วันอังคารที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2553

บปผฝ




บทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่ง – (analogy of law )(ปพพ.ม.4) การอุดช่องว่างของกม. เมื่อไม่มีกม.ลายลักษณ์อักษรและจารีตประเพณีมาปรับใช้กับข้อเท็จจริง โดยใช้บทกม.ที่มีข้อเท็จจริงและเหตุผลคล้ายคลึงกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น จากหลักที่ว่า  เรื่องที่มีเหตุผลเดียวกัน ต้องใช้กม.เดียวกัน

บทเฉพาะกาล – บทบัญญัติกม.ที่มีผลบังคับใช้อยู่ชั่วกำหนดระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ส่วนใหญ่จะบัญญัติไว้ในส่วนท้ายของรัฐธรรมนูญ  พรบ.หรือกม.อื่น

บทตัดสำนวน – (ก) 1.หลักกฎหมายปิดปาก 2.(พระยาจินดาภิรมย์ราชสภาบดี) เมื่อบุคคลผู้ใดได้และลงข้อความไว้โดยวาจาอันแจ้งชัดฤาด้วยอาการกริยาความประพฤติกระทำให้ชนผู้อื่นหลงเชื่อได้แล้ว  บุคคลผู้นั้นจะกลับคำตนเอง ฤาความประพฤติไว้แต่เดิมไม่ได้ 3.(พระธรรมนูญวุฒิกร) เมื่อบุคคลใดแสดงออกว่าเหตุการณ์เป็นอยู่อย่างใดอย่างหนึ่งจนทำให้บุคคลภายนอกกระทำการลงไปโดยเชื่อว่าเหตุการณ์เป็นอยู่อย่างนั้นจริงและอาจเป็นที่เสียหายต่อเขาเช่นนั้น กม.จะไม่ยอมให้บุคคลนั้นเถียงว่า เหตุการณ์มิได้เป็นอยู่ดังที่ตนได้แสดงออกมานั้น

บรรณาธิการ – (พรบ.จดแจ้งการพิมพ์ 2550 ม.4) บุคคลผู้รับผิดชอบในการจัดทำ และควบคุมเนื้อหา  ข้อความ หรือภาพที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์  รวมทั้งวัสดุหรือเอกสารที่แทรกในหนังสือพิมพ์โดยความเห็นชอบของบรรณาธิการด้วย

บรรพ – (book) เล่ม  การแบ่งหมวดหมู่ของกม.ในปพพ. ซึ่งจะแบ่งออกเป็นเล่ม ๆ ในบรรพหนึ่งๆ จะแบ่งย่อยออกเป็น ลักษณะ หมวด ส่วน

บรรลุนิติภาวะ – (sui juris) มีความสามารถในการใช้สิทธิทำนิติกรรมได้โดยสมบูรณ์ ซึ่งเกิดจากการพ้นภาวะผู้เยาว์  การบรรลุนิติภาวะมีได้ 2 กรณีคือ บรรลุนิติภาวะโดยอายุเมื่อมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์  และบรรลุนิติภาวะโดยการสมรสเมื่อการสมรสทำตามปพพ.ม.1448

บริการ – 1. (ป.รัษฎากร ม. 77/1(10)) การกระทำใดๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่า ซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า และให้หมายความรวมถึงการใช้บริการของตนเอง ไม่ว่าประการใดๆ แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึง (ก) การใช้บริการหรือการนำสินค้าไปใช้เพื่อประกอบกิจการของตนเองโดยตรงตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดี(กรมสรรพากร)กำหนด (ข) การนำเงินไปหาประโยชน์โดยการฝากธนาคารหรือซื้อพันธบัตรหรือหลักทรัพย์ (ค) การกระทำตามที่อธิบดี(กรมสรรพากร)กำหนด โดยอนุมัติรัฐมนตรี(ว่าการกระทรวงการคลัง)        2. (พรบ.การแข่งขันทางการค้า  2542 ม.3) การรับจัดทำการงาน การให้สิทธิใด ๆ การให้ใช้หรือให้ประโยชน์ในทรัพย์สินหรือกิจการใด ๆ โดยเรียกค่าตอบแทนเป็นเงินหรือผลประโยชน์อื่น แต่ไม่รวมถึงการจ้างแรงงาน 3.(พรบ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ  2542 ) การรับจัดทำการงาน การให้สิทธิใด ๆ การให้ใช้หรือให้ประโยชน์ในทรัพย์สินหรือกิจการใด ๆ โดยเรียกค่าตอบแทนเป็นเงินหรือผลประโยชน์อื่น 3. (พรบ. ขายตรงและตลาดแบบตรง  2545 ม.3) การรับจัดทำการงาน การให้สิทธิใด ๆ การให้ใช้หรือให้ประโยชน์ในทรัพย์สินหรือกิจการใด ๆ โดยเรียกค่าตอบแทนเป็นเงินหรือผลประโยชน์อื่น  แต่ไม่รวมถึงการจ้างแรงงานตามกม.แรงงาน

บริการสาธารณสุข – (พรบ.สุขภาพแห่งชาติ 2550 ม.3) บริการต่างๆอันเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันและการควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ การตรวจวินิจฉัยและบำบัดสภาวะความเจ็บป่วยและการฟื้นฟูสมรรถภาพของบุคคล ครอบครัวและชุมชน

บริวาร -  (ปวพ.248) บุคคลที่เข้ามาอยู่ในอสังหาริมทรัพย์ที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของจำเลย โดยไม่สามารถที่จะอ้างสิทธิพิเศษนอกเหนือจากสิทธิของจำเลยในอันที่จะอยู่ในอสังหาริมทรัพย์ที่พิพาทได้  (รวมถึงผู้เช่าช่วงด้วย)  

บริษัทเงินทุน – (ป.รัษฎากร ม.39) บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกม.ว่าด้วยการควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน

บริษัทจดทะเบียน – (ป.รัษฎากร ม.39) บริษัทจดทะเบียนตามกม.ว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

บริษัทจัดการกิจการลงทุน – (ป.รัษฎากร ม.39) บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการจัดการลงทุนตามกม.ว่าด้วยการควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน

บริษัทจำกัด – 1. บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่าๆ กัน โดยมีผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ (ปพพ.ม. 1096) 2. ชื่อของกม.หมวดที่ 4 ลักษณะที่ 22 ในบรรพ 3 ปพพ.  3. ชื่อของสัญญาประเภทหนึ่ง  4.นิติบุคคลประเภทหนึ่งตั้งขึ้นตาม ปพพ. มีวัตถุประสงค์ในทางการค้าหากำไร มีการบริหารจัดการโดยกรรมการผู้จัดการ

บริษัทมหาชนจำกัด - (พรบ.มหาชนจำกัด  2535 ม. 15 )บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน โดยผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจำกัดไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชำระ และบริษัทดังกล่าวได้ระบุความประสงค์เช่นนั้นไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ

บริษัทร้าง - บริษัทที่มิได้ทำการค้าขายหรือประกอบการงานแล้ว  อันจะเป็นเหตุทำให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทขีดชื่อออกจากทะเบียนและให้เลิกบริษัทนั้นได้

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล – (ป.รัษฎากร ม.39) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกม.ไทยหรือที่ตั้งขึ้นตามกม.ต่างประเทศ และให้หมายความรวมถึง (1) กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางค้าหรือหากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศ องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกม.ของต่างประเทศ (2) กิจการร่วมค้าซึ่งได้แก่กิจการที่ดำเนินการร่วมกันเป็นทางค้าหรือหากำไรระหว่างบริษัทกับบริษัท บริษัทกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล  ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือระหว่างบริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับบุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือนิติบุคคลอื่น (3) มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรี(ว่าการกระทรวงการคลัง)กำหนดตามม.47(7)(ข) (4)นิติบุคคลที่อธิบดี(กรมสรรพากร)กำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี(ว่าการกระทรวงการคลัง)และประกาศในราชกิจจานุเบกษา

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกัน – (ป.รัษฎากร ม.39) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตั้งแต่ 2 นิติบุคคลขึ้นไป ซึ่งมีความสัมพันธ์กันในลักษณะดังต่อไปนี้(1) ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนเกินกว่ากึ่งจำนวนผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลหนึ่ง เป็นผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่ง (2) ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลหนึ่งมีมูลค่าเกินกว่าร้อยละ 50 ของทุนทั้งหมด ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่งมีมูลค่าเกินกว่าร้อยละ 50 ของทุนทั้งหมด (3) นิติบุคคลหนึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่งมีมูลค่าเกินกว่าร้อยละ 50 ของทุนทั้งหมด หรือ (4) บุคคลเกินกว่ากึ่งจำนวนกรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งมีอำนาจจัดการในนิติบุคคลหนึ่ง เป็นกรรมการหรือเป็นหุ้นส่วนซึ่งมีอำนาจจัดการในอีกนิติบุคคลหนึ่ง

บริเวณศาล – (ปวิพ.ม.31) อาณาเขตบริเวณศาล

บวกโทษที่รอไว้ - การที่ศาลมีคำพิพากษาในคดีอาญาให้นำโทษจำคุกจำเลยที่รอไว้ในคดีก่อนมารวมเข้ากับโทษจำคุกจำเลยในคดีนี้     เทียบกับเพิ่มโทษ

บอกล้าง – การแสดงเจตนาเลิกสัญญา เช่น สัญญาระหว่างสมรส ตาม ปพพ.ม. 1469

บอกล้างโมฆียกรรม – 1.นิติกรรมฝ่ายเดียวที่ก่อให้เกิดความระงับแห่งสิทธิและหน้าที่  2.  การแสดงเจตนาชัดแจ้งต่อคู่กรณีเพื่อให้นิติกรรมซึ่งเป็นโมฆียะตกเป็นโมฆะและคู่กรณีทั้งสองฝ่ายกลับคืนสู่ฐานะเดิม ก่อนทำนิติกรรม

บอกเลิกสัญญา - 1.นิติกรรมฝ่ายเดียวที่ก่อให้เกิดความระงับแห่งสิทธิและหน้าที่  2.  การแสดงเจตนาชัดแจ้งต่อคู่สัญญาเพื่อให้สัญญาที่ทำกันไว้นั้นระงับสิ้นไป ทั้งนี้เนื่องจากมีเหตุเลิกกันตามที่ระบุไว้ในสัญญา หรือมีเหตุตามกม. วิธีการบอกเลิกกระทำได้ด้วยการแสดงเจตนาแก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง แต่ในกรณีที่ผู้ใช้สิทธิเป็นเจ้าหนี้ร่วมต้องให้เจ้าหนี้ทุกคนร่วมกันใช้สิทธิ และในกรณีที่ผู้ถูกบอกเลิกเป็นลูกหนี้ร่วม จะต้องบอกเลิกแก่ลูกหนี้ร่วมทุกคน  การบอกเลิกมีผลให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายกลับคืนสู่ฐานะเดิมก่อนทำสัญญา แต่ไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของคู่สัญญา และไม่เป็นที่เสื่อมเสียสิทธิของบุคคลภายนอก

บ่อเกิดของกฎหมาย – ที่มาของกม. เหตุที่จะก่อให้เกิดหรือมีกม.  หรือแหล่งที่มาในการที่จะหากม.มาปรับใช้หรือวินิจฉัยคดี  มี 2 ประเภทคือ บ่อเกิดของกม.ลายลักษณ์อักษรและบ่อเกิดของกม.ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

บ่อเกิดแห่งหนี้ – สิ่งที่ทำให้เกิดหนี้ ได้แก่ นิติกรรมสัญญา ละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้และบทบัญญัติแห่งกม. บางครั้งก็เรียกว่า มูลหนี้

บ่อน้ำบาดาล – (พรบ.น้ำบาดาล  2520 ม.3) บ่อน้ำที่เกิดจากการเจาะน้ำบาดาล

บ่อล่อสัตว์น้ำ  – (พรบ.การประมง  2490 ม.4 (6)) ที่ล่อสัตว์น้ำเพื่อประโยชน์ในการทำประมงตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ  – (พรบ.การประมง  2490 ม.4 (7)) ที่เลี้ยงสัตว์น้ำตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

บังคับคดี - กระบวนพิจารณาที่ตามมาภายหลังจากศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบังคับลูกหนี้ให้ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น

บังคับจำนอง – การบังคับชำระหนี้เอากับทรัพย์จำนองเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ โดยเจ้าหนี้จะต้องดำเนินคดีทางศาล  มี 2 วิธีที่เลือกใช้ คือ วิธีการขายทอดตลาดทรัพย์จำนอง และ วิธีการเอาทรัพย์จำนองหลุด

บัญชีเดินสะพัด   – 1. สัญญาซึ่งบุคคลสองคนตกลงกันว่าสืบแต่นั้นไป  หรือในชั่วเวลากำหนดอันใดอันหนึ่งให้ตัดทอนบัญชีทั้งหมดหรือแต่บางส่วนอันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างเขาทั้งสองนั้นหักกลบลบกัน  และคงชำระแต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือโดยดุลภาค (ปพพ.ม. 856) 2. ชื่อของกม.ลักษณะที่  19 ในบรรพ 3 ปพพ.  3. ชื่อของสัญญาประเภทหนึ่ง

บัญชีรับฟ้อง – สารบบความ

บัตรประจำตัวประชาชน  – เอกสารที่ทางราชการออกให้เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการแสดงตนของบุคคล (ฎ.1001/2545)

บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2522, พรบ. – กม.ที่ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขของการขอมีและการออกบัตรประจำตัวประชาชน โดยกำหนดความผิดและโทษไว้  กม.เดิมคือ พรบ.บัตรประจำตัวประชาชน  2505

บันดาลโทสะ -  (ปอ.ม. 72)   เหตุลดโทษเหตุหนึ่งตามปอ.เป็นการกระทำเนื่องมาจากการถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม  ผู้กระทำจึงได้กระทำโดยบันดาลโทศะในขณะนั้น

บันดาศักดิ์ – (ก) ศักดินา หรือเครื่องจัดลำดับฐานะของบุคคลในสมัยเก่า

บ้าน – 1. (พรบ.ลักษณะปกครองท้องที่ 2457) เรือนหลังเดียวก็ตาม หลายหลังก็ตามซึ่งอยู่ในเขตที่มีเจ้าของอิสระส่วน 1 นับในพรบ.นี้ว่า บ้าน 1 ห้องแถวและแพ หรือเรือชำซึ่งจอดประจำอยู่ที่ใด ถ้ามีเจ้าของหรือผู้เช่าครอบครองเป็นอิสระต่างหากห้อง 1 หลัง 1 ลำ 1 หรือหมู่ 1 ในเจ้าของหรือผู้เช่าคน 1 นั้น ก็นับว่า บ้าน 1 เหมือนกัน  (ม.7 ข้อ 1) แต่ไม่รวมวัด โรงพยาบาล โรงทหาร โรงเรียน เรือนจำ ที่ทำการไปรษณีย์ สถานีรถไฟ สถานที่ต่างๆ ของรัฐบาล อยู่ในความปกครองของหัวหน้าในที่นั้น (ม.7 ข้อ 3)    2.(พรบ.การทะเบียนราษฎร  2534 ม.4) โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างสำหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งมีเจ้าบ้านครอบครองและให้หมายความรวมถึงแพหรือเรือซึ่งจอดเป็นประจำและใช้เป็นที่อยู่ประจำ หรือสถานที่หรือยานพาหนะอื่นซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยประจำได้ด้วย

บันทึก  -               (ป.วิ.อ. ม.2(20) หนังสือใดที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจดไว้เป็นหลักฐานในการสอบสวนความผิดอาญารวมทั้งบันทึกคำร้องทุกข์และคำกล่าวโทษด้วย

บิดามารดา – 1. (ปพพ.ม.429)บิดามารดาของเด็กไม่ว่าจะสมรสกันหรือไม่ รวมถึงผู้รับบุตรบุญธรรมด้วย 2.(พรบ.คุ้มครองเด็ก  2546 ม. 4) บิดามารดาของเด็กไม่ว่าจะสมรสกันหรือไม่

บุกรุกเคหสถาน – ความผิดอาญาตามปอ.ม.364  ซึ่งเป็นการที่ผู้กระทำเข้าไปหรือซ่อนตัวอยู่ในเคหสถาน  อาคารเก็บรักษาทรัพย์หรือสำนักงานในความครอบครองของผู้อื่นโดยไม่มีเหตุอันควรหรือไม่ยอมออกไปจากสถานที่เช่นว่านั้นเมื่อมีผู้มีสิทธิที่จะห้ามมิให้เข้าไปได้ไล่ให้ออก

บุกรุกยักย้ายทำลายเครื่องหมายเขต -  ความผิดอาญาตามปอ.ม.363 ซึ่งเป็นการที่ผู้กระทำยักย้ายหรือทำลายเครื่องหมายเขตแห่งอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเอถือเอาอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเป็นของตนหรือบุคคลที่สาม

บุกรุกอสังหาริมทรัพย์ – ความผิดอาญาตามปอ.ม.362 ซึ่งเป็นการที่ผู้กระทำเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือเข้าไปกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปกติสุข

บุคคล    -  1. (ปพพ.) ผู้ทรงสิทธิ  ผู้ที่มีความสามารถในการมีสิทธิ  แบ่งเป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล       2. (ป.รัษฎากร ม.8) บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล (ฎ.8879 / 2544) 3. (ป.รัษฎากร ม. 77/1 (1)) บุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลหรือนิติบุคคล

บุคคลซึ่งอยู่เฉพาะหน้า – (ปพพ.ม. 168) บุคคลที่อยู่ซึ่งหน้าหรืออยู่ต่อหน้าตามข้อเท็จจริงซึ่งสามารถรับรู้เจตนาได้ทันทีและบุคคลที่ไม่ได้อยู่ต่อหน้าแต่สามารถรับรู้เจตนาและโต้ตอบกันได้ทันทีเช่น บุคคลที่ได้แสดงเจตนาโดยทางโทรศัพท์ หรือโดยเครื่องมือสื่อสารอย่างอื่น(เช่น โดยใช้เครื่องโทรสาร ที่ปลายทางมีผู้รับการแสดงเจตนาคอยรับอยู่ )หรือโดยวิธีอื่นซึ่งสามารถติดต่อถึงกันได้ในทำนองเดียวกัน (เช่น  คู่กรณีอยู่คนละห้องและมีฝากั้นมิได้พูดต่อหน้าโดยตรง  แต่สามารถพูดและรับรู้เจตนากันได้ ทำนองเดียวกับพูดกันต่อหน้าโดยตรง)

บุคคลซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้า – (ปพพ.ม. 169) บุคคลที่ไม่ได้อยู่ต่อหน้าตามข้อเท็จจริงและไม่สามารถรับรู้เจตนาและโต้ตอบกันได้ทันที  เดิมใช้คำว่า “บุคคลผู้อยู่ห่างโดยระยะทาง”

บุคคลทั้งหลายผู้ถูกฟ้องในมูลตั๋วแลกเงิน – (ปพพ.ม. 916) ลูกหนี้ที่ร่วมกันรับผิดตามตั๋วเงินได้แก่ ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้สลักหลัง ผู้รับอาวัล ผู้รับรองด้วยการสอดเข้าแก้หน้า

บุคคลธรรมดา    -  1. (ปพพ.)คนตามธรรมชาติ มนุษย์ ผู้ทรงสิทธิที่เป็นมนุษย์ 2.  (ป.รัษฎากร ม. 77/1(2)) หมายความรวมถึง กองมรดก

บุคคลที่เป็นสื่อกลาง – (พรบ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 2544 ม.4 ) บุคคลซึ่งกระทำการในนามผู้อื่นในการส่ง  รับ หรือเก็บรักษาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อันใดอันหนึ่งโดยเฉพาะรวมถึงการให้บริการอื่นที่เกี่ยวกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น

