วันอังคารที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2553

ชนิด – (ของสัตว์) (ปพพ.ม.433)
ประเภทของสัตว์ว่า เป็นสัตว์ดุหรือสัตว์ร้าย

ช่วงทรัพย์ – 1
การเปลี่ยนทรัพย์ชำระหนี้อันใหม่แทนที่ทรัพย์เก่าโดยผลของกม. เหตุของการช่วงทรัพย์คือ การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยอันทำให้ลูกหนี้ได้ทรัพย์สินอื่นแทนมาหรือมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทน เจ้าหนี้จะเรียกของแทนหรือค่าสินไหมทดแทนก็ได้ 2. (ปพพ.ม.226) เอาทรัพย์สินอันหนึ่งเข้าแทนที่ทรัพย์สินอีกอันหนึ่งในฐานะนิตินัยอย่างเดียวกับทรัพย์สินอันก่อน
ช่องเดินรถ – (พรบ.จราจรทางบก 2522 ม. 4 (4))
ทางเดินรถที่จัดแบ่งไว้เป็นช่องสำหรับการเดินรถ โดยทำเครื่องหมายเป็นเส้นหรือแนวแบ่งเป็นช่องไว้
ช่องเดินรถประจำทาง – (พรบ.จราจรทางบก 2522 ม. 4 (5))
ช่องเดินรถที่กำหนดให้เป็นช่องเดินรถสำหรับรถ โดยสารประจำทางหรือรถบรรทุกคนโดยสารประเภทที่อธิบดี(กรมตำรวจ)กำหนด
ชักลาก – (พรบ.ป่าไม้ 2484 ม.4(9))
การนำไม้หรือของป่าจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งด้วยกำลังแรงงาน

ชันสูตรพลิกศพ
  การตรวจพิสูจน์ศพเพื่อให้ทราบว่า ผู้ตายคือใคร ตายที่ใดและเมื่อใด สาเหตุและพฤติการณ์ที่ตาย

ชาติ - (กม.มหาชน)
การที่มนุษย์แต่ละคนเข้ามาอยู่ร่วมกันโดยมีความผูกพันร่วมกันทั้งทางสาระวัตถุและทางจิตใจ และมีความรู้สึกผิดแผกแตกต่างจากชนชาติอื่น

ชิงทรัพย์
  ความผิดอาญาตามปอ.ม. 339 โดยเป็นการลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ (1) ให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป (2) ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น (3) ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้ (4) ปกปิดการกระทำความผิดนั้น หรือ (5) ให้พ้นจากการจับกุม

ชี้สองสถาน
กระบวนพิจารณาในคดีแพ่งที่ชี้ขาดสถานใดสถานหนึ่งระหว่างสองสถาน กล่าวคือชี้ขาดคดีโดยมิต้องมีการพิสูจน์ข้อเท็จจริง ในกรณีที่คู่ความยอมรับข้เท็จจริงกันสถานหนึ่ง กับชี้ขาดคดีโดยต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริงในกรณีที่คู่ความโต้แย้งกันอีกสถานหนึ่ง
ชื่อตัว
  (พรบ.ชื่อบุคคล 2505 ม.4) ชื่อประจำบุคคล

ชื่อรอง
(พรบ.ชื่อบุคคล 2505 ม.4) ชื่อประกอบถัดจากชื่อตัว

ชื่อสกุล
(พรบ.ชื่อบุคคล 2505 ม.4) ชื่อประจำวงศ์สกุล

ชุลมุนต่อสู้ – (ปอ.ม. 294)
การไม่ทราบว่า ผู้ใดทำร้ายให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย (ฎ. 791-792/2504)

ชู้เหนือขันหมาก – (ก)
ผิดเมียในขันหมาก
ชู้เหนือผี – (ก)
ชายที่ลักลอบได้เสียกับหญิงที่ผัวตายขณะศพผัวยังอยู่บนเรือน

ชู้เหนือผัว – (ก)
ชายที่ลักลอบได้เสียกับเมียผู้อื่นขณะที่ผัวยังมีชีวิต

เชิงกระยาดอกเบี้ย – (ก)
ทำงานต่างดอกเบี้ย

เช็ค - (ป.พ.พ. ม.987)
หนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้สั่งจ่าย สั่งธนาคารให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งอันเรียกว่า ผู้รับเงิน เช็คมี 6 ประเภทคือ เช็คเงินสด เช็คระบุชื่อผู้รับเงิน เช็คระบุชื่อผู้รับเงินแต่ไม่ได้ขีดฆ่าคำว่าผู้ถือ เช็คขีดคร่อม เช็คที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่ายและเช็คที่ธนาคารรับรอง

เช็คขีดคร่อม
เช็คที่มีเส้นขนานคู่ขีดขวางที่ด้านหน้าเช็คซึ่งอาจจะมีข้อความหรือไม่ก็ได้ ผู้ทรงจะนำเช็คไปเบิกเงินสดจากธนาคารไม่ได้ แต่จะต้องนำเช็คไปเข้าบัญชีธนาคารของตนเองหรือของผู้อื่นเพื่อให้ธนาคารนั้นเรียกเก็บเงินจากธนาคาร(ผู้จ่าย)ตามเช็ค แบ่งเป็นเช็คขีดคร่อมทั่วไปและเช็คขีดคร่อมเฉพาะ

ใช้สิทธิในทางศาล
  การร้องขอต่อศาลเพื่อขอให้รับรองสิทธิของผู้ร้องโดยสิทธิดังกล่าวต้องมีกม.สาระบัญญัติรับรอง เช่น ร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่บริษัท (ฎ.1537/2514) เป็นเงื่อนไขในการดำเนินคดีไม่มีข้อพิพาท

ใช้สิทธิไม่สุจริต – (ปพพ.ม. 5)
หลักที่ว่า การที่จะบังคับตามสิทธิหรือขอใช้สิทธิโดยการฟ้องร้องคดีก็ต้องสืบเนื่องมาจากการกระทำอันสุจริตของตนในตอนแรก หากไม่สุจริตมาแต่แรกก็จะนำคดีมาฟ้องศาลไม่ได้
ใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ – (ปพพ. ม.233)
การที่เจ้าหนี้ใช้สิทธิเรียกร้องแทนลูกหนี้เมื่อลูกหนี้ขัดขืนหรือเพิกเฉยไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้องของตนอันทำเจ้าหนี้เสียประโยชน์

ใช้หรืออ้างเอกสารปลอม
ความผิดตาม ปอ. ม. 268

เช่า
  ดู เช่าทรัพย์ เช่าทรัพย์สิน

เช่าช่วง
สัญญาเช่าทรัพย์สินที่ผู้เช่า(ไม่ใช่เจ้าของ)เป็นผู้นำทรัพย์สินที่เช่าออกให้ผู้อื่นเช่าต่ออีกทอดหนึ่ง
เช่าทรัพย์
ชื่อของกม.ลักษณะที่ 4 ในบรรพ 3 ปพพ.

เช่าทรัพย์สิน - 1.
สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ให้เช่า ตกลงให้บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้เช่า ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด และผู้เช่าตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น (ปพพ.ม. 537) 2. ชื่อของสัญญาประเภทหนึ่ง

เช่าซื้อ– 1
สัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้นหรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่า โดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว (ปพพ.ม.572) สัญญาเช่าซื้อต้องทำตามแบบโดยต้องทำเป็นหนังสือมิฉะนั้นจะเป็นโมฆะ 2. ชื่อของกม.ลักษณะที่ 5 ในบรรพ 3 ปพพ. 3. ชื่อของสัญญาประเภทหนึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น