพย์หรือเอกสารนั้นในการปฏิบัติการตามหน้าที่ เพื่อเป้นหลักฐานในการยึดหรือรักษาสิ่งนั้นจายเสียงฯ (86/44) คณะกรรมการเนติบัณฑิตยสภา (อ.7/46) คณะกรรมการสรรหาฯกรรมการ กสช. (อ.4/46) 2.(พรบ.ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ 2540 ม.4) ผู้ซึ่งปฏิบัติงานให้แก่หน่วยงานของรัฐ 3. (พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 2542 ม.4) ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ พนักงานหรือบุคคลผู้ปฏิบัติงานในรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่นซึ่งมิใช่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เจ้าพนักงานตามกม.ว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ และให้หมายความรวมถึงกรรมการ อนุกรรมการ ลูกจ้างของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ และบุคคลหรือคระบุคคลซึ่งใช้อำนาจหรือได้รับมอบอำนาจทางการปกครองของรัฐในการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งตามกม. ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งขึ้นในระบบราชการ รัฐวิสาหกิจหรือกิจการอื่นของรัฐ

เจ้าหน้าที่คดีพิเศษ
(พรบ.การสอบสวนคดีพิเศษ 2547 ม.3) ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ช่วยเหลือพนักงานสอบสวนคดีพิเศษในการสืบสวนและสอบสวนคดีพิเศษตามที่กำหนดไว้ในพรบ.นี้


เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
  (พรบ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น 2545 ม.4) ข้าราชการตำรวจ หรือข้าราชการพลเรือน หรือข้าราชการทหาร หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือสมาชิกอาสารักษาดินแดน หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ที่ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำที่เลือกตั้ง

เจ้าหนี้ – 1. (ปพพ.ม. 237)
หมายรวมถึงเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาด้วย (ฎ. 5207/2545) 2. (พรบ.ล้มละลาย 2483 ม.56) เจ้าหนี้ทั้งที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้และที่ยังมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ด้วย ดังนั้นเมื่อมีการประนอมหนี้แล้ว เจ้าหนี้ที่มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จะมาฟ้องขอให้จำเลยรับผิดอีกไม่ได้ (ฎ 1243/2519, 1401/2509) 3. (พรบ.ล้มละลาย 2483 ม.90/1) เจ้าหนี้มีประกันหรือเจ้าหนี้ไม่มีประกัน
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา – 1.
คู่ความหรือบุคคลที่ศาลพิพากษาให้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาจากอีกฝ่ายหนึ่ง 2. (ปวิพ.ม.290) เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาถึงที่สุด
เจ้าหนี้ที่อยู่นอกราชอาณาจักร
(พรบ.ล้มละลาย 2483 ม.91) เจ้าหนี้ทั้งที่เป็นคนไทยและต่างประเทศโดยถือเอาสถานที่อยู่ตามความเป็นจริงของเจ้าหนี้ในช่วงระยะเวลาที่มีการประกาศโฆษณาให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ไม่ใช่ถือเอาภูมิลำเนาตามกม.ของเจ้าหนี้ (ฎ.2110/2540)
เจ้าหนี้บุริมสิทธิ
เจ้าหนี้ที่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนเจ้าหนี้สามัญ
เจ้าหนี้ผิดนัด - (ปพพ.ม. 207)
การที่เจ้าหนี้ไม่ยอมรับชำระหนี้โดยไม่อาจอ้างเหตุตามกม.ได้ มีผลทำให้ลูกหนี้ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างเจ้าหนี้ผิดนัด ปลดเปลื้องความรับผิดชอบของลูกหนี้อันเกิดแต่การไม่ชำระหนี้ และมีสิทธิวางทรัพย์ ณ สำนักงานวางทรัพย์เพื่อให้หลุดพ้นจากการชำระหนี้
เจ้าหนี้มีประกัน - (พรบ.ล้มละลาย 2483 ม.6)
เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจำนอง จำนำ หรือสิทธิยึดหน่วง หรือเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทำนองเดียวกับผู้รับจำนำ
เจ้าหนี้ไม่มีประกัน - (พรบ.ล้มละลาย 2483 )
เจ้าหนี้ซึ่งไม่มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจำนอง จำนำ หรือสิทธิยึดหน่วง หรือไม่มีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทำนองเดียวกับผู้รับจำนำ
เจ้าหนี้ร่วม - (ปพพ.ม. 298)
เจ้าหนี้หลายคนในหนี้รายเดียวกัน โดยเจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งมีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้สิ้นเชิงได้แต่เพียงครั้งเดียวและลูกหนี้จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งก็ได้ตามแต่ละเลือก แม้ทั้งเจ้าหนี้คนหนึ่งจะได้ยื่นฟ้องเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้แล้ว ลูกหนี้ก็ยังมีสิทธิชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ร่วมคนอื่นได้
เจาะน้ำบาดาล – (พรบ.น้ำบาดาล 2520 ม.3)
กระทำแก่ชั้นดิน กรวด ทรายหรือหินเพื่อให้ได้มาซึ่งน้ำบาดาลหรือเพื่อระบายน้ำลงบ่อน้ำบาดาล
แจ้งข้อความ – (ปอ.ม.137, 172, 173, 174)
ทำให้ผู้อื่นทราบข้อความนั้นซึ่งอาจโดยการพูดหรือตอบคำถาม การเขียนหรือแสดงกริยาอาการก็ได้
แจ้งความเท็จ – 1.
ความผิดตาม ปอ. ม. 137 ซึ่งเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย 2. ความผิดตาม ปอ. ม. 172, 173, 174 ซึ่งเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย
แจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความเท็จ
ความผิดตาม ปอ. ม. 267

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น