บุคคลในครอบครัว -   คู่สมรส คู่สมรสเดิม ผู้ที่อยู่กินหรือเคยอยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส บุตร บุตรบุญธรรม สมาชิกในครอบครัว รวมทั้งบุคคลใด ๆ ที่ต้องพึ่งพาอาศัยและอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน

บุคคลผู้ไร้ความสามารถ – 1. (ปพพ.ม.429) ผู้เยาว์และบุคคลวิกลจริต  แต่ไม่รวมถึงคนเสมือนไร้ความสามารถด้วย     2.(ปวิพ.ม. 1(12)) บุคคลใดๆ ซึ่งไม่มีความสามารถตามกม. หรือความสามารถถูกจำกัดโดยบทบัญญัติแห่งปพพ.ว่าด้วยความสามารถ  ได้แก่ ผู้เยาว์ คนวิกลจริต บุคคลที่ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน – (ปพพ.ม. 1300) ผู้ที่จะมีหรือจะนำสิทธิมาจดทะเบียนการได้มาดังเช่นทรัพยสิทธิ ได้แก่ (1) ผู้ทำนิติกรรมการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิที่เกี่ยวข้องโดยปฏิบัติหน้าที่ทางฝ่ายตนเรียบร้อยแล้วเช่น ชำระราคาแล้ว แต่ยังไม่ได้ทำเป็นหนังสือหรือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่  เช่น ผู้ที่ทำสัญญาซื้อเรือ ชำระเงินแล้ว แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนโดน (ฎ.1089/2491) ผู้ที่ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินชำระราคาแล้วแต่ยังไม่ได้โอน (ฎ 1619/2494) ถ้าชำระเพียงมัดจำจึงไม่ใช่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน (ฎ.874/2490) (2) ผู้ได้อสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิที่เกี่ยวข้องโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มา เช่น ได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์ตามปพพ.ม.1382 หรือได้มาโดยการรับมรดก (ฎ.1169/2487) หรือได้มาโดยผลคำพิพากษาศาล (ฎ.2268/2540)  อื่นที่อาจจะเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิหรือเจ้าหนี้

บุคคลภายนอก – (ปพพ.ม. 1299 ว.2) บุคคลอื่นนอกจากเจ้าของเดิมซึ่งอาจจะเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิหรือเจ้าหนี้จำนอง แต่ไม่ใช่ (1)เจ้าของหรือเจ้าของรวม(ฎ.3487/2537)ในอสังหาริมทรัพย์คนเดิม (2) เจ้าของทรัพยสิทธิที่เกี่ยวข้องคนเดิม (3) ผู้สืบสิทธิหรือทายาทของเจ้าของเดิม (ฎ. 442/2486, 1069-1070/2522 , 1882 /2536) (4)เจ้าหนี้สามัญของเจ้าของเดิม (ฎ.2070/2548, 456-458/2496, 466 /  2506 , 1212/2500)

บุคคลไร้รัฐ - บุคคลที่ไม่มีข้อเท็จจริงอันทำให้ได้สัญชาติและความเป็นพลเมืองของรัฐใดเลยและไม่ได้รับอนุญาตให้อาศัยอยู่ในรัฐใด เป็นคนต่างด้าว (aliens) และเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมายสำหรับทุกรัฐ

บุคคลล้มละลายทุจริต - (พรบ.ล้มละลาย  2483 ม.6) บุคคลล้มละลายที่ถูกศาลพิพากษาว่า มีความผิดตามมาตรา 163 ถึง 170 แห่งพรบ.นี้ หรือเป็นบุคคลล้มละลายอันเนื่องมาจากหรือเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดฐานยักยอกหรือฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา หรือการกระทำความผิดอันมีลักษณะเป็นการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน

บุคคลวิกลจริต    -             1. คนที่มีจิตผิดปกติซึ่งอาจเกิดจากความบกพร่องทางกายหรือทางจิต มี 2 ประเภทคือ  คนวิกลจริตที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถและคนวิกลจริตที่ศาลยังไม่สั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถ 2.(ป.พ.พ. ม.28) บุคคลดังนี้ (1.) บุคคลผู้มีจิตผิดปกติ, คนบ้า (2.) บุคคลผู้มีกริยาอาการผิดปกติเพราะสติวิปลาสคือขาดความรำลึก  ขาดความรู้สึกและขาดความรับ ผิดชอบเพราะบุคคลดังกล่าวไม่สามารถประกอบกิจการของตนหรือประกอบกิจการส่วนตัวของตนได้ เช่นผู้ที่ป่วยเป็นโรคเนื้องอกในสมองต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลา  มีอา การพูดไม่ได้หูไม่ได้ยิน  ตาทั้งสองข้างมองไม่เห็น  มีอาการอย่างคนไม่มีสติสัมปชัญญะใดๆ(ฎ. 490/2509 (ป)) ไม่รู้สึก ตัวเองและพูดจารู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง  ซึ่งแพทย์วินิจฉัยว่า เป็นโรคสมองฝ่อหรือสมองเสื่อมขั้นรุนแรง  ไม่สามารถรักษาให้หายได้ตลอดจนไม่อาจปฏิบัติภารกิจส่วนตัวได้ (ฎ.566/2537) หรือมีอาการไม่รู้สึกตนเอง  ไม่รู้จักสถานที่และเวลาพูดจา  รู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง สมองเสื่อมหรือวิกลจริตและไม่มีโอกาสรักษาให้หายขาดได้  ทั้งเดินทางไปไหนไม่ ได้อีกด้วย (ฎ.74/2527)    2. (ปพพ.ม.429) บุคคลที่ศาลสั่งว่าเป็นคนไร้ความสามารถและผู้ที่วิกลจริตตามข้อเท็จจริงด้วย

บุคคลสิทธิ – สิทธิที่มีวัตถุแห่งสิทธิเป็นการกระทำ หรืองดเว้นกระทำ เป็นสิทธิที่บุคคลมีอยู่เหนือบุคคล  ซึ่งเป็นสิทธิที่บุคคลหนึ่งเรียกร้องให้บุคคลอีกคนหนึ่งกระทำการ งดเว้นกระทำการหรือส่งมอบทรัพย์สิน บางครั้งเรียกสิทธิในทางหนี้ สิทธินี้แตกต่างจากทรัพยสิทธิซึ่งเป็นสิทธิเหนือทรัพย์ ดูทรัพยสิทธิ

บุคคลอื่นใดได้มาเกี่ยวข้องในคดี - (ปวิพ.ม. 55) ผู้ที่มีสิทธิคัดค้านการใช้สิทธิทางศาลของผู้ร้องขอ

บุคลากรด้านสาธารณสุข – (พรบ.สุขภาพแห่งชาติ 2550 ม.3) ผู้ให้บริการสาธารณสุขที่มีกฎหมาย ระเบียบหรือข้อกำหนดรองรับ

บุคลากรทางการศึกษา – (พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 2547 ม.4) ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการการเรียนการสอน การนิเทศ การบริหารการศึกษา และการปฏิบัติงานอื่นในหน่วยงานการศึกษา

บุตร – (พรบ.ประกันสังคม  2533 ม.73) บุตรดังนี้(1)บุตรที่ชอบด้วยกม. และ(2)บุตรอันแท้จริงที่ไม่ชอบด้วยกม.ของผู้ประกันตนด้วย (ฎ.4940/2545)

บุพการี – 1. ญาติผู้สืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไป ได้แก่ ปู่ ย่า ตา ยาย บิดา มารดา   ดู ผู้สืบสันดาน     2. (ปอ.ม. 289(1)) บิดามารดาตามข้อเท็จจริง (ฎ. 1384/2516) บุตรผู้กระทำความผิดจึงเป็นบุตรตามข้อเท็จจริงด้วยและไม่หมายความรวมถึงผู้ที่เป็นบุตรบุญธรรมโดยจดทะเบียนตามกม.ด้วย (ฎ. 956/2509)

บุฟเฟนดอร์ฟ –  (ค.ศ.1632 – 1694) นักปราชญ์ชาวเยอรมัน เขียนหนังสือชื่อ De Jure Naturae et Gentium ระบุการจัดแบ่งอำนาจอธิปไตยเป็น 7 อำนาจคือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจในการลงโทษ อำนาจในการทำสงครามและสงบศึก อำนาจในการทำสนธิสัญญา อำนาจในการแต่งตั้งข้าราชการ อำนาจในการจัดเก็บภาษี และอำนาจในการจัดการการศึกษา

บุริมสิทธิ - สิทธิที่เจ้าหนี้คนหนึ่งจะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น  มีด้วยกัน 3 ประเภทคือ บุริมสิทธิสามัญ  บุริมสิทธิพิเศษเหนือสังหาริมทรัพย์และบุริมสิทธิพิเศษเหนืออสังหาริมทรัพย์

บำเหน็จ –   1.ค่าจ้าง     2. ค่าจ้างที่จ่ายให้แก่ผู้ขนส่งตามสัญญารับขนหรือตัวแทนตามสัญญาตัวแทน

บำเหน็จดำรงชีพ –   (พรบ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ ม.47/1, พรบ.กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ 2539 ม.3) เงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับบำนาญเพื่อช่วยเหลือการดำรงชีพโดยจ่ายให้ครั้งเดียว

เบี้ยปรับ – 1. (ปพพ.) ค่าเสียหายที่คู่สัญญาได้ตกลงกันกำหนดไว้ล่วงหน้าเพื่อชดใช้แก่กัน (ฎ. 1448/2520, 622/2523, 2753/2523, 2964/2545) ซึ่งถ้าสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดได้      ดูมัดจำ        2. (ป.รัษฎากร) เงินที่ผู้เสียภาษีต้องชำระเพิ่มขึ้นเนื่องจากการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกม. และถือว่าเป็นโทษทางแพ่งอย่างหนึ่งตาม ป.รัษฎากร   ดู เงินเพิ่ม
แบบ –        (ปพพ.ม. 152) วิธีการทำหลักฐานของนิติกรรมบางประเภทที่กม.เห็นว่า เป็นนิติกรรมสำคัญและต้องการหลักฐานที่แน่นอนในทางกม.  หากไม่ทำนิติกรรมนั้นจะตกเป็นโมฆะ แบบมี 3 ประเภทคือ การทำเป็นหนังสือเช่น สัญญาเช่าซื้อ  การทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เช่นสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และแบบอื่นๆตามที่กม.กำหนด   แบบจะต่างจากการมีหลักฐานเป็นหนังสือเพื่อฟ้องคดี  ดู หลักฐานเป็นหนังสือ 

แบบพิมพ์ของศาล – (ปวิพ.) แบบพิมพ์ที่กำหนดไว้ให้ใช้ในการจัดทำคำคู่ความหรือเอกสารในทางศาล มี 2 ประเภทคือ (1) แบบพิมพ์แผนกศาลใช้  ซึ่งเป็นแบบพิมพ์ที่เฉพาะศาลเท่านั้นที่เป็นผู้จะใช้แบบพิมพ์นี้ เช่น หมายนัด หมายเรียกพยาน รายงานกระบวนพิจารณา แบบพิมพ์คำพิพากษาของศาล แบบพิมพ์คำพิพากษาตามยอม คำบังคับคดี หมายบังคับคดี รายงานเจ้าหน้าที่      และ (2) แบบพิมพ์แผนกคำคู่ความ ซึ่งเป็นแบบพิมพ์ที่คู่ความเป็นผู้ใช้ เช่น  แบบพิมพ์คำฟ้องและคำขอท้ายคำฟ้องแพ่ง คำให้การ อุทธรณ์และคำแก้อุทธรณ์ ฎีกาและคำแก้ฎีกา  คำร้อง  ใบแต่งทนาย  เดิมคู่ความจะต้องซื้อแบบพิมพ์นี้จากศาล แต่ปัจจุบันสามารถพิมพ์ใช้เองได้

แบบระเบียบ – (ปพพ.ม.940) แบบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับตั๋วแลกเงินดังนี้  แบบของการสั่งจ่าย  แบบของการสลักหลัง  แบบของการรับรอง  แบบของการรับอาวัล การสอดเข้ารับรองแก้หน้า  และแบบการทำคัดค้านการไม่รับรองหรือไม่ใช้เงินตามตั๋วเมื่อตั๋วถึงกำหนด  ไม่ใช่หมายถึงแบบที่ไม่ทำตามยังผลให้นิติกรรมเป็นโมฆะ

แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1)  - หลักฐานเบื้องต้นแสดงว่า ขณะแจ้งการครอบครองที่ดินนั้น  ผู้แจ้งอ้างว่าที่ดินเป็นของผู้แจ้ง     (ฎ. 1770/2548)  ใช้คำย่อว่า ส.ค. 1

โบราณวัตถุ – (ปพพ.ม.1325, พรบ.โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ 2504 ) สังหาริมทรัพย์ที่เป็นของโบราณ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ หรือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือที่เป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของโบราณสถาน ซากมนุษย์หรือซากสัตว์ซึ่งโดยอายุหรือโดยลักษณะแห่งการประดิษฐ์ หรือโดยหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นประโยชน์ในทางศิลป ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี  (ม.4)  เช่น เทวรูปหินอ่อนรูปนารายณ์สี่กร (ฎ.1558/2509)  ที่ไม่ใช่โบราณวัตถุ เช่น เครื่องทองรูปพรรณโบราณที่มีลักษณะเป็นของใช้ส่วนบุคคล (ฎ. 705/2489)

โบราณสถาน – (พรบ.โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ 2504 ) อสังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยอายุหรือโดยลักษณะแห่งการก่อสร้าง หรือโดยหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นประโยชน์ในทางศิลป ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี  ทั้งนี้ให้รวมถึงสถานที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี แหล่งประวัติศาสตร์ และอุทยานประวัติศาสตร์ด้วย 28 (ม.4) 

ใบกำกับของ - ตราสารหรือเอกสารที่ผู้ส่งของ(หรือสินค้า) ออกให้แก่ผู้ขนส่งเพื่อเป็นหลักฐานแสดงรายละเอียดของของ  สถานที่ส่งของ ผู้รับตราส่ง และแสดงว่า ผู้ส่งได้มอบของ(หรือสินค้า)ตามที่ระบุไว้ในใบกำกับของให้กับผู้ขนส่งไว้ในความดูแลแล้ว

ใบจอง – 1.(ป.ที่ดิน ม.1)  หนังสือแสดงการยอมให้เข้าครอบครองที่ดินชั่วคราว    2. (ก) หนังสือที่ออกในสมัย ร.5 ซึ่งจะออกให้แก่เจ้าของนาฟางลอยเพื่อเก็บภาษีอากรตามพื้นที่ทำนา

ใบตราส่ง – (พรบ.การรับขนของทางทะเล  2534 ม.3)  เอกสารที่ผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งของเป็นหลักฐานแห่งสัญญารับขนของทางทะเลแสดงว่า ผู้ขนส่งได้รับของตามที่ระบุในใบตราส่งไว้ในความดูแลหรือได้บรรทุกของลงเรือแล้ว และผู้ขนส่งรับที่จะส่งมอบของดังกล่าวให้แก่ผู้มีสิทธิรับของนั้นเมื่อได้รับเวนคืนใบตราส่ง

ใบแต่งทนาย – (ปวิพ.ม.61) หนังสือตั้งทนายความที่ลงลายมือชื่อตัวความและทนายความและยื่นต่อศาลเพื่อรวมไว้ในสำนวน  ใบหนึ่งๆใช้ได้เฉพาะคดีที่ยื่นไว้เท่านั้น ใบแต่งทนายใช้แบบพิมพ์ศาลแบบที่ (๙)

ใบไต่สวน – (ป.ที่ดิน ม.1) หนังสือแสดงการสอบสวนเพื่อออกโฉนดที่ดิน และให้หมายความรวมถึงใบนำด้วย

ใบประจำต่อ - (ตั๋วเงิน) กระดาษซึ่งต่อกับตั๋วเงินและใช้เป็นที่สลักหลังเมื่อไม่มีที่ในตั๋วเงินพอที่จะสลักหลังต่อไปได้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของตั๋วเงิน  การสลักหลังในใบประจำต่อครั้งแรกจะต้องเขียนคาบทั้งบนใบประจำต่อและตั๋วเงินเดิม

ใบประทวนสินค้า  - ตราสารหรือเอกสารที่ให้สิทธิแก่ผู้ฝากของในคลังสินค้าที่จะสลักหลังจำนำสินค้าโดยไม่ต้องส่งมอบสินค้านั้นให้แก่ผู้รับสลักหลังตราสาร

ใบมอบฉันทะ – (ปวิพ.ม. 64) หนังสือที่คู่ความหรือ ทนายความ แต่งตั้งให้ผู้อื่นกระทำการแทนในกิจการดังนี้ (1) กำหนดวันนั่งพิจารณาหรือสืบพยานหรือวันฟังคำสั่ง คำบังคับ หรือคำชี้ขาดใดๆ ของศาล (2) มาฟังคำสั่ง คำบังคับ หรือคำชี้ขาดใดๆ ของศาล หรือสลักหลังรับรู้ซึ่งข้อความนั้นๆ  (3) รับสำเนาคำให้การ คำร้องหรือเอกสารอื่น ๆ และแสดงการรับรู้สิ่งเหล่านั้น   และ (4) กิจการอื่นที่โดยสภาพทนายความไม่ต้องทำเอง เช่น มอบฉันทะให้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีต่อศาล (ฎ. 321/2503) ใบมอบฉันทะใช้แบบพิมพ์ศาลแบบที่ (๑๐)

ใบรับ – (ป.รัษฎากร ม.103) (ก) บันทึก หรือหนังสือใดๆ ที่เป็นหลักฐานแสดงว่า ได้รับ ได้รับฝากหรือได้รับชำระเงินหรือตั๋วเงิน หรือ (ข) บันทึก หรือหนังสือใดๆ ที่เป็นหลักฐานแสดงว่าหนี้หรือสิทธิเรียกร้องได้ชำระหรือปลดให้แล้ว บันทึกหรือหนังสือที่กล่าวนั้นจะมีลายมือชื่อของบุคคลใดๆหรือไม่ ไม่สำคัญ

ใบรับของคลังสินค้า – ตราสารหรือเอกสารที่ให้สิทธิแก่ผู้ฝากของในคลังสินค้าที่จะสลักหลังโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าไปเป็นของผู้อื่น

ใบรับรอง – (พรบ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 2544 ม.4 ) ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรือการบันทึกอื่นใดซึ่งยืนยันความเชื่อมโยงระหว่างเจ้าของลายมือชื่อกับข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

ใบสำคัญประจำตัว  – (พรบ.การทะเบียนคนต่างด้าว  2493 ม.4) หนังสือประจำตัวของคนต่างด้าว ซึ่งนายทะเบียนออกให้ตามพรบ.นี้

ใบสำคัญสิทธิซื้อส่วนสำรอง -  (พรบ.เงินตรา 2501 ม.4) ใบสำคัญสิทธิสิทธิซื้อส่วนสำรองที่ออกตามกม.ให้อำนาจและกำหนดการปฏิบัติบางประการเกี่ยวกับกองทุนการเงินและธนาคารระหว่างประเทศ

ใบสำคัญสิทธิพิเศษถอนเงิน -  (พรบ.เงินตรา 2501 ม.4) ใบสำคัญสิทธิพิเศษถอนเงินที่ออกตามกม.ให้อำนาจและกำหนดการปฏิบัติบางประการเกี่ยวกับสิทธิพิเศษถอนเงินในกองทุนการเงินระหว่างประเทศ

ใบอนุญาตขับขี่ – (พรบ.จราจรทางบก  2522 ม. 4 (32)) ใบอนุญาตขับรถยนต์ตามกม.ว่าด้วยการขับรถยนต์ ใบอนุญาตสำหรับคนขับรถตามกม.ว่าด้วยรถจ้าง ใบอนุญาตขับขี่ตามกม.ว่าด้วยล้อเลื่อน และใบอนุญาตผู้ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่ง ตามกม.ว่าด้วยการขนส่ง




ปกติประเพณี - (ปพพ.ม. 368) ประเพณีที่แน่นอน ชอบด้วยกม.และเหตุผล ถือปฏิบัติต่อเนื่องกันมาเป็นปกติและเกี่ยวเนื่องกับข้อสัญญานั้น ๆ  ส่วนใหญ่ปกติประเพณีจะเป็นประเพณีปฏิบัติในวิชาชีพต่าง ๆ ปกติประเพณีจึงแตกต่างจากจารีตประเพณีตรงที่จารีตประเพณีจะเป็นกม.ในการอุดช่องว่างปรับใช้กับคดี ในขณะที่ปกติประเพณีเป็นหลักที่ใช้ในการตีความสัญญา  และจารีตประเพณีมีองค์ประกอบภายในว่า  ประชาชนจะต้องรู้สึกผูกพันว่า เป็นกม. และต้องปฏิบัติตาม แต่ปกติประเพณีไม่มีองค์ประกอบดังกล่าว

ปฏิญญา –  คำมั่นที่ประกาศยืนยันอย่างเป็นทางการว่า จะเคารพในความตกลงหรือแนวทางปฏิบัติระหว่างประเทศ เช่น ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน หรือ ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง

ป.ที่ดิน  –  (ย)ประมวลกฎหมายที่ดิน

ป.พ.พ. , ปพพ.  –  (ย)ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ป.รัษฎากร  –  (ย)ประมวลรัษฎากร


ประกอบกิจการโรงงาน – (พรบ.โรงงาน 2535 ม.5 ) การทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง ทดสอบ ปรับปรุง แปรสภาพ ลำเลียง เก็บรักษา หรือทำลายสิ่งใดๆ ตามลักษณะกิจการของโรงงาน แต่ไม่รวมถึงการทดลองเดินเครื่องจักร

ประกันภัย  – 1. สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน  หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้น  หรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดั่งได้ระบุไว้ในสัญญา  แต่ในการนี้บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่าเบี้ยประกันภัย (ปพพ.ม. 861)  แบ่งได้ 2 ประเภทคือ สัญญาประกันวินาศภัยและสัญญาประกันชีวิต  2. ชื่อของกม.ลักษณะที่ 20 ในบรรพ 3 ปพพ.  3. ชื่อของสัญญาประเภทหนึ่ง

ประกันภัยค้ำจุน – (ปพพ.ม. 887) สัญญาประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยตกลงว่า จะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บุคคลหนึ่ง  และซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ

ประกันชีวิต -  สัญญาประกันภัยที่กำหนดความตายของบุคคลเป็นเงื่อนเวลาเริ่มต้นในการที่ผู้รับประกันภัยจะต้องชำระเงินตามสัญญาที่กำหนดจำนวนไว้แน่นอนให้แก่ผู้รับประโยชน์

ประกันวินาศภัย - สัญญาประกันภัยที่กำหนดเอาการเกิดวินาศภัยในวัตถุที่เอาประกันภัยเป็นเงื่อนไขในการที่ผู้รับประกันภัยจะชำระเงินค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ และผู้เอาประกันภัยตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัย

ประกาศ คมช.- (ย.) ประกาศหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ประกาศหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข - กม.ที่ออกโดยหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขโดยเริ่มออกเมื่อมีการปฏิรูปการปกครองเมื่อ 19 กย.2549 ซึ่งจะเป็นกม.หรือไม่หรือมีลำดับศักดิ์ใด ขึ้นอยู่กับเนื้อหาของตัวประกาศนั้น ๆ เอง เช่น อาจมีลำดับศักดิ์ พรบ.เมื่อกำหนดความผิดและโทษ หรือเมื่อกำหนดสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล

ประกาศคณะปฏิวัติ – กม.ที่ออกโดยคณะปฏิวัติมีลำดับศักดิ์ขึ้นอยู่กับเนื้อหาของตัวบทกม.นั้น เช่น อาจมีลำดับศักดิ์พรบ.เมื่อกำหนดความผิดและโทษ หรือเมื่อกำหนดสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล

ประจักษ์พยาน – พยานบุคคลที่มาเบิกความต่อศาลโดยเป็นผู้ที่รู้เห็นข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์มาโดยตรง ไม่ใช่มีผู้มาเล่าให้ฟัง  ดูพยานบอกเล่า

ประชาชน – 1. พลเมืองหรือสามัญชนทั่วๆไป ไม่จำกัดว่าจะเป็นใคร (ฎ.6469/2545)    2. (ปอ.ม.343) บุคคลโดยทั่วๆไป ไม่จำกัดตัวหรือจำกัดเฉพาะกลุ่มบุคคล ไม่ถือจำนวนมากน้อยเป็นสำคัญ   แม้  2 คน(ฎ.97/2518) หรือ 6 คน(ฎ.609/2527) ก็เป็นประชาชนได้

ประชาพิจารณ์ – (รธน.2540 ม.60 ) กระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้เสียที่อยู่ในพื้นที่เพื่อประกอบการตัดสินใจในการจัดทำโครงการอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งอาจจะเป็นของรัฐหรือของเอกชนที่ได้รับสัมปทานจากรัฐ โดยรัฐจะนำเสนอโครงการที่จะดำเนินการ ให้ข้อมูล และข้อดีข้อเสียเพื่อให้ประชาชนรับทราบ และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นในการประชุมกลุ่มขนาดใหญ่ ซึ่งประชาชนมีการเตรียมการ และนำเสนอความเห็น มีการบันทึกข้อวิจารณ์อย่างเป็นทางการเพื่อคณะกรรมการประชาพิจารณ์จะได้นำมาประมวลและสรุป ผลเสนอผู้มีอำนาจตัดสินใจ ประชาพิจารณ์จึงเป็นเพียงใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจอีกครั้งหนึ่ง การออกความเห็นในการประชาพิจารณ์จึงไม่ใช่การตัดสินใจว่า จะดำเนินโครงการนั้นหรือไม่ แต่เป็นเพียงข้อมูลที่ใช้ในการตัดสินใจเท่านั้น เช่น การทำประชาพิจารณ์ก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่บ่อนอก หินกรูด จ.ประจวบคีรีขันธ์   ดู  ประชามติ

ประชามติ – (รธน.2540 ม.214 ) กระบวนการออกเสียงลงคะแนนของประชาชนทั่วประเทศว่า เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับเรื่องที่คณะรัฐมนตรีเสนอขอความเห็น โดยเรื่องที่ขอความเห็นนั้นจะต้องเป็นเรื่องที่คณะรัฐมนตรีกำหนด โดยเห็นว่า อาจจะกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติหรือประชาชน แต่เรื่องที่จะขอออกเสียงประชามติต้องไม่ใช่เรื่องที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือที่เกี่ยวข้องกับตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือคณะบุคคลใดคณะบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ
    มีขั้นตอนและวิธีการออกเสียงประชามติดังนี้ (1) คณะรัฐมนตรีต้องมีมติให้ความเห็นชอบให้มีการออกเสียงประชามติ  และนายกรัฐมนตรีต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา (2) กำหนดวันออกเสียงเป็นวันเดียวกันทั่วประเทศโดยจะต้องไม่ก่อน 90 วันและไม่ช้ากว่า 120 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
    มีรัฐธรรมนูญฯ 5 ฉบับที่กำหนดให้มีการออกเสียงประชามติ คือ ฉบับ พ.ศ. 2492  ฉบับ พ.ศ. 2511 ฉบับ พ.ศ. 2517   ฉบับ พ.ศ. 2534 และฉบับ พ.ศ. 2540
    ความแตกต่างระหว่างประชามติและประชาพิจารณ์ คือ (ก) ขอบเขตพื้นที่ ประชาพิจารณ์เป็นเรื่องจำกัดวงเฉพาะในขอบเขตพื้นที่ของชุมชน ท้องถิ่นและบุคคลเท่านั้น  แต่ประชามติต้องให้ประชาชนทั่วประเทศออกเสียง  (ข) สาระสำคัญของเรื่อง ประชาพิจารณ์เป็นเรื่องของโครงการที่มีผลต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับบุคคลหรือชุมชนท้องถิ่น  แต่ประชามติต้องเป็นเรื่องที่กระทบถึงผลประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติหรือประชาชน ไม่เกี่ยวกับบุคคลหรือคณะบุคคลใดๆ เป็นการเฉพาะ

ประชุมรัฐสภา – การประชุมสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา มีสมัยประชุม 2 สมัยคือ สมัยประชุมสามัญและสมัยประชุมวิสามัญ  ดู สมัยประชุมสภา

ประชุมวิสามัญ - (ปพพ.ม. 1171) การประชุมผู้ถือหุ้นบริษัททั่วไปครั้งอื่นที่ไม่ใช่การประชุมสามัญแต่เป็นการประชุมพิจารณาในเรื่องรีบด่วนสำคัญที่ต้องให้ที่ประชุมใหญ่วินิจฉัย  ไม่อาจรอจนกว่าจะมีการประชุมสามัญได้และ อาจให้ผู้ถือหุ้นลงมติในการประชุมนี้ได้ (ฎ. 1253/2537)  ดู ประชุม  ประชุมสามัญ

ประชุมสามัญ -(ปพพ.ม. 1171) การประชุมผู้ถือหุ้นบริษัททั่วไป  ซึ่งจะกำหนดประชุมกันแน่นอนตามกม.กล่าวคือภายในเวลา  6 เดือนนับตั้งแต่วันที่ได้จดทะเบียนบริษัทหรือทุกระยะเวลา 12 เดือน ดู ประชุม     ประชุมวิสามัญ

ประชุมสามัญทั่วไป - การประชุมรัฐสภาที่ในสมัยประชุมนั้นจะประชุมพิจารณาได้ทุกเรื่อง ไม่จำกัดเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

ประชุมสามัญนิติบัญญัติ - การประชุมรัฐสภาที่ในสมัยประชุมนั้นจะประชุมพิจารณาได้เพียงเฉพาะบางเรื่อง ได้แก่ การพิจารณาเกี่ยวกับ รธน.หมวด 2 (พระมหากษัตริย์) การพิจารณาร่าง พรบ.หรือร่างพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญ  การอนุมัติพรก. การให้ความเห็นชอบในการประกาศสงคราม   การให้ความเห็นชอบให้บุคคลดำรงตำแหน่ง   การถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง  การตั้งกระทู้ถามและการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หรือเรื่องอื่นที่รัฐสภามีมติด้วยคะแนนเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของรัฐสภา   ทั้งนี้เพื่อให้รัฐสภาใช้เวลาในการพิจารณาร่าง พรบ.ต่างๆ มากขึ้น

ประชุมใหญ่ –  (ปพพ.ม. 1171) การประชุมผู้ถือหุ้นทั่วไป  ซึ่งมี 2 ประเภทคือ ประชุมสามัญและประชุมวิสามัญ

ประเด็น – ข้อพิพาทในคดี  เรื่องที่คู่ความเสนอต่อศาลเพื่อให้วินิจฉัย

ประเด็นข้อกฎหมาย – ดูปัญหาข้อกฎหมาย

ประเด็นข้อพิพาท – ข้อโต้แย้งระหว่างคู่ความในคดีแพ่ง  ข้อที่คู่ความในคดีฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้างและอีกฝ่ายปฏิเสธ ซึ่งเกิดจากคำฟ้อง คำให้การหรือคำคู่ความเท่านั้น และอาจจะเป็นการพิพาทกันในประเด็นข้อเท็จจริงหรือในประเด็นข้อกม.ก็ได้ บางครั้งเรียก ประเด็น  ประเด็นแห่งคดี

ประเด็นข้อเท็จจริง – ดูปัญหาข้อเท็จจริง

ประเด็นหารือบท – (ก) ปัญหาข้อกม.

ประเด็นแห่งคดี –  ประเด็นทั้งหมดในคดีนั้น ไม่ว่าจะเป็นประเด็นข้อพิพาท

ประทานบัตร  – 1. (พรบ.การประมง  2490 ม.4 (8)) ใบอนุญาตซึ่งข้าหลวงประจำจังหวัดออกให้บุคคลผู้ประมูลได้ ให้มีสิทธิทำการประมงในที่ว่าประมูล  2. (พรบ.แร่ 2510 ม.4) หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อทำแหมืองภายในเขตที่กำหนดในหนังสือสำคัญนั้น

ประทานบัตรชั่วคราว  – (พรบ.แร่ 2510 ม.4) หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อทำแหมืองก่อนได้รับประทานบัตรภายในเขตที่กำหนดในหนังสือสำคัญนั้น

ประทุษร้ายต่อเสรีภาพ – (ปอ.ม.130, 131) ข่มขืนใจให้กระทำการ หรือไม่กระทำการหรือจำยอมต่อสิ่งใด  โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกข่มขืนใจนั้นเองหรือของผู้อื่น หรือโดยใช้กำลังประทุษร้ายจนผู้ถูกข่มขืนใจต้องกระทำการเช่นนั้น ไม่กระทำการนั้น หรือจำยอมต่อสิ่งนั้น หรือหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้ถูกข่มขืนใจ

ประทุษร้ายทางแพ่ง – (ก) ละเมิด

ประธานในคราวประชุม – ประธานที่สส.หรือสว.เลือกตั้งกันขึ้นเองเป็นประธานในคราวประชุมใดประชุมหนึ่งเมื่อประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือประธานวุฒิสภาและรองประธานไม่อยู่ในที่ประชุมสภา

ประธานรัฐสภา – 1. หัวหน้าของสส.และ สว. 2.(รัฐธรรมนูญฯ) ประธานสภาผู้แทนราษฎร    3. (พรบ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา 2523 ม.4)   ประธานรัฐสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้มีสภานิติบัญญัติสภาเดียว ให้หมายความถึงประธานแห่งสภานั้น

ประธานสภา – ประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือประธานวุฒิสภา แล้วแต่กรณี

ประธานสภาผู้แทนราษฎร – สส.ซึ่งมติของสภาได้แต่งตั้งให้เป็นประธานสภา โดยได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภาโดยตำแหน่ง มีวาระการดำรงตำแหน่งเท่ากับอายุของสภาผู้แทนราษฎร (เมื่อสิ้นอายุสภา หรือเมื่อมีการยุบสภา)   มีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการของสภาให้เป็นไปตามข้อบังคับ

ประธานวุฒิสภา – สมาชิกวุฒิสภาซึ่งมติของสภาได้แต่งตั้งให้เป็นประธานสภา โดยได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ ประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภาโดยตำแหน่ง มีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการของสภาให้เป็นไปตามข้อบังคับ

ประนีประนอมยอมความ – 1 สัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน(ปพพ.ม. 850) การทำสัญญาประนีประนอมต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดมิฉะนั้นฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ (ปพพ.ม. 851)  2 . ชื่อของกม.ลักษณะที่ 17 ในบรรพ 3 ปพพ.  3.ชื่อของสัญญาประเภทหนึ่ง

ประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล – (ปวิพ.ม.31) การกระทำของคู่ความหรือบุคคลภายนอกที่ทำให้การพิจารณาคดีของศาลเป็นไปโดยไม่เรียบร้อย ซึ่งผู้กระทำไม่จำเป็นต้องอยู่ต่อหน้าศาล (ฎ.7-8/2543) เช่น การเปลี่ยนตัวผู้ต้องหาในชั้นสอบสวน (ฎ.7-8/2543)  ใช้รองเท้าตีในบริเวณที่พักทนายในขณะที่ศาลเปิดทำการ (ฎ. 256/2483) พกปืนบรรจุกระสุนเข้าไปในห้องพิจารณาของศาล (ฎ. 1985/2497) ทำอุทธรณ์ยื่นโดยใช้ถ้อยคำเสียดสีด้วยถ้อยคำอันเป็นหมิ่นประมาท (ฎ. 604/123) หรือโดยใช้คำก้าวร้าวเสียดสีศาลอย่างแรง  (ฎ. 72/2491)

ประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข – (รธน.)ส่วนของรัฐธรรมนูญฯ ที่มิได้เป็นลายลักษณ์อักษรแต่เป็นธรรมเนียมที่ยอมรับและมีการปฏิบัติสืบต่อเนื่องกันมาโดยมีผลผูกพันเสมือนหนึ่งว่า เป็นรัฐธรรมนูญ   เมื่อไม่มีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญฯ จะใช้ประเพณีนี้อุดช่องว่าง

ประเพณีทางการค้า - ประเพณีหรือธรรมเนียมปฏิบัติซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางและถือปฏิบัติกันอยู่เป็นปกติระหว่างผู้ค้าขายสินค้าชนิดนั้น ทั้งคู่สัญญาที่เกี่ยวข้องก็ได้รู้หรือควรจะได้รู้อยู่แล้วในขณะทำสัญญาถึงความมีอยู่ของประเพณีหรือธรรมเนียมปฏิบัติดังกล่าวด้วย

ประมวลกฎหมาย – รูปแบบหนึ่งของการจัดทำ กม. ลายลักษณ์อักษรโดยนำกม.เรื่องเดียวกันหรือลักษณะเดียวกันซึ่งบัญญัติไว้กระจัดกระจายเข้ารวมไว้เป็นหมวดหมู่ เป็นระเบียบระบบไว้ในกม.ฉบับเดียวกัน มีข้อความท้าวถึงซึ่งกันและกัน ประมวลกม.มีลำดับศักดิ์ในชั้น พรบ.  มี 7 ฉบับ คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ประมวลกฎหมายอาญาทหาร  ประมวลกฎหมายที่ดิน และประมวลรัษฎากร

ประมวลกฎหมายพระเจ้าจัสติเนียน – (Corpus Juris Civilis) ประมวลกม.ที่เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 6 ในสมัยจักรพรรดิจัสติเนียนโดยพระองค์ทรงมีบัญชาให้นักนิติศาสตร์ชื่อ ทริโบเนียน (Tribonian) รวบรวมกม.เก่า จารีตประเพณี ความเห็นของนักนิติศาสตร์และจัดทำเป็นประมวลกม.ขึ้น ประกอบไปด้วย 4 ส่วนคือ (1) โคเด็กซ์ จุสติเนียนนุส (Codex Justinianus) เป็นการประมวลกม.ลีจิส(Leges – กม.ที่เสนอโดยสภาซีเนทโดยมีขุนนาง(Patricians) และสามัญชน (Plebians) ซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มชนลงมติรับ) (2) ไดเจสต์ หรือแพนเด็คท์ (Digest or Pandects) ซึ่งเป็นความเห็นของนักนิติศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับ (3) อินสติติวท์ (Institutes) ได้แก่ การบันทึกตำรากม. และ(4) โนแวลเล (Novelle) กม.ที่ออกมาในภายหลัง 

ประมวลกฎหมายพระเจ้าฮัมมูราบี – (Hammurabi Code) เกิดเมื่อประมาณปี 1900 ก่อนคริสตศักราช ในสมัยพระเจ้าฮัมมูราบีผู้ครองนครบาบิโลน เมโสโปเตเมีย เป็นกม.ที่สลักอยู่บนแผ่นศิลาจารึกมีบทบัญญัติ 282 ม.มีการจัดแบ่งออกเป็นหมวดหมู่อย่างเป็นระเบียบระบบสะดวกแก่การใช้

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ –  กม.เอกชนที่บัญญัติรับรองสิทธิและความสัมพันธ์ของบุคคลเอกชนตั้งแต่เกิดจนตาย  แบ่งเป็น 6 บรรพ ได้แก่ หลักทั่วไป หนี้ เอกเทศสัญญา ทรัพย์สิน ครอบครัวและมรดก  ยกร่างโดยกรมร่างกม.สังกัดกระทรวงยุติธรรมมีคณะกรรมการคือ เจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร (ม.ร.ว. ลพ สุทัศน์ ) นายเรอเน่ กียอง พระยานรเนติบัญชากิจ(ลัด เศรษฐบุตร) พระยาจินดาภิรมย์ราชสภาบดี (จิตร ณ สงขลา)  พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตาบดี(บุญช่วย วณิกกุล) พระยามานวราชเสรี (ปลอด ณ สงขลา) นายชาร์ล เลเวส์ก นายเรมี เดอ ปลังเตอโรสและนายเรอเน่ กาโซ  ใช้ต้นแบบจากประมวลกม.แพ่งเยอรมันโดยลอกมาจากประมวลกม.แพ่งญี่ปุ่น   ประมวลกม.แพ่งฝรั่งเศส ประมวลกม.แพ่งสวิส  มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้ฯบรรพ 1 และ 2 เมื่อวันที่ 11 พย. 2468 บรรพ 3 เมื่อวันที่ 1 เมย. 2472  บรรพ 4 เมื่อวันที่ 1 เมย. 2475  และบรรพ 5 และ 6 เมื่อวันที่ 1 ตค. 2477   บรรพ 1-4 ร่างเป็นภ.อังกฤษก่อนจึงแปลเป็นภ.ไทย   ส่วนบรรพ 5 และ 6 ร่างเป็นภ.ไทยตั้งแต่ต้น

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง – กม.วิธีสบัญญัติว่าด้วยการบังคับการให้เป็นไปตามสิทธิในทางแพ่ง โดยกล่าวถึงลำดับขั้นตอนต่างๆ ในการดำเนินคดีแพ่ง กล่าวคือ การฟ้องร้อง การพิจารณาและพิพากษาคดี การอุทธรณ์ฎีกา  และการบังคับคดีแพ่ง ต้นฉบับแต่เดิมยกร่างโดยนายริวิแอร์ มีต้นแบบมาจากพรบ.วิธีพิจารณาความแพ่ง ร.ศ. 127 และพรบ.ลักษณะพยาน ร.ศ. 113 ปวิพ.ฝรั่งเศส และข้อบังคับว่าด้วยวิธีพิจารณาในศาลกงสุลของอังกฤษในประเทศไทย  พ.ศ. 2441  ใช้บังคับเมื่อ 1 ตค. 2478 จนถึงปัจจุบัน

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา –  กม.วิธีสบัญญัติว่าด้วยการบังคับการให้เป็นไปตามกม.อาญา โดยกล่าวถึงลำดับขั้นตอนต่างๆ ในการที่เจ้าพนักงานของรัฐจะนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษและดำเนินคดีอาญา กล่าวคือ การสืบสวน การจับกุม การสืบสวน การฟ้องร้อง การพิจารณาและพิพากษาคดีอาญา การอุทธรณ์ฎีกา  และการบังคับคดี ต้นฉบับแต่เดิมยกร่างโดยนายเรอเน่ กิยอง มีต้นแบบมาจากเซาท์แอฟริกา ประกาศใช้บังคับเมื่อ 1 ตค. 2478 จนถึงปัจจุบัน

ประมวลกฎหมายอาญา – กม.อาญาของไทยที่จัดทำในรูปประมวลกฎหมาย ประกาศใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 มค. 2500 จนถึงปัจจุบันแทน กม.เดิมคือ กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127    ปอ.มี 396 ม. แบ่งเป็น 3 ภาคคือ ภาค 1 บทบัญญัติทั่วไป ว่าด้วยหลักซึ่งใช้บังคับกับกม.อาญาทุกฉบับ   ภาค 2 ความผิด ว่าด้วยความผิด 12 ลักษณะคือ ความผิดเกี่ยวกับ (1) ความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร  (2) การปกครอง (3) การยุติธรรม  (4) ศาสนา  (5) ความสงบสุขของประชาชน (6) การก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน (7) การปลอมและการแปลง (8) การค้า  (9)เพศ  (10) ชีวิตและร่างกาย (11) เสรีภาพและชื่อเสียง  และ (12) ทรัพย์    และภาค 3 ความผิดลหุโทษ

ประมวลกฎหมายฮินดูของพระมนู – เกิดเมื่อ พ.ศ. 350 จากวรรณกรรมที่เรียกว่า มานวธรรมศาสตร์  เขียนโดยบริกุ มีหลักว่า พระมนูหรือมโนสารเป็นผู้สร้างโลกและกม.ขึ้นมาพร้อมกัน กม.มีอยู่หนึ่งเดียวสำหรับมนุษย์ทุกคน มีลักษณะเป็นนิรันดร์ ไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ขึ้นกับกฎเกณฑ์หรือความรู้สึกอื่น มนุษย์ต้องปรับตัวเข้าหากม.นี้เพื่อให้พ้นความทุกข์และได้รับความสุขที่แท้จริง

ประมวลรัษฎากร – กม.ว่าด้วยการจัดเก็บภาษีอากร 5 ประเภท ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม อากรแสตมป์ และอากรมหรสพ เป็นกม.มหาชนที่กำหนดภาระหน้าที่ให้ประชาชนปฏิบัติต่อรัฐจึงต้องบังคับโดยเคร่งครัดในทางที่จะไม่ก่อให้เกิดภาระหน้าที่หรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิและทรัพย์สินของประชาชน (ฎ.7125/2540)

ประมาท – ดู กระทำโดยประมาท

ประมาทเลินเล่อ –  1. (ปพพ.ม. 420) การกระทำโดยไม่จงใจ แต่มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรที่จะต้องใช้          หรือไม่ได้ใช้ความระมัดระวังของบุคคลที่อยู่ในภาวะและวิสัยเช่นเดียวกับผู้กระทำละเมิด การขาดความระมัดระวัง (ฎ.1944 / 2538)  2. (ปพพ.ม. 1009) การกระทำโดยไม่จงใจ แต่มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรที่จะต้องใช้ในมาตรฐานของผู้ประกอบธุรกิจธนาคารโดยทั่วไป  3. (ปพพ.ม. 1310) มิได้แสดงหรือใช้ความระมัดระวังตามสมควรอันจะทำให้ผู้อื่นได้รู้ว่า ตนเองเป็นเจ้าของที่ดิน

ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง –  (ปพพ.ม. 373 ,ม.905) การกระทำที่ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังแม้แต่น้อย หรือทั้งที่เห็นอันตรายอยู่แล้วยังฝ่าฝืนกระทำ ซึ่งถ้าหากใช้ความระมัดระวังแต่เพียงเล็กน้อย เหตุนั้นก็จะไม่เกิดขึ้น       การแกล้งหรือจงใจ
    ไม่เป็นประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เข่น ขับรถยนต์ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจรทำให้เกิดเหตุขึ้น  เพราะเครื่องหมายจราจรเป็นเครื่องหมายที่แสดงให้ผู้ขับรถได้ระมัดระวังเพื่อความปลอดภัยเท่านั้น (ฎ.1111 / 2535 )  ไม่จ้างคนยามเฝ้าสถานที่และจัดหาเครื่องดับเพลิงหลังจากที่ถูกวางเพลิงมาแล้วครั้งหนึ่ง (ฎ. 1742 / 2520) ดึงกุญแจติดเครือ่งยนต์ออก แต่มิได้ล็อคกุญแจประตูรถยนต์ไว้ ไปซื้อก๋วยเตี๋ยวห่างไป 30 เมตร เป็นเวลา 10 นาที มีคนอยู่ในบริเวณนั้น  รถหายไป (ฎ.260/2523)

ประเมินของเจ้าพนักงาน - วิธีการชำระภาษีที่ผู้เสียภาษีมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อแสดงรายละเอียดที่จำเป็นสำหรับการคำนวณภาษีต่อเจ้าพนักงานผู้จัดเก็บภาษี เมื่อเจ้าพนักงานได้ตรวจสอบและประเมินภาษีแล้ว จะแจ้งจำนวนภาษีและกำหนดเวลาที่จะต้องชำระให้แก่ผู้เสียภาษีทราบ  ภาษีที่ใช้วิธีการนี้ เช่น ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน   ดู  ประเมินตนเอง หักภาษี ณ ที่จ่าย

ประเมินตนเอง - วิธีการชำระภาษีที่ผู้เสียภาษีมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการพร้อมทั้งคำนวณภาษีที่จะต้องเสียด้วยตนเอง และจะต้องชำระภาษีตามจำนวนที่คำนวณได้นั้นภายในเวลาและสถานที่ที่กม.กำหนด แต่เจ้าพนักงานมีอำนาจที่จะประเมินภาษีเพิ่มเติมได้หากภายหลังพบว่าการประเมินไม่ถูกต้อง  ภาษีที่ใช้วิธีการนี้ เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม  ดู ประเมินของเจ้าพนักงาน  หักภาษี ณ ที่จ่าย

ประโยชน์อื่นใด – (ปอ.ม. 143, 148, 167) สิ่งที่ไม่ใช่ทรัพย์สิน แต่เป็นคุณประโยชน์แก่ผู้รับ

ประวัติศาสตร์กฎหมาย – วิชาที่ศึกษาถึงกำเนิดและวิวัฒนาการของกม.ในอดีต

ประสบอันตราย – (พรบ.เงินทดแทน 2537 ม. 5) การที่ลูกจ้างได้รับอันตรายแก่กายหรือผลกระทบแก่จิตใจ หรือถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้างหรือตามคำสั่งของนายจ้าง

ประหารชีวิต – โทษทางอาญาอย่างหนึ่ง เดิมใช้ปืนยิง ปัจจุบันใช้ฉีดยา

ปรับ – โทษทางอาญาอย่างหนึ่งที่ลงแก่ผู้กระทำความผิดโดยผู้กระทำความผิดจะต้องชำระเงินตามจำนวนที่กำหนดไว้ในคำพิพากษาต่อศาล หากไม่ชำระจะถุกกักขังแทนการชำระค่าปรับ

ปรับบทกฎหมาย – การนำบทกม.ไปปรับใช้กับหรือวินิจฉัยคดีใดคดีหนึ่ง

ปรีวี เคาน์ซิล – คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษจากคำว่า Privy Council คณะที่ปรึกษาราชการส่วนพระองค์ที่ ร.5 ทรงตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 สค. 2417 เพื่อทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาราชการส่วนพระองค์และช่วยกันปฏิบัติราชการอื่นๆตามที่พระองค์จะทรงมอบภารกิจให้  ดู เคาน์ซิลออฟเสตด

ปลดหนี้ -         การที่เจ้าหนี้ตกลงยกหนี้ให้กับลูกหนี้มีผลทำให้หนี้ระงับสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วนโดยไม่มีค่าตอบแทน    (เหมือนกับสัญญาให้)   เป็นวิธีการระงับหนี้โดยเจ้าหนี้แสดงเจตนาที่จะสละสิทธิเรียกร้องที่มีต่อลูกหนี้     ซึ่งถ้าหนี้มีหลักฐานเป็นหนังสือ การปลดหนี้ต้องทำเป็นหนังสือ เวนคืนเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งหนี้หรือขีดฆ่าเอกสารนั้น                 

ปล้นทรัพย์ –  1. การชิงทรัพย์โดยร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สามคนขึ้นไป 2. ความผิดฐานหนึ่งตามปอ.ม. 340 

ปลอมเครื่องหมายการค้า –   ความผิดตามปอ.ม. 273 ซึ่งเป็นการกระทำโดยปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นซึ่งได้จดทะเบียนแล้ว ไม่ว่าจะได้จดทะเบียนภายในหรือนอกราชอาณาจักร

ปลอมเอกสาร –    ความผิดตาม ปอ. ม. 264

ปลอมเอกสารราชการหรือเอกสารสิทธิ –    ความผิดตาม ปอ. ม. 265

ปลอมเงินตรา  –    ความผิดตาม ปอ. ม. 240 ซึ่งเป็นการที่กระทำโดยทำปลอมซึ่งเงินตราไม่ว่าจะปลอมขึ้นให้เป็นเหรียญกระษาปณ์  ธนบัตรหรือสิ่งอื่นใดซึ่งรัฐบาลออกใช้หรือให้อำนาจให้ออกใช้ หรือทำปลอมขึ้นซึ่งพันธบัตรรัฐบาลหรือใบสำคัญสำหรับรับดอกเบี้ยพันธบัตรนั้นๆ

ปล่อยชั่วคราว –   ดู ประกันตัว

ปล่อยไป – (ปพพ.ม.34(8)) ขาย แลกเปลี่ยน ให้เช่าซื้อ และขายฝากแต่ไม่รวมถึงการให้โดยเสน่หา

ปลูกความ –(ก) (พรบ.ทนายความ  2477 ม.12(2)) ยุให้เป็นความกันในคดีที่ไม่มีมูลจะฟ้องร้อง

ป.ว. , ปว. – (ย) ประกาศคณะปฏิวัติ

ป.ว.พ. , ปวิพ.  –  (ย)ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

ป.ว.อ. , ปวิอ..  –  (ย)ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ปศุสัตว์ – (ปอ.ม. 359(2)) สัตว์ที่เลี้ยงไว้ใช้งานและใช้เป็นอาหาร (ฎ2046/2515)

ป.อ. , ปอ.  –  (ย)ประมวลกฎหมายอาญา

ป้องกันโดยชอบด้วยกม. – (ปอ.ม. 68)  การกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนเองหรือของผู้อื่นเพื่อให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกม.และใกล้จะถึง  และได้กระทำไปพอสมควรแก่เหตุ ผู้กระทำไม่มีความผิดทางอาญา   เป็นเหตุยกเว้นความผิดอาญา

ป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533, พรก. – กม.อาญาที่กำหนดให้ การขายสารระเหยแก่ผู้ที่มีอายุไม่เกิน 17 ปี ซึ่งมิใช่เป็นการขายโดยสถานศึกษาเพื่อใช้ในการเรียนการสอนหรือขาย จัดหาหรือให้สารระเหยแก่ผู้ซึ่งตนรู้หรือควรรู้ว่า เป็นผู้ติดสารระเหย มีความผิดและโทษ

ป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ –  การกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนเองหรือของผู้อื่นเพื่อให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกม.และใกล้จะถึง  แต่ได้กระทำไปเกินสมควรแก่เหตุ ผู้กระทำจะได้รับโทษทางอาญาน้อยลง  เป็นเหตุลดโทษเหตุหนึ่ง

ปัญญา – (พรบ.สุขภาพแห่งชาติ 2550 ม.3) ความรู้ทั่ว รู้เท่าทัน และความเข้าใจอย่างแยกได้ในเหตุผลแห่งความดี ความชั่ว ความมีประโยชน์และความมีโทษ ซึ่งนำไปสู่ความมีจิตอันดีงามและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

ปัญหาข้อกฎหมาย – ปัญหาที่เกี่ยวกับการวินิจฉัยหรือตีความกม.หรือสัญญา การปรับตัวบทกม.เข้ากับข้อเท็จจริง อำนาจฟ้อง เขตอำนาจศาล อำนาจหน้าที่ของบุคคลตามกม. เช่น การตีความคำให้การของจำเลยว่า จำเลยรับว่าสมคบกันหรือไม่  (ฎ. 735/2482)

ปัญหาข้อเท็จจริง  – ปัญหาที่เกี่ยวกับการวินิจฉัยการกระทำ พฤติการณ์  เหตุการณ์หรือข้อเท็จจริงอื่นว่า เป็นอย่างนั้นหรือไม่ เช่น ปัญหาว่า คำให้การของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาหรือไม่ (ฎ.31/2511) ปัญหาว่า สมควรรอการลงโทษจำเลยหรือไม่ (ฎ.301/2543) ปัญหาการใช้ดุลพินิจของศาล

ป่า – 1. (พรบ.ป่าไม้ 2484 ม.4 (1)) ที่ดินที่ยังมิได้มีบุคคลได้มาตามกม.ที่ดิน   2. (พรบ.ป่าสงวนแห่งชาติ 2507 ม.4) ที่ดินรวมตลอดถึงภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง บาง ลำน้ำ ทะเลสาบ เกาะและที่ชายทะเลที่ยังมิได้มีบุคคลได้มาตามกม.ที่ดิน

ป่าสงวนแห่งชาติ –. (พรบ.ป่าสงวนแห่งชาติ  2507 ม.4) ป่าที่ได้กำหนดเป็นป่าสงวนแห่งชาติตามพรบ.นี้

ป้าย – (พรบ.ภาษีป้าย  2510 ม.10) ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้  ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึกหรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น

ป้ายของโรงเรียนเอกชน – (พรบ.โรงเรียนเอกชนฯ ม.46 ) ป้ายแสดงชื่อโรงเรียนที่เป็นอักษรไทยเท่านั้น (ฎ.3855/2545)

ปิดงาน – (พรบ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์  2543 ม.6) การที่นายจ้างปฏิเสธไม่ยอมให้ลูกจ้างทำงานชั่วคราวเนื่องจากข้อพิพาทแรงงาน

ปิดบัง – 1.ปิดไว้ ไม่ยอมบอกข้อเท็จจริงแก่ใคร 2.(ปพพ.ม.1605) ไม่ยอมบอกใครเกี่ยวกับทรัพย์มรดก  กรณีที่เป็นการปิดบังหรือยักย้ายทรัพย์มรดกเช่น ร้องขอครอบครองปรปักษ์ในที่ดินมรดกจนศาลมีคำสั่ง (ฎ.478/2539) ไปรับโอนมรดกที่ดินแต่เพียงผู้เดียวและโอนที่ดินนั้นให้แก่บุคคลภายนอก (ฎ.5382-5383/2539) กรณีที่ไม่ใช่ปิดบังหรือยักย้ายเช่น รับโอนมรดกที่ดินมาโดยสุจริต (ฎ.1160/2497) ขอประกาศรับมรดกโดยไม่ระบุไปในบัญชีเครือญาติว่า ยังมีบุคคลอื่นเป็นทายาทอีก (ฎ.1239 / 2506,433/2528) เบิกความในคดีตั้งผู้จัดการมรดกว่า เจ้ามรดกมีทรัพย์มรดกเพียงเท่าที่เบิกความ แต่ความจริงมีมากกว่านั้น (ฎ.1357/2534) การขอออกโฉนดที่ดินมรดกตามระเบียบของทางราชการแล้วโอนให้บุตรหรือการประกาศขายที่นาและที่สวนมรดกโดยเข้าใจว่าตนเป็นเจ้าของที่ดิน (ฎ.7203/2544)  ส่วนใหญ่ศาลจะใช้คู่กับคำว่า ยักยอก  ดู ยักยอก

ปิดแสตมป์ – (ป.รัษฎากร ม.103) การปิดแสตมป์ทับ กระดาษ หรือการมีแสตมป์ดุนบนกระดาษ

ปิดแสตมป์บริบูรณ์ - (ป.รัษฎากร ม.103) (1) ในกรณีแสตมป์ปิดทับ คือการได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ทับกระดาษก่อนกระทำหรือในทันทีที่ทำตราสารเป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและได้ขีดฆ่าแสตมป์นั้นแล้ว หรือ (2)  ในกรณีแสตมป์ดุนคือการได้เสียอากรโดยใช้กระดาษมีแสตมป์ดุนเป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและขีดฆ่าแล้ว  หรือโดยยื่นตราสารให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประทับแสตมป์ดุนและชำระเงินเป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและขีดฆ่าแล้ว  หรือ (3) ในกรณีชำระเป็นตัวเงิน คือการได้เสียอากรเป็นตัวเงิน เป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียตามบทบัญญัติในหมวดนี้หรือตามระเบียบที่อธิบดี(กรมสรรพากร)จะได้กำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี(ว่าการกระทรวงการคลัง)    การปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามที่กำหนดใน (1) และ (2) ดังกล่าวข้างต้นนั้นให้อธิบดี(กรมสรรพากร)มีอำนาจสั่งให้ปฏิบัติตามที่กำหนดใน (3) แทนได้

ปิดหมาย – (ปวิพ.)  การส่งหมายโดยวิธีอื่นนอกจากวิธีปกติธรรมดา

ปี – (พรบ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม 2524 ม.5) ระยะเวลา 12 เดือนโดยเริ่มนับตั้งแต่วันเริ่มต้นฤดูการประกอบเกษตรกรรมแห่งท้องถิ่น

ปีภาษี – (ป.รัษฎากร ม.39) ปีประดิทิน

เป็นคนกลางเรียกสินบน – ความผิดตาม ปอ.ม. 143 ซึ่งเป็นการที่กระทำโดยเรียก รับหรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นเป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจหรือได้จูงใจเจ้าพนักงาน  สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกสภาจังหวัด หรือสมาชิกสภาเทศบาลโดยวิธีอันทุจริต หรือผิดกม.หรือโดยอิทธิพลของตน ให้กระทำการหรือไม่กระทำการในหน้าที่อันเป็นคุณหรือโทษแก่บุคคลใด

เปลี่ยนมือไม่ได้ – 1. (ปพพ.ม.917) ข้อกำหนดห้ามโอนซึ่งเมื่อผู้สั่งจ่ายเขียนลงในตั๋วเงินมีผลให้โอนสิทธิอย่างตั๋วเงินไม่ได้แต่ยังโอนในอย่างสิทธิเรียกร้องธรรมดาได้    2. (ปพพ.ม.923) ข้อกำหนดห้ามโอนซึ่งเมื่อผู้สลักหลังเขียนลงในตั๋วเงินมีผลให้ยังโอนสิทธิอย่างตั๋วเงินนั้นได้แต่ผู้สลักหลังไม่ต้องรับผิดตามตั๋วเงินเมื่อมีการโอนตั๋วเงินต่อไป

เปียกน้ำ – (ประกันภัยทางทะเล) เปียกน้ำทุกชนิด ซึ่งทำให้ทรัพย์ที่เอาประกันภัยเสียหาย ไม่จำกัดแต่น้ำทะเล(ฎ.784 / 2502 ป.)

แปรญัตติ – (รธน.) การพิจารณาแก้ไขร่าง พรบ. ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา ในวาระที่ 2 ภายหลังจากวาระรับหลักการแล้ว  ซึ่งโดยปกติไม่มีข้อจำกัดในการแปรญัตติหรือแก้ไขเพิ่มเติมร่างพรบ.  ยกเว้นแต่เป็นร่างพรบ.งบประมาณที่มีข้อจำกัดดังนี้ (1) สภาผู้แทนราษฎรจะแปรญัตติเพื่อขอเพิ่มงบประมาณรายจ่ายไม่ได้ และจะแปรญัตติเพื่อมีส่วนในการใช้งบประมาณรายจ่ายไม่ได้  (2) วุฒิสภาจะแปรญัตติไม่ได้เลย คงทำได้แต่ให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบเท่านั้น

แปรรูป – (พรบ.ป่าไม้ 2484 ม.4 (3)) การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่ไม้ดังนี้คือ ก. เลื่อย ผ่า ถาก ขุด หรือกระทำด้วยประการอื่นใดแก่ไม้ให้เปลี่ยนรูปหรือขนาดไปจากเดิม นอกจากการลอกเปลือกหรือตบแต่งอันจำเป็นแก่การชักลาก    ข.เผา อบ บด หรือกระทำด้วยประการอื่นใดแก่ไม้ ให้เปลี่ยนแปรสภาพไปจากเดิม เพื่อถือเอาวัตถุธาตุหรือผลพลอยได้จากไม้นั้น   ดู ไม้แปรรูป

แปลงเงินตรา  –    ความผิดตาม ปอ. ม. 241ซึ่งเป็นการที่กระทำโดยแปลงเงินตราไม่ว่าจะเป็นเหรียญกระษาปณ์  ธนบัตรหรือสิ่งอื่นใดซึ่งรัฐบาลออกใช้หรือให้อำนาจให้ออกใช้ หรือแปลงพันธบัตรรัฐบาลหรือใบสำคัญสำหรับรับดอกเบี้ยพันธบัตรนั้นๆ ให้ผิดไปจากเดิม  เพื่อให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีมูลค่าสูงกว่าจริง

แปลงตัว – (ปอ.ม. 335(5) ) ทำให้หน้าตา ร่างกายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม 




ผลใกล้ชิด - มีความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำความผิดและผลที่เกิดขึ้น  เป็นคำที่ศาลใช้ในคำพิพากษามีความหมายเช่นเดียวกับผลโดยตรง

ผลโดยตรง – หลักที่ใช้วินิจฉัยในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผลในกรณีความผิดอาญาทั่วๆไป โดยผู้กระทำจะรับผิดในผลที่เกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ ผลนั้นเกิดจากการกระทำความผิด  หรือการกระทำความผิดก่อให้เกิดผลนั้น ซึ่งถือว่า มีความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล  ศาลใช้คำนี้เมื่อวินิจฉัยว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำความผิดและผลที่เกิดขึ้น  บางครั้งใช้คำว่า ผลใกล้ชิด  ดู ทฤษฎีเงื่อนไข  เทียบ ผลธรรมดา

ผลธรรมดา – (ปอ.ม.63) หลักที่ใช้วินิจฉัยในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผลในกรณีที่ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้นเพราะผลของการกระทำที่เกิดขึ้นเกินกว่าหรือนอกเหนือเจตนาที่ผู้กระทำตั้งใจ   ผู้กระทำจะรับผิดในผลที่เกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเป็นผลธรรมดาที่เกิดขึ้นได้หรือผู้กระทำคาดเห็นได้ว่า ผลนั้นจะเกิดขึ้น  โดยใช้มาตรฐานของวิญญูชนในการวินิจฉัย หลักนี้ใช้กับ ปอ.ม.224 ,238 ,280 ,297 ,302 ,303 ,308 ,310 ,313 ,336 ,339 และ340  ดู ผลโดยตรง

ผลประโยชน์ตอบแทน – (พรก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน 2527 ม.3) เงิน ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใดที่ผู้กู้ยืมเงินจ่ายให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน  ทั้งนี้ ไม่ว่าจะจ่ายในลักษณะดอกเบี้ย เงินปันผลหรือลักษณะอื่นใด

ผลิต1 -               1. (พรบ.ยา  2510 ม.4) ทำ ผสม ปรุง หรือแปรสภาพ และหมายความรวมถึงเปลี่ยนรูปยา แบ่งยา โดยมีเจตนาให้เป็นยาบรรจุเสร็จ ทั้งนี้จะมีฉลากหรือไม่ก็ตาม     2. ( พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ  2522 ม. ๔ ) เพาะ ปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป สังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ และให้หมายความรวมตลอดถึงการแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุด้วย เช่น นำวัสดุเป็นผงซึ่งมีเมทแอมเฟตามีนผสมมาอัดเป็นเม็ดโดยไม่ได้ใช้สารเคมีและเครื่องจักรในการผลิต (ฎ. 7271 / 2544) เทเฮโรอีนจากแผ่นกระดาษบรรจุใส่ลงในหลอดพลาสติกทรงกลมเพื่อแบ่งออกเป็นส่วนย่อย (ฎ.1798/2540)  3. (พรบ.เชื้อโรคและพิษจากสัตว์  2525 ม. 4) เพาะ ผสม ปรุง แปรสภาพ แบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุ     4. (พรบ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท  2518 ม.4) ทำ ผสม ปรุง หรือแปรสภาพ และหมายความรวมถึงเปลี่ยนรูป แบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุ

ผลิต2 – 1.(พรบ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ  2542 ) ทำ ผสม ปรุง ประกอบ ประดิษฐ์ แปรสภาพ เปลี่ยนรูป ดัดแปลง คัดเลือก แบ่งบรรจุ รวมบรรจุ หรือทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีขึ้น ซึ่งสินค้าไม่ว่าด้วยวิธีใดรวมทั้งการทำให้มีขึ้นซึ่งชื่อทางการค้าหรือเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้านั้นไม่ว่าจะทำเองหรือให้ผู้อื่นทำให้ก็ตาม 2. (พรบ.ความลับทางการค้า 2545ม.3) ทำ ผสม ปรุง หรือแปรสภาพ และให้หมายความรวมถึงเปลี่ยนรูป หรือแบ่งบรรจุด้วย

ผลิต3- (พรบ.โรงงานผลิตอาวุธของเอกชน 2550ม.4)  ทำ ประกอบ ซ่อมแซม หรือเปลี่ยนลักษณะ

ผลิตภัณฑ์ซีดี – (พรบ. การผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี 2548ม.3 )แผ่นบันทึกข้อมูลที่ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลโดยวิธีการใดๆที่สามารถจัดถ่ายทอดออกเป็นข้อมูล ภาพ เสียงหรือทั้งภาพและเสียงได้ในลักษณะต่อเนื่องกันไปและให้หมายความรวมถึงผลิตภัณฑ์ที่กำหนดโดยกฎกระทรวง

ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ – (พรบ.การประมง  2490 ม.4 (1) ทวิ) ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นโดยใช้สัตว์น้ำตามที่ได้มีพรฎ.ระบุชื่อเป็นวัตถุดิบ

ผ่อนเวลา – 1. (ปพพ.ม. 700) แสดงเจตนาตกลงผ่อนเวลากันแน่นอนและมีผลผูกพันว่า ในระหว่างผ่อนเวลานั้น เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องหรือฟ้องร้องไม่ได้ (ฎ. 441/2520)     2. (ปพพ.ม.948) การขยายเวลาในการชำระเงินให้แก่ผู้จ่ายหรือผู้รับรอง

ผัดฟ้อง - การที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอเลื่อนระยะเวลาการฟ้องคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจศาลแขวง.ออกไปเนื่องจากไม่อาจฟ้องต่อศาลได้ทันภายในเวลาที่กม.กำหนด (48 ชั่วโมง) จะขอผัดฟ้องได้ไม่เกิน 5 ครั้ง ๆละ ไม่เกิน 6 วัน ซึ่งในการขอผัดฟ้องครั้งที่ 4  และ 5 จะต้องนำพยานมาไต่สวนว่ามีเหตุที่จะผัดฟ้องต่อไป  ส่วนความผิดอาญาที่อยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดจะเป็นการฝากขัง  ดู ฝากขัง

ผิดกฎหมาย – (ปพพ.ม.420) การกระทำที่เป็นการล่วงละเมิดต่อกม.หรือแบบแผนทางกมอันเป็นการล่วงสิทธิผู้อื่น และผู้กระทำไม่มีเหตุที่จะกระทำได้   บางครั้งใช้คำว่า มิชอบด้วยกม.

ผิดนัด – การไม่ชำระหนี้ภายในเวลาตามที่สัญญาหรือกม.กำหนด

ผูกพัน – (ปพพ.ม. 986) มีสิทธิ หน้าที่และความรับผิด

ผู้กระทำความผิดข้างเคียง – ผู้ที่มิได้ร่วมกับผู้อื่นในการกระทำความผิด แต่ได้กระทำความผิดโดยอาศัยโอกาสจากการที่ผู้อื่นได้กระทำความผิดมาแล้ว

ผู้กระทำความผิดโดยทางอ้อม – ผู้ที่มิได้กระทำความผิดโดยตนเอง แต่หลอกใช้บุคคลอื่นซึ่งไม่ทราบข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดหรือขาดเจตนาเป็นเครื่องมือในการกะทำความผิด

ผู้กู้ยืมเงิน – (พรก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน  2527 ม.3) บุคคลผู้ทำการกู้ยืมเงิน และในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินเป็นนิติบุคคล ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งลงนามในสัญญาหรือตราสารการกู้ยืมเงินในฐานะผู้แทนของนิติบุคคลนั้นด้วย

ผู้เก็บค่าโดยสาร – (พรบ.จราจรทางบก  2522 ม. 4 (31)) ผู้ซึ่งรับผิดชอบในการเก็บค่าโดยสารและผู้ดูแลคนโดยสารที่อยู่ประจำรถบรรทุกคนโดยสาร

ผู้ขนส่ง –         1. ผู้ดำเนินการส่งของ(หรือสินค้า)ตามสัญญารับขน     2. (ปพพ.ม. 608)  บุคคลผู้รับขนส่งของหรือคนโดยสาร เพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติของตน   3. (พรบ.การรับขนของทางทะเล  2534 ม.3) บุคคลซึ่งประกอบการรับขนของทางทะเลเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติ โดยทำสัญญารับขนของทางทะเลกับผู้ส่งของ

ผู้ขนส่งอื่น – 1.(พรบ.การรับขนของทางทะเล  2534 ม.3 ) บุคคลซึ่งมิได้เป็นคู่สัญญากับผู้ส่งของในสัญญารับขนทางทะเล แต่ได้รับมอบหมายจากผู้ขนส่งให้ทำการขนส่งของตามสัญญานั้นแม้เพียงช่วงระยะทางช่วงใดช่วงหนึ่ง  และให้หมายความรวมถึงบุคคลอื่นซึ่งผู้ขนส่งอื่นได้มอบหมายช่วงต่อไปให้ทำการขนส่งของนั้นด้วย ไม่ว่าจะมีการมอบหมายช่วงกันไปกี่ทอดก็ตาม แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงบุคคลซึ่งได้รับมอบอำนาจโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายตามประเพณีในธุรกิจการรับขนของทางทะเล ให้เป็นตัวแทนผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นในการดำเนินงานอันเกี่ยวกับธุรกิจเนื่องจากการรับขนของทางทะเล เช่น พิธีการเข้าเมือง พิธีการศุลกากร การนำร่อง การเข้าท่า การออกจากท่า การบรรทุกของลงเรือ การขนถ่ายของขึ้นจากเรือ หรือการส่งมอบของแก่ผู้รับตราส่ง เป็นต้น      2.ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ขนส่งให้ทำการขนส่งตามสัญญารับขนของทางทะเล และบุคคลอื่นซึ่งผู้ขนส่งอื่นได้มอบหมายช่วงต่อไปให้ทำการขนส่งของนั้น

ผู้ขับขี่ – (พรบ.จราจรทางบก  2522 ม. 4 (28)) ผู้ขับรถ ผู้ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่งตามกม.ว่าด้วยการขนส่ง ผู้ลากเข็นยานพาหนะ

ผู้เขียน – (พินัยกรรม ปพพ.ม.1671) ผู้เขียนพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อพร้อมระบุว่า เป็นผู้เขียนท้ายลายมือชื่อด้วย (ฎ.1466/2537)

ผู้ครอง – 1. (โรงเรือน) (ปพพ.ม.434)ผู้มีการครอบครองตาม ปพพ.ม.1367 ไม่ว่าจะได้การครอบครองมาโดยชอบด้วยกม.หรือไม่ เช่น เทศบาลซึ่งดูแลสะพานข้ามห้วย (ฎ.769/2513) ผู้เช่าสถานที่ติดตั้งป้าย (ฎ.2959/2516)   2.(ทรัพย์)(ปพพ.ม. 441 )  ผู้ครอบครองสังหาริมทรัพย์ซึ่งถูกกระทำละเมิด

ผู้ครอบครอง – (ปพพ.ม.437) ผู้ที่ได้ยึดถือครอบครองยานพาหนะตามข้อเท็จจริงขณะที่เกิดความเสียหาย ซึ่งอาจไม่ใช่เจ้าของ 

ผู้ควบคุมความลับทางการค้า –(พรบ.ความลับทางการค้า 2545ม.3) เจ้าของความลับทางการค้า และให้หมายความรวมถึงผู้ครอบครอง ควบคุม หรือดูแลรักษษความลับทางการค้าด้วย

ผู้ควบคุมดูแล – (ปพพ.ม.437) ผู้ควบคุมยานพาหนะที่เดินด้วยเครื่องจักรกลตามข้อเท็จจริงขณะที่เกิดความเสียหาย ซึ่งอาจไม่ใช่เจ้าของ  เช่น ผู้ที่อาสาขับผู้รถให้ (ฎ.82/2522)

ผู้ควบคุมพาหนะ – (พรบ.คนเข้าเมือง 2522 ม.4) นายเรือหรือผู้รับผิดชอบในการควบคุมพาหนะ

ผู้ควบคุมเรือ -   (พรบ.เรือไทย  2481 ม.5) นายเรือ  สรั่ง ไต้ก๋ง นายท้าย คนถือท้าย หรือบุคคลอื่นใด ผู้มีหน้าที่บังคับเรือและรับผิดชอบในเรือ แต่ไม่หมายความถึงผู้นำร่อง

ผู้เคยค้า – (ปพพ.ม. 1000) บุคคลผู้มีบัญชีเงินฝากประเภทใดประเภทหนึ่งกับธนาคารไม่ว่าจะเปิดบัญชีไว้นานเท่าใดก็ตาม

ผู้โฆษณา – (พรบ.จดแจ้งการพิมพ์ 2550 ม.4) บุคคลซึ่งรับผิดชอบในการจัดให้สิ่งพิมพ์แพร่หลายด้วยประการใดๆ  ไม่ว่าจะเป็นการขายหรือการให้เปล่า

ผู้จะรับรองหรือใช้เงินยามประสงค์  – (ตั๋วเงิน ,ปพพ.ม. 950) ผู้ที่เข้ามารับรองหรือใช้เงินให้เมื่อตั๋วเงินขาดความเชื่อถือ ซึ่งผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังได้ระบุชื่อไว้ในตั๋วเงิน มีสิทธิและหน้าที่อย่างเดียวกับผู้สอดเข้าแก้หน้า ดู ผู้สอดเข้าแก้หน้า สอดเข้าแก้หน้า 

ผู้จัดการ(ทรัพย์) – (ปวิพ.ม.307) ผู้ที่ศาลมีคำสั่งตั้งเพื่อให้จัดการอสังหาริมทรัพย์หรือการประกอบอุตสาหกรรม พาณิชกรรม หรือกสิกรรมของลูกหนี้ตามคำพิพากษา   เนื่องจากปรากฏว่า ทรัพย์หรือกิจการนั้นมีรายได้ประจำปีอาจเพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษา แต่โดยทั่วไปมักจะเรียกกันว่า ผู้จัดการทรัพย์

ผู้จัดการมรดก – ผู้ที่มีสิทธิและหน้าที่ในการที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อให้เป็นไปตามพินัยกรรม  เพื่อจัดการมรดกหรือจัดการทรัพย์สินของผู้ตาย  เพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก และในการจัดการทำศพผู้ตาย  ผู้จัดการมรดกอาจตั้งโดยคำสั่งศาลหรือโดยพินัยกรรมก็ได้

ผู้จัดการโรงแรม – (พรบ.คนเข้าเมือง  2522 ม.4) บุคคลผู้ควบคุมหรือจัดการโรงแรมตามกม.ว่าด้วยโรงแรม

ผู้จ่าย – (ตั๋วเงิน) ผู้ได้รับคำสั่งให้จ่ายเงิน

ผู้จำหน่ายอิสระ  - (พรบ. ขายตรงและตลาดแบบตรง  2545 ม.3) บุคคลที่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบธุรกิจขายตรงและนำสินค้าหรือบริการดังกล่าวไปเสนอขายตรงต่อผู้บริโภค

ผู้ช่วยคนพิการ -  (พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ 2550 ม.4) บุคคลซึ่งให้ความช่วยเหลือคนพิการเฉพาะบุคคลเพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจวัตรที่สำคัญในการดำรงชีวิต ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

ผู้ช่วยพนักงานคุมประพฤติ -(พรบ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 ม. 4 ) ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ที่ช่วยเหลือพนักงานคุมประพฤติตามพรบ.นี้ 

ผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน – (ปอ.ม. 289) ผู้ซึ่งเข้าช่วยเจ้าพนักงานเนื่องจากเจ้าพนักงานร้องขอ เช่น ตำรวจขอแรงราษฎรเจ้าของเรือยนต์ให้ขับติดตามคนร้าย (ฎ. 2228/2515)  ไม่จำเป็นต้องมีกม.บัญญัติให้มีหน้าที่  ต่างจากผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานตามกม.

ผู้เชี่ยวชาญ –   (ปวิพ. ม. 88, 99, 113, 126,129, 130) พยานที่ศาลมีคำสั่งตั้งและมาเบิกความต่อศาลเพื่อให้ความเห็นในฐานะเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญพิเศษในวิชาการบางอย่าง   ผู้เชี่ยวชาญอาจทำหนังสือแจ้งความเห็นแทนการมาเบิกความที่ศาลได้และอาจถูกคัดค้านได้ตามปวิพ.ม. 11, 12   ดู ผู้มีความรู้เชี่ยวชาญ   ผู้ชำนาญการพิเศษ

ผู้ชำนาญการพิเศษ   –   (ปวิอ. 243 ,244) พยานที่มาเบิกความต่อศาลหรือให้การต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ความเห็น   ในฐานะเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญพิเศษในวิชาการบางอย่างเช่น ในทางวิทยาศาสตร์ ศิลปะ ฝีมือ พาณิชยการ  การแพทย์  หรือกม.ต่างประเทศ โดยอาจให้พยานตรวจร่างกาย หรือจิตของผู้เสียหาย ผู้ต้องหาหรือจำเลย ตรวจลายมือ ทำการทดลองหรือกิจการบางอย่าง  หรือตรวจศพ เป็นพยานที่ต้องมาเบิกความต่อศาลเสมอ  ดู ผู้เชี่ยวชาญ   ผู้มีความรู้เชี่ยวชาญ

ผู้ใช้ –  (ปอ.ม. 84) ผู้ที่ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดไม่ว่าด้วยการใช้ บังคับ ขู่เข็ญ จ้าง วานหรือยุยงส่งเสริมหรือด้วยวิธีอื่นใด

ผู้ใช้บริการ- (พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 ม.3 )   ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม

ผู้ใช้อำนาจปกครอง – บิดามารดาของผู้เยาว์

ผู้ใช้โดยการประกาศโฆษณา – (ปอ.ม. 85) ผู้ที่โฆษณาหรือประกาศแก่บุคคลทั่วไปให้กระทำความผิด และความผิดนั้นมีกำหนดโทษไม่ต่ำกว่า 6 เดือน

ผู้เช่า  – (พรบ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม  2524 ม.5) ผู้เช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมทั้งหมดหรือเป็นส่วนใหญ่

ผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานตามกม. - (ปอ.ม. 138)บุคคลซึ่งมีกม.บัญญัติให้มีหน้าที่ต้องช่วยเจ้าพนักงาน เช่น สารวัตรกำนันมีหน้าที่ต้องช่วยกำนันตามกม.   ดู ผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน

ผู้ซื้อทรัพย์สิน – (ปพพ.ม.1332) บุคคลที่ซื้อ เช่าซื้อซึ่งชำระราคาเช่าซื้อครบถ้วน (ฎ.1130/2507) หรือเอารถมาแลกเปลี่ยนกับรถของพ่อค้าโดยตีราคาและเพิ่มเงินให้ด้วย (ฎ.2645/2517, 2158/2520)

ผู้ดูแลคนพิการ– (พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ 2550 ม.4)  บิดา มารดา บุตร สามี ภรรยา ญาติ พี่น้อง หรือบุคคลอื่นใดที่รับดูแลหรืออุปการะคนพิการ

ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง1 – (พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 2542 ม.4) (1) นายกรัฐมนตรี (2) รัฐมนตรี (3) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (4) สมาชิกวุฒิสภา (5) ข้าราชการการเมืองอื่นนอกจาก (1) และ (2) ตามกม.ว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง (6) ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามกม.ว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (7) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (8) ผู้บริหารและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (9) ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่นขององค์กรปกครองท้องถิ่นที่มีรายได้หรืองบประมาณไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติกำหนดโดยประกาศซึ่งถูกกล่าวหาหรือ

ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง2 – (พรบ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 ม.3) (1) นายกรัฐมนตรี (2) รัฐมนตรี (3) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (4) สมาชิกวุฒิสภา (5) ข้าราชการการเมืองอื่นนอกจาก (1) และ (2) ตามกม.ว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง (6) ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามกม.ว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (7) ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่นขององค์กรปกครองท้องถิ่น

ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง – (พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 2542 ม.4) ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม ทบวงหรือกระทรวง สำหรับข้าราชการพลเรือน ผู้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับบัญชาเหล่าทัพ หรือผู้บัญชาการทหารสูงสุด สำหรับข้าราชการทหาร  ผู้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกรุงเทพมหานคร กรรมการและผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ หัวหน้าหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล หรือผู้ดำรงตำแหน่งตามที่กม.อื่นบัญญัติ

ผู้ใดได้เสียค่าอากรหรือค่าเพิ่มอากรเกินไป – (ป.รัษฎากร ม. 122) ผู้มีหน้าที่ต้องเสียอากรหรือเสียค่าเพิ่มอากรของผู้มีหน้าที่ต้องเสียตามที่กม.กำหนดเกินไปเท่านั้น ไม่รวมไปถึงผู้ไม่มีหน้าที่ต้องเสีย หรือผู้ที่ถูกพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บอากรไปโดยได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียค่าอากรด้วย (ฎ. 4687/2540 (ป))

ผู้ได้ลาภงอก – (ปพพ.ม.237) บุคคลที่ได้ทำนิติกรรมกับลูกหนี้และได้รับทรัพย์สินจากนิติกรรมนั้น

ผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา – องค์กรอิสระจัดตั้งตามรัฐธรรมนูญฯ 2540 และตามพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา 2542 มีอำนาจหน้าที่ในการ (1)พิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียนในกรณี (1.1) ข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่น ไม่ปฏิบัติตามกม.หรือปฏิบัตินอกอำนาจหน้าที่ตามกม. (1.2) ข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่น ปฏิบัติหรือละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องเรียนหรือประชาชนโดยไม่เป็นธรรม ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ตามกม.ก็ตาม (1.3) กรณีอื่นตามที่กม.บัญญัติ (2) จัดทำรายงานพร้อมเสนอความเห็นและข้อเสนอแนะต่อรัฐสภา  (3) เสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองเพื่อวินิจฉัยในกรณีที่เห็นว่า บทบัญญัติแห่งกม. กฎ ข้อบังคับ หรือการกระทำใดของบุคคลใดตามข้อ 1  มีประเด็นเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ  (4) เสนอแนะต่อหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาดำเนินการให้มีการปรับปรุงหรือแก้ไขเพิ่มเติมกม. กฎ ระเบียบ ข้อบังคับหรือคณะรัฐมนตรีในเรื่องดังกล่าวต่อไป ในกรณีที่เกี่ยวกับมติคณะรัฐมนตรีให้ส่งรายงานดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีทราบด้วย (5) แจ้งให้หน่วยงานที่มีอำนาจสอบสวนและผู้บังคับบัญชาของข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือของราชการส่วนท้องถิ่น ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ เมื่อเห็นว่ามีเหตุอันควรสงสัยว่า มีการทุจริต  หรือประพฤติมิชอบในวงราชการ หรือมีมูลความผิดอาญา หรือมีมูลความผิดทางวินัย และให้หน่วยงานที่มีอำนาจสอบสวนและผู้บังคับบัญชาดังกล่าว แจ้งผลการดำเนินการให้ผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภาทราบทุก 3 เดือน (6) ขอให้หน่วยราชการหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นส่งหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริง หรือให้ความเห็นในการปฏิบัติงาน หรือส่งวัตถุ เอกสาร  หลักฐานหรือพยานหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณา และสามารถให้หัวหน้างานดังกล่าว เจ้าหน้าที่ของรัฐ พนักงานอัยการ พนักงานสอบสวน หรือบุคคลใดมาให้ถ้อยคำหรือส่งวัตถุ เอกสาร  หลักฐานหรือพยานหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณา หรือขอให้ศาลส่งหรือส่งวัตถุ เอกสาร  หลักฐานหรือพยานหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณา นอกจากนั้นยังสามารถตรวจสอบสถานที่ที่เกี่ยวกับเรื่องที่มีการร้องเรียน (7) ออกระเบียบกำหนดหลักเกณฑ์หรือปฏิบัติตามพรบ.นี้
    ผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภาคนแรก คือ นายพิเชต สุนทรพิพิธ ซึ่งได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเมื่อวันที่ 1 เมย. 2543

ผู้ตราส่ง –         1. ผู้ว่าจ้างให้ผู้ขนส่ง ส่งของ(หรือสินค้า)ตามสัญญารับขน 2. (ปพพ.ม. 610)  บุคคลผู้ทำความตกลงกับผู้ขนส่งเพื่อให้ขนของส่งไป ส่วนใหญ่ใช้คำว่า ผู้ส่ง

ผู้ต้องขัง – 1. (พรบ.ราชทัณฑ์ 2479 ม.4(2)) หมายความรวมตลอดถึง นักโทษเด็ดขาด คนต้องขังและคนฝาก   2. (พรบ.เรือนจำทหาร 2479  ม.4(2))  หมายความรวมตลอดถึง นักโทษ คนต้องขังและคนฝาก

ผู้ต้องตัดบท – (ปพพ.ม.1008) ผู้ถูกกม.ปิดปากมิให้ยกข้อต่อสู้ขึ้นต่อสู้ผู้ทรง   ดู กม.ปิดปาก

ผู้ต้องโทษ – (พรบ.ล้างมลทินฯ) ผู้ต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ลงโทษหรือให้กักกัน และให้หมายความรวมถึงผู้ถูกลงโทษโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีผลเช่นเดียวกับการถูกลงโทษโดยคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล

ผู้ต้องหา – (ปวิอ.) บุคคลผู้ถูกหาว่า ได้กระทำความผิด  แต่ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล (ม.1(2)) ดังนั้นบุคคลจะเป็นผู้ต้องหาเมื่อมีผู้ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่า บุคคลนั้นได้กระทำความผิดอาญา(ฎ.1341/2509) หรือเมื่อพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาต่อบุคคลนั้น (ฎ.84/2499)และสภาพผู้ต้องหาจะสิ้นสุดลงและเปลี่ยนเป็นจำเลยเมื่อมีการฟ้องผู้ต้องหานั้นเป็นคดีต่อศาล  ผู้ต้องหามีสิทธิตาม ปวิอ. ม.7 ทวิและ ม. 14

ผู้ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ – (พรบ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2551 ม.3 ) บุคคลที่ดื่มแอลกอฮอล์จนก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพร่างกายหรือจิตใจ  โดยการดื่มนั้นมีลักษณะที่ต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้น และเมื่อหยุดดื่มจะมีการแสดงของการขาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร่างกาย

ผู้ถือ - (ตั๋วเงิน)  ผู้ได้ตั๋วเงินที่ผู้สั่งจ่ายไม่ระบุชื่อหรือเจาะจงตัวหรือยี่ห้อผู้รับเงิน(ตั๋วผู้ถือ)มาไว้ในครอบครอง

ผู้ถือหุ้น – ผู้นำเงินหรือทรัพย์สินอื่นมาลงทุนในบริษัทโดยวิธีการเข้าซื้อหุ้นของบริษัทเพื่อรับเงินปันผลเมื่อบริษัทมีกำไรโดยผู้ถือหุ้นจะมีอำนาจครอบงำการดำเนินงานของบริษัท

ผู้ถือหุ้นของลูกหนี้ - (พรบ.ล้มละลาย  2483 ม.90/1) ผู้ถือหุ้นบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดซึ่งเป็นลูกหนี้ และหมายความรวมถึงผู้มีส่วนได้เสียในนิติบุคคลอื่นซึ่งเป็นลูกหนี้ทำนองเดียวกับผู้ถือหุ้น

ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี – (ป.รัษฎากร ม. 57 ทวิ) บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้แต่ถึงแก่ความตายในปีภาษีก่อนถึงกำหนดที่จะยื่นรายการเงินได้ ยังมีหน้าที่ในการเสียภาษีเฉพาะในปีที่ถึงแก่ความตาย โดยผู้จัดการมรดก ทายาทหรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดก จะเป็นผู้ยื่นรายการเสียภาษีแทน ดู กองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง

ผู้ถูกกล่าวหา – (พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 2542 ม.4) ผู้ซึ่งถูกกล่าวหาหรือมีพฤติการณ์ปรากฏแก่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่า ได้กระทำการอันเป็นมูลที่จะนำไปสู่การถอดถอนจากตำแหน่ง การดำเนินคดีอาญา การขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน หรือการดำเนินการทางวินัยตามที่บัญญัติในพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญนี้ และให้หมายความรวมถึงตัวการ ผู้ใช้หรือผู้สนับสนุนในการกระทำดังกล่าวด้วย

ผู้ถูกลงโทษทางวินัย – (พรบ.ล้างมลทินฯ)  ผู้ถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์เพราะกระทำผิดวินัยตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่งของกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ และให้หมายความรวมถึงผู้ถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์โดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีผลเช่นเดียวกับการถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์ทางวินัย

ผู้ทรง - (ตั๋วเงิน) บุคคลผู้มีตั๋วเงินไว้ในครอบครองโดยฐานเป็นผู้รับเงินหรือผู้รับสลักหลังในตั๋วเงินชนิดระบุชื่อ  หรือผู้ที่ครอบครองตั๋วเงินที่สั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ  ผู้ทรงมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้จ่ายหรือผู้รับรองชำระเงินตามตั๋วเงิน หากไม่ชำระมีสิทธิไล่เบี้ยเรียกเอาเงินจากผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลัง

ผู้ทรงสิทธิ – ผู้มีสิทธิและสามารถบังคับการตามสิทธิของตนที่มีอยู่   ดู ผู้มีหน้าที่

ผู้ทอดตลาด – ผู้ขายสินค้าหรือผู้อำนวยการขายในการขายทอดตลาด

ผู้ที่ปกครองทรัพย์มรดก – (ปวิพ.ม.42-44) ผู้ครอบครองทรัพย์มรดกตามปพพ.(ไม่ใช่ตามปพพ.ม. 1687)และต้องครองทรัพย์มรดกทั้งหมดจะครอบครองเพียงบางส่วนไม่ได้ (คส.คร. 260/2512)

ผู้ที่มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี –(ปวิพ.ม.59) บุคคลดังนี้ (1) ผู้ที่มีส่วนได้เสียร่วมกันตามกม. เช่น เจ้าหนี้ร่วมหรือลูกหนี้ร่วม   (2) ผู้ที่ตามกม.มีความผูกพันที่จะต้องร่วมกันรับผิดต่อบุคคลอื่น เช่น ลูกหนี้ชั้นต้นกับผู้ค้ำประกัน จำนองหรือจำนำ     และ(3) ผู้มีสิทธิเหนือบุคคลอื่นร่วมกัน    เป็นเกณฑ์ที่ใช้วินิจฉัยว่า เป็นคู่ความร่วมหรือไม่   ดู คู่ความร่วม  

ผู้แทนโดยชอบธรรม – 1. (ปพพ.) ผู้ซึ่งมีหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของผู้เยาว์ในการทำนิติกรรม โดยให้ความยินยอม บอกล้างหรือให้สัตยาบันนิติกรรมที่ผู้เยาว์ได้ทำลงไป ซึ่งโดยปกติคือ ผู้ใช้อำนาจปกครอง 2.(ปวิพ.ม. 1(13)) บุคคลซึ่งตามกม.มีสิทธิที่จะทำการแทนผู้ไร้ความสามารถ หรือเป็นบุคคลที่จะต้องให้คำอนุญาต หรือให้ความยินยอมแก่ผู้ไร้ความสามารถในอันที่จะกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง   ซึ่งได้แก่ ผู้ปกครอง ผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ ผู้อนุบาลของคนไร้ความสามารถและผู้พิทักษ์ของคนเสมือนไร้ความสามารถ

ผู้แทนเฉพาะคดี – (ปวิอ. ม. 6) ผู้ซึ่งศาลได้แต่งตั้งให้มีอำนาจดำเนินคดีอาญาที่กระทำต่อผู้เยาว์ ผู้วิกลจริตและผู้ไร้ความสามารถแทนบุคคลเหล่านั้น เนื่องจากบุคคลนั้นๆไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล หรือมี แต่ไม่อาจทำหน้าที่ได้หรือมีผลประโยชน์ขัดกัน

ผู้ทำการแทน – (ปวิพ.ม. 56) ผู้แทนโดยชอบธรรมตามปวิพ.ม. 1(13)

ผู้ทำแผน - (พรบ.ล้มละลาย 2483 ม.90/1) ผู้จัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ

ผู้นำเข้า – 1. (ป.รัษฎากร ม. 77/1(11))  ผู้ประกอบการหรือบุคคลอื่นซึ่งนำเข้า   2.(ศุลกากร ม. 2) บุคคลซึ่งเป็นผู้ครอบครองหรือมีส่วนได้เสียชั่วขณะหนึ่งของ ของใดๆ นับแต่วันเวลานำของเข้ามาจนถึงวันเวลาที่ส่งมอบออกไป

ผู้นำฝ่ายค้าน – ผู้นำพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลโดยแต่งตั้งจาก (1) สส.ที่เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรที่สมาชิกพรรคไม่ได้เป็นรัฐมนตรี และมีจำนวนมากที่สุดในบรรดาพรรคการเมืองที่สมาชิกไม่ได้เป็นรัฐมนตรี และมีจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรในขณะที่มีการแต่งตั้ง หรือ  (2) สส.ผู้เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองซึ่งได้รับเสียงสนับสนุนข้างมากจากสส.ในพรรคการเมืองที่สมาชิกพรรคไม่ได้เป็นรัฐมนตรี ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้จับสลาก ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้าน และต้องแต่งตั้งภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้เข้าบริหารราชการแผ่นดินแล้ว  ผู้นำฝ่ายค้านทำหน้าที่คอยตรวจสอบการทำงานของคณะรัฐมนตรี

ผู้บริโภค – 1. (พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค  2522 ม. 3 )  ผู้ซื้อหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้ซึ่งได้รับเสนอหรือการชักชวนจากผู้ประกอบธุรกิจเพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับบริการและหมายความรวมถึงผู้ใช้สินค้าหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจโดยชอบ  แม้มิได้เป็นผู้เสียค่าตอบแทนก็ตาม   2. (พรบ. ขายตรงและตลาดแบบตรง  2545 ม.3) ผู้ซื้อหรือผู้ได้รับบริการจากผู้จำหน่ายอิสระ ตัวแทนขายตรง ผู้ประกอบธุรกิจขายตรง หรือผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง หรือผู้ซึ่งได้รับเสนอหรือการชักชวนจากผู้จำหน่ายอิสระ ตัวแทนขายตรง ผู้ประกอบธุรกิจขายตรง หรือผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงเพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ 3.  ( พรบ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม  2540 ม.3) ผู้เข้าทำสัญญาในฐานะผู้ซื้อ ผู้เช่า ผู้เช่าซื้อ ผู้กู้ ผู้เอาประกันภัย หรือผู้เข้าทำสัญญาอื่นใดเพื่อให้ได้มา ซึ่งทรัพย์สิน บริการหรือประโยชน์อื่นใดนั้น และให้หมายความรวมถึงผู้เข้าทำสัญญาในฐานะผู้ค้ำประกันของบุคคลดังกล่าวซึ่งมิได้กระทำเพื่อการค้าด้วย

ผู้บริหารของลูกหนี้ - (พรบ.ล้มละลาย 2483 ม.90/1) กรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจดำเนินกิจการของลูกหนี้อยู่ในวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ

ผู้บริหารชั่วคราว - (พรบ.ล้มละลาย  2483 ม.90/1) ผู้บริหารของลูกหนี้หรือบุคคลอื่นที่ศาลสั่งให้มีอำนาจจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ชั่วคราวในระหว่างที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการแต่ยังไม่มีการตั้งผู้ทำแผน

ผู้บริหารท้องถิ่น1 – (พรบ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น 2545 ม.4) หมายความรวมถึงผู้บริหารท้องถิ่น

ผู้บริหารท้องถิ่น2   –( พรบ. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 2550 ม.4)   นายกองค์การบริหารส่วนตำบล นายกเทศมนตรี นายกเมืองพัทยา และหัวหน้าผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งพื้นที่อื่น

ผู้บริหารแผน - (พรบ.ล้มละลาย  2483 ม.90/1)  ผู้จัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการ

ผู้บุพการี – (ปวิอ. ม. 5(2)) บุพการีตามความเป็นจริง (ฎ. 1384/ 2516 ป)  ดู บุพการี

ผู้ปกครอง – 1. ผู้ดูแลผู้เยาว์ตามข้อเท็จจริง  2. ผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ตามกม. ซึ่งจะตั้งได้ต่อเมื่อผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครอง  ดู อำนาจปกครอง     3.(พรบ.คุ้มครองเด็ก  2546) บิดามารดา ผู้อนุบาล ผู้รับบุตรบุญธรรมและผู้ปกครองตามปพพ.  และให้หมายความรวมถึงพ่อเลี้ยงแม่เลี้ยง ผู้ปกครองสวัสดิภาพ นายจ้าง ตลอดจนบุคคลอื่นซึ่งรับเด็กไว้ในความอุปการะเลี้ยงดูหรือซึ่งเด็กอาศัยอยู่ด้วย

ผู้ปกครองทรัพย์ - (ปพพ.ม.1687-1692)บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งผู้ทำพินัยกรรมหรือบุคคลซึ่งระบุไว้ในพินัยกรรมเป็นผู้ตั้ง เนื่อง จากผู้ทำพินัยกรรมประสงค์จะยกทรัพย์สินให้แก่ผู้เยาว์ หรือผู้ซึ่งศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ หรือแก่ผู้ซึ่งต้องรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลเพราะเหตุวิกลจริต  แต่ต้องการมอบการเก็บรักษาและจัดการทรัพย์สินนั้นแก่บุคคลอื่นนอกจากบิดามารดา ผู้ปกครอง ผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์   ผู้ปกครองทรัพย์มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ปกครองตามบรรพ 5  นอกจากนั้นการตั้งผู้ปกครองทรัพย์ต้องจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วยถ้าหากทรัพย์ที่ยกให้เป็น อสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์  เรือกำปั่นหรือเรือมีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป  เรือกลไฟ หรือเรือยนต์มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป แพ หรือสัตว์พาหนะ

ผู้ประกอบการ    -   (ป.รัษฎากร ม. 77/1(5)) บุคคลซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ ไม่ว่าการกระทำดังกล่าวจะได้รับประโยชน์หรือได้รับค่าตอบแทนหรือไม่ และไม่ว่าจะได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วหรือไม่

ผู้ประกอบการค้า – (ปพพ.ม. 193/34(1)) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (ฎ. 6683/2545)

ผู้ประกอบธุรกิจ – (พรบ.การแข่งขันทางการค้า  2542) ผู้จำหน่าย ผู้ผลิตเพื่อจำหน่าย ผู้สั่งหรือนำเข้าในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย หรือผู้ซื้อเพื่อผลิตหรือจำหน่ายต่อซึ่งสินค้าหรือผู้ให้บริการในธุรกิจ

ผู้ประกอบธุรกิจการขนส่ง – (พรบ.ส่งเสริมการพาณิชยนาวี  2521 ม.4) ผู้ประกอบธุรกิจการขนส่งทางทะเลซึ่งอยู่ในประเทศไทยและรับจัดการขนส่งทางทะเลและหมายความรวมถึงสาขาตัวแทนของผู้ประกอบการขนส่งทางทะเลซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศและประกอบการขนส่งทางทะเลในประเทศไทย รวมทั้งผู้กระทำการเป็นนายหน้าเตรียมหาของในประเทศไทยเพื่อการขนส่งทางทะเล

ผู้ประกอบธุรกิจการค้าหรือวิชาชีพ -  ( พรบ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม  2540 ม.3) ผู้เข้าทำสัญญาในฐานะผู้ขาย ผู้ให้เช่า ผู้ให้เช่าซื้อ ผู้ให้กู้ ผู้รับประกันภัย หรือผู้เข้าทำสัญญาอื่นใด เพื่อจัดให้ซึ่งทรัพย์สิน บริการหรือประโยชน์อื่นใด ทั้งนี้การเข้าทำสัญญานั้นต้องเป็นไปเพื่อการค้า ทรัพย์สิน บริการ หรือประโยชน์อื่นใดนั้นเป็นทางค้าปกติของตน

ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาด – (พรบ.การแข่งขันทางการค้า 2542) ผู้ประกอบธุรกิจรายหนึ่งหรือหลายรายในตลาดสินค้าใดสินค้าหนึ่งหรือบริการใดบริการหนึ่งซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดและยอดเงินขายเกินกว่าที่คณะกรรมการกำหนดด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษา  ทั้งนี้โดยให้พิจารณาสภาพการแข่งขันของตลาดด้วย

ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ  -   (พรบ.ยา  2510 ม.4) ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณในสาขาเวชกรรม หรือเภสัชกรรมตามกม.ว่าด้วยการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ

ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน  -   (พรบ.ยา  2510 ม.4)    ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันในสาขาทัน ตกรรม เภสัชกรรม การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลตามกม.ว่าด้วยการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ

ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุข – (พรบ.สุขภาพแห่งชาติ 2550 ม.3) ผู้ประกอบวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล

ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม  -   (พรบ.ยา  2510 ม.4) ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามกม.ว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรม

ผู้ประสบภัย – (พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ  2535 ม.4) ผู้ซึ่งได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกายหรืออนามัยเนื่องจากรถที่ใช้หรืออยู่ในทางหรือเนื่องจากสิ่งที่บรรทุกหรือติดตั้งในรถนั้น และหมายความรวมถึงทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยซึ่งถึงแก่ความตายด้วย

ผู้ปรับ – (ก)  เจ้าหน้าที่ผู้ทำหน้าที่นำกม.ตราสามดวงมาปรับแก่คดีโดยมีหน้าที่วางบทลงโทษ มี 2 คนคือ ผู้ดำรงตำแหน่ง “พระเกษม” และ “พระไกรสี” ดู  ตระลาการ  ลูกขุน  ศาล

ผู้เป็นเจ้าของอันแท้จริงแห่งเช็ค – (ปพพ.ม. 997) ผู้สั่งจ่ายเช็ค

ผู้พลัดถิ่นภายในประเทศของตนเอง - บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ถูกบังคับให้ละทิ้งที่อยู่อาศัยเพื่อหลบเลี่ยงผลกระทบจากสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความรุนแรง การละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือภัยที่เกิดจากธรรมชาติหรือฝีมือมนุษย์ โดยที่ไม่สามารถหนีข้ามไปยังรัฐอื่นได้

ผู้พัก - (พรบ.โรงแรม  2478 ม.3) คนเดินทาง หรือบุคคลอื่นใดซึ่งเจ้าสำนักจัดให้พักอาศัยในโรงแรมเพื่ออยู่ หรือพักชั่วคราว โดยจะเสียสินจ้างหรือไม่ก็ตาม

ผู้พิทักษ์ –  ผู้ซึ่งมีหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของคนเสมือนไร้ความสามารถในการทำนิติกรรมโดยให้ความยินยอมคนเสมือนไร้ความสามารถในการที่จะทำนิติกรรมตามที่กม.ห้ามไว้ หรือบอกล้างหรือให้สัตยาบันนิติกรรมนั้น ผู้พิทักษ์อาจเกิดจากข้อเท็จจริงหรือเกิดจากกม.ก็ได้  แต่ถ้าเกิดจากข้อเท็จจริง ผู้พิทักษ์จะไม่มีอำนาจที่จะให้ความยินยอมในการที่ คนเสมือนไร้ความสามารถจะทำนิติกรรมที่กม.ห้ามไว้

ผู้พิพากษา – บุคคลซึ่งผ่านการคัดเลือกโดยคณะกรรมการศาลยุติธรรมและได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้เป็นผู้พิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปตามกม. มี 4  ประเภทคือ ผู้พิพากษา ผู้พิพากษาอาวุโส ผู้พิพากษาสมทบและดาโต๊ะยุติธรรม

ผู้พิพากษาสมทบ - ผู้พิพากษาที่ได้รับการคัดเลือกเป็นพิเศษจากบุคคลภายนอกผู้เชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์ เพื่อให้เข้าปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับผู้พิพากษาตามวาระที่กำหนด ในศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ศาลแรงงาน หรือศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง

ผู้พิพากษาอาวุโส – (พรบ.หลักเกณฑ์การแต่งตั้งและดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส 2542)ผู้พิพากษาที่อายุครบ 60 ปีแล้วแต่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมและได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส เพื่อนั่งพิจารณาพิพากษาคดีในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา รวมทั้งเข้าประชุมใหญ่ได้และมีอำนาจสำหรับผู้พิพากษาคนเดียวตามพระธรรมนูญศาล แต่ไม่มีสิทธิได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารศาลยุติธรรม  เมื่ออายุครบ 65 ปีและได้รับการประเมินว่า ยังมีสมรรถภาพในการปฏิบัติหน้าที่ก็ดำรงตำแหน่งจนอายุครบ 70 ปี

ผู้พิมพ์ – (พรบ.จดแจ้งการพิมพ์ 2550 ม.4) บุคคลซึ่งจัดการและรับผิดชอบในการพิมพ์

ผู้มีความรู้เชี่ยวชาญ  –   (ปวิพ.ม. 98,99) พยานที่มาเบิกความต่อศาลเพื่อให้ความเห็น   ในฐานะเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญพิเศษในศิลปะ วิทยาศาสตร์ การฝีมือ การค้า หรือการงานที่ทำ หรือในกม.ต่างประเทศ เป็นพยานที่คู่ความอ้างไม่ใช่พยานที่ศาลตั้งเหมือนกับผู้เชี่ยวชาญ ดู ผู้เชี่ยวชาญ   ผู้ชำนาญการพิเศษ

ผู้มีส่วนได้เสีย – 1. ผู้ที่จะได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์เป็นส่วนตัวในการใดการหนึ่ง   2. (ปพพ.ม. 1713)  ทายาทโดยธรรม ทายาทโดยพินัยกรรม ผู้มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดก   (ฎ. 181/2537)  หรือบุคคลอื่นที่มีส่วนได้เสียในกองมรดก (ฎ. 181/2537)  2.(พรบ.ล้มฯ ม.135) เจ้าหนี้ที่ศาลสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้ (ฎ.3584/2536)

ผู้มีส่วนได้เสียตามกม.ในผลแห่งคดี – (ปวิพ.ม.57) ผู้ที่สิทธิถูกกระทบกระทั่งตามกม. หากมีการดำเนินคดีนั้นไปถึงที่สุดแล้วไม่ว่าคู่ความฝ่ายใดแพ้คดีก็ตาม  เช่น ผู้โอนหนี้ให้โจทก์ไปแล้วแต่จำเลยต่อสู้ว่า ไม่มีหนี้ต่อกัน (ฎ.925/2487)หญิงที่เป็นภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสและทำนาร่วมกันมา  เมื่อชายสามีฟ้องผู้ทำละเมิดต่อที่นา หญิงร้องสอดได้ (ฎ.1739/2500).เป็นเกณฑ์ที่ใช้วินิจฉัยว่า จะมีสิทธิร้องสอดตาม ปวิพ. ม.57(2) หรือไม่

ผู้มีส่วนได้เสียในวิธีบังคับคดี – (ปวิพ.ม.280) เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องที่ถูกอายัด   บุคคลอื่นใดซึ่งชอบจะใช้สิทธิอันได้จดทะเบียนไว้โดยชอบหรือที่ได้ยื่นคำร้องขอตามที่บัญญัติไว้ในปวิพ.ม. 288,289 และ 290  บุคคลเหล่านี้มีสิทธิ 4 ประการคือ อาจมาอยู่ด้วยในเวลาบังคับคดี  ยื่นคำร้องให้ยกเลิกหรือแก้ไขหมายบังคับคดีที่ออกฝ่าฝืนกม. ยื่นคำขอให้ศาลสั่งยกกระบวนวิธีการบังคับคดีทั้งปวงหรือวิธีการบังคับใดๆ โดยเฉพาะ หรือให้ศาลมีคำสั่งกำหนดวิธีการใดๆแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนกม. และร้องขอต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ขายทรัพย์สินรวมหรือแยกกันหรือขายตามลำดับหรือร้องคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดี

ผู้มีสิทธิในที่ดินของผู้อื่น – (ปพพ.ม. 146) ผู้มีสิทธิที่เป็นทรัพยสิทธิ สิทธิตามสัญญาเช่าที่ดินเพื่อปลูกโรงเรือน (ฎ. 550/2477, 45/2479, 370-371/2511, 1134/2514, 628 / 2521) หรือสิทธิตามสัญญาอื่นที่ระบุให้ปลูกโรงเรือนหรือสิ่งก่อสร้างในที่ดินของผู้อื่นได้โดยตรง

ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง – (พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา 2541 ม. 4) ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา  แล้วแต่กรณี

ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย – (ปวิอ.) บุคคลผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายที่แท้จริง มี 3 ประเภทคือ (1) ผู้มีอำนาจจัดการแทนโดยได้รับอนุญาตจากผู้เสียหายก่อน เช่น สามีต้องได้รับอนุญาตจากภริยาก่อนจึงจะฟ้องคดีแทนได้ (2) ผู้มีอำนาจจัดการแทนโดยกม.กำหนด ได้แก่ ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา ผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคล และ(3)ผู้มีอำนาจจัดการแทนโดยได้รับอนุญาตจากศาล  เช่น ผู้แทนเฉพาะคดี

ผู้ไม่อยู่ – (ปพพ.) บุคคลที่ไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่  โดยมิได้ตั้งตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปไว้ และไม่มีใครรู้แน่ว่า บุคคลนั้นยังมีชีวินอยู่หรือไม่

ผู้เยาว์ – บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะตามกม.  ได้แก่ บุคคลที่อายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ หรือชายหญิงที่สมรสกันเมื่ออายุครบ 17 ปีบริบูรณ์หรืออายุน้อยกว่านี้แต่ได้รับอนุญาตให้ทำการสมรสจากศาล   ผู้เยาว์จะถูกจำกัดความสามารถในการใช้สิทธิทำนิติกรรมโดยไม่อาจทำนิติกรรมได้โดยลำพังแต่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อนทำ ยกเว้นนิติกรรมที่ทำให้ผู้เยาว์ได้รับสิทธิไปแต่อย่างเดียวหรือที่เป็นเรื่องเฉพาะตัวหรือที่เป็นเรื่องจำเป็นสมแก่ฐานะและความจำเป็นแก่การดำรงชีพของผู้เยาว์หรือการทำพินัยกรรม แต่ผู้เยาว์ยังต้องรับผิดถ้าหากกระทำละเมิด   ดู บรรลุนิติภาวะ

ผู้ร่วมในการกระทำความผิด – ตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้โฆษณาหรือผู้ประกาศ

ผู้ร้องขอ - (พรบ.ล้มละลาย  2483 ม.90/1)  ผู้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ

ผู้ร้องสอด – (ปวิพ.ม.57) บุคคลภายนอกคดีที่เข้ามามีส่วนร่วมในคดีกับโจทก์จำเลยเดิมในฐานะคู่ความ  ผู้ร้องสอดมี 3 ประเภทคือ (1) ผู้ร้องสอดเข้าเป็นคู่ความฝ่ายที่สามโดยสมัครใจ   (2) ผู้ร้องสอดเข้าเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วมหรือเข้าแทนที่คู่ความเดิมโดยสมัครใจ  และ(3) ผู้ร้องสอดเพราะถูกหมายเรียกเข้ามา  ผู้ร้องสอดประเภทที่ (1)และ(3) มีสิทธิเสมือนหนึ่งว่า ตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่  มีสิทธิที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนได้   ส่วนผู้ร้องสอดประเภทที่ (2) จะถูกห้ามมิให้ใช้สิทธิอย่างอื่น นอกจากสิทธิที่คู่ความฝ่ายที่ตนเข้าร่วมมีอยู่และห้ามใช้สิทธิในทางที่ขัดกับสิทธิของโจทก์จำเลยเดิม  ส่วนผู้ร้องสอดเข้าแทนที่คู่ความเดิมนั้น มีสิทธิเท่ากับคู่ความที่ตนเข้าแทน ดู ร้องสอด

ผู้รับข้อมูล – (พรบ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 2544 ม.4) บุคคลซึ่งผู้ส่งข้อมูลประสงค์จะส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ และได้รับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น  ทั้งนี้ไม่รวมถึงบุคคลที่เป็นสื่อกลางสำหรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น

ผู้รับจัดการขนส่ง – 1. บุคคลที่ทำการเป็นคนกลางระหว่างผู้ส่งของหรือผู้รับของกับผู้ขนส่ง รวมทั้งทำหน้าที่ประสานงานด้านพิธีศุลกากรและบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง   2. (พรบ.ส่งเสริมการพาณิชยนาวี  2521 ม.4) ผู้รับจ้างรวบรวมของและรับทำการขนส่งของนั้น ไม่ว่าโดยทางสาขาหรือตัวแทนของผู้รับจัดการขนส่ง หรือผู้รับจ้างรวบรวมของและจัดให้บุคคลอื่นทำการขนส่งจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ทั้งนี้อยู่ในความรับผิดชอบของผู้รับจัดการขนส่ง

ผู้รับจำนำ – (พรบ.โรงรับจำนำ 2505 ม.4) ผู้รับใบอนุญาตตั้งโรงรับจำนำ

ผู้รับตรวจ – (พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน  2542 ม. 4 )  หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการหรือการบริหารของหน่วยรับตรวจ

ผู้รับตราส่ง –    1. ผู้รับของหรือสินค้าตามสัญญารับขน 2. (ปพพ.ม. 610)  บุคคลผู้ซึ่งเขาส่งของไปถึง   3. (พรบ.การรับขนของทางทะเล  2534 ม.3) (ก) บุคคลซึ่งมีชื่อระบุไว้ในตราส่งว่า เป็นผู้รับตราส่ง หรือผู้รับของสำหรับใบตราส่งที่ออกให้แก่บุคคลในนาม (ข) ผู้รับสลักหลังคนสุดท้าย สำหรับใบตราส่งที่ออกให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่งหรือใบตราส่งที่ออกให้แก่บุคคลในนาม  และไม่มีข้อห้ามการสลักหลังไว้ หรือ (ค) บุคคลซึ่งมีชื่อเป็นผู้รับของ ในกรณีที่ไม่มีการออกใบตราส่งหรือมีการออกเอกสารที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น

ผู้รับใบอนุญาต – (พรบ.สถาบันอุดมศึกษาเอกชน 2546 ม.5) ผู้ซึ่งได้นำทุนมาจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชนและได้รับอนุญาตจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน และหมายความรวมถึงผู้รับโอนใบอนุญาตจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

ผู้รับประกันภัย – 1. บริษัทประกันภัยซึ่งเป็นคู่สัญญาในสัญญาประกันภัยซึ่งมีข้อตกลงที่จะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่ผู้เอาประกันภัยเมื่อเกิดเหตุตามที่ระบุไว้ในสัญญา  2. (ปพพ.ม. 862) คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้

ผู้รับประโยชน์(สัญญาประกันภัย)   – 1. บุคคลผู้จะได้รับค่าสินไหมทดแทนหรือเงินตามสัญญาประกันภัยเมื่อเกิดเหตุตามที่ระบุไว้ในสัญญา  2. (ปพพ.ม. 862) บุคคลผู้จะพึงได้รับใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือรับเงินจำนวนหนึ่งใช้ให้
ผู้รับพินัยกรรม – (ปพพ.ม. 1603) ทายาทที่มีสิทธิได้รับมรดกโดยอาศัยสิทธิตามพินัยกรรม   แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ ผู้รับพินัยกรรมลักษณะทั่วไป และผู้รับพินัยกรรมลักษณะเฉพาะ

ผู้รับพินัยกรรมลักษณะเฉพาะ –  ทายาทที่มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกเฉพาะสิ่งเฉพาะอย่างตามที่กำหนดไว้ในพินัยกรรมเท่านั้น  

ผู้รับพินัยกรรมลักษณะทั่วไป –  ทายาทที่มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกทั้งหมดหรือทรัพย์มรดกที่เหลือจากผู้รับพินัยกรรมลักษณะเฉพาะแล้ว   


ผู้รับรอง - (ตั๋วเงิน) ผู้จ่ายเงินซึ่งลงลายมือชื่อในด้านหน้าของตั๋วเงินโดยจะมีถ้อยคำว่า “รับรองแล้ว”หรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้เพื่อรับรองว่า  เมื่อตั๋วเงินถึงกำหนดตนจะจ่ายเงินให้ตามคำสั่งของผู้สั่งจ่ายที่ปรากฏตามตั๋วเงินนั้น     ดู รับรอง 

ผู้รับรองด้วยสอดเข้าแก้หน้า – (ตั๋วเงิน) ผู้สอดเข้าแก้หน้าประเภทหนึ่ง ผู้ที่เข้ามารับรองตั๋วเงินเมื่อตั๋วเงินขาดความเชื่อถือและผู้ทรงมีสิทธิไล่เบี้ยก่อนที่ตั๋วถึงกำหนด วิธีรับรองนี้ทำโดยเขียนข้อความบนตั๋วเงิน ระบุว่าการรับรองทำให้ผู้ใดและลงลายมือชื่อผู้สอดเข้าแก้หน้า  ผู้รับรองด้วยสอดเข้าแก้หน้าจะต้องรับผิดต่อผู้ทรงและผู้สลักหลังทุกคนที่เข้ามาเป็นคู่สัญญาในตั๋วเงินภายหลังคู่สัญญาที่ตนเข้าแก้หน้า และผู้รับรองด้วยสอดเข้าแก้หน้าสามารถยกข้อต่อสู้ของผู้ที่ตนสอดเข้าไปแก้หน้าขึ้นต่อสู้ผู้ทรงได้ ดู ผู้สอดเข้าแก้หน้า         สอดเข้าแก้หน้า   ผู้จะรับรองหรือใช้เงินยามประสงค์

ผู้รับเรือน – 1. ผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของผู้ค้ำประกันอีกทอดหนึ่ง  2. ผู้ที่เป็นประกันของผู้ค้ำประกันอีกชั้นหนึ่ง (ปพพ.ม. 682 )

ผู้รับสลักหลัง – (ตั๋วเงิน) ผู้รับโอนตั๋วเงิน ผู้ได้รับตั๋วเงินมาจากการที่ผู้อื่นได้สลักหลังและส่งมอบตั๋วเงินนั้นมาให้

ผู้รับเหมาช่วง –    (พรบ.คุ้มครองแรงงาน  2541 ม.5) ผู้ซึ่งทำสัญญากับผู้รับเหมาชั้นต้นโดยรับจะรับดำเนินงานทั้งหมดหรือแต่บางส่วนของงานใดในความรับผิดชอบของผู้รับเหมาชั้นต้นเพื่อประโยชน์แก่ผู้ว่าจ้าง   และหมายความรวมถึงผู้ซึ่งทำสัญญากับผู้รับเหมาช่วงเพื่อรับช่วงงานในความรับผิดชอบของผู้รับเหมาช่วง  ทั้งนี้ไม่ว่าจะรับเหมาช่วงกันกี่ช่วงก็ตาม

ผู้รับเหมาชั้นต้น –    (พรบ.คุ้มครองแรงงาน  2541 ม.5) ผู้ซึ่งตกลงจะรับดำเนินงานทั้งหมดหรือแต่บางส่วนของงานใดจนสำเร็จประโยชน์ของผู้ว่าจ้าง

ผู้รับอาวัล - (ตั๋วเงิน) ผู้ที่รับประกันการใช้เงินตามตั๋วเงิน(ฎ. 2181/2517)  อาจเป็นบุคคลภายนอกหรือคู่สัญญาที่ต้องรับผิดตามตั๋วเงินอยู่แล้วก็ได้ ผู้รับอาวัลรับผิดอย่างลูกหนี้ชั้นต้นและไม่อาจยกข้อต่อสู้ของลูกหนี้ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้เหมือนผู้ค้ำประกัน  ดู อาวัล

ผู้รับเงิน – (ตั๋วเงิน) ผู้ที่ได้ตั๋วเงินมาเพื่อรับเงิน

ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน  , หลัก – หลักกม.ทั่วไปทั้งในเรื่องหนี้และทรัพย์ที่ถือว่า ผู้โอนมีสิทธิเท่าใด ผู้รับโอนสิทธิจากผู้นั้นก็ได้สิทธิไปเท่านั้น จะได้สิทธิมากกว่าที่ผู้โอนมีไม่ได้  หลักนี้คงมีข้อยกเว้นอยู่บ้างโดยถือว่า ผู้รับโอนมีสิทธิดีกว่าผู้โอน ในเรื่องตั๋วเงินและตาม ปพพ.ม. 1299-1303, 1332

ผู้เริ่มก่อการ –  ผู้ที่ริเริ่มจัดตั้งบริษัทจำกัด

ผู้เริ่มจัดตั้ง  –  ผู้ที่ริเริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด

ผู้ไร้ความสามารถ – (ปวิพ.ม. 45,56) บุคคลผู้ไร้ความสามารถตาม ปวิพ.ม. 1(12)

ผู้ลี้ภัย - (อนุสัญญา ว่าด้วยผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติ 1951)บุคลที่อยู่นอกประเทศที่ตนมีสัญชาติ หรือนอกถิ่นที่อยู่ประจำ เนื่องด้วยความกลัวที่ว่าอาจจะถูกประหัตประหารเนื่องจากเหตุหนึ่งเหตุใด เช่น เชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ สมาชิกภาพในกลุ่มทางสังคม สมาชิกภาพในกลุ่มความคิดทางการเมือง และความกลัวนั้นไม่สามารถหรือไม่สมัครใจที่จะได้รับความคุ้มครองจากประเทศ ที่ตนมีสัญชาติ

ผู้ว่าคดี – (ก) ผู้เป็นโจทก์ฟ้องและดำเนินคดีในศาลแขวง ซึ่งอาจจะเป็นพนักงานอัยการหรือไม่ก็ได้ แต่ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2503 ได้เปลี่ยนเป็นพนักงานอัยการเพียงฝ่ายเดียว

ผู้ว่าจ้าง –    (พรบ.คุ้มครองแรงงาน  2541 ม.5) ผู้ซึ่งตกลงว่าจ้างบุคคลอีกบุคคลหนึ่งให้ดำเนินงานทั้งหมดหรือแต่บางส่วนของงานใดเพื่อประโยชน์แก่ตน โดยจะจ่ายสินจ้างตอบแทนผลสำเร็จแห่งการงานที่ทำนั้น

ผู้ส่ง –  ดูผู้ตราส่ง

ผู้ส่งของ – (พรบ.การรับขนของทางทะเล 2534 ม.3)  บุคคลซึ่งเป็นคู่สัญญากับผู้ขนส่งในสัญญารับขนของทางทะเล

ผู้ส่งข้อมูล – (พรบ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 2544 ม.4) บุคคลซึ่งเป็นผู้ส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก่อนที่จะมีการเก็บรักษาข้อมูลเพื่อส่งไปตามวิธีการที่ผู้นั้นกำหนด โดยบุคคลนั้นอาจจะส่งหรือสร้างข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้วยตนเอง หรือมีการส่งหรือสร้างข้อมูลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในนามของบุคคลนั้นก็ได้   ทั้งนี้ไม่รวมถึงบุคคลที่เป็นสื่อกลางสำหรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น

ผู้ส่งออก – 1. (ป.รัษฎากร ม. 77/1(13)) ผู้ประกอบการซึ่งส่งออก

ผู้สนับสนุน –    (ปอ.ม. 86) ผู้ที่ช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดก่อนหรือขณะกระทำความผิด  แม้ผู้กระทำความผิดจะมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกนั้นก็ตาม  ต้องมีตัวการจึงจะมีผู้สนับสนุนได้ ผู้สนับสนุนต้องระวางโทษ 2 ใน 3 ส่วนของโทษที่กำหนดไว้ในความผิดนั้น

ผู้สมรู้ – (ก)(กม.ลักษณะอาญา ร.ศ. 127) ผู้สนับสนุน

ผู้สมัคร – (พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา  2541 ม. 4) ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา  แล้วแต่กรณี

ผู้สลักหลัง - (ตั๋วเงิน) ผู้ที่เป็นผู้รับเงินหรือผู้ทรงคนเดิมซึ่งได้สลักหลังโอนสิทธิในตั๋วเงินให้แก่บุคคลอื่น  ผู้สลักหลังจะมีฐานะเป็นลูกหนี้ต่อผู้ทรงคนใหม่โดยรับผิดอย่างเดียวกันกับผู้สั่งจ่าย  ดู สลักหลัง

ผู้สอดเข้าแก้หน้า – (ตั๋วเงิน) ผู้ที่เข้ามารับรองหรือใช้เงินให้เมื่อตั๋วเงินขาดความเชื่อถือ ซึ่งอาจจะเป็นบุคคลภายนอก หรือผู้จ่ายหรือผู้ซึ่งต้องรับผิดตามตั๋วเงินอยู่แล้วก็ได้ แต่ผู้รับรองจะเป็นผู้สอดเข้าแก้หน้าไม่ได้  ต่างจาก ผู้จะรับรองหรือใช้เงินยามประสงค์  ที่ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังจะระบุชื่อไว้ในตั๋วเงิน แต่มีสิทธิและหน้าที่อย่างเดียวกัน ดู สอดเข้าแก้หน้า   ผู้จะรับรองหรือใช้เงินยามประสงค์

ผู้สั่งจ่าย – (ตั๋วเงิน) ผู้ที่ออกตั๋วเงิน  คู่สัญญาฝ่ายลูกหนี้คนแรกที่ลงลายมือชื่อด้านหน้าของตั๋วเงินสั่งให้ผู้จ่ายเงินใช้เงินตามตั๋วแก่ผู้รับเงิน แต่ถ้าไม่มีการรับรองหรือใช้เงินตามตั๋ว ผู้สั่งจ่ายจะใช้เงินแก่ผู้ทรง

ผู้สืบสันดาน – 1.ญาติผู้สืบสายโลหิตโดยตรงลงมา ได้แก่ ลูก หลาน เหลน  2. (ปพพ.ม.1629(1) ) บุตรโดยชอบด้วยกม. บุตรนอกกม.ที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรม  หลาน เหลน ลื้อ  3. (ปอ.ม. 285) ผู้สืบสันดานตามกม.  ไม่ใช่ตามข้อเท็จจริง จึงไม่รวมถึงลูกเลี้ยงหรือบิดาเลี้ยงด้วย (ฎ. 928/2502)  4. (ปวิอ. ม.5(2)) ผู้สืบสันดานตามความเป็นจริง (ฎ.303/2497 ป., 2664/2527)

ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ – ผู้ที่มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญฯ โดยจะแต่งตั้งได้  2 กรณี คือ เมื่อพระมหากษัตริย์จะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักรและเมื่อพระองค์ทรงบริหารพระราชภาระมิได้   ในการแต่งตั้งประธานรัฐสภาจะต้องเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ แต่ในกรณีที่พระมหากษัตริย์ทรงบริหารพระราชภาระไม่ได้ หรือไม่ได้แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เนื่องจากยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะคณะองคมนตรีจะเป็นผู้เสนอชื่อบุคคลซึ่งสมควรดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ  เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว ประธานรัฐสภาต้องลงนามรับสนองพระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์   ในระหว่างที่ยังไม่มีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์   ประธานองคมนตรีจะเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

ผู้เสียหาย1 – 1. บุคคลผู้ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำความผิดอาญา    2. ผู้เสียหายโดยนิตินัย   3.(ปวิอ.ม. 2(4)) บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง   รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้ ดั่งบัญญัติไว้ในมาตรา  4 , 5 และ 6          4.(พรบ. ค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา  2544 ม. 3 ) บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายถึงแก่ชีวิตหรือร่างกายหรือจิตใจเนื่องจากการกระทำความผิดอาญาของผู้อื่น โดยตนมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดนั้น

ผู้เสียหาย2 – (พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต 2542 ม.4) ผู้เสียหายจากการกระทำอันเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติ การกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามปอ. หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกม.อื่น

ผู้เสียหายโดยนิตินัย –  บุคคลผู้ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำความผิดอาญาและไม่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด เช่น ไม่ได้ร่วมสมัครใจเข้าวิวาททำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน (ฎ. 223-224/2513) ขับรถโดยประมาททั้งสองฝ่าย (ฎ. 4461/2539)  หรือไม่ได้ยินยอมให้มีการกระทำความผิดแก่ตน เช่น ยินยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก (ฎ.954/2502)  ไม่ได้มีส่วนในการก่อให้เกิดความผิด เช่น นำเงินให้ผู้อื่นไปซื้อสลากกินรวบที่ผิดกม.(ฎ. 481/2524) หลอกเอาเงินโดยบอกว่า สามารถติดต่อวิ่งเต้นให้เป็นเสมียนปกครองได้ ผู้ถูกหลอกจึงมอบเงินให้ไป (ฎ. 1461/ 2523)

ผู้แสวงหาที่ลี้ภัย -บุคคลผู้มีสถานภาพเป็นผู้ลี้ภัย และอยู่ในขั้นตอนของการแสวงหาที่ตั้งถิ่นฐานในประเทศอื่น

ผู้ให้กู้ยืมเงิน – (พรก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน  2527 ม.3) หมายความรวมถึง บุคคลซึ่งผู้ให้กู้ยืมเงินระบุให้เป็นบุคคลที่ได้รับต้นเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนจากผู้กู้ยืมเงิน

ผู้ให้เช่า  – (พรบ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม 2524 ม.5) ผู้ให้เช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมทั้งหมดหรือเป็นส่วนใหญ่

ผู้ใหญ่บ้าน – ตำแหน่งเจ้าพนักงานตาม พรบ.ลักษณะปกครองท้องที่ 2457 เป็นหัวหน้าของราษฎรในหมู่บ้านของตน  มีอำนาจหน้าที่ปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อยของราษฎรที่อยู่ในเขตหมู่บ้าน

ผู้ให้บริการ-(พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 ม.3 )  (1) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น (2) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น

ผู้อนุบาล – 1.ผู้ซึ่งมีหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของคนไร้ความสามารถในการทำนิติกรรม  โดยทำนิติกรรมแทน บอกล้างหรือให้สัตยาบันนิติกรรมที่คนไร้ความสามารถได้ทำลง ผู้อนุบาลอาจจะเป็น ผู้ใช้อำนาจปกครองหรือคู่สมรส    2. (ปพพ.ม.429) ผู้ที่ศาลมีคำสั่งตั้งให้เป็นผู้อนุบาลบุคคลที่ไร้ความสามารถและผู้อนุบาลตามข้อเท็จจริงซึ่งศาลยังไม่ได้มีคำสั่งด้วย

ผู้อยู่ในความควบคุมตามหน้าที่ราชการ – (ปอ.ม. 285) ผู้กระทำมีหน้าที่ควบคุมและผู้ถูกกระทำอยู่ในความควบคุม ไม่รวมข้าราชการชั้นผู้น้อยผู้อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของอธิบดี (ฎ. 2453/ 2514)

ผู้อยู่ในบ้าน - (พรบ.การทะเบียนราษฎร  2534 ม.4) ผู้ซึ่งมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน

ผู้อยู่ในประเทศไทย – (ป.รัษฎากร ม. 41) ผู้อยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะ รวมเวลาทั้งหมด 180 วันในปีภาษีใด

ผู้ออกตั๋ว- ผู้สั่งจ่ายตั๋วเงิน

ผู้อื่น –          (ปอ.ม.336 ว. 4, 340 ว.ท้าย) ผู้อื่นที่มิใช่พวกที่ร่วมกระทำความผิดด้วย (ฎ. 1917/2511)

ผู้อำนวยการทางหลวง – (พรบ.ทางหลวง  2535 ม.4) บุคคลซึ่งมีอำนาจและหน้าที่หรือได้รับแต่งตั้งให้ควบคุมทางหลวงและงานทางเฉพาะประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือเฉพาะท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่ง หรือเฉพาะสายใดสายหนึ่ง ตามพรบ.นี้

ผู้อำนวยการสถานพินิจ - (พรบ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว 2534 ม. 4 )  หมายความรวมถึง บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการสถานพินิจให้ปฏิบัติราชการแทน

ผู้อุทธรณ์ – คู่ความที่ยื่นอุทธรณ์(โจทก์อุทธรณ์)

ผู้เอาประกันภัย – 1. (ปพพ.ม. 862) บุคคลซึ่งเป็นคู่สัญญาในสัญญาประกันภัยซึ่งมีข้อตกลงที่จะเอาประกันภัยโดยระบุเหตุที่จะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งไว้และมีหน้าที่ที่จะส่งเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัทผู้รับประกันภัย  2.คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัย

เผยแพร่ต่อสาธารณชน - (พรบ.ลิขสิทธิ์ฯ ม.4) ทำให้ปรากฏต่อสาธารณชน โดยการแสดง การบรรยาย การสวด การบรรเลง การทำให้ปรากฏด้วยเสียงและหรือภาพ การก่อสร้าง การจำหน่าย หรือโดยวิธีอื่นใดซึ่งงานที่ได้จัดทำขึ้น

แผน - (พรบ.ล้มละลาย  2483 ม.90/1) แผนฟื้นฟูกิจการ

แผ่นดิน – (ปพพ.ม. 1753) รัฐ

แผนฟื้นฟูกิจการ – (พรบ.ล้มละลาย 2483) ข้อตกลงร่วมกันของบรรดาเจ้าหนี้  ลูกหนี้เกี่ยวกับวิธีการชำระหนี้ตลอดจนการปรับโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้  และไม่มีฐานะเป็นกม.   กฎหรือขัอบังคับ (ฎ.4680/2545)




ฝากขัง - การที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลในคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจศาลจังหวัดเพื่อขอให้ศาลสั่งขังผู้ต้องหาไว้ในขณะที่ยังมิได้ยื่นคำฟ้องต่อศาลเนื่องจากยังไม่สามารถยื่นคำฟ้องต่อศาลได้ในขณะนั้น  โดยแบ่งเป็น (1) คดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 6 เดือนแต่ไม่ถึง 10 ปี ฝากขังได้ไม่เกิน 4 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 12 วัน รวม 48 วัน (2) คดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ฝากขังได้ไม่เกิน 7 ครั้งๆ ละ 12 วัน รวม 84 วัน แต่ในกรณีที่ศาลสั่งขังครบ 48 วัน แล้ว หากจะฝากขังต่อต้องนำพยานมาไต่สวนว่า มีเหตุที่จะฝากขังต่อไป  คดีที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงจะเป็น ผัดฟ้อง  ดู ผัดฟ้อง

ฝากทรัพย์ – (ปพพ.ม. 657) สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ฝาก  ส่งมอบทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับฝากและผู้รับฝากตกลงว่า จะเก็บรักษาทรัพย์สินนั้นไว้ในอารักขาแห่งตนแล้วจะคืนให้

ฝ่ายบริหาร  – (พรบ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์  2543 ม.6) ลูกจ้างระดับผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจในการจ้าง เลิกจ้าง ขึ้นค่าจ้าง ตัดค่าจ้าง หรือลดค่าจ้าง

ฝิ่นยา -(พรบ.ยา  2510 ม.4) ฝิ่นที่ได้ผ่านกรรมวิธีปรุงแต่งโดยมีความมุ่งหมายเพื่อใช้ในทางยา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